20 วิธีหารายได้เสริมกับ WordPress มาหาเงินออนไลน์กันเถอะ
ดูเหมือนหลายคนเลยแหละที่ยังคงพยายามสร้างรายได้ในโลกออนไลน์ให้กับตนเอง และหลายคนก็ยังคงไม่พบหนทางเสียทีกับการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress วันนี้ เราจะมาร่วมกันหาทางออกไปด้วยกัน
โดยปกตินั้น เราสามารถเริ่มต้นด้วยสร้างบล็อกขึ้นมาจะกี่บล็อกก็ตามแต่ ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนบทความลงไปอย่างต่อเนื่อง จากนั้นก็เริ่มคิดหาหนทางต่างๆ ที่จะสามารถทำรายได้จากมัน ซึ่งมักจะต้องใช้เวลา แรงใจแรงกาย และอาจจะมีใช้เงินในตอนเริ่มต้น แต่ถ้าเต็มใจทุ่มเท คุณจะได้ผลตอบแทนจากมัน
ส่วนจะมีวิธีใดกันบ้างนั้น เรามาเริ่มกันเลยนะครับ
20 วิธีหารายได้เสริมกับ WordPress
1. การตลาดพันธมิตร (Affiliate Marketing)
มันคือการแนะนำสินค้าหรือบริการให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์พร้อมส่งต่อพวกเขาไปยังเว็บไซต์ที่เราวางลิงก์เอาไว้ จากนั้น เราก็จะได้รับคอมมิชชันตามข้อกำหนดเมื่อมีผู้ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจากการแนะนำของเรา เอาเข้าจริง ก็ไม่ต่างอะไรกับการบอกแนะนำเพื่อนให้ซื้อแชมพูแบรนด์ที่เราชอบนั่นแหละ แต่ครั้งนี้ ผู้ผลิตแชมพูเจ้านั้นเขาส่งบัตรกำนัลให้คุณด้วยทุกครั้งนั่นเอง
ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือบริการพวกนี้ จะเป็นอะไรก็ได้ เช่น การจองที่พักโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อโปรแกรม-ซอฟต์แวร์-เทมเพลต และอีกมากมาย
ก่อนอื่นเลย เราต้องขบคิดให้ออกว่า สินค้า/บริการอะไรบ้างที่ตรงกันกับเว็บไซต์ของเรา จากนั้นก็เข้าไปสมัครเป็นพันธมิตร ในโลกนี้มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada หรือจะเป็นผู้ให้บริการรวบรวมพันธมัตรอย่างด้านล่างนี้ มาดูกันเลยครับว่ามีบริการอะไรบ้าง
วิธีสมัคร Affiliate marketing สามารถเลือกบริการจากด้านล่างได้เลยครับ
- Rakuten – มีแบรนด์ในฝั่งประเทศไทยหลายเจ้าเลยครับ เช่น Lenovo Thailand
- ShareASale – มีแบรนด์ฝั่งตะวันตก ที่เป็นระบบ subscription
- Involve – มีแบรนด์ฝั่งเอเชียให้เลือกมากมาย เช่นร้านหนังสือในไทย ร้านอาหาร หรือจะเซนทรัล เพาเวอร์บาย มีครบทุกชนิด
- Lazada – จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค
- Shopee – จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค
2. หารายได้ด้วยโฆษณาจาก Google Adsense
วิธีที่ง่ายที่สุดในการใช้ WordPress สร้างบล็อก คือ การแทรกลิงก์โฆษณาจาก Google Adsense ที่เราจะได้ค่าโฆษณาทุกครั้งที่มีการคลิก ซึ่งเราจะเรียกโฆษณาประเภทนี้ว่า CPC หรือ ‘cost per click’ ค่าโฆษณาเหล่านี้ผู้ลงโฆษณาจะเป็นผู้กำหนดราคา จึงทำให้แต่ละคลิกหรือแต่ละแบนเนอร์ได้ค่าโฆษณาไม่เท่ากัน
3. หารายได้จากขายโฆษณาของเราเอง
แน่นอนว่า Google Adsense นั้นติดตั้งง่าย แต่เงินที่ได้รับก็ค่อนข้างจำกัด อยากจะเพิ่มรายได้จากการโฆษณาให้มากขึ้นก็คงต้องทำเอง ไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง ต่อรองราคาและเงื่อนไขได้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ การขายโฆษณาด้วยตัวเองมักจะคิดในราคาตายตัวซึ่งง่ายกว่าการต้องคอยติดตามยอดวิวและยอดคลิกในแต่ละเดือน
แม้ว่าเราจะสามารถวางโฆษณาได้เองด้วย widget ที่มีใน WordPress แต่การใช้ปลั๊กอินก็อาจช่วยทำให้งานต่างๆ ง่ายขึ้น อย่างเช่นปลั๊กอินที่ชื่อ AdSanity แค่นี้ก็หารายได้เสริมด้วยการทำเว็บไซต์จาก WordPress ได้แล้ว
4. ขายสปอนเซอร์โพสต์
การสร้างรายได้ด้วยเครือข่ายโฆษณานั้น เราไม่อาจควบคุมได้ว่าระบบจะแสดงโฆษณาอะไรบ้าง หรืออาจควบคุมได้แต่ก็ไม่มากนัก อีกทั้งผู้เข้าเยี่ยมชมบางส่วนก็ไม่ได้นิยมชมชอบโฆษณาสักเท่าใดนัก การเขียนบทความเชิงโฆษณาแบบเนียนๆ อาจได้ผลดีกว่า อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ และแบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของตนเองบนหน้าบล็อกของเราอยู่มากมาย
สิ่งที่เราต้องทำก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล รายละเอียดยอดการติตามทางโซเชียลมีเดีย สถิติต่างๆ ข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชม และข้อมูลอื่นที่จะทำให้เว็บไซต์หรือบล็อกของเราเตะตาผู้ลงโฆษณาให้มากที่สุด
5. เขียนรีวิว
ผู้ผลิตสินค้าหลายรายต้องการสร้างการรับรู้ต่อผู้บริโภค เว็บไซต์ที่สร้างจาก WordPress ก็สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อรีวิวสินค้าและบริการแลกกับค่าใช้จ่ายตามแต่จะตกลงกัน ทั้งนี้ก็คงต้องเลือกดูสักนิดว่าผลิตภัณฑ์ชนิดไหนประเภทใดที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับบล็อก รวมทั้งเป็นสิ่งที่ผู้เข้าเยี่ยมชมจะสนอกสนใจด้วยครับ
6. สร้างเนื้อหาจำกัดเฉพาะสมาชิก
ถ้าเนื้อหาในเว็บไซต์มีความเฉพาะตัว หรือความล้ำลึกโดดเด่นจนผู้คนมากมายพร้อมจะจ่ายเงินเพื่ออ่านผลงานของเรา โอกาสที่จะใช้พื้นที่แห่งนี้เพื่อการบอกรับสมาชิกก็เปิดกว้างขึ้น ข้อมูลในนั้นเป็นสิ่งที่ดึงดูดไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลเชิงลึกที่หาได้ยากในที่อื่น การเปิดให้ดาวน์โหลด คลิปวิดีโอ ไฟล์เสียง หรืออื่นใดที่ผู้คนแสวงหา
ระบบสมาชิกจะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเราได้ก็ตือเมื่อมีเนื้อหาระดับพรีเมียมคอยส่งให้พวกเขาเข้ามาใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับปลั๊กอินที่ใช้เพื่อการนี้ก็อย่างเช่น MemberPress ที่ค่อนข้างใช้งานง่าย
7. สร้างฟอรัมส่วนตัว
อีกรูปแบบของเว็บไซต์แบบชำระเงินเพื่อเป็นสมาชิก คือ การสร้างฟอรัมหรือเว็บบอร์ดที่มีความไพรเวท ผู้ใช้งานจะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึง ฟอรัมเป็นหนทางที่ผู้เข้าเยี่ยมชมได้รับข้อมูล คำแนะนำ หรือคำตอบจากเราแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ และเราคือผู้เชี่ยวชาญที่จะพูดคุยโต้ตอบกับพวกเขาเป็นรายคน
อีกกรณีก็อาจจะเป็นการจ่ายเพื่อการเข้าถึงบางฟอรัม หรือเพื่อให้สามารถโพสต์ตอบ พร้อมตกแต่ง หรือมีสถานะที่เป็นลำดับชั้น ที่จะกลายเป็นสิ่งจูงใจให้พวกเขาอยากจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของฟอรัมบ้าง
การดูแลฟอรัมนั้นย่อมมีค่าใช้จ่าย ฟอรัมประเภทที่เสียเงินเข้ามาจึงเป็นหนทางทำรายได้ระยะยาวให้กับเจ้าของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี
8. สร้างไดเรกทอรี่แบบมีค่าใช้จ่าย
เว็บไดเรกทอรี่อาจเป็นสิ่งที่มีมานานจนอาจจะคิดมันเป็นของเก่าไปแล้วสำหรับวันนี้ก็เป็นได้ แต่มันยังคงไม่ตายไปเสียทีเดียว บางเว็บไดเรกทอรี่ก็ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
แต่ไอเดียสำหรับเว็บไดเรกทอรี่ครั้งนี้อาจเป็นอะไรที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น อาจเป็นไดเรกทอรี่บ้านและคอนโดฯ ในจังหวัด ไดเรกทอรี่โรงแรมและร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นการรวบรวมรีวิวของธุรกิจต่างๆ ในท้องถิ่น แบ่งปันพอดแคสต์ในหัวข้อที่กำหนดก็ได้ ซึ่งก็มีปลั๊กอินมากมายที่สร้างไดเรกทอรี่ให้เราได้อย่างเช่น Business Directory, GeoDirectory เป็นต้น
9. สร้างเว็บบอร์ดหางานแบบชำระค่าบริการ
อีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างรายได้จากเว็บไซต์ WordPress ก็คือ การสร้างเว็บบอร์ดหางาน โดยอาจเรียกเก็บจากบริษัทที่ต้องการโฆษณาหาพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ส่วนผู้ชมอาจสามารถเข้ามาอ่านได้ฟรี
โอกาสที่จะประสบความสำเร็จอาจมีมากขึ้นเมื่อเราจำกัดวงการของธุรกิจให้แคบลง เช่น อาจเป็นวงการไอที วงการออกแบบ อะไรเช่นนี้เป็นต้นครับ
10. สร้างปฏิทินกิจกรรมแบบชำระค่าบริการ
อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจทำก็คือ แทนที่จะทำเป็นเว็บบอร์ดหางาน เราอาจปรับเปลี่ยนไอเดียเป็นปฏิทินกิจกรรมที่เราเปิดให้ผู้จัดกิจกรรมต่างๆ มาลงโฆษณาประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมของพวกเขาในเว็บไซต์ของเราได้
อาจเลือกแวดวงให้แคบลงมา อย่างเช่น กิจกรรมในจังหวัดหรือในท้องถิ่น แต่ก่อนอื่น คงต้องทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักดีเสียก่อนนะครับ
11. จำหน่ายอีบุ๊ก
โปรดักต์ที่เป็นดิจิทัลเหมาะอย่างยิ่งในการทำการตลาดออนไลน์ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ อีบุ๊ก (Ebooks) เพราะมันง่ายต่อการเขียนและผลิต เราอาจเริ่มด้วยการรวบรวมบทความที่ดีเด่นและมีคนสนใจสูงมาทำให้กลายเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง หรืออาจจะเขียนตอนพิเศษเพิ่มเข้าไปให้ไม่มีที่ไหนนอกจากในอีบุ๊กเล่มนี้ จากนั้นก็อาจจะออกแบบปกด้วยแอป Canva แล้วแปลงเป็นไฟล์ PDF ก่อนนำขึ้นมาขายบนเว็บไซต์
มีปลั๊กอินอยู่หลายตัวที่ใช้สร้างระบบอีคอมเมิร์ซใน WordPress ยกตัวอย่างเช่น ปลั๊กอินที่ใช้งานค่อนข้างง่ายอย่าง Easy Digital Downloads ครับ
12. ขายคอร์สออนไลน์
นอกเหนือจากการจำหน่ายอีบุ๊กแล้ว ถ้าเรามีความรู้เฉพาะทาง เป็นที่ต้องการของตลาด การเปิดคอร์สสอนแบบออนไลน์ก็เป็นอีกไอเดียที่น่าทำ คอร์สต่างๆ มักจะมีความละเอียดสูงกว่าอีบุ๊กเล่มหนึ่ง จึงอาจเปิดคอร์สสอนแล้วแถมอีบุ๊ก สไลด์พรีเซนเตชัน หรือรายการดาวน์โหลดอื่น ๆ เสริมเข้าไปได้ด้วย
ปลั๊กอินที่เหมาะจะใช้เพื่อการนี้ ก็เช่น MemberPress Courses, LearnDash, Teachable เป็นต้น
13. จัด Webinar
อีกไอเดียของการสร้ายรายได้จากเว็บไซต์ WordPress นอกจากใช้ขายอีบุ๊ก หรือขายคอร์สออนไลน์ได้แล้ว ก็ยังสามารถใช้มันเพื่อจัดกิจกรรม Webinar หรือสัมมนาผ่านเว็บได้อีกด้วย
การสัมมนาผ่านเว็บมีความคล้ายกับคอร์สออนไลน์ แต่การสัมมนาผ่านเว็บจะเป็นในแบบไลฟ์สด พร้อมทั้งยังมีช่วงเวลา Q&A ที่เอาไว้ถามตอบด้วย
14. บริการฟรีแลนซ์
เมื่อเราเป็นเจ้าของบล็อกสักบล็อกหนึ่ง เราสามารถต่อยอดมันด้วยการใช้บล็อกของเราเป็นพื้นที่รับงานเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมด้วยการนำเสนอทักษะและความชำนาญที่มีในฐานะฟรีแลนซ์ เราไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติมให้เปลืองเงินเปลืองทอง เพียงการจะเป็นฟรีแลนซ์ต้องรู้จักปลั๊กอินที่จะช่วยเราสร้าง invoice (ใบแจ้งหนี้)และเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ซึ่งก็ได้แก่ปลั๊กอินอย่าง Wp Simple Pay หรือ FreshBooks
15. ขายของออนไลน์ด้วย WooCommerce
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่หลายคนคิดถึงเป็นอันดับแรกเลย นั่นคือ การใช้ปลั๊กอินยอดนิยมอย่าง WooCommerce เปลี่ยนเว็บไซต์ที่สร้างจาก WordPress ของเราให้กลายเป็นพื้นที่ค้าขาย มีระบบ Shopping Cart ให้คนมาจ่ายตลาด โดยเราต้องผู้เลือกสินค้าที่น่าสนใจ มีกลุ่มเป้าหมายและตลาด อาจต้องผลิตหรือว่าจ้างผลิตสินค้าเอง สิ่งที่ต้องคำนึงอีกส่วนก็คือเรื่องการรับชำระเงิน และการจัดส่งด้วยครับ
16. เปิดบริการรับสกรีนเสื้อยืดออนไลน์
แทนที่จะขายเสื้อยืดอย่างเดียว ถ้าเกิดเรามีความสามารถด้านการออกแบบลายเสื้อยืดด้วย การต่อยอดไอเดียนั้นด้วยการปรับเว็บไซต์ของเราเปิดบริการสกรีนเสื้อตามสั่งก็จะยิ่งสร้างความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นไปอีก
สิ่งที่เราต้องทำนอกเหนือการจัดหาผู้ให้บริการสกรีนเสื้อ และจัดส่งให้ลูกค้า (ซึ่งอาจจะทำเองแบบครบวงจรก็ได้เช่นกัน) ก็คือ การหาปลั๊กอินที่เหมาะสม หนึ่งในนั้นคือ WP-Spreadplugin นั่นเอง
17. พัฒนาปลั๊กอินสำหรับ WordPress
ไม่ว่าใครที่ใช้งาน WordPress ล้วนเคยผ่านการใช้งานปลั๊กอินกันมาทั้งนั้น มันคือสิ่งที่ทำให้ WordPress ทั้งยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ขยายขอบเขตความสามารถให้แก่เว็บไซต์ของเราได้ ปลั๊กอินมีมากมายหลายรูปแบบ หลายจุดประสงค์การใช้งาน ซึ่งคนจะเขียนได้ก็คงต้องมีพื้นฐานการใช้งานมาพอสมควร
เราอาจมุ่งเน้นไปที่ปลั๊กอินแนวใดแนวหนึ่ง แล้วพัฒนาให้มันช้วยเหลือผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบครัน ใช้งานง่าย หลายๆ คนเลือกจะสร้างปลั๊กอินที่มีสองเวอร์ชัน แบบ lite เอาไว้แจกฟรี มีฟังก์ชันพื้นฐานไม่ซับซ้อน กับเวอร์ชัน premium ที่พร้อมสรรพด้วยคุณสมบัติที่ใครเห็นต้องตื่นตาจนต้องยอมจ่าย
เราสามารถแจกจ่ายปลั๊กอินได้หลายวิธี หนึ่งคือการส่งเวอร์ชันฟรีลงในไดเร็กทอรี่ของ WordPress.org หรือถ้าเป็นเวอร์ชันเสียตังค์ก็อาจใช้บริการอย่าง CodeCanyon บน Envato เป็นต้น
Envato Elements โหลดกราฟิก ธีม เทมเพลตไม่อั้นรายเดือน ใช้งาน Free trial ฟรี 7 วัน
โหลดไฟล์ได้ไม่จำกัดทั้งกราฟิก ภาพถ่าย ธีม ปลั๊กอิน เทมเพลต วิดีโอ เสียงเพลง บรัช ฯลฯ
18. ขายธีมสำหรับ WordPress
เป็นอีกหนทางรายได้ที่ใช้สกิลทั้งการออกแบบและพัฒนาผสมกัน ถ้าเรามีทั้งสองอย่างหรือหาคนช่วยได้ ช่องทางการหารายได้จากการขายธีมก็ไอเดียที่ไม่เลวเหมือนกัน แถมถ้าติดลมบนก็อาจสร้างรายได้แบบยาวๆ ได้เลย
Envato Elements โหลดกราฟิก ธีม เทมเพลตไม่อั้นรายเดือน ใช้งาน Free trial ฟรี 7 วัน
โหลดไฟล์ได้ไม่จำกัดทั้งกราฟิก ภาพถ่าย ธีม ปลั๊กอิน เทมเพลต วิดีโอ เสียงเพลง บรัช ฯลฯ
19. บริการติดตั้งและปรับแต่งธีม
ใครที่เป็น developer ผู้เชี่ยวชาญด้าน WordPress น่าจะมีหนทางสร้างรายได้อีกแบบหนึ่ง นั่นคือ การให้บริการปรับแต่งธีมสำหรับลูกค้าที่รู้ความต้องการของตนเองแต่ไม่มีความรู้ทางเทคนิคหรือเวลาในการปรับแต่งธีม ผู้เชี่ยวชาญอย่างเรานี่แหละที่จะมาช่วยแก้ปัญหานั้น
งานของเราอาจจะเริ่มตั้งแต่ติดตั้ง WordPress ติดตั้งธีมที่ซื้อมาหรือสร้างขึ้นเอง แล้วปรับแต่ง เสริมปลั๊กอินเข้าไป จนได้ตามความต้องการของลูกค้า
20. รับโดเนท
หนทางหนึ่งที่จะทำไว้ก็ไม่เสียหลาย นั่นคือ การเปิดรับโดเนทผ่านทางเว็บไซต์ หลายครั้งที่มีเว็บไซต์หรือบล็อกที่สร้างคอนเทนต์ดีๆ แต่สร้างรายได้ให้กับเจ้าของไม่มากนัก เราอาจเพิ่มปุ่มโดเนทลงไปเพื่อให้คนที่ชื่นชมในฝีมือการเขียนคอนเทนต์ของเราและอยากสนับสนุน ได้มีโอกาสนั้น หรืออาจสร้างแบบฟอร์มรับโดเนทขึ้นมาด้วยปลั๊กอินอย่าง WPForms ก็ทำได้เช่นกัน
แต่ละเว็บไซต์ก็อาจจะเลือกใช้วิธีการสร้างรายได้ที่แตกต่างกันไป บางเว็บไซต์อาจเลือกใช้หลายวิธีพร้อมกันเลยก็ได้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายคนที่กำลังมองหนทางหารายได้เสริมบนเว็บไซต์ WordPress ได้พบทางสว่างกันไปบ้างไม่มากก็น้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 10 ไอเดียธุรกิจ Canva สร้างรายได้ง่าย ๆ ด้วยมือถือ
- 16 ไอเดียธุรกิจออนไลน์ ทำธุรกิจอะไรดี? บทความนี้มีคำตอบ
- 10 ไอเดียงานฟรีแลนซ์แนะนำ ทำที่บ้านก็หาเงินได้
- รีวิว 14 WordPress SEO Plugin ปรับเว็บให้ติดอันดับกูเกิ้ล
- [Free WordPress Plugins] รวมปลั๊กอิน (Plugin) เจ๋ง ๆ ของ WordPress แห่งปี
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา