8 เครื่องมือสำหรับการสร้าง Portfolio online ฟรี

designil

ทำ portfolio ฟรี สำหรับดีไซเนอร์และฟรีแลนซ์ โดย Portfolio ก็เหมือนเป็นหน้าเป็นตาของเรา เอาไว้ใช้เป็นใบเบิกทางให้ข้ามไปอีกด่านใหม่ แล้วตอนนี้การสร้าง Portfolio ออนไลน์ก็เป็นเรื่องสิ่งที่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ต้องมีไว้ประดับกาย

แล้วถ้าคุณยังไม่มี Portfolio ออนไลน์เท่ๆ เพราะว่าคุณเขียนโปรแกรมไม่เป็น วันนี้เรามีเครื่องมือการสร้าง Portfolio ง่าย ๆ ให้เลือกใช้ รับรองว่าถ้าพอร์ทสวย โดนใจลูกค้า งานใหม่ไหลมาเทมาจนทำไม่ทันแน่ ๆ

*บทความนี้อัพเดทแล้ว เลือกมาเฉพาะที่ใช้งานได้จริงเลยครับ

ทำ Portfolio ฟรี ตามเครื่องมือด้านล่างดังนี้

1. Carbonmade

ทำ portfolio ฟรี กับ Carbonmade
ทำ portfolio ฟรี กับ Carbonmade

Carbonmade สามารถช่วยคุณสร้าง Portfolio ได้ง่ายๆ ที่ๆ คุณสามารถอวดผลงานชิ้นโบว์แดง แล้วยังมี UI ง่ายๆ น่าใช้

Carbonmade มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงินให้คุณเลือกใช้ โดยแบบฟรีคุณต้องลงทะเบียนและใส่ผลงานได้แค่ 5 โปรเจค และอัพรูปได้แค่ 35 รูปเท่านั้น ถ้าใครงานดีๆ เด็ดๆ เยอะแล้วชอบ Carbonmade ก็ต้องเสียเงินซื้อเพิ่มนาจา

ค่าบริการของ Carbonmade: ฟรี 5 โปรเจค หลังจากนั้นเริ่มต้นที่ $6 (210 บาท) ต่อเดือน สำหรับ 10 โปรเจค

2. Adobe Portfolio

Adobe My Portfolio Free
Adobe My Portfolio Free

Adobe Portfolio เป็นระบบสำหรับทำพอร์ตโฟลิโอส่วนตัวสำหรับดีไซเนอร์แบบง่าย ๆ หน้าตาเรียบหรู สามารถเลือก Template ปรับแต่งแล้วใช้งานได้เลย ข้อดีของระบบนี้ คือ เชื่อมกับ Behance สามารถดึงงานที่เราอัพโหลดไว้ใน Behance มาแสดงได้เลย และเชื่อมต่อกับ Typekit สามารถเรียกฟ้อนต์สวย ๆ มาแสดงได้อย่างง่ายดาย

สำหรับเรื่องราคาจะเรียกว่าฟรีก็ได้ครับ เพราะบริการ Adobe Portfolio มาพร้อม Creative Cloud Subscription สำหรับใครที่ซื้อ Photoshop รายเดือนอยู่แล้วก็สามารถเข้าใช้บริการนี้ได้เลย

ค่าบริการของ Adobe Portfolio: ฟรี โดยผู้ใช้ต้องมี Creative Cloud Subscription (300 บาท – 1,500 บาท / เดือน)

3. Dunked

Dunked Free Photographer - Free Designer Portfolio
Dunked Free Photographer – Free Designer Portfolio

Dunked เป็นอีกหนึ่งบริการ Portfolio ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากใช้ง่าย และหน้าตาสวยงาม นอกจากนั้นราคายังไม่สูงอีกด้วย

ผู้ใช้ Dunked สามารถเลือกดึงข้อมูลจาก Youtube, SoundCloud, Vimeo, 500px, และ Flickr มาแสดงผลได้ทันที และหากใครเขียนโค้ดเป็นก็สามารถแก้ HTML & CSS ได้

ค่าบริการของ Dunked: เริ่มต้นที่ $10 (350 บาท) ต่อเดือน สำหรับ 10 โปรเจค

4. Wix

Free Wix Website Portfolio
Free Wix Website Portfolio

Wix เป็นที่รู้จักดีกับเครื่องมือการสร้างเว็บไซต์สำหรับคนที่ไม่เขียนโค้ดเอง Wix มี feature ที่ช่วยทำให้คุณมีตัวตนในโลกออนไลน์ และยังใช้ง่ายอีกด้วย แค่ลาก แล้ววางส่วนประกอบต่างๆ มี template ให้เลือกมากมาย แล้วยัง feature ให้แชร์ไป social media ด้วย เผลอๆ คุณอาจจะโด่งดังข้ามคืนเลยนะ

ค่าบริการของ Wix: ฟรีพื้นที่ 500 MB และมีโฆษณา Wix หลังจากนั้นเริ่มต้นที่ $8.5 (300 บาท) ต่อเดือน สำหรับพื้นที่ 3 GB

5. Dribbble

dribbble
dribbble

Dribble เป็นสังคมออนไลน์ของดีไซเนอร์ illustrators และ web developers ที่แชร์ screenshots ของงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่ แต่สิ่งที่พิเศษคือสามารถให้ผู้ใช้คนอื่นออกความคิดเห็นเกี่ยวกับงานได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณรวบรวมไอเดียต่างๆ ก่อน publish งาน

เมื่อคุณได้ร่วมสังคม Dribble แล้วแชร์ผลงานของตัวเอง คุณก็ได้เพิ่มโอกาสให้แมวมองมาเห็นงานคุณมากขึ้น แล้วก็มีดีไซเนอร์ไม่น้อยเลยนะที่ได้งานจาก Dribble นี้

นอกจากนั้น Dribbble ยังเป็นแหล่งหาไอเดียชั้นเยี่ยม ที่เราเคยแนะนำไว้ในบทความ 5 เว็บไซต์หา Inspiration ที่ Web Designer เก่ง ๆ เข้าทุกวัน อีกด้วยครับ

ค่าบริการของ Dribbble: ฟรี โดยต้องมีลิงค์เชิญจากสมาชิกในเว็บไซต์ Dribbble

6. Behance

Behance ทำ Portfolio ฟรี
behance portfolio

Behance เป็นออนไลน์แพลตฟอร์มที่ไว้โชว์ผลงานของเรา และที่ ๆ เราสามารถหาไอเดียจากผลงานคนอื่น Behance มีผู้เยี่ยมชมหลายล้านต่อเดือนที่กำลังมองหาดีไซเนอร์ฟรีแลนซ์ แล้วมันก็เชื่อกับ Prosite เว็บสร้างเว็บไซต์ฟรี ที่ให้คุณออกแบบ Portfoilio ออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยการลาก วางเช่นเคย แถมมีการติด Google Analytics และปุ่ม Social Media ไว้ด้วย เสร็จสรรพลงตัว

ใน Behance รวบรวมงานทางด้านออกแบบไว้มากมาย เหมาะสำหรับคนที่กำลังหางานเลยล่ะครับ เพราะเราสามารถหางานแบบข้ามประเทศได้ด้วย

ค่าบริการของ Behance: ฟรี

7. DeviantArt

ทำ Portfolio ฟรี จาก Deviantart
ทำ Portfolio ฟรี จาก Deviantart

DeviantArt เป็นชุมชนศิลปะ สำหรับสายอาร์ต สาย Character design, Painting, 3D ที่เอาไว้ให้สร้าง Portfolio ที่มีผู้เยี่ยมชมหลายล้านต่อเดือน ซึ่งคุณสามารถสร้าง Portfolio ออนไลน์ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเลยสักนิดเดียว DeviantArt มี 2 ทั้งแบบฟรี และแบบพรีเมี่ยมเพื่อที่จะมีชื่อโดเมนเป็นชื่อของคุณเอง

ค่าบริการของ DeviantArt: มีทั้งแบบฟรี และเสียเงิน


8. WordPress.com

wordpress portfolio
wordpress portfolio

คงไม่มีใครไม่รู้จัก WordPress.com CMS ในการสร้างเว็บไซต์แบบฟรี เหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปในการจัดเก็บข้อมูล Portfolio โดยไม่ต้องซื้อ Host และ Domain ด้วยตนเอง

โดยการสร้างเว็บไซต์ประเภท Blog ของตัวเองด้วย WordPress จะมีข้อดีตรงที่ ระบบเหล่านี้จะมีส่วนให้เราสามารถจัดการหน้า จัดการภาพและงานของเรา ตกแต่งธีมของเว็บไซต์เพื่อนำเสนองานได้ด้วยตนเอง ง่ายครบจบในเว็บเดียว แถมยังมีวิธีการสอนใช้งานเพียบบน Youtube

ค่าบริการของ WordPress : มีบริการเป็นแบบรายเดือนสำหรับคนที่ต้องการตกแต่งเว็บไซต์แบบพิเศษ, ใส่ธีมเพิ่ม หรือใส่ Domain name ที่คุณต้องการ

9. Canva ทำเว็บไซต์ทำไม ใช้ Presentation นำเสนอซะเลย

canva portfolio presentation
canva portfolio presentation

ใช้โปรแกรม Canva ทำ Portfolio presentation แบบออนไลน์ โดยไม่ต้องใช้เว็บไซต์พอร์ตฟอลิโอแต่อย่างใด เพียงแค่เราทำสไลด์ในการนำเสนอผลงานของเราให้เป็นลำดับเล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย คุณก็จะได้นำเสนอได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม

10. Coroflot เว็บไซต์ทำ Portfolio ที่ดีไซน์เนอร์แนะนำ

coroflot03
coroflot03
coroflot01
coroflot01

เว็บไซต์ Coroflot นี้จะเหมาะสำหรับดีไซน์เนอร์ที่มีงานหลากหลายสไตล์ ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องทำงานดิจิตัลเพียงอย่างเดียว ในเว็บไซต์จะมีหน้า Profile เป็นหน้าให้เราใส่ประวัติการทำงานได้อย่างละเอียด และยังมีตัวอย่างงานออกแบบสวย ๆ ให้เราเลือกดูเพียบ


สรุปเครื่องมือทำ Portfolio ฟรีแบบออนไลน์ ใช้บริการแบบไหนดี?

Portfolio ออนไลน์หลัก ๆ มีอยู่ 4 แบบ ดังนี้:

  1. ใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ใส่โลโก้เราเองได้ รวมไปถึงผูกระบบเข้ากับโดเมนเราเอง ได้แก่ CarbonMade, Adobe Portfolio, Dunked, Viewbook, WordPress.com และ Wix
  2. เว็บไซต์ Community รวมศิลปิน เราสามารถเข้าไปสร้างโปรไฟล์ของเราได้ แล้วอัพโหลดผลงาน เพื่อให้คนอื่นเข้ามาดู อาจจะมีลูกค้ามาเห็นแล้วติดต่อจากช่องทางนี้ก็ได้ ได้แก่ Dribbble, Behance, DeviantArt
  3. ทำ Presentation เป็นสไลด์นำเสนอออนไลน์ หรือส่งเป็นไฟล์ PDF ที่ Host อยู่บนออนไลน์ ทำให้ HR ผู้จ้าง เข้าดูผลงานของเราได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งไฟล์ไปมา เช่น ทำจากเว็บ Canva
  4. สร้างเป็นเว็บไซต์ของเราเองแบบง่าย ๆ วิธีนี้คือซื้อ Hosting + Domain แล้วติดตั้งเว็บไซต์ WordPress ลงบน Hosting ด้วยตนเองพร้อมใส่ธีม การทำเว็บไซต์ประเภทนี้จะช่วยให้เราปรับแต่ง Layout ได้อย่างไม่จำกัด สามารถเพิ่มหน้าได้ตามใจชอบ แต่ข้อเสียจะใช้เวลานานกว่าและต้องมีความรู้ทางด้านการปรับแต่ง WordPress เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
    ข้อดีของการทำเว็บไซต์เองคือเราสามารถทำระบบพาสเวิร์ดเพื่อรักษาข้อมูลงานที่เป็นความลับได้ หรือป้องกันการค้นหาเจอจาก Google

แนะนำว่าควรทำมากกว่า 1 แบบเพราะว่ายิ่งเรามีงานอยู่ในออนไลน์เยอะเท่าไร ลูกค้าก็จะค้นหาเราเจอง่ายมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

หลังจากเลือกเว็บและเครื่องมือสร้าง Portfolio ออนไลน์เพื่อเพิ่มความเท่ และเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าติดต่อเราแล้ว ก็อัพโหลดผลงานชิ้นเอกของคุณ แล้วก็รอเขาติดต่อมา หรือไม่ก็ร่อน Resume + Portfolio ไปเลยจ้าาา


อ่านจบแล้ว? เราแนะนำบทความนี้

สาย WordPress สำหรับคนที่เน้นของฟรีล้วน และติดตั้ง WordPress เป็น ต้องการธีมฟรีและสวย
แอดขอแนะนำบทความด้านล่างนี้เลยครับ

ส่วนถ้าใครอยากพัฒนาฝีมือตัวเองเพื่อรับงานทั้งด้านดีไซน์ Design และด้านโค้ด มาดูบทความแนะนำด้านล่างนี้เลย

*บทความนี้เขียนโดย Guest Writer คุณอันนา แห่งเว็บไซต์ Frank.co.th ขอขอบคุณที่แวะมาแชร์ความรู้ดี ๆ มา ณ ที่นี้ครับ

designil

designil

Data engineer & WordPress Developer ทำงานที่บริษัทแคนว่า ซิดนีย์ออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นเจ้าของเว็บไซต์ Designil, DataTH ชอบอ่านบทความใหม่ๆ ตลอดเวลา และชอบสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะครับ
บทความทั้งหมด