7 ข้อที่ไม่ควรทำ สำหรับ UX Designer

Natk

บทความนี้เป็นบทความที่แอดนัทได้สรุปแปลมาจากตอนหนึ่งของหนังสือ Think like a ux researcher และคิดว่าเนื้อหาในบทความนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่อยากทำงานในสาย UX Designer หรือ UX Researcher เนื้อหาวันนี้นั้นจะเล่าถึง 7 ข้อที่ UX Designer ไม่ควรทำ ไปติดตามกันเลยค่า


หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่าการทำ Product หรือ Service ให้ใช้งานได้ “ง่าย” นั้นไม่ยากเลย แต่ในความเป็นจริงแล้วหากเราลงไปถาม User ของเรา บางครั้งพวก User อาจจะตอบว่านี่มันห่างไกลจากคำว่า “ง่าย” ไปเยอะเลย 

คำถามคือทำไมเราถึงไม่เข้าใจคำว่า “ง่าย” ในมุมมองของ User

หลังจากเราออกแบบ Product หรือ Service ที่ User ใช้งานไม่ได้ เราก็ดันกล่าวโทษไปที่เราไม่ได้ทำรีเสิร์ชที่เพียงพอ

สุดท้ายแล้วจำนวนครั้งที่เราทำรีเสิร์ชนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการรีเสิร์ชต่างหาก และเราสามารถบอกได้หรือไม่ว่าคุณภาพของรีเสิร์ชของเรานั้นดีเพียงพอหรือยัง

ในบทความนี้เราจะเล่าเรื่องถึง 7 ข้อที่ UX Designer ไม่ควรทำ ดังต่อไปนี้

  1. เชื่อในสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์
  2. เชื่อว่าเราใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง
  3. Bias ความลำเอียงและความอคติที่เกิดขึ้นจากการทำรีเสิร์ช
  4. เก็บข้อมูลที่ได้ไว้ที่เราเพียงคนเดียว
  5. ความขี้เกียจ
  6. การทำรีเสิร์ชที่คลุมเครือ
  7. นำเสนอสิ่งสำคัญของการรีเสิร์ชออกมาไม่ได้

ข้อที่ 1  เชื่อในสิ่งที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

หมายถึงการเชื่อในการทำรีเสิร์ชที่ปราศจากการพิสูจน์ ถ้าพูดในเชิง UX ก็คือการถามลูกค้าต้องการอะไร (What they want) และเชื่อในคำตอบนั้นทันที

ในหนังสือได้เล่าถึงเรื่องคุณเดวิด ได้เข้าไปช่วยทำ Usability testing ให้กับลูกค้า เพราะว่าลูกค้าลองทำ Usability testing แล้วผลลัพธ์จากการทำรีเสิร์ชนี้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอให้นำไปใช้งานได้จริงได้ ลูกค้าก็เลยสงสัยว่าเรากำลัง Recruit คนมาถูกต้องแล้วหรือเปล่า หรือว่าการทำ Analysis หลังจากการทำรีเสิร์ชครั้งนี้ไม่ถูกต้อง

คุณเดวิดเลยไปนั่งดูด้วยใน Observation เพื่อสังเกตการ ในห้องนั้นแอดมินหรือคนสัมภาษณ์ได้โชว์ตัวอย่างการออกแบบ UI กับ User 3 แบบ พร้อมกับถามคำถามว่า “ชอบดีไซน์แบบไหนมากที่สุด จากทั้ง 3 แบบ?” “ทำไม”

การตั้งคำถามว่า “คุณชอบแบบไหนมากที่สุด” เป็นคำถามที่น่าสนใจ บางครั้งก็ดูจะเมคเซนส์และเป็นไปได้ แต่ว่าการตั้งคำถามแบบนี้เป็นคำถามที่ผิด

เป็นเวลากว่า 40 ปีที่นักจิตวิทยา Richard Nisbett และ Timothy Wilson ได้ทดลองทำรีเสิร์ชนอกร้านขายของใน Annarbor, Michigan

โดยผู้ทำรีเสิร์ชได้ตั้งโต๊ะนอกร้านค้า พร้อมกับป้ายที่เขียนว่า “สำรวจการประเมินผลของลูกค้า สินค้าไหนคุณภาพดีที่สุด” โดยบนโต๊ะมีถุงน่องของผู้หญิงอยู่ทั้งหมด 4 คู่ พร้อมกับตั้งชื่อว่า A, B, C, D จากซ้ายไปขวา

ผู้คนส่วนใหญ่เลือกสินค้า D (40%) และคนส่วนน้อยได้เลือก A (12%)

ประเด็นของการทำรีเสิร์ชนี้คือ ถุงน่องที่วางไว้บนโต๊ะทั้งหมดนั้นเหมือนกันทุกคู่! แต่ที่คนส่วนใหญ่เลือกคำตอบข้อ D เพราะว่าเรื่องนี้อยู่ที่การจัดวาง หรือที่เรียกว่า Position Effect 

ผู้ทำรีเสิร์ชก็เลยเกิดความสงสัย กลับไปถามต่ออีกว่าทำไมถึงเลือก A หรือ D ทุกคนก็ไม่ได้มีใครตอบว่าฉันชอบเพราะว่ามันอยู่อันแรก หรืออันสุดท้าย แต่ทุกคนดันบอกว่า เพราะว่าถุงน่องคู่นี้สวยจังเลย ยืดได้ ฯลฯ สุดท้ายผู้ทำรีเสิร์ชก็ถามกลับไปอีกว่ารู้หรือเปล่าว่าคุณเลือกอันนี้เพราะมันอยู่ตำแหน่งที่ 1 กับตำแหน่งสุดท้าย
แต่ทุกคนก็คิดว่าผู้ทำรีเสิร์ชต้องบ้าไปแล้วแน่ๆ

โดยเรื่องของ Position effect นั้นได้เป็นเรื่องนึงทางจิตวิทยาของ Mental process  ที่เราเรียกกันว่า Cognitive bias โดยที่คนเราจะสามารถจดจำเนื้อได้แค่ตอนต้น กับตอนท้ายๆเท่านั้น คนเราจะลืมส่วนตรงกลางของเนื้อหาไป เพราะการทำงานของสมองนั่นเอง

ควรจะถามอะไรเพื่อให้แก้ไขปัญหานี้ได้?

การทำ UX Research ที่ดี ควรเป็นการรีเสิร์ชที่ทำให้เรา test Needs, golas, behaviors ของ User ลึกๆได้ ไม่มีประโยชน์ที่เราจะถามว่าคุณชอบอันนี้หรือไม่

แต่เราควรถามคำถามที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า User “จะทำอะไรต่อไปในอนาคต” หรือใช้คำถามในเชิงที่ว่า “เล่าให้เราฟังหน่อยว่าคนอื่นเขาทำกันยังไง”

การทำ UX Research ที่ดีนั้นไม่ใช่เพียงแค่ถามคำถามอย่างเดียว แต่เราจะต้องลงไปนั่งสังเกตการณ์ให้นานพอที่จะสามารถเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปด้วย การถามคำถามตรงๆอย่างคุณชอบหรือไม่ อาจจะทำให้ User สร้างเรื่องขึ้นมาตอบเราได้

การใช้ Method อย่างการสังเกตการณ์เข้ามาช่วยในการสัมภาษณ์ ทำให้เรามองเห็นพฤติกรรมของ User ว่าเขามีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร อีกทางนึงคือเราสามารถสมมุติเหตุการณ์ในอนาคตมาเพื่อให้ User แนะนำวิธีการแก้ปัญหาที่เขาจะทำ มาให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

จุดประสงค์ของข้อ 1 ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ สิ่งที่ User พูดนั้นบางครั้งอาจจะไม่มีประโยชน์เท่ากับสิ่งที่ User ทำ – เพราะคนเราไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย

ข้อที่ 2 เชื่อว่าเราใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง

Image result for calculate meme

คือการเชื่อว่าเครื่องมือหรือวิธีการที่เราใช้ในการทำรีเสิร์ชนั้นถูกต้อง

เราอาจจะเจอคนที่คิดว่าการใช้เครื่องมือ methodology อย่าง Survey นั้นคือวิธีการที่ถูกต้อง ในการสำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน เราอาจจะได้ยินเกี่ยวกับการทำ Survey ในข่าว หรือโทรทัศน์อยู่บ่อย ๆ ทำให้ผู้คนก็ต่างคิดกันไปว่าการทำ Survey นั้นเป็นอะไรที่วัดผลได้แม่นยำและถูกต้องกว่าการทำ Field visit หรือการทำ User interview เพราะว่าการทำ Survey นั้นวัดผลได้ในจำนวนมาก และขนาดใหญ่กว่า

แต่เรื่องเศร้าก็คือ ผู้ตอบคำถามจำนวนมากของ Survey เรานั้นไม่ค่อยจะช่วยเราได้มากสักเท่าไร เราก็เลยจะต้องใช้ Field visit หรือ User interview เข้ามาช่วยในการทำรีเสิร์ชของเรานั่นเอง

โดยสองตัวที่กล่าวไปด้านบนนี้นั้นทั้ง Field visit หรือ User interview เป็นเครื่องมือที่ดีมากที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึง needs & goals & behaviors
แต่ก็ไม่ใช่เครื่องมือเพียงแค่ 2 ตัวที่จะช่วยให้เราหาวิธีการแก้ปัญหาได้ ยังมีเครื่องมืออื่นๆอีกมากมายให้เรานำไปใช้ในการหาความต้องการของ User ของเรา

ล่าสุดผู้เขียนได้เข้าไปทำงานกับ UX researcher ที่เชื่อมั่นว่าเราไม่ควรทำรีเสิร์ช อย่างอื่น นอกจากการทำ User interview และพบข้อผิดพลาดดังนี้

✗   ถ้าเราอยากจะทดสอบว่า Personas ของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ ก็ให้ทำ User interview เพิ่ม
✗   ถ้าเราอยากรู้ว่าอันไหนควรจะทำก่อนหรือหลัง ให้ทำ User interview เพิ่ม
✗  ถ้าอยากจะเปรียบเทียบ Landing page ทั้ง 2 แบบ ว่าแบบไหนดีที่สุด ให้ทำ User interview เพิ่ม

เมื่อเรามาถึงจุดที่การทำ Qualitative research (การทำรีเสิร์ชเชิงคุณภาพ) ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เราควรต้องใช้ Quantitative data (ข้อมูลเชิงปริมาณ) เข้ามาช่วยในการยืนยันผลการรีเสิร์ชของเรา เพื่อให้ข้อมูลของเรามีน้ำหนักมากขึ้น

Quantitative data ข้อมูลเชิงปริมาณ จะบอกเราว่า WHAT คนกำลังทำอะไร

Qualitative data ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะบอกเราว่า WHY ทำไมคนถึงทำสิ่งนี้อยู่

การทำรีเสิร์ชที่ดีนั้นควรประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งสองแบบ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเลือก Survey ในการยืนยัน Personas ที่คุณสร้างขึ้นมาหลังจากการทำ Field visits หรือคุณอาจจะเลือกใช้ A/B Testing มาเพื่อใช้ในการวัดผล Landing page ที่ถูกสร้างมาจากการทำ Usability testing ว่าแบบไหนคนกดเยอะมากกว่ากัน

การทำรีเสิร์ชก็เหมือนกันกับมุมกล้องเวลาเราถ่ายทำภาพยนตร์ เราไม่สามารถนำเสนอเนื้อเรื่องทั้งหมดในภาพยนตร์ได้ด้วยมุมกล้องมุมเดียวได้ เราจึงต้องใช้กล้องหลายมุมหรือรีเสิร์ชหลากหลายแบบ เพื่อที่จะนำเสนอภาพกว้างออกมาเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจได้นั่นเอง

การทำรีเสิร์ชก็เหมือนกันกับมุมกล้อง เวลาเราถ่ายทำภาพยนตร์ เราไม่สามารถนำเสนอเนื้อเรื่องทั้งหมดในภาพยนตร์ได้ด้วยมุมกล้องมุมเดียวได้ เราจึงต้องใช้กล้องหลายมุมหรือรีเสิร์ชหลากหลายแบบ เพื่อที่จะนำเสนอภาพกว้างออกมาเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจได้นั่นเอง

ข้อที่ 3 Bias

Bias ไบแอส หมายถึงความลำเอียง อคติของเราที่จะส่งผลกระทบถึง User ของเราเวลาเราออกไปทำสัมภาษณ์หรือทำรีเสิร์ช

ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณถามคำถามแย่ ๆ ไปที่ User เพื่อให้เขาตอบในแบบที่คุณอยากได้ยิน เช่น คุณชอบนอนตื่นสายก็เลยไปทำงานช้าใช่หรือไม่? เป็นคำถามที่ Bias ที่ชี้ไปที่ User ว่าเขาเป็นคนแบบไหน ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเลยก็ได้

วิธีการแก้ปัญหา Bias อันนี้ไม่ยาก เพียงแค่คุณแก้ไขคำถาม ให้ถามในสิ่งที่ถูกต้องก็จะลดปัญหาตรงนี้ได้

เพียงแต่บางครั้ง Bias ที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่สามารถแก้ไขได้  ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราออกไปทำสัมภาษณ์เรียบร้อยแล้วกลับมาได้ผลว่า “ไม่มีคนอยากใช้ Product ของเราเลย” แต่เราก็ดันอยากจะหลบซ่อนกับ Manager ของเรา เพราะเราคิดเอาเอง bias ว่าถ้าเราพูดไปแล้ว เจ้านายอาจจะโมโหโกรธาได้ว่าสิ่งที่เราคิดมานั้นใช้ไม่ได้ หากสิ่งเราทำรีเสิร์ชมาแล้วใช้งานไม่ได้นั้น ก็ไม่จำเป็นจะต้องหลบซ่อน เพราะสุดท้ายแล้วยิ่งเราเจอไว เราก็กลับตัวได้ไว

งานของ UX Researcher นั้นไม่ใช่การทำสัมภาษณ์เพื่อให้ถูกใจกับ Manager ไม่ใช่งานของเราที่จะพยายามทำให้ทุกคนหันมาใช้สินค้าของเรา แต่งานของเราคือการตามหาความจริง และนำเสนอสิ่งที่เราค้นพบให้กับทีม ทำให้ทุกคนเข้าใจ Data ของเรา ไม่ใช่การนำเสนอสิ่งที่ทุกคนอยากได้ยิน

ข้อที่ 4 เก็บข้อมูลที่ได้ไว้ที่เราเพียงคนเดียว

การทำ UX Research แล้วเก็บข้อมูลทั้งหมดไม่ให้คนอื่นรู้ หรือเก็บการค้นพบไว้ที่เราเพียงผู้เดียว

โดยปกติแล้ว UX Research มักจะเป็นงานที่จะแจกจ่ายไปให้คนหนึ่งคนในทีมเท่านั้น และคนๆนั้นมักจะเป็นคนเดียวที่สามารถตอบคำถามถึงเรื่อง Needs ของ User ของเราได้เพียงคนเดียว แต่ทีม Development ที่ดีนั้น ทุกคนควรรับรู้ถึงข้อมูลนี้ ทุกคนควรเข้าใจ Insight ของลูกค้าและสามารถเล่าได้ว่าเบื้องหลังของ User คนนี้คืออะไร มากกว่าการเก็บข้อมูลไว้ที่คน ๆ เดียวอย่าง UX Researcher

วิธีที่จะช่วยให้ทีมมีส่วนร่วมกับการทำรีเสิร์ช ของเราคือ จัดการประชุมหรือ workshop ร่วมกันกับทีมทุกๆ 6 สัปดาห์ ในเวลา 2 ชั่วโมง ออกไปนั่งทำ Field visits หรือ Usability tests ร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนมี Empathy เหมือนกัน

จุดประสงค์ของการให้ทุกคนมีส่วนร่วมคือ การสร้างวัฒนธรรมแบบ User centred design ทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับ User และวางแผนการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อที่ 5 ความขี้เกียจ

ความขี้เกียจของ UX Designer คือการใช้ข้อมูลรีไซเคิลจากงานรีเสิร์ชเก่า ตัดแปะงานเก่าในงานใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการออกไปทำรีเสิร์ชอีกรอบ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ จากการทำ Personas

เรามักจะพบลูกค้าที่กำลังมองหาบริษัทที่จะเข้ามาช่วยทำ Personas หลังจากนั้นบริษัทที่จ้างมาก็จะเข้ามาเพื่อทำ Field research กับจำนวน User ที่ลูกค้าต้องการ พร้อมกับ Personas ที่สวยงาม 1 ชิ้น แต่ถ้าเราทำงานไปนานๆ เราจะพบว่า Personas ที่ดีนั้นจะต้องเป็น Living Personas คือ Personas  ที่ต้องมีการอัพเดทอยู่สม่ำเสมอ 

และข้อมูลใน Personas นั้นจะต้องมีทีม Development ในการรีเสิร์ชด้วย ไม่ใช่ใช้แค่เพียงบริษัทข้างนอกอย่างเดียว

เอาล่ะ กลับมาที่เรื่องของการยกตัวอย่าง Personas
ผู้เขียนมักจะได้รับคำถามจากลูกค้าบ่อยๆว่าเราสามารถนำ Personas เก่ามาใช้ซ้ำได้หรือไม่ ในโปรเจคที่เรากำลังจะทำใหม่ แต่ว่า Personas เก่านั้นไม่ได้อัเดทมามากกว่าปีแล้ว ถ้าเกิดว่า User ยังมี Behavior แบบเดิม คำตอบก็คงจะได้ แต่ปัญหาคือ User ของเราในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเราตามไม่ทัน แล้วทำไมเรายังจะต้องใช้ของที่ไม่ได้อัพเดทมาเป็นปีแล้วอีกรอบล่ะ

ความลับที่หลาย ๆ คนไม่รู้คือ เราไม่จำเป็นจะต้องสร้าง Personas ทุกครั้งเพื่อสร้าง User centered design เพราะการทำ User centered design นั้นไม่เกี่ยวกับการทำ Personas

การทำ Personas นั้นเราสร้างขึ้นเพื่อให้เราเข้าใจ User needs, goals & motivation

สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงมากที่สุดคือทีม Development ถ้าเกิดว่าทีมของคุณเข้าใจ Personas และรู้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณหลักๆคือใคร คุณก็ไม่จำเป็นจะต้องทำ Personas และการรีไซเคิลการรีเสิร์ชเก่าๆจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเกิดว่าคุณทำ UX Research ให้เข้าไปอยู่ในองค์กรของคุณทุกที่

ข้อที่ 6 การทำรีเสิร์ชที่คลุมเครือ

การทำรีเสิร์ชที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ ในทาง UX Research เราจะกล่าวถึงทีมที่ล้มเหลวในการโฟกัสไปกับหัวข้อที่ใช้ในการทำรีเสิร์ช และพยายามที่จะตอบคำถามทุกข้อภายในการทำรีเสิร์ชเพียงแค่ครั้งเดียว

การทำรีเสิร์ชที่คลุมเครือนี้ยังรวมไปถึงการรีเสิร์ชแบบขี้เกียจอีกด้วย หากเราทำรีเสิร์ชด้วยการถามคำถามจำนวนมาก เท่ากับคุณจะได้อะไรกลับมาที่น้อยมาก คล้าย ๆ กับเครื่องซักผ้าที่เราใส่ผ้าไปจำนวนเยอะมาก แล้วผ้าก็ซักออกมาไม่สะอาด

หากทำรีเสิร์ชด้วยการถามคำถามจำนวนมาก = คุณจะได้อะไรกลับมาที่น้อยมาก คล้าย ๆ กับเครื่องซักผ้าที่เราใส่ผ้าไปจำนวนเยอะมาก แล้วผ้าก็ซักออกมาไม่สะอาด

การทำ UX Research เราต้องการเรียนรู้ให้ได้มากจากการทำรีเสิร์ชจำนวนน้อย ดังนั้นเราจะต้องคำนึงถึงคำถามที่เราควรทำรีเสิร์ชให้ดี ถ้าอยากให้คำถามของเราครอบคลุมตอบโจทย์ปัญหา เราควรปรึกษากับทีม Development ของเราว่าอันไหนจะมีประโยชน์มากที่สุด ผลลัพธ์จากการรีเสิร์ชแบบไหนที่ทีมกำลังต้องการ และเราจะนำผลลัพธ์นี้ไปใช้ได้อย่างไร

ทุกคนในทีมควรมีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม และ Assumption สมมุติฐานที่เราต้องการนำไปทดสอบ

แนะนำให้จัดกิจกรรมร่วมกับทีม ในการเสนอสมมุติฐาน และช่วยกันโหวตคำถามก่อนนำไปทดสอบจริง

ข้อที่ 7 นำเสนอสิ่งสำคัญของการรีเสิร์ชออกมาไม่ได้

ข้อสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด UX Researcher รักในตัวเลข รักในข้อมูล แต่เวลาที่เรารักข้อมูลของเรามากจนเกินไป เราจะพยายามนำเสนอข้อมูลจำนวนมาก รวมไปถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็น จนไม่สามารถนำเสนอสิ่งที่สำคัญและประเด็นของการรีเสิร์ชครั้งนี้ออกมาได้

ข้อที่ควรจำสองข้อด้วยกันในการนำเสนอข้อมูลคือ

ทุกคนจะเปิดดูรายงานขนาดยาวของคุณ ดูตัวเลข ชื่นชมว่าคุณเก่งขนาดไหนที่ทำรายงานมาหนาขนาดนี้ เบื่อ และจากไป

  1. ไม่มีใครอ่านรายงานขนาดยาว – ทุกคนจะเปิดดูรายงานขนาดยาวของคุณ ดูตัวเลข ชื่นชมว่าคุณเก่งขนาดไหนที่ทำมาหนาขนาดนี้ เบื่อ และจากไป
  2. รายงานที่มีเนื้อหามากจนเกินไป จะทำให้ขั้นตอนการออกแบบทำได้ช้าลง – เราควรรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเป็นเนื้อหาสั้น มีประเด็น จับใจความได้ ย่อยง่าย หลังจากนั้นหากทีมต้องการจะดูเบื้องหลังของการทำรีเสิร์ช ค่อยให้เอกสารจำนวนมากไปตามอ่านทีหลัง

ถามตัวเองว่าเราจะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดจากการมองเห็นครั้งแรกได้อย่างไร

ตัวอย่างที่ดีคือการทำ User journey map, persona, a usability testing results dashboard


และท้ายนี้ผู้เขียนหนังสือได้สรุปข้อความหลักไว้ดังนี้

  • UX Researcher ทุกคนจะมี Method ที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น Field visit, usability test หรือจะเป็น Survey สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นปัญหาหากว่าเราใช้เครื่องมือเดิมๆเพื่อที่จะตอบคำถามที่เรามีอยู่ จะดีกว่าหรือไม่หากเรามีสิ่งที่ชอบอยู่สักสองแบบ และใช้วิธีการอื่นประกอบกันไปด้วยอีกสักสองแบบ เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด
  • ลองดูว่าครั้งล่าสุดที่เรานำเสนอผลการรีเสิร์ชที่เราทำ สามารถเข้าใจได้ง่ายภายในกระดาษแผ่นเดียวหรือไม่
  • ในบทความเราได้กล่าวถึงความยากลำบากในการนำเสนอข่าวร้าย หรือผลลัพธ์แย่ๆที่ได้จากรีเสิร์ชกับ Manager ของเรา เราลองตั้งคำถามว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคในการนำเสนอข่าวร้าย เราจะทำยังไงให้ทุกคนยอมรับผลลัพธ์จากรีเสิร์ชของเราได้

ต้องบอกว่าขอแสดงความยินดีกับทุกท่านถ้าใครอ่านมาจนถึงตรงนี้ เพราะบทความนี้ยาวมาก มีทั้งเรื่อง insight และเนื้อหาประสบการณ์จากผู้เขียนที่หาอ่านไม่ได้ที่ไหน หากใครสนใจบทความดีๆแบบนี้อย่าลืมกดติดตาม Designil หรือกดรับข่าวสารผ่านทาง Email ด้านล่างนี้นะคะ แอดนัทจะกลับมาใหม่พร้อมกับบทความดีๆในอนาคตค่า ^0^

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด