10 ข้อผิดพลาดการทำ Portfolio ที่พบเจอบ่อยที่สุด!
ตัวอย่าง 10 ข้อผิดพลาดการทำ Portfolio
การทำ Portfolio เป็นอะไรที่จำเป็นมากเลยครับถ้าหากว่าคุณกำลังมองหางานฟรีแลนซ์, กำลังมองหางานใหม่ เพิ่งเรียนจบกำลังจะต้องสมัครงาน หรือต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง การสร้าง Portfolio ออนไลน์เพื่อแสดงผลงานให้เราเป็นที่รู้จักสำหรับรับงานเนี่ยก็คงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เน้นย้ำโดยเฉพาะสำหรับสายดีไซน์เนอร์ทุกท่านเลยครับ
เนื้อหาในนี้จะกล่าวถึงข้อผิดพลาดในการทำ Portfolio ทั้งหลายที่ผมเจออยู่บ่อย ๆ นอกจากนี้บทความนี้ยังพูดโดยรวมถึงวิธีการแก้ไขที่ง่ายและรวดเร็วเพื่อให้ Portfolio ของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ
การทำ Portfolio ไม่ให้ผิดพลาดควรหลีกเลี่ยงอย่างไร ไปติดตามกันฮะ
#1 Portfolio ดึงดูดคนผิดกลุ่ม
เมื่อคุณจะต้องเปิดเว็บไซต์รวมผลงานของคุณเอง ฟีดแบคแรกที่คุณจะได้รับ แน่นอนว่าจะต้องมาจากครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงานเป็นหลักแน่ ๆ และคุณเองก็มั่นใจว่าคนกลุ่มนี้จะต้องรู้สึกตื่นเต้นไปกับงานของคุณ
แต่ข้อเสียที่ตามมา คือ กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของเราน่ะสิ ดังนั้นเราควรจะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายของเราว่าเขาจะสามารถเข้าใจงานของเรา มากไปกว่านั้นงานของเราจะต้องดึงดูดผู้อ่านได้มากพออีกด้วย
วิธีการแก้ไขคือ: ลองสร้างกลุ่มเป้าหมายในใจของเราขึ้นมา และทำการทดสอบว่ากลุ่มเป้าหมายนี้ตรงกับเราหรือไม่ครับ ส่วนเรื่องวิธีการเหล่านี้ขออนุญาตนำท่านไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องของ User Experience กันได้ครับ
หากคุณคำนึงถึงจุดสำคัญในข้อนี้แล้ว การทำ Portfolio ให้ดีนั้นก็คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปครับ
#2 Portfolio ดูสับสน ไม่รู้ว่าเราถนัดอะไร
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอคือ หลายๆคนมีความสามารถถนัดในหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น ดีไซน์เนอร์ A มีความสามารถในออกแบบเว็บไซต์, โลโก้, infographic, แอพลิเคชั่น, ตกแต่งภายใน, แอนิเมชั่น
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าทุกคนจะต้องมีสกิล 3 อันดับต้นที่เป็นความถนัดมากที่สุด คงไม่มีใครถนัดการออกแบบไปทุกเรื่องแน่นอนครับ ดังนั้นการดึงงานมาแสดงก็ควรจะเลือกสิ่งที่เราถนัดมากที่สุดมาโชว์
ลองยกตัวอย่างผลงานจากดีไซน์เนอร์ด้านล่างนี้
เขาใช้คำโดนๆ เน้นไปที่คำว่า “ผมทำ Icons, Interfaces และ Logos” ชัดเจนกันไปเลย
ดังนั้น “ทำให้มันชัดเจนไปเลย”
ผมทราบดีว่า มันไม่ได้ง่ายเลย เหมือนกับที่ Steve Jobs เคยพูดไว้ว่า
the secret to innovation is saying no to 10,000 things
แปลคือ “ความลับของนวัตกรรมคือการปฎิเสธที่จะทำ 10,000 สิ่ง” ถ้าคุณต้องการจะเป็นหนึ่ง คุณต้องรู้จักปฎิเสธอย่างอื่นและโฟกัสกับ portfolio ของคุณเพียงอย่างเดียวพอ
เพิ่มเติมถ้าสิ่งที่คุณถนัดยังไงมันก็ไปด้วยกันไม่ได้แล้วจริงๆ ฉะนั้นมันไม่ผิดครับที่คุณจะมี 1 portfolio สำหรับลูกค้าอย่างหนึ่ง แล้วก็มีอีกอัน สำหรับลูกค้าแบบหนึ่ง เช่น คุณเก่งสองอย่างก็ทำสอง portfolio แยกกันไป อันหนึ่งสำหรับลูกค้าที่จะจ้างออกแบบเว็บ อีกอันสำหรับคนให้ออกแบบเสื้อ
แอบบอกว่าเพื่อนผมหลายๆท่านที่เป็นดีไซน์เนอร์ยังมี Portfolio หลาย ๆ ที่ ตามงานที่ตัวเองถนัดแยกกันไปออกไปด้วยครับ
#3 Portfolio นอกจากสับสนแล้ว งานยังเยอะเกินไปอีก
ลูกค้าและผู้จ้างไม่ได้อยากที่จะเสียเวลาในเว็บไซต์ของเราไป ๆ มา ๆ เพื่อดูผลงานที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาต้องการจะจ้าง เราจะต้องทำเว็บไซต์ของเราให้ดูง่าย น่าสนใจ ดึงดูดตั้งแต่ครั้งแรกที่ผู้ชมเข้ามาสู่ในเว็บไซต์ของเรา
ง่าย ๆ ก็คือไม่ควรจะมีงานมากเกินไปจนทำให้รู้สึกว่าเราไม่ตั้งใจในการคัดเลือกงานมาลงในเว็บไซต์นั่นเองครับ
แต่ก็ต้องมีงานไม่น้อยจนเกินไปด้วยนะครับ XD
#4 ไร้จุดมุ่งหมาย
หลายๆ Portfolio เองโชว์ผลงานโดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายของการทำเว็บไซต์ ยกตัวอย่างอีกนะครับ ว่าถ้าหากเราจะรับจ้างทำแหวนสักวงหนึ่ง แต่ผลงานที่เราโชว์ ดันโชว์แต่ภาพที่ไม่แสดงให้เห็นถึงทักษะความปราณีตในการออกแบบของเรา แบบนี้ก็คงจะไม่ได้งานเป็นแน่แท้
ดังนั้นก่อนการทำเว็บไซต์ขึ้นมาก็อย่าลืมคิดถึงเป้าหมายหลักของการแสดงผลงาน เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้าได้ถูกต้องตามกลุ่มเป้าหมายของเรานั่นเอง
นอกจากนี้แล้วสิ่งที่ละเลยไม่ได้เลย ยังมีเรื่องของการจัดการคิวงานในมือของเราด้วย หากคุณคิวแน่นมากๆ ก็อย่าลืมทำตารางงานรวมไปถึงเรตราคาให้ชัดเจน เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการตอบอีเมล์ซ้ำซ้อน รวมไปถึงลดความแคลงใจระหว่างลูกค้าได้อีกด้วยละครับ
ยกตัวอย่าง Portfolio ที่แสดงรายละเอียดของตารางงานได้ครบ ชัดเจน ซึ่งทำดีมากๆเลยครับจาก mennstudio
#5 งานที่ล้าหลัง
โอโห เรื่องนี้คงขาดไม่ได้ที่จะพูดถึง หลายๆคนที่มี Portfolio ตัวเองแล้ว ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่คุณอัพเดทผลงานใส่ลงไปซิครับว่าครั้งสุดท้ายเป็นเมื่อไร ? การทำ Portfolio ที่ดีนั้นไม่ใช่ว่าเราสร้างมาครั้งเดียวแล้วจะไม่ลงงานอีกเลย พูดแบบนี้ก็คงจะไม่ถูกต้องเป็นแน่แท้
หลังจากอ่านบทความนี้อาจจะต้องกลับไปเพิ่มผลงานลงใน Portfolio ของเรากันแล้วล่ะครับ
พูดถึงคุณลูกค้าเองหลาย ๆ ท่านก็คงอยากจะเห็นผลงานใหม่ ๆ ของเราบ้าง เพื่อดูว่าเรามีความถนัดในด้านที่เรากำลังจะทำอยู่หรือไม่ ถ้าผลงานสุดท้ายของคุณทำเมื่อสองปีที่แล้ว ลูกค้าคงอาจจะไม่มั่นใจเท่าไรว่าปีนี้ถ้าจ้างแล้วงานจะออกมาดีแบบเดิมหรือเปล่า (จะว่าไปก็เข้าตัวผมเหมือนกันนะครับ)
ข้อแนะนำง่าย ๆ ถ้าไม่อยากลงงานเป็นชิ้นเป็นอัน ลองเขียนบทความ Blog, Video, Social media เล่าเรื่องการทำงานสักเล็กน้อยเกี่ยวกับงานที่ผ่านมาเพื่อให้เป็นที่ผ่านตาของลูกค้า และให้กลุ่มเป้าหมายของเราเห็นความคืบหน้าและการพัฒนาของเราอยู่สม่ำเสมอครับผม
ที่ขาดไม่ได้คงจะต้องเป็นเรื่องของการวัดผล ติดตาม Analytics ของเราเป็นระยะเพื่อมาปรับปรุงว่าเว็บไซต์ของเรานั้นโดนใจกลุ่มเป้าหมายเราหรือไม่ อันนี้ก็คงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องของ User experience, Analytics กันต่อไปนะครับ
#6 Portfolio ที่พูดถึงเรื่องของตัวเองจนเยอะเกินไป
พูดถึงความสามารถตัวเองเยอะไปหน่อยที่ไม่เกี่ยวกับงาน ก็เลยไม่ได้แสดงผลงานที่ชัดเจนให้ลูกค้าดู
#7 ไม่มีที่สำหรับการติดต่อกลับ
#8 โชว์โปรเจคในมหาลัย ที่ไม่ได้ใช้งานจริง
– สำหรับน้องๆที่จบใหม่ก็ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ เอาผลงานมาโชว์ได้แต่อธิบายไว้สักนิดนึงว่างานนี้ทำอะไร มีคอนเซปต์ที่มาที่ไปอย่างไรบ้างให้เห็น process และไอเดียในการทำงาน เวลาพี่ๆที่รับสมัครงานจะได้เข้าใจน้องๆได้อย่างกระจ่างแจ้งครับผม แต่ถ้าผมอยากได้ใครมาร่วมทีม ผมชอบดูกิจกรรมและความตั้งใจการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่น้อง ๆ ต้องการสมัครมากเลยครับ
– ส่วนคนที่ทำงานมานานแล้ว ผมก็แนะนำว่าอย่าใส่ไปเลยฮะ เอาเป็นผลงานจริงดีกว่า
#9 ไม่มีความมั่นใจในตัวเองและผลงานที่ทำ
#10 โชว์ผลงานผิดลิขสิทธิ์
ใช้งานที่ผิดลิขสิทธิ์มาใส่ใน Portfolio ของเรา เป็นข้อต้องห้ามและข้อผิดพลาดการทำ Portfolio ที่ร้ายแรงที่สุดเลยครับ
ถ้าใครยังไม่มี Resume อ่านต่อได้ที่นี่นะครับ วิธีการทำ Resume ออนไลน์
คุณเห็นด้วยไหมกับข้อเสนอแนะบทความนี้ ? บอกผมให้รู้หน่อยใน comment นะคร้าบ
บทความที่เกี่ยวข้อง