30 เทคนิคการทำ SEO ให้ติด Google หน้าแรกแห่งปี 2023
สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Designil ทุกท่าน กลับมาพบกับแอดมินอีกครั้งกับเว็บไซต์ Designil เจ้าเดิม ในวันนี้เราจะมารวบรวม 30 ไอเดียสำหรับการทำเว็บและการเขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ รวมไปถึงขั้นตอนการทำ SEO แบบเบื้องต้น! ที่ทุกคนจะต้องทราบสำหรับปี 2023 ให้ฟังกัน
ในบทความนี้จะรวบรวมเนื้อหาที่เราได้ทดลองทำเองกับเว็บไซต์ Designil ตั้งแต่ยังเริ่มต้นหาเงินได้ 0 บาทไปจนถึงปรับเว็บไซต์ให้สร้างรายได้เลี้ยงดูนักเขียนและสำหรับจ่ายค่า Hosting ได้ ต้องบอกเลยว่าระยะทางของเราก็ปรับเว็บไซต์กันมาหลายปีเลยทีเดียว
วันนี้จะมาแชร์ 30 เทคนิคที่นักการตลาดและเจ้าของเว็บไซต์ต้องห้ามพลาดในแบบเบื้องต้น (ไม่มีพื้นฐานก็อ่านได้) พร้อมตัวอย่างการทำ SEO มาเริ่มกันเลย
30 เทคนิคการทำ SEO แบบพื้นฐานประจำปี 2023
1. วางแผนธุรกิจของเราให้ชัดเจนก่อนว่าอยากให้เนื้อหาของเราแก้ปัญหาอะไร
การวางแผนธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ก่อนที่เราจะเริ่มทำ SEO เลยค่ะ ถ้าหากถามนัทเองที่ทำงานด้าน UX มาเป็นประจำ เราคิดว่าเราต้องมี Scope ของ Business Model มาให้ชัดเจนก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการเขียนหรือการเลือกคีย์เวิร์ดและเนื้อหาที่เราจะเขียนได้เลย
วิธีวางแผนธุรกิจแบบเริ่มต้น
อยากให้ทุกท่านตอบคำถามด้านล่างเหล่านี้ให้ได้ทั้งหมดก่อนว่าแบรนด์ของเรา
– เราต้องการทำอะไร Niche คืออะไร?
– กลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร?
– ปัญหาที่เราอยากจะแก้ไข?
– เทรนด์ที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้?
– ช่องทางการตลาด?
– ผู้แข่งขันในตลาด?
หากเราตอบคำถามเบื้องต้นเหล่านี้ได้แล้ว เราไปโฟกัสกันที่กลุ่มเป้าหมายของเราได้เลยค่ะ
2. โฟกัสที่คนอ่าน เข้าใจพฤติกรรมและกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนการทํา SEO สําหรับมือใหม่ ที่เราอยากจะเน้นย้ำก่อนเริ่มทำเสมอคือเรื่องของ “กลุ่มเป้าหมาย” เราต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร และใครกันแน่ที่จะอ่านเว็บไซต์ของเรา ต่อให้สอนเทคนิคการทำ SEO ไปมากแค่ไหน แต่ถ้าเรายังตอบไม่ได้ว่าผู้อ่านของเราคือใคร ก็ยากมากที่จะไปต่อเลยค่ะ
- กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร?
- กลุ่มเป้าหมายของเรามีปัญหาอะไรมากที่สุด?
- สิ่งที่เรากำลังจะทำ จะแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายของเราได้หรือไม่?
วิธีตามหากลุ่มเป้าหมาย
หากเรายังไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร
1. ต้องลงไปทำรีเซิร์กันสักนิดหน่อย ว่าคนอ่านของเราต้องการอะไร กำลังมองหาอะไรอยู่ จะช่วยทำให้เราโฟกัสกับการเขียนและหัวข้อได้ดียิ่งขึ้น
2. แนะนำให้ใช้วิธีการรีเสิชจาก User experience (UX Research) มาช่วยในการตามหาปัญหา, และ problem จากลูกค้าของเรา จะช่วยทำให้เราแก้ปัญหาได้ถูกจุดและดีมากยิ่งขึ้น
3. ปรับปรุงแผนการตลาดและแผนการสร้างรายได้
เป้าหมายของทุกคนคือต้องการให้เว็บไซต์และเนื้อหาของเรานั้นสร้างรายได้ได้อย่างมั่นคง ดังนั้นเราจึงต้องรู้ก่อนว่าเราจะทำเนื้อหาอะไร แก้ปัญหาด้านไหน เพื่อให้เราสามารถทำ SEO ให้ติดหน้าแรก Google ได้ แถมยังช่วยให้เราแก้ปัญหาที่แท้จริงให้กับผู้อ่านของเราได้
วันนี้นัทมีแผนผังภาพในการสร้างรายได้สำหรับคนที่ทำธุรกิจทางด้าน Digital ขนาดเล็กมาฝากกัน เผื่อเป็นไอเดียในการสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ทุกท่านในอนาคตค่ะ
4. ใส่ Reference ของเนื้อหาที่เขียน ให้ลิงก์ไปยังเอกสารใหม่ๆ
การเขียนทุกครั้งจะต้องทำการแนบ Reference เพื่อเป็นการ fact check ให้กับข้อมูลของเรา แต่หากจะทำให้ข้อมูลของคุณมีความแตกต่างจากคนอื่น
วิธีค้นหาเอกสารสำหรับอ้างอิงในบทความ
ลองใช้ Google ในการค้นหาเอกสารแบบละเอียด เพื่อใช้ในการอ้างอิง เพียงแค่พิมพ์
“filetype:pdf [หัวข้อ]”
ค้นหา PDF, eBooks หรือวารสารเกี่ยวกับหัวข้อที่เราเขียนเพื่อใช้อ้างอิง รับรองว่าคุณจะพบข้อมูลที่น่าสนใจที่คู่แข่งของคุณยังไม่เคยค้นพบมาก่อน อาทิ เปเปอร์อ้างอิงที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ หรือเอกสารที่เพิ่งได้รับการรับรอง เป็นต้น
5. หาไอเดียจาก Reddit, Quora หรือแม้แต่ Google Also Ask
ช่องทางที่จะช่วยให้เราหาคีย์เวิร์ดได้ดี คือ Forum ที่มีคนพูดคุยกันบ่อยๆ อาทิเช่น
- Quora
- Google also ask
- Alsoasked.com
- Facebook Group
- Google Trends
เก็บข้อมูลจากหลายๆ ที่เป็นประจำ จะช่วยทำให้เราเห็นปัญหาของผู้อ่าน และหัวข้อที่เราจะเขียนได้ในอนาคต
6. แบ่งเนื้อหาของ Content ให้สแกนสายตาอ่านได้ง่าย
คงไม่มีใครอยากจะอ่านเนื้อหายาวๆ บนหน้าเว็บไซต์ของเราในเวลาที่จำกัด ดังนั้นอย่าลืมทำให้เนื้อหาของเราสั้นและกระชับ
รายงานจาก Microsoft พบว่าระดับความสนใจของมนุษย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12 วินาทีในปี 2000 และลดลงจาก 12 วินาทีเหลือเพียง 8 วินาทีในปี 2013 เนื่องจากอิทธิพลของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น (Microsoft, 2015)
วิธีทำบทความให้น่าอ่าน
– เขียนหัวข้อแนะนำให้น่าสนใจ
– เขียนให้ข้อความแต่ละ Paragraph ให้สั้นและกระชับ
– ทำให้ข้อมูลย่อยง่ายได้ภายใน 5 – 10 วินาที
7. อย่าโฟกัสที่การใช้คำคีย์เวิร์ดซ้ำๆ แต่ต้องคิดถึงส่วนประกอบอื่นด้วย
อย่าใช้คีย์เวิร์ดคำเดิมไปทั่วทั้งบทความ แต่ควรคิดถึงเรื่องอื่นๆ ประกอบกันด้วยระหว่างการเขียน ไม่ว่าจะเป็น
- การตั้งชื่อ URL slug
- ชื่อบทความ Title
- คำเกริ่นนำ Introduction
- คำคีย์เวิร์ดหลักและรองในบทความ
- คีย์เวิร์ดใน Meta description
8. เขียน URL ให้สั้นและกระชับ
ใช้โครงสร้าง URL ให้เข้าใจง่ายและกระชับ อย่าเขียนยาวและเยิ่นเย้อจนเกินไป
จากการทดลองของ Designil เอง คิดว่า URL ภาษาอังกฤษใช้งานได้ง่าย
- ✅ Good: /abs-exercises
- ❌ Bad: /the-best-abs-exercises-for-all-levels-of-gym-goer
ข้อมูลจาก What Is a Slug? URL Slugs and Why They Matter for SEO
8. มีบทความไหนที่ยังไม่เคยติดหน้าแรก Google หรือไม่?
ถ้าบทความของคุณอยู่ในหน้า 2 หรือ 3 ลองแก้ไขด้วย
- เช็ก Google Search Console
- ค้นหาคีย์เวิร์ดที่คุณต้องการจะทำให้ติดอยู่หน้าแรกของการค้นหา
- เพิ่มคีย์เวิร์ดเหล่านี้ใน content ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ของคุณ
9. เขียนประโยคเปิดบทความให้น่าสนใจ เพื่อทำให้คนอยากอ่านต่อ
เรื่องของการเขียน Introduction เปิดบทความเป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยดึงคนให้อ่านบทความของเราได้เป็นระยะเวลานานขึ้น ต่อให้เนื้อหาของคุณดี แต่ถ้าเปิดเนื้อหามาด้วยข้อความน่าเบื่อ คนก็จะรีบปิดบทความของเราทิ้งอย่างรวดเร็ว
เทคนิคของ Designil คือเขียนให้เหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง เพราะเรื่องทางด้านเทคโนโลยีมันเล่ายาก แต่ถ้าเราค่อยๆ เล่าแบบมีเนื้อหา storytelling ก็จะทำให้คนอยากจะอยู่กับเรานานขึ้นนั่นเองค่ะ ^0^
10. เขียน Introductions ประโยคเปิดแสดงเป้าหมายของบทความนี้ให้ชัดเจน สั้น กระชับ อย่าเยิ่นเย้อ
เทคนิคการเขียน introduction ให้น่าสนใจคือ
- เขียนให้ไม่เกิน 150 คำ
- พูดถึงปัญหา ว่าทำไมเราถึงจะต้องอ่านบทความนี้
- วิธีการแก้ไขปัญหา
- ใส่ Table of content เพื่อให้คนอ่านหัวข้อทั้งหมดก่อนเริ่มอ่าน
- ยิ่ง Intro ยาว คนก็จะยิ่งไม่อยากอ่านบทความของเรา
11. อย่าเขียนสถิติขึ้นมามั่วๆ ให้ใช้ข้อมูลสถิติที่ถูกต้อง และมีที่อ้างอิงชัดเจน
อย่าเขียนสถิติขึ้นมาเองโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิง อย่าลืมหา stats ที่น่าสนใจสักประมาณ 3 – 4 อย่างที่จะช่วยทำให้ข้อมูลของเราดูน่าดึงดูดและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
12. ถ้าบทความคุณดีมากแต่ยังไม่ติด Google ให้เช็กเรื่อง Search Intent
เรื่องของ Search intent เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องรู้ในปีนี้เลยค่ะ ถ้าพูดง่ายๆ คือคนเรามักมีจุดมั่งหมายในการค้นหาบน Google อยู่แล้ว เราจะต้องเข้าใจคนอ่านก่อน ว่าก่อนที่เขาจะมาเจอบทความของเรา คนอ่านเขาต้องการอะไร
เข้าใจเรื่องของ Search intent 4 ประเภท
Navigational: ค้นหาเพื่อต้องการตามหาอะไรบางอย่าง
Informational: ค้นหาเพื่อต้องการเรียนรู้เนื้อหาด้านนั้น
Transactional: ค้นหาเพื่อต้องการซื้อทันที
Commercial: ค้นหาเพื่อต้องหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าอะไรสักอย่าง
ตัวอย่าง Search intent อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ
1. Navigational – ค้นหาเพื่อนำทาง หาข้อมูลเพื่อนำทางไปยังข้อมูลนั้นๆ
📎 คีย์เวิร์ด: Apple website
คีย์เวิร์ดนี้หมายถึงคนกำลังค้นหาเว็บไซต์ของ Apple แต่ไม่รู้ว่าชื่อ URL อะไร
2. Informational – ค้นหาเพื่อต้องการเรียนรู้เนื้อหาด้านนั้น
📎 คีย์เวิร์ด: วิธีปลูกต้นไม้ในบ้าน, ปลูกต้นไม้ในบ้านอะไรดี?, ต้นไม้อะไรปลูกในบ้านได้? ฯลฯ
คีย์เวิร์ดนี้คือผู้ค้นหาต้องการเรียนรู้วิธีปลูกต้นไม้ภายในบ้านแบบละเอียด เพื่อสะสมความรู้เพิ่มเติม
3. Transactional – ค้นหาเพื่อทำการซื้อกางเกงยีน
📎 คีย์เวิร์ด: ซื้อกางเกงยีนออนไลน์
คีย์เวิร์ดนี้คือผู้ค้นหาต้องการจะซื้อกางเกงยีนแบบออนไลน์ ผู้ค้นหาอาจจะต้องการค้นหาเพื่อเปรียบเทียบราคา, หาเว็บไซต์ในการซื้อ, หรือรูปแบบกางเกงยีนที่ต้องการ แต่ในใจคืออยากซื้อไปแล้ว 70%
คำแนะนำคือ ถ้าเราจะเขียนคีย์เวิร์ดในกลุ่มนี้ต้องทำยังไงก็ได้ให้เกิด Action ในการซื้อให้ได้ ถ้าเราขายของให้เขาไม่ได้ อย่าเขียนคีย์เวิร์ดกลุ่มนี้
4. Commercial – ค้นหาเพื่อหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้ออะไรสักอย่าง
📎 คีย์เวิร์ด: โปรโมชัน iPhone15, iPhone 15 VS Google pixel 8
คีย์เวิร์ดนี้บ่งบอกถึงผู้ค้นหาสนใจในสินค้าชนิดนี้ และต้องการค้นหาโปรโมชันส่วนลดพิเศษที่เกี่ยวข้องกับมือถือ เพื่อจะได้นำไปประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้านั่นเอง
ดังนั้นการเขียนในหมวดหมู่ Commercial จึงต้องจูงใจก่อนการซื้อให้ได้มากที่สุดนั่นเองค่ะ
13. ใช้ภาพประกอบการเล่าเรื่องให้สวยงาม
การทำภาพประกอบให้ดึงดูดและน่าสนใจ มีความสำคัญมากๆ ค่ะ ถ้าเกิดเราทำภาพประกอบเองไม่ได้ ก็อยากให้ทุกท่านใช้เครื่องมือทำกราฟิกฟรีที่มีเทมเพลตให้เราเริ่มต้นใช้งานเพียบ อย่างเช่น
ปล. ปัจจุบันโปรแกรมเหล่านี้ได้มีฟีเจอร์ผนวกพวกเรื่องของ AI เข้าไปมากมาย บอกเลยว่าคุ้มค่ามากๆ ที่จะเสียเงินรายปี ลองอ่านบทความใหม่ของนัทได้จากที่นี่เลย
พาไปดูฟีเจอร์ใหม่จากงาน Canva Create 2023 โอ้โห AI มาแล้วของจริง
14. อย่าเขียน Paragraph เนื้อหาให้ยาวเหยียด
เพราะถ้าเขียนยาวคนก็จะไม่อยากอ่าน ความยาวของเนื้อหาที่ดีจึงไม่ควรเกิน 6 บรรทัด อย่าลืมว่าเรายังมีผู้อ่านที่อ่านผ่านทาง Tablet, Mobile อีก ถ้าเราเขียนยาวมากกว่านี้แปลว่าตัวหนังสือจะแสดงผลจำนวนมากบนหน้ามือถือ
ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านนั้นอ่านได้ยาก และอีกข้อคืออย่างที่เรากล่าวไปแล้วว่าปัจจุบันคนมีเวลาโฟกัสกับเนื้อหาเพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น
15. ลองใช้ CSS Block หรือทำกล่องในการคั่นกลางเนื้อหา
เทคนิคการทำ SEO นี้จะช่วยให้เนื้อหาบนหน้าจอของเราอ่านง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Designil ใช้กล่องหลากหลายสีเพื่อทำให้ content มีความน่าอ่าน ยกตัวอย่างกล่องด้านล่างนี้เลย
การใช้กล่องข้อความ CSS Block หรือ Quote และทำสีให้ตัดกับพื้นหลังอย่างชัดเจน จะช่วยทำให้เรามีการเบรกคั่นกลางระหว่างเนื้อหา ทำให้เนื้อหาของเราอ่านง่ายขึ้น
Designil
16. ขยายเนื้อหาของบทความให้สมบูรณ์
ขยายเนื้อหาให้น่าสนใจด้วยการเพิ่มข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในบทความ ไม่ว่าจะเป็น
- ข้อดี
- ข้อเสีย
- คืออะไร
- เพื่ออะไร
- ราคาเท่าไร
- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง
- ยกตัวอย่างประกอบ
17. เขียนให้เหมือนมนุษย์เขียน อย่าเขียนให้เหมือนโรบอต
การเขียนในปัจจุบันมีเครื่องมือมาช่วยเขียนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AI หรือว่าตัวช่วยเขียน ซึ่งช่วยทุ่นแรงนักเขียนได้ล้านเท่า แต่ปัญหาคือการเขียนเหล่านั้นทำให้เราดูเหมือนกับโรบอตมาเขียนให้คนอ่าน ซึ่งไม่มีผลดีอะไรเลยกับเว็บไซต์ของเรา ดังนั้นเทคนิคการทำ SEO ที่สำคัญในการเขียนบทความคือเราจึงจะต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์ ให้เข้าถึงง่าย เข้ากับคาแรคเตอร์ของเรา
อย่าง Designil เองจะมีคาแรคเตอร์ที่เราเขียนเป็นประจำคือ
- เป็นกันเอง
- ใช้คำว่าเพื่อนๆ และเรา แทนคำว่าคุณ, ฉัน, ข้าพเจ้า
- ใช้คำลงท้ายได้บ้างเพื่อให้นุ่มนวลและเป็นกันเอง
- เขียนเหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง
- ห้ามใช้คำศัพท์ที่เข้าใจยากโดยเด็ดขาด
- ใช้ภาษาที่คนระดับประถมและมัธยมต้นเข้าใจได้ง่าย
18. เขียนคอนเทนต์ 1 ครั้ง สามารถนำไปทำเขียนบนแพลตฟอร์มอื่นได้อีก
การเขียนของเราไม่ได้สิ้นสุดแค่บนบทความ เราสามารถเปลี่ยนเนื้อหาของเราให้เป็นคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอื่นได้ต่างๆ มากมาย อาทิเช่น Twitter, Facebook, Youtube, Tiktok, Shorts, Instagrams
หากเพิ่งเริ่มต้น ลองจับสัก 2 ช่องทางการโปรโมตก่อนได้เลย
19. เพิ่มช่องทางการเก็บ Leads เพื่อดึงดูดคนอ่าน
อย่าลืมว่าเว็บไซต์และ newsletter ของเราเป็นช่องทางที่ดีเยี่ยมในการทำโฆษณาและจะไม่มีวันหายไป แม้แต่ ChatGPT, Google หรือ Social Media ก็จะขโมยยอดผู้ติดตามของเราไปไม่ได้
ดังนั้นเราจะต้องทำการเก็บ leads ในรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจของเราให้ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การแจก eBook ฟรี, การแจก checklist และอื่นๆ เพื่อให้เราสามารถเพิ่ม emails ของผู้ติดตามของเราได้ และจะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะเปลี่ยนให้ผู้ติดตามกลายมาเป็นผู้ซื้อของเราได้อนาคต
20. ถ้ารู้สึกเริ่มหมดไอเดีย ลองใช้ ChatGPT
การใช้งาน ChatGPT เป็นสิ่งที่กำลังมาแรง ถ้าอยากทุ่นแรงและประหยัดเวลาในการทำงาน เราอยากให้ทุกคนมาลองใช้งาน ChatGPT ให้เหมือนเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ใจ เราจะได้ไม่ต้องทำงานซ้ำๆ ในเวลานานอีกต่อไป
ChatGPT คืออะไร? ใช้งานอย่างไร? วิธีป้อนคำสั่ง? มาดูกันเถอะ
21. วางแผนคีย์เวิร์ดให้เป็น Clusters และทำ Internal links ให้เป็นระบบ
วางแผนตารางคีย์เวิร์ดของบทความที่เกี่ยวข้องกัน และลิงก์กันไปมา เพื่อสร้างระบบกลุ่มก้อนของบทความที่เกี่ยวข้องของเรา
Designil แนะนำว่าลองทำข้อมูลเป็น Excel sheet เพื่อติดตามบทความ เนื้อหาและ keyword ของเราแบบละเอียด
22. อย่าลืมทำการโปรโมต Content ของเราบนช่องทางอื่นๆ
เขียนเสร็จแล้วก็อย่าลืมโปรโมตเนื้อหาของเราบนช่องทางอื่นๆ ด้วย หรือจะนำไปโพสต์ทาง social media, forum, facebook group และอื่นๆ จะช่วยให้เราสร้างรายได้จากเนื้อหา รวมไปถึงช่วยเพิ่มโอกาสอื่นๆ ในการเข้าถึงเว็บไซต์เราอีกด้วย
23. ตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจ
การตั้งชื่อบทความเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ เรามาลองดูตัวอย่างกันสักหน่อยดีกว่า
วิธีตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจและน่าอ่าน
ลองใช้ส่วนประกอบดังต่อไปนี้
“คีย์เวิร์ด – ตัวเลข – ปี (เช่น 2023) – ผลลัพธ์”
- ✅ Good: 30 เทคนิคการทำ SEO ให้ติดอันดับ Google หน้าแรก แห่งปี 2023
- ❌ Bad: วิธีทำ SEO ง่ายๆ
24. สร้าง Internal links
เทคนิคการทำ Internal links เป็นอะไรที่สำคัญมาก สำหรับการทำ SEO
การมี internal links เพียงแค่ 2 – 3 ต่อบทความนั้นไม่เพียงพอสำหรับการทำ SEO อย่างแน่นอน ดังนั้นอย่าลืมทำเรื่องของการ Link buiding ภายในเว็บไซต์ของเรา ให้ลิงก์ไปลิงก์มาเป็นกลุ่มก้อนของข้อมูลชุดเดียวกัน
เทคนิคการเช็ก Keyword เว็บไซต์ของเราผ่าน Google
ลองพิมพ์คำค้นหาแบบนี้บน Google ได้เลย
site:https://www.ชื่อเว็บไซต์ของเรา.com “คีย์เวิร์ดที่เราคิดว่ามี”
25. วัดผลและติดตามเว็บไซต์ให้สม่ำเสมอ
การวัดสถิติเว็บไซต์อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยให้เราปรับปรุงยอดการขาย และอื่นๆ ได้อีกมากมาย รวมไปถึงคาดคะเนข้อมูลและสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยง, รายได้, ยอดผู้เข้าชม ฯลฯ
ตัวอย่างข้อมูลที่นิยมวัดผลสำหรับ Blog
โดยเพื่อนๆ สามารถใช้ Google Analytics 4 (GA4) ในการติดตามข้อมูลชุดนี้ได้เลย
- ยอดการเติบโตของ Organic traffic
- อันดับของ Keyword (Keyword rankings)
แยกออกเป็นชื่อแบรนด์ และไม่ใช่ชื่อแบรนด์ - Conversion rate จาก organic traffic
- Average time on page และ the bounce rate
- หน้าที่มีคนเข้าชมมากที่สุด ที่เรียกยอด organic traffic ได้สูงสุด
- จำนวนหน้าที่ indexed pages
- จำนวน Links ในเว็บไซต์ (ลิงก์ใหม่ๆ และลิงก์ที่ตาย)
ปกติ Designil จะทำการวัดผลอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีการปรับปรุงเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น Navigation, การเขียนเนื้อหา และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการวัดผลผ่านเครื่องมือ Analytics หรือจะเป็น Survey เองก็ตาม
26. มาทำความรู้จักกับ E-A-T
จากที่นัทได้ลองเขียนบทความมาเป็นจำนวนมาก พบว่าบทความที่สร้างรายได้มากที่สุดกลับกลายเป็นเรานี่แหละที่เขียนนัทเลยคิดว่าเรื่องของ E-A-T มีผลสำคัญมากต่อการทำ SEO และเว็บไซต์เลยค่ะ
E-A-T คืออะไร?
E-A-T ย่อมาจากคำว่า Expertise (ความเชี่ยวชาญ), Authoritativeness (ความเป็นผู้นำ), และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ Google ใช้ในการประเมินคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยเฉพาะสำหรับหัวข้อ Your Money or Your Life (YMYL) ซึ่งเป็นหน้าหรือหัวข้อที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความสุข ความปลอดภัย หรือความมั่นคงทางการเงินของผู้ใช้
E-A-T เป็นส่วนสำคัญของ Google Search Quality Evaluator Guidelines ที่ Rater (ผู้ให้คะแนน) จาก Google ใช้ในการประเมินคุณภาพของผลการค้นหา
คำอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของ E-A-T:
1. Expertise (ความเชี่ยวชาญ): เป็นการอ้างอิงถึงระดับความรู้หรือทักษะที่ผู้สร้างเนื้อหามีในด้านของตัวเอง สำหรับเนื้อหาคุณภาพสูง ผู้เขียนควรมีประวัติการศึกษา เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ หรือความรู้ในหัวข้อที่พวกเขากำลังพูดถึง ในบางกรณี ความเชี่ยวชาญในชีวิตประจำวัน (เช่น ประสบการณ์การใช้งานด้วยตัวเอง) ก็อาจถือว่ามีคุณค่า โดยเฉพาะสำหรับหัวข้อที่ไม่ใช่ YMYL
2. ความมีชื่อเสียง เป็นเจ้าของในเนื้อหา (Authoritativeness) : ความเป็นหลักคือความน่ายอมรับ น่าเชื่อของผู้สร้างเนื้อหาหรือเว็บไซต์ในวงการหรือขอบเขตข้อมูลของผู้เขียน ซึ่งสามารถประเมินได้จากชื่อเสียงของผู้แต่ง คุณภาพของลิงก์ที่เข้ามา การกล่าวถึงหรือการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และความเป็นที่ยอมรับในชุมชนหรือวงการ
3. ความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness) : ความน่าเชื่อถือคือความน่าเชื่อถือและความน่าไว้วางใจของเนื้อหาและเว็บไซต์ ซึ่งสามารถประเมินได้จากปัจจัยเช่น ความโปร่งใส (เช่น การให้ข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับเจ้าของเว็บไซต์ การเขียนชื่อผู้แต่งและวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์) ความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล การเชื่อมต่อที่ปลอดภัย (HTTPS) และชื่อเสียงที่ดีในการซื่อสัตย์ในการมอบข้อมูลแก่ผู้อ่าน
ทุกวันนี้ยังไม่มีตัววัดผลอะไรที่จะบอกได้ว่า E-A-T score ของเรามีมากหรือน้อย เอาเป็นว่าอยากให้ทุกท่านปรับปรุงเนื้อหาของข้อมูลในเว็บไซต์ให้มีความสดใหม่ สม่ำเสมอ พร้อมทั้งเช็กเรื่องความถูกต้องของข้อมูลให้ดีเยี่ยม เพื่อทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นตอบโจทย์แก่ผู้อ่านได้อย่างดีที่สุดนั่นเองค่ะ
ข้อมูลจาก What is E-A-T? Why It’s Important for SEO
27. เรียนรู้เรื่อง Technical SEO ของการทำเว็บไซต์
บางครั้งเว็บไซต์ของเราอาจจะมีข้อจำกัดทางด้าน Technology ที่ทำให้เว็บของเราไม่สามารถติด Google ได้ดีเท่าที่ควร ดังนั้นเทคนิคการทำ SEO อีกข้อที่สำคัญก็คือเราจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้าน Technical ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- Site Speed and Performance Optimization
- Crawling and Indexing
- URL Structure
- Database
- HTTPS and Security
- Structured Data and Schema Markup
- Duplicate Content and Canonicalization
- JavaScript SEO
- XML Sitemaps
- Server Optimization and Log Analysis
- UX (User experience)
- และอื่นๆ
28. Keyword Research ค้นหาคีย์เวิร์ดที่เราต้องการเขียน
คำแนะนำจาก Designil คือการวางแผนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับผู้อ่านของเรา และเลือกคำที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านของเรา
❌ อย่าเลือกคีย์เวิร์ดเพียงแค่ 4-5 คำทุกสัปดาห์โดยไม่มีการวางแผนภาพขนาดใหญ่
✅ คีย์เวิร์ดจำนวน 150 – 300 เป็นตัวเลขที่ดีเยี่ยม
อยากให้ทุกคนลองสร้าง Google Sheets และค้นหาคำหลักที่เป็นไปได้ทั้งหมดในเว็บไซต์ รวมไปถึงความยากง่ายของคำนั้นๆ ที่จะเขียนบทความให้ติดอันดับ รวมไปถึงแบ่งประเภทกลุ่มของคีย์เวิร์ดเพื่อสร้างเป็น Link building ได้อีกในอนาคต
ด้วยปริมาณคีย์เวิร์ดจำนวนนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดลำดับความสำคัญ Keyword ได้ โดยอาจจะ filter เรียงลำดับจากความยากง่ายในการติดอันดับของ Google อีกที เพื่อทำให้เราเลือกโฟกัสการเขียนได้ดียิ่งขึ้นด้วยค่ะ
29. อย่าโฟกัสแค่คีย์เวิร์ดที่มีคนค้นหาเยอะ
บางครั้งคีย์เวิร์ดที่มีประโยชน์ยังไม่เคยมีคนค้นพบมาก่อน ดังนั้นไม่ว่าจะคีย์เวิร์ดไหนเราก็สามารถเขียนให้ความรู้ผู้อ่านได้ ถ้าเนื้อหาของเรานั้นตอบโจทย์ผู้อ่านได้ดี
**ดังนั้นอย่าลืมโฟกัสที่ผู้อ่านและประโยชน์ของบทความของเราด้วยนะคะ**
30. ถ้าจะจ้างนักเขียน ต้องบรีฟงานให้ละเอียด
อย่าปล่อยให้นักเขียนของคุณเขียนอะไรก็ได้ตามใจชอบ ในฐานะเจ้าของ content และเจ้าของเว็บไซต์ เราจะมีการต้องบรีฟงานให้ละเอียด ไม่ว่าจะเป็น
- Keyword
- การวาง outline ของเนื้อหา
- สิ่งที่อยากให้เขียนแบบละเอียด
- ตัวอย่างการเขียน
- ภาพประกอบ
- เป้าหมายของเนื้อหา
เรื่องของการทำ Fact check และการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องของเนื้อหาใน Niche ที่เรากำลังจะนำเสนอ มีความสำคัญที่สู้ดดดดด เช่น Designil เขียนด้านออกแบบ คนตรวจทานความถูกต้องก็คือนัทนั่นเองค่ะ
ฟิ้วววววว!!!!~ มาถึงตอนจบจนได้ ไหนใครจำได้บ้างว่าเทคนิคการทำ SEO 30 ข้อที่นัทเขียนไปมีอะไรบ้าง?
จัดหนักจัดเต็มด้วยเนื้อหาสาระล้วนๆ ทั้งหมดนี้เขียนจากประสบการณ์การทำเว็บไซต์ Designil พร้อมทั้งมีการรีเซิร์ชข้อมูลจากหลายๆ ที่ เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านกันแบบจุใจ
บทความนี้ตั้งใจเขียนมากๆ นัทใช้เวลาในการเขียนไปมากกว่าสัปดาห์เลยค่ะ สุดท้ายนี้ถ้าบทความนี้มีประโยชน์นัทขอฝากบทความด้านล่างนี้ไว้ด้วยนะคะ แล้วมาเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่า ^_^
รวม Plugins และ Hosting ที่เราใช้ในเว็บไซต์ของ Designil ทั้งหมด
- แนะนำ 10 Hosting ยอดฮิตในไทยสำหรับเว็บไซต์ WordPress
- WP Rocket คืออะไร? มาเพิ่มความเร็วให้เว็บไซต์ WordPress กันเถอะ
- แชร์ประสบการณ์ใช้ Rank Math SEO Plugin พร้อมรีวิว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รีวิว 14 WordPress SEO Plugin ปรับเว็บให้ติดอันดับกูเกิ้ล
- 20 SEO Checklist เตรียมเว็บไซต์ให้รองรับ SEO ประจำปี 2022
- รีวิว 5 AI Writer โปรแกรมเขียนบทความ อีเมล์ social media
- ChatGPT คืออะไร? ใช้งานอย่างไร? วิธีป้อนคำสั่ง? มาดูกันเถอะ
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา