สรุป Talk เรื่องออกแบบเพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ

Natk

การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ หรื่อเรื่องของ accessibility เป็นอะไรที่สำคัญมากในการทำ Digital Product ในปัจจุบัน
เนื่องด้วยวันพฤหัสที่ 21 พ.ค.นี้จะเป็นวัน #Gaad

📖 บทความนี้มีอะไรบ้าง แสดง

Global accessibility awareness day

ถ้าแปลเป็นไทยก็คงจะเป็นวันส่งเสริมเรื่องของ Accessibility ระดับโลก

ทั่วโลกจะจัดงานพร้อมกันเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว การทำ Product ที่ตอบโจทย์กับ Accessibility มี event ฟังฟรี ที่น่าสนใจมากมาย เช่น event ออกแบบ AI กับ Accessibility จาก Microsoft เป็นแบบออนไลน์

สำหรับคนที่สนใจ Event นี้ มีงานออนไลน์จัดขึ้นพร้อมกันมากกว่า 90 session ในสัปดาห์นี้ ลองดูข้อมูลอีเวนต์และกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
https://globalaccessibilityawarenessday.org/

accessibility day
Accessibility day

อย่างล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมามี Session จาก Facebook ได้จัดขึ้น พูดเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบ Accessibility กับผู้พิการและผู้สูงอายุ กับคุณ​ Don Norman ชื่อว่า

Designing for disability and the elderly. What I wish I could have told myself as a young designer” with Don Norman

นัทและพี่หลง Pattaya ได้สรุปใจความสำคัญของวิดีโอเมื่อคืนมาให้เพื่อน ๆ อ่าน สำหรับคนที่ไม่ชอบดูวิดีโอภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องของ Accessibility กันให้มากขึ้น ไปอ่านกันเลย
ดูวิดีโอได้ที่ Facebook Design Accessibility Summit 2020


ความแตกต่างระหว่าง Inclusive และ Accessibility

คุณลุง Don ปีนี้มีอายุ 84 แล้วค่ะ คุณลุงจะมาเล่าเรื่องราวของคำว่า Accessibility, Inclusive, Universal design ให้ฟังกัน

ก่อนอื่น เราต้องอธิบายความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ให้เพื่อน ๆ เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ก่อนคือ

  1. Inclusive
  2. Accessibility

จริง ๆ แล้วทั้งสองคำมันไม่เหมือนกันเลย

คำว่า Inclusive คือ design process เป็นวิธีคิด กระบวนการในการออกแบบที่เราจะมองไปที่ความเท่าเทียมของผู้ใช้งาน

ส่วนคำว่า Accessibility คือ outcome เป็นวิธีการแก้ปัญหาบนระบบดิจิตัล เป็นผลลัพธ์ของการคิดที่เป็นแบบ inclusive เป็นสิ่งที่จะออกมาช่วยทำให้ผู้ใช้งานใช้งานระบบดิจิตัลได้อย่างเท่าเทียมกัน

สรุปเรื่องราวจาก Session นี้

จุดอ่อนของนักออกแบบอย่างพวกเราคือเวลาเราออกแบบ เราไม่สามารถออกแบบอะไรออกไปเองได้ เพราะว่างานที่เราทำอยู่นั้นจะต้องมีหัวหน้า มีคนที่ทำงานในองค์กรหลากหลาย แปลว่าเราต้องสื่อสารกับผู้บริหาร ที่เขาพูดภาษา business และสิ่งนี้เป็นภาษาที่ปกติเราไม่ได้พูด

ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายของอาชีพนักออกแบบของเรามาก งานของพวกเรามักจะต้องโน้มน้าวผู้บริหารเรื่องของการออกแบบเสมอบางบริษัทก็เลยจะคิดว่าการออกแบบและการจัดทำ Accessibility ทำไปเพื่อคนพิการอย่างเดียว แต่ถ้าเราได้ฟังเรื่องราวจากลุง Don ในวันนี้แล้วจะรู้เลยว่าการออกแบบให้ตอบโจทย์ Accessibility มันยังไปออกแบบให้คนได้โดยทั่วกัน หรือที่เรียกว่า Inclusive design ได้

คุณลุง Don กล่าวว่า หลาย ๆ คนชอบคิดว่าคนที่มีอายุเยอะแล้วหรือเกษียนคงไม่มีอะไรทำ ยังไงก็อยู่บ้านเฉยๆ ก็เลยออกแบบอะไรที่ให้คนแก่ใช้เท่านั้น, เป็นของสำหรับคนสูงอายุ โดยที่ลืมคิดไปมุมนึงว่าในความเป็นจริงมันก็อาจจะเป็นแค่กลุ่มคนส่วนเดียวเท่านั้น ต้องอย่าลืมว่าผู้สูงอายุบางคนก็อาจจะเงินเหลือ สุขภาพดี มีเวลามาก จึงอยากลงไปทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต เช่นเรียนภาษา ซื้อรถหรู ไปเที่ยวที่ ๆ อยากจะไป หรือลองทำอะไรมากมายที่ในสมัยวัยรุ่นไม่เคยทำ

280px HONDA N BOX JF1 01
HONDA N BOX from Wikipedia

ลุงยกตัวอย่างเคสการออกแบบของ Honda n-box มีแนวคิดการออกแบบที่ต้องการตอบโจทย์กับกลุ่มเด็กวัยรุ่น หน้าตาเป็นกล่อง ๆ แต่พอเปิดออกมาสามารถปรับแต่งให้เป็นสไตล์ที่เราต้องการได้ มันเป็นดีไซน์สำหรับเด็กวัยรุ่น แต่คนออกแบบก็ลืมคิดไปว่าถ้าออกแบบมาเพื่อเด็กวัยรุ่น เด็กวัยรุ่นจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อได้ สรุปรถรุ่นนี้ที่ออกมาเด็กวัยรุ่นไม่มีตังค์ซื้อ กลุ่มคนที่มีตังค์ซื้อคือคนสูงอายุ รถคันนี้ก็เลยดันไปฮิตในกลุ่มผู้สูงอายุแทน

คุณลุงเล่าว่า ทุกวันนี้ต้องเอาไฟฉายจิ๋วติดตัวเพื่อเอาไว้อ่านตัวหนังสือเล็ก ๆ ที่อยู่บนของต่าง ๆ เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนขนาดตัวหนังสือได้บนสิ่งของได้ แต่เราสามารถเปลี่ยน contrast ของตัวหนังสือบนสิ่งของได้ด้วยไฟฉายจิ๋ว ดังนั้นการออกแบบตัวหนังสือและสีจึงต้องคำนึงถึงเรื่อง contrast สิ่งนี้จะสำคัญมาก จะทำให้เราอ่านออกได้ง่ายขึ้น

ข้อเสียของการมีอายุเยอะคือ เราจะสูญเสียความชัดในการมองเห็นไป บางคนอายุน้อยก็ประสบปัญหานี้ได้ เช่น คนสายตาสั้น มองเห็นอะไรไม่ค่อยจะชัด ขอบจะเบลอ ๆ ดังนั้นการออกแบบเพื่อคนสูงอายุอย่างเรื่อง contrast ออกแบบให้คมชัด อ่านง่าย มันก็เลยไปตอบโจทย์เพื่อคนแบบอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว (เริ่มจะเข้าใจคอนเซปต์ของ Inclusive design แล้วใช่มั้ยล่า)

คุณลุงบอกว่า คนสูงอายุจะไม่ได้ยินเสียง High frequency อีกต่อไป นอกจากนี้เรื่องของการโฟกัส หลังจากอายุ 40 – 45 ไปแล้วเนี่ย ทักษะในการโฟกัสจะแย่ลง เรียกว่าสายตายาวดีกว่า ทำให้ต้องอ่านหนังสือหลายมุมมากขึ้น บางคนเลยต้องใส่แว่นตาที่มีสองเลนส์ หรือใส่แว่นตาสำหรับอ่านหนังสือนั่นเอง

เรื่องต่อมาเรื่องของการทำกิจกรรมที่ช้าลง Slower พอเริ่มแก่ ก็ไม่รู้ตัวหรอกว่าเราจะทำอะไรช้าลงทางจิตวิทยาเราก็คิดว่าเราทำอะไรคล่องแคล่วเหมือนเด็กวัยรุ่น แต่ในชีวิตจริงเราทำอะไรช้าลงมาก ไม่ว่าจะเป็นการขยับตัว การตอบโต้ แสดงผล react กับสิ่งต่าง ๆ ลุงบอกว่าลุงขับรถ Porche ไปซิ่งก็ไม่ได้เสียแล้ว เสียดายรถ เลยตัดสินใจขายรถให้เด็กดีกว่า

เรื่องต่อไปที่ประสบคือ Tremor อาการมือสั่น เวลาเรามีอายุที่มากขึ้น เราจะเริ่มควบคุมมือไม่ได้ บางคนจะไม่สามารถหยิบจับอะไรได้แม่นยำเหมือนเดิม อันนี้จะไปมีอาการกับพวก touch control, stylus พวกปากกาที่ใช้เขียน tablet, หรือการจับเมาส์ก็ตาม, เราเลยจะต้องออกแบบเพื่อคนที่ไม่สามารถจิ้มอะไรได้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก การทำปุ่มให้ใหญ่ชัดเจน กดได้ง่ายก็จะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ เหมือนกับการออกแบบโทรศัพท์มือถือที่มีปุ่มใหญ่ที่ผู้สูงอายุจะชอบใช้งานกัน

บางทีอายุที่เพิ่มขึ้น มันก็มาพร้อมกับโรคที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเป็นโรคนี้ บางคนเป็นโรคนั้น

ดีไซน์เนอร์ทุกคนเองก็รู้ว่าจะออกเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือส่วนขององค์กร หากในองค์กรของเราไม่มีคนผลักดันที่จะบอกว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เราก็จะไม่สามารถส่งต่อเรื่องราวของการออกแบบที่ดีนี้ออกไปได้

เราจึงต้องกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมเราไม่ออกแบบเพื่อทุกคน เพื่อคนทุกแบบ แม้หลายคนจะบอกว่า accessibility เป็นเรื่องของคนพิการ แค่ niche market จะออกแบบไปทำไม คนใช้ไม่ได้เยอะสักหน่อย

แต่รู้หรือไม่ว่าการออกแบบเพื่อ accessibility สุดท้ายมันจะมาตอบโจทย์กับคนทุกแบบ ไม่ใช่เพียงการออกแบบเพื่อคนพิการอย่างเดียว เพราะทุกคนต่างล้วนต่างมีอาการ Disability ในหลายสถานการณ์ รวมถึงจะมีโรคที่เพิ่มขึ้นไปตามอายุนั่นเอง

ตัวอย่างการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ

Soroban เครื่องคิดเลขแบบลูกคิด
Soroban เครื่องคิดเลขแบบลูกคิด
  • Soroban Calculator เครื่องคิดเลขแบบลูกคิด ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานได้กับคนปกติ แต่ลูกคิดสามารถนำไปใช้งานได้กับคนที่มีปัญหาด้านการพัฒนาการช้า ผู้สูงอายุ ให้สามารถฝึกฝนทักษะการคิดเลข การทำงานเชื่อมกันระหว่างสมองและมือ
  • วิธีการถอดชุด PPE ไม่ให้ contaminate – จริง ๆ ขั้นตอนนี้ควรจะต้องมีการออกแบบ เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ ช่วยให้คนปลอดภัยจากเชื้อโรคได้ บางโรงพยาบาลไม่มี specialist ที่จะดูเรื่องนี้อย่างละเอียด แต่คิดว่าในปัจจุบันหลังจากโรคโควิดมา คนน่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
  • Closed caption การทำวิดีโอที่ใส่ Subtitle & caption จะมีข้อดีสำหรับคนปรกติด้วย หรืออยู่ในบาร์ที่เสียงดัง ๆ ที่เราไม่สามารถดูวิดีโอแบบปกติได้
Curb cut - Curb cut การออกแบบทางลาด Wikipedia
Curb cut การออกแบบทางลาด
  • Curb cut การออกแบบทางลาดที่นอกจากใช้กับ wheelchair ได้แล้วยังใช้กับกระเป๋าเดินทางและรถเข็นเด็กได้ด้วย
  • Contrast ของตัวหนังสือ – สถานการณ์สมมุติเมื่อไปดูคอนเสิร์ต การมีตัวหนังสือใหญ่ ๆ สีตัดกับพื้นหลัง มีพื้นหลังสีเข้ม ๆ จะมีข้อดีสำหรับคนตาดีในที่แสงน้อยด้วย

ช่วง Q&A

the design of everyday things
The design of everyday things by Don Norman

ลุงเคยเขียนหนังสือ Design of everyday things
คำถามคือลุงเคยแนะนำเรื่องของ Inclusive & Universal design อยากให้ลุงเล่าเรื่องคำจำกัดความของสองคำนี้หน่อย?

หากให้ลองยกตัวอย่างนึงที่น่าสนใจจากเรื่องของการทำวิดีโอ รู้หรือไม่ว่าการใส่ Caption ที่ออกแบบไปมันเป็น inclusive design ที่ดีเยี่ยม ที่ไม่ใช่เพียงแค่ออกแบบเพื่อ Accessibility

เพราะการใส่ Caption นั้นจะช่วยตอบโจทย์คนทุกแบบทุกสถานการณ์เช่น คนที่กำลังดูวิดีโอในที่เสียงดัง เปิดแคปชั่นแทนการฟังเสียง หรือเวลาเราไปคอนเสิร์ต เราอยากอ่านป้ายแต่มันมืด ทำยังไงให้เราอ่านได้โดยไม่ต้องเปิดไฟฉายจิ๋วเพื่อไม่ให้รบกวนคนอื่น หรือเรื่องการทำ Handicap seat ที่นั่งสำหรับคนพิการ เพื่อคนพิการที่ใช้วีลแชร์ในการดูคอนเสิร์ต

เรื่องต่อมาเรื่องของคุณลุงได้ยกตัวอย่างจากนักเขียนอย่างคุณ Kat Holmes ผู้เขียนหนังสือเรื่อง visibility ที่มีเนื้อหาในหนังสือว่า คนเราทุกคนนั้นล้วนต่างมีอาการ Disability เพราะบางครั้งเราอาจจะมีแค่แขนเดียว เพราะว่าหิ้วถุงช้อปปิ้งอยู่

เราไม่สามารถทำอะไรไม่ได้ด้วยแขนข้างเดียวได้ หรือยกตัวอย่างเวลาที่เราอุ้มลูก เราก็เหลือแขนข้างเดียว, เวลาที่เราอยู่ที่ที่เสียงดัง เราก็ไม่ได้ยินเสียงคนอื่นพูด, เวลาที่เราอยู่ที่มืด เราก็อ่านหนังสือไม่ออก และนี่คือสิ่งที่หมายถึงในการออกแบบเพื่อ Inclusive design อะไรที่เราออกแบบเพื่อคนเดียว แต่กลับตอบโจทย์กับคนทุกแบบ

Mismatch books
Mismatch books

เราจะออกแบบยังไงเพื่อให้คนพิการได้ใช้งานง่าย ออกแบบแค่ไหน? เพราะการออกแบบเพื่อ Accessibility มีกลุ่มคนเป็นล้าน รู้ได้ไงว่าออกแบบแค่ไหนถึงจะเพียงพอและตอบโจทย์ ?

คุณลุงกล่าวว่ามันยากมาก เพราะปกติเราออกแบบก็เพื่อกลุ่มคนที่เรารู้จักดี กลุ่มคนใหญ่ ๆ ลูกค้าหลักของเรา แล้วเราก็ไปเทส ทดสอบกลับมา iterate แก้ไข ปรับปรุงกันไป แต่พอเราไปออกแบบ product scale ที่ใหญ่มากเช่น Apple, Facebook เรากำลังออกแบบเพื่อคนทั้งโลก เช่น Facebook มีคนใช้ 7 Billions แล้ว มันก็เลยจะตอบยากมากว่าแค่ไหนถึงจะพอ

แต่ในข้อดีของยุคดิจิตัลนั้นคือ เราไม่ต้องทำของอย่างเดียวเพื่อตอบโจทย์คนทุกอย่างบนหน้าจอ เราสามารถทำหลาย ๆ solution เพื่อคนหลาย ๆ แบบได้ เราอาจจะเขียนโค้ดเพื่อแสดงหน้าเว็บไซต์นี้กับคนกลุ่มนี้ หน้าดีไซน์อีกแบบนึงกับคนกลุ่มนั้น หรือทำให้คนปรับขนาดของตัวหนังสือได้ตามใจชอบ, หรือการเปิดปิดระบบ Voiceover

ลุงยังพูดเรื่องของ Co-design และ community-based design ให้ฟัง ลุงบอกว่าอยากให้เราเข้าใจคำนี้ให้มากขึ้นด้วย ลองอ่านข้อมูลประกอบได้ตามเอกสารด้านล่างนี้
https://d-lab.mit.edu/…/D-Lab%20Scale-Ups%20User…

เรื่องของ Community-based design ก็คือไม่มีใครเข้าใจปัญหาได้ลึกซึ้ง เพราะการที่เราแก้ปัญหานี้ได้ที่นี่ ประเทศนี้อาจจะได้ผล แต่พอไปอินเดียเราอาจจะแก้ปัญหานี้ไม่ได้ เพราะว่าเราอยู่กันคนละ culture คนละพฤติกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งหลาย ๆ คน อาจจะเคยเสียเงินจ้าง expert ผู้เชี่ยวชาญไปมากมายเพื่อมาแก้ปัญหาแต่เขาก็ไม่เข้าใจว่า local condition พฤติกรรมของผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศว่ามันไม่เหมือนกัน

เราต้องลงไปหาว่าใครกันแน่ที่ใช้งาน product ของเรา เขามีปัญหาอะไรบ้าง เพราะอะไร ควรจะลงไปทำงานกับเขาเพื่อให้งานของเราดีขึ้น

คุณ Eric จาก MIT เคยกล่าวว่า เราควรลงไปหากลุ่มคนที่กล่าวไปเพื่อสร้าง workaround หรือวิธีการแก้ไขปัญหาจากคนกลุ่มต่าง ๆ เราก็อาจจะนำ workaround ที่เราค้นพบมาใส่ใน product ของเรา เพื่อให้ product ของเราตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น


อนาคตของการออกแบบ ดีไซน์เนอร์ผ่านยุคของการ transform สื่อมามากมายเช่น text-based system (หนังสือ), graphical user interface (GUI) UI บนหน้าจอเดสท็อป คอมพิวเตอร์, touch-based system (มือถือ แท็บเล็ต), อนาคตเราจะไปทางไหน ดีไซน์เนอร์ควรไปโฟกัสเรื่องของ voice interface มั้ย หรือไปทางไหนดี?

คุณลุงกล่าวว่าไม่มีเทคโนโลยีไหนมาแทนที่อันไหน มันจะมีแต่มาเพิ่มเข้าไปเรื่อย ๆ บางทีมันอาจจะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้ามาเพื่อแทนที่ฟังก์ชั่นเดิมเก่า ๆ ที่เราเคยได้ใช้

เราลองมายกตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้เสียง (Voice)

กี่ครั้งที่เราทำงานกับเพื่อนร่วมงาน แบ่งงานส่งต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน แต่เพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูด บางคนทำผิด บางคนทำถูก เพราะอะไร เพราะนั่นคือ limitation ข้อจำกัดของเสียง การสื่อสารด้วยเสียงบางคนรับรู้ได้ไม่เท่ากัน บางคนเข้าใจ บางคนไม่เข้าใจ เรื่องของเสียงเป็นอะไรที่ยากมาก ๆ การใช้เสียงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ยากที่จะสื่อสารทำให้คนเข้าใจได้เท่ากัน

นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าเวลาเราอธิบาย สื่อสารให้กับใครสักคนเราเลยต้องวาดรูป หรือโชว์ตัวอย่างของงานประกอบการอธิบาย นี่ก็เลยเป็นการบอกว่า Voice อย่างเดียวมันก็เลยยากที่จะมาแทนที่สื่ออื่น ๆ ทั้งหมดได้

Voice เองยังมีปัญหาตอนใช้งานหลาย ๆ สถานการณ์ด้วย เช่นเวลาอยู่ในห้องเรียนเลคเชอร์คนเยอะๆ อยากจดโน้ตด้วย voice ก็เกรงใจเพื่อน ใช้ไม่ได้อีก เสียงดังก็รบกวนคนอื่นด้วย

Voice เองนั้นมันก็ดี มันดีมาก คุณลุงเองยังใช้งานเสียงในการสั่งงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเวลาพิมพ์เมสเสจ ลุงก็ใช้ voice สั่งเกือบทั้งหมด แต่ก็ต้องดูด้วยว่าสถานการณ์ประกอบกันด้วยว่าตอนนั้นรบกวนคนอื่นหรือเปล่า

คำตอบข้อนี้คือไม่มีอะไรเจาะจงเลย ว่าเราควรจะไปทางไหน เพราะเทคโนโลยีที่ใหม่นั้นมันมาพร้อมกับข้อดีข้อเสีย แต่เทคโนโลยีที่ดีที่สุดมันจะรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันทำให้เราทำงานง่ายขึ้น

เราจะ balance accessibility issues ยังไง ในเมื่อมันมีปัญหาที่ดูไม่ซ้ำกัน บางคนทำเพราะมี law มากำกับ ถ้าเป็นปัญหาของคนพิการประเภทที่ไม่มีใครพูดถึงมาก่อนล่ะ เราจะทำยังไงให้คนเข้าถึง product ของเราได้ทุกแบบ

บางครั้งการออกแบบที่ดีสำหรับคนนี้ อาจจะไปจำกัดการเข้าถึงของคนอีกกลุ่มก็ได้ ดังนั้นเราควรจะออกแบบเพื่อดึงให้ทุกคนมาอยู่ในระดับที่เท่ากัน เข้าถึงได้เท่าๆกัน

ออกแบบอะไรที่เด็กก็มีความสุขที่ได้ใช้ คนแก่ก็ได้ประโยชน์ ออกแบบเพื่อทุกคน

บทความที่เกี่ยวข้อง


หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใดสามารถแนะนำมาเพิ่มเติมได้ในแฟนเพจ Designil เลยนะคะ
ยินดีแก้ไขปรับปรุงให้ถูกหลักภาษามากยิ่งขึ้นค่า

อยากให้ทุกคนมาสนใจ accessibility กันมากขึ้น ทำไปวันละนิดวันละหน่อยเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกันนะคะ

สำหรับใครที่ชื่นชอบเนื้อหาสรุปแบบสั้น ๆ เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการออกแบบบ้างเป็นประจำ นัทอยากชวนเพื่อน ๆ มา Join Designil group มีพี่ ๆ หลายคนมาช่วยกันแปลเนื้อหาที่น่าสนใจในกรุ๊ปของเราเพียบ แล้วเจอกันนะคะ

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด