รวมเว็บ ขายภาพออนไลน์ ไอคอน กราฟิก ฟรีแลนซ์ไม่ควรพลาด
ขายภาพออนไลน์ ขายไอคอน ขายกราฟิก แบบช่องทางออนไลน์เป็นอาชีพที่ทำได้สำหรับคนที่อยู่ที่บ้าน สร้างรายได้ได้จริง เน้นย้ำว่าบทความนี้ไม่ได้การันตียอดขายใด ๆ นะครับ
เพราะจากผู้ที่ทำอาชีพนี้จริงแนะนำมาว่าอาชีพนี้ต้องอาศัยความขยันและความอดทนเช่นเดียวกันกับอาชีพอื่นครับ ยังต้องใช้ความขยัน ปริมาณงาน อีกทั้งการนำเสนองานให้แตกต่าง ในการสร้างรายได้ด้วยฮะ
บทความนี้เป็นการรวบรวมเว็บไซต์สำหรับคนที่สนใจอาชีพนี้เท่านั้น! มาดูชื่อเว็บไซต์กันได้เลย
Designil เคยเขียนบทความ AOMAM สร้างรายได้กับการขาย Icon ไปในซีรีส์ของ Designil Chats และบทความเกี่ยวกับอาชีพฟรีแลนซ์ ยังไงถ้าสนใจติดตามกันได้นะครับ
ขาย Icons ไอคอน
- Thenounproject
- Iconfinder
- Flaticon.com
- Iconscout
ขายเวคเตอร์ Vector, ขายกราฟิก
- shutterstock
- freepik
- stock.adobe
- Gettyimages
- Dreamstime
- Depositphotos
- Bigstockphoto
- Stockfresh
- Vectorstock
- Pixtastock
- Crushpixel
- Creativemarket
- UI8
- Canva
- Envato elements
- Vecteezy
ขายภาพออนไลน์
- Getty Images
- Shutterstock
- iStock
- 500px
- Stocksy
- Adobe Stock
- Fotolia
- PhotoDune
- Alamy
- Depositphotos
- Dreamstime
- GL Stock Images
- EyeEm
- Image Vortex
- Crestock
- 123RF
ลิขสิทธิ์รูปภาพที่ต้องรู้เวลา ขายภาพออนไลน์
เวลาเราจะจำหน่ายรูปภาพ กราฟิก ไอคอนออนไลน์อย่าลืมดูสัญญาก่อนการขายทุกครั้งและเรื่องลิขสิทธิ์เพื่อปกป้องความเป็นเจ้าของของงานของเรานะครับ ไม่งั้นบางครั้งคนซื้ออาจจะนำภาพ ไอคอน กราฟิกของเราไปแก้ไข และไปขายต่อจากเราได้ เรามาเรียนรู้เรื่องของลิขสิทธิ์กันครับ ว่าจะมีแบบไหนบ้าง!
Editorial use: อนุญาตให้ใช้งานในบทความ, หนังสือพิมพ์, แม็กกาซีน, นิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์
Commercial use: อนุญาตให้ใช้ในงานเชิงพาณิชย์ ในสื่อโฆษณา เพื่อโปรโมตสินค้าและบริการของธุรกิจ เช่นนำไปใช้ทำโฆษณาบนโปสเตอร์
Retail use: อนุญาตให้ใช้ในสินค้าที่จับต้องได้ ในที่นี้รวมถึงงานสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ สินค้าที่มีรูปภาพ เช่น หมอน แก้วน้ำ เป็นต้น บางครั้งอธิบายถึงการใช้งานในเชิงพาณิชย์ด้วย แต่ว่าต้องดูชื่อของ License และรายละเอียดอีกทีครับ เพราะบางทีเขาเขียนแยกกันต่างหากไว้
Exclusive: หมายถึงคนที่ซื้อภาพถ่ายนี้จากคุณเท่านั้นที่จะใช้งานภาพถ่ายนี้ได้
Non-exclusive: หมายถึงลิขสิทธิ์ภาพถ่ายที่ซื้อได้ทุกคน ใช้งานได้จากทุกคน โดยส่วนใหญ่ ลิขสิทธิ์แบบ Non-exclusive จะมีาคาถูกกว่า Exclusive
Public domain: ลิขสิทธิ์ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่ต้องขออนุญาต ครอบคลุมเนื้อหาพวกเรื่องที่เป็นความจริง (เช่น โลกเป็นทรงกลม / ทะเลสีฟ้า), ไอเดีย, ขั้นตอนการทำงาน และยังครอบคลุมงานที่ลิขสิทธิ์หมดอายุไปแล้วด้วย (เช่น นิยายที่เก่ามาก ๆ) หรืออย่างล่าสุดที่ฮิตกันคือโลโก้ของ NASA ที่คนเอาไปพิมพ์ขายบนเสื้อครับ
Creative Commons: นำไปใช้ได้ฟรี แต่ต้องอยู่ในกฏที่ลิขสิทธิ์กำหนดไว้ คุณต้องให้เครดิตเจ้าของเนื้อหาทุกครั้ง โดยเจ้าของเนื้อหาเป็นผู้กำหนดว่า อนุญาตให้แก้ไขมั้ย, บังคับให้คุณเอางานไปแก้แล้วต้องเป็นลิขสิทธิ์ Creative Commons เหมือนกันมั้ย, อนุญาตให้ใช้ในงานค้าขายมั้ย
Royalty-free หมายถึง ผู้ซื้อสามารถซื้อ License แบบ royalty-free จากเรา และสามารถใช้รูปของเราได้แบบไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดครั้งในการใช้งาน ใช้ได้เรื่อย ๆ เลยครับ
ใน Shutterstock ได้บอกว่าหมายถึงวิธีการอนุญาตให้ใช้ภาพแบบได้ลิขสิทธิ์ในราคาเหมาจ่าย
Rights-managed (Pay per use): เป็นลิขสิทธิ์ที่ไม่ใช่การซื้อขาดแบบ Royalty-free แต่มีข้อสัญญาที่แนบตามมาด้วย เช่น จะต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน, จ่ายเงินทุกครั้งที่ใช้รูปภาพนี้ ดูสัญญาตัวนี้ให้ละเอียดนะครับเพราะว่ามันจะมีข้อยกเว้นย่อย ๆ ตามมาเยอะมาก
References
ข้อมูลเพิ่มเติมลิขสิทธิ์สำหรับผู้ขาย
ลิขสิทธิ์รูป เรื่องที่คนทำเว็บไซต์ทุกคนต้องรู้ ก่อนโดนฟ้องหลายแสน !!
Shopify
ภาพประกอบจาก Unsplash
บทความที่เกี่ยวข้อง