5 tips design system วันนี้ได้นำข้อมูลมาจาก Spotify design โดยผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่าจะไม่เสียใจเลยถ้ารู้ 5 ข้อนี้ก่อนการสร้างระบบ Design system ของตนเอง
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Design system มาอ่านบทความของเรา พร้อมดูวิดีโอก่อนเริ่มต้นได้ที่นี่เลย
- [วิดีโอ] สอน Design system จากงาน Invision Design exchange
- Design System คืออะไร? เล่าเคสการทำงานจริงพร้อมตัวอย่างประกอบ
- ทีมงาน Design system ต้องมีใครบ้าง + แจกหนังสือสอนทำ Design System ฟรี
5 design system tips เรื่องนี้ดีรู้งี้ทำนานแล้ว!
1. เก็บข้อมูลผู้ใช้ตั้งแต่ก่อนเริ่มออกแบบ
ตอนเริ่มทำ Design system ของทีม Shopify เขาไม่เคยทำ research และเก็บความต้องการของ internal user หรือ external user เลย เพราะทำงานอยู่แต่ใน silo ของตัวเอง
ดังนั้นการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งาน Design system ของเราในองค์กรตัวเองก็เลยสำคัญมาก เป็นข้อมูลที่จะช่วยนำมาออกแบบได้ดีที่สุด และะจะทำให้เกิดการ Adoption งานของเราดียิ่งขึ้นอีกด้ย
2. สื่อสารกับผู้ใช้ของเรา
มีคนบอกผู้เขียนว่า เราจะต้องทำการสื่อการกับ User เยอะ ๆ นะ เพราะเขาจะได้ใช้งาน Design system ของเราและได้รับการแจ้งเตือนทันเวลา
แต่การสื่อสารกับ user ที่ใช้งาน Design system ของเรานั้นไม่ได้มีแค่เขียน change log อัพเดทขึ้นออนไลน์เพียงอย่างเดียว
แต่เราลองคิดถึงวิธีการอื่นด้วย เช่น ถ้าเกิดทำงานในออฟฟิศ การแปะป้ายโปสเตอร์ไว้ในห้องน้ำ, อัพเดท log ไว้ในแชท, ในกรุ๊ป, ใส่ภาพไว้ในทีวีโถงทางเดินออฟฟิศ ป้ายที่หน้าประตูทางเข้า บางครั้งไม่จำเป็นจะต้องทำเป็น meeting ขนาดใหญ่ก็ได้ หรือเราอาจจะแทรกไปในมีตติ้ง kick off ฟีเจอร์ของโปรดัคที่จะได้เจอทุกคนพร้อมกันก็ได้เช่นกัน
3. มารู้จักกับ SEMVER
มาทำความรู้จักกับ SEMVER (Semantic versioning)
SEMVER คือการตั้งชื่อ versioning ของ design system ของเราให้เป็น 3 หลัก ตัวอย่างคือ 2.0.0 และมันคือ MAJOR.MINOR.PATCH
ความหมายของแต่ละหลักคือ
Major = Large, breaking API changes
Minor = Minimal, non-breaking API changes
Patch = Bug fixes
การตั้ง SEMVER จะช่วยให้ User เข้าใจว่า การอัพเดทเวอร์ชั่นของ component ของเราในครั้งนี้นั้น เป็นเวอร์ชั่นที่เท่าไร มีอะไรอัพเดทเพิ่มขึ้นมาบ้าง
ส่วนระยะเวลาในการปล่อยของแต่ละ component นั้น Spotify ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์ เพราะว่าจะต้องใช้เวลาในการเทสเวอร์ชั่น alpha, beta และให้เวลากับทีมในการเช็คบั๊ก โดยระยะเวลาในการ launch นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของทีม และ Design system ของเราเลยค่ะ
4. เก็บข้อมูลการใช้งานทุกครั้ง
เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการอัพเดท การใช้งานของแต่ละ component เพื่อเป็นการวัดผลว่าไอ้สิ่งที่เราออกแบบไปเนี่ย มันมีคนใช้จริงเท่าไร (Adoption) และมีการอัพเดทกี่ครั้ง (Upgrage) ต่อเนื่องหรือไม่ มีบั๊กเท่าไร มีการยกเลิกไปแล้วกี่อัน (Downgradge) etc..ตัวอย่างเช่น ปล่อย component ตัวนึงออกไปแล้วไม่มีการอัพเดทเลยหลังจากนั้น หมายความอะไร เกิดจากทีมเรามีอะไรมา block ในการทำงานหรือไม่ ซึ่งการมี Stats จะช่วยทำให้เรามองเห็นภาพรวมของงานเราได้ดียิ่งขึ้น
5. สร้างระบบรับฟีดแบค
อย่าลืมสร้างระบบที่จะเก็บ Feedback จาก Users ของเรา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงานของเรานอกจากจะทำให้เราเห็นว่า component ของเรา useful แค่ไหนแล้วนั้น ยังสามารถทำให้ทีมของเรามีส่วนร่วมในการ contribute ตัว design system และจะทำให้คนในองค์กรอยากใช้งาน Design system ของเรามากขึ้น!.เราต้องอย่าลืมว่า การสร้าง Design system นั้นเราสร้างมาเพื่อให้คนใช้งาน จากผู้ใช้งานจริงDesign systems are, after all, built for people, by people..
Ref: Spotify design
จบกันไปแล้วกับ 5 design system tips จากดีไซน์เนอร์จาก Spotify
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ชื่นชอบเรื่องราว Web Design, UI, UX, HTML, CSS, Front-end Development มาเข้ากรุ๊ป Designil ได้ที่นี่
>> http://bit.ly/2Gk15SF
แอดเขียนให้สดใหม่ทุกเช้า ตื่นมาได้อ่านจุใจแน่นอลลล
แอดนัทขอฝากปลั๊กอินดี ๆ ทำเว็บไซต์ WordPress ของคุณให้รองรับ PDPAกฏหมาย PDPA จะบังคับใช้แล้วกลางปีนี้ โทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท หรือจำคุก 1 ปี อย่าลืมทำเว็บไซต์ให้ถูกหลักด้วยนะคะ
https://www.designilpdpa.com