เทรนด์ AI กับการเขียนบทความ ช่วยทำงานไวขึ้น 10 เท่า!

Natk

การเขียนบทความด้วย AI เป็นอะไรที่มาแรงมาก ๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่า Artificial intelligence (AI) นั้นกำลังเข้ามาแทรกซึมมาในชีวิตประจำวันของเราเร็วขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น AI จากบนมือถือของเรา เช่น Siri, Google หรือเวลาที่เราเข้าไปช้อปปิ้งบนเว็บไซต์ E-commerce ชื่อดัง แล้วเว็บไซต์แนะนำสินค้าที่ใกล้เคียงให้กับเรา แบบที่ฉลาดมากกว่าเดิม รู้หมดว่าเราอยากได้อะไร

AI นั้นพัฒนาเร็วกว่าที่เคยคิดไว้เยอะเลยค่ะ มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด AI ทั่วโลกจะสูงถึง 190 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025

แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกเกี่ยวกับการถูก AI มาแทนที่งานของเราไป มันยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้อย่างแน่นอนค่ะ เพราะยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีเลยกว่าที่ AI จะเก่งจนสามารถมาแทนที่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่าง Writer ไปได้

สิ่งสำคัญของการเข้ามาของเทคโนโลยีคือ เราต้องเข้าใจว่า AI กำลังส่งผลกระทบอย่างไรกับเรา และจะส่งผลอะไรกับอาชีพนักเขียน เรียกได้ว่าเราต้องมาอยู่ร่วมกันกับ AI เรียนรู้วิธีการใช้งานให้คล่องแคล่วเป็นเพื่อส่งเสริมให้งานของเราดีขึ้นในระยะยาวเลยนะคะ

เรามาเริ่มต้นเนื้อหาในวันนี้ด้วยคำถามที่ถูกถามกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับ AI กันก่อนเลย

ai future - การเขียนบทความ ai writer
ai + future

AI จะมาแทนท่ีอาชีพนักเขียนหรือยัง?

ปัจจุบัน AI ยังมาแทนที่นักเขียนอย่างเราไม่ได้แน่นอน(แต่ก็ไม่แน่) แม้ตอนนี้เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนบทความด้วย AI ที่ออกมากมายเต็มตลาดแถมยังฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ AI Writer เองก็ยังมีข้อผิดพลาดอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ และ ณ ตอนนี้ AI ก็ยังไม่มีความสามารถในการคิดค้นเนื้อหาหรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง

ณ ตอนนี้เครื่องมือช่วยในการเขียนบทความ AI Writer จะใช้งานโมเดล Generative Pre-trained Transformer 3 (GPT-3) ถูกพัฒนาโดย OpenAI เป็นโมเดลที่ยอดนิยมมากที่สุด แต่ก็มีหลายผู้ให้บริการที่พัฒนา Model ขึ้นมาเอง อาทิเช่น Frase

โมเดลของ GPT-3 ยังมีข้อจำกัดของความฉลาดอยู่พอสมควร เราจะเห็นนักเขียนออนไลน์หลายท่านรีวิวให้ฟังกันบ่อยๆ ว่าโมเดลนี้พัฒนาไปถึงไหนกันแล้วบ้าง สามารถค้นหาเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ได้ค่ะ

สิ่งที่ AI Writer ผู้ช่วยเขียนบทความไม่สามารถทำได้

1. ความคิดสร้างสรรค์

AI อาจจะช่วยเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษให้ถูกหลักภาษา แกรมม่า และมีโครงสร้างการเรียงคำที่ถูกต้อง แต่ข้อเสียคือ AI ในตลาดปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถคิดเนื้อหาด้วยตนเองทั้งหมดได้ ถ้าเราไม่ป้อนข้อมูลหรือกำหนด outline โครงสร้างของเนื้อหาลงไปให้ AI ก็จะไม่สามารถทำให้การเขียนบทความของเราออกมาได้ต่อเนื่องกันค่ะ

2. ความหลากหลายในการใช้ภาษา

หากเป็นเนื้อหาที่ใช้คนในการเขียน ผู้เขียนจะทำการหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาหรือคำซ้ำๆ ในการเล่าเรื่อง รวมไปถึงโครงสร้างของประโยคด้วยเพื่อไม่ให้การเขียนดูน่าเบื่อจนเกินไป ในปัจจุบัน AI ยังไม่สามารถที่จะทำงานตรงส่วนนั้นได้

แต่บอกเลยนะคะว่า บางตัวก็สามารถทำได้ดีในเรื่องของการสร้างประโยคแบบใหม่ๆ แล้ว ข้อนี้คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ AI จะทำได้แม่นยำมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้

3. อารมณ์และการความรู้สึก

การเขียนด้วย AI จะขาดในเรื่องของความรู้สึก การพรรณาคำ การร้อยเรียงวิเคราะห์คำมามาประกอบกันเพื่อให้ภาษามีความสละสรวยให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้จะเป็นคาแรคเตอร์ของในแต่ละนักเขียนที่ใครก็ลอกกันไม่ได้ และ AI ก็ทำตามไม่ได้อย่างแน่นอน

4. ประสบการณ์

ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้อ่านเนื้อหาจากคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาก่อน การเล่าเรื่องประสบการณ์ความเป็นมา Story telling เป็นสิ่งที่ทำให้ content นั้นดูมีสเน่ห์ขึ้นมาทันที โดยตัว AI ก็ยิ่งไม่มีประสบการณ์เข้าไปอีก เพราะ AI เขียนจากสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้มาเท่านั้น แต่ความรู้สึกในอดีตคืออะไร อาจจะสื่อสารออกมาได้ยากมาก ๆ ในตอนนี้

5. ยังไม่มีภาษาไทยที่แม่นยำ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัว AI Writer ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังเขียนภาษาไทยไม่ดีเท่ากับภาษาอังกฤษ ภาษาที่ออกมาอาจจะอ่านแล้วไม่ลื่นหู เรียกว่าหนักกว่าการเขียนภาษาอังกฤษมากพอสมควรเลยค่ะ ก็ได้แต่หวังว่าจะมีเครื่องมือช่วยเขียนภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นให้ดีกว่านี้

ปัจจุบันมีตัว Rytr ที่เขียนภาษาไทยได้นะ แต่ก็ยังไม่ฉลาดเท่าที่ควร


รีวิวเครื่องมือช่วยเขียนบทความ AI Writer

อันนี้แอดนัทและทีมงาน Designil ได้ทดลองใช้งานตัวช่วยเขียนบทความด้วย AI มาทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน ด้านล่างนี้จะเป็นวิธีการใช้งานแบบคร่าวๆ พร้อมบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละตัว มาเริ่มกันเลยค่า

1. Frase – ตัวช่วยในการเขียนบทความด้วย AI

frase ai content generator การเขียนบทความ
Frase ai content generator

มาดู Tool เขียน AI ของ Frase กันค่ะ

หลังจากที่ทดลองใช้งาน ถ้าหากดูจากหน้าต่างด้านบน จะเห็นจะเป็นตัวอย่างการ Generate ด้วย AI ทั้งหมด​ โจทย์ที่มีคือให้วางแผน content เกี่ยวกับคอร์สเรียนออนไลน์มาให้ เว็บไซต์ก็แนะนำคำถามที่คนถามบ่อยและวาง outline ของ content มาให้ครบ

ต้องบอกเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่าการใช้เครื่องมือ AI ในการช่วยเขียนบทความนั้นมันจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่ากับคนเขียน 100% เพราะเนื้อหาบางอย่างมันยังไม่ต่อเนื่องกันเท่าที่ควร ดังนั้นเราจึงจะต้องใช้คนเข้ามาแก้ผสมเข้าไปด้วยกัน เราถึงจะได้ความต่อเนื่องและความสอดคล้องกันของข้อมูล

ข้อดีของ Frase

  • ประหยัดเวลา
  • ดีต่อ SEO เพราะตัว Frase จะให้เรากำหนด Keyword ลงไปด้วย ว่าเราจะเขียนอะไร แล้วมันจะ Repeat คำมาให้ทั้งใน Title และเนื้อหา
  • มีฟีเจอร์อัพเดทใหม่บ่อยมาก มีการอัพเดทตลอดเวลา ถ้าเพื่อนๆ ซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย
  • Frase จะแสดงบทความที่ใช้ keyword ใกล้เคียงกับเราในตลาดมาเพื่อให้เราเปรียบเทียบด้วย ว่าบทความไหนที่ติดอันดับในคำเดียวกันในอันดับต้นๆ อยู่ แล้วเราจะเขียนไอเดียแบบไหนดี

ข้อเสีย

  • ไม่มีภาษาไทย
  • บั๊กนิดหน่อย
  • ราคาเป็นแบบรายเดือน ถ้าอยากได้ทูล SEO ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถ้าอยากดูบทความที่ AI ช่วยเขียนของ Designil ลองดูบทความนี้เป็นตัวอย่างได้ค่ะ (ใช้ AI + Google translate + คนแก้) เขียนออกมาได้ดีมากเลย ทุ่นเวลาไปได้เป็นวันเลยทีเดียว โดย AI ตัวนี้ได้ช่วยเลือกคอมพิวเตอร์มาให้ถึง 3 อันดับ รวมไปถึงฟีเจอร์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AI แนะนำมาทั้งหมดเลย
5 อันดับโน๊ตบุค Laptops สำหรับ UX UI และ Graphic designer

แต่ปัจจุบันบทความนี้ได้ทำการแก้ไขไปเยอะมากๆ เลยค่ะ ใช้นักเขียนในการแก้ไขต่อเพื่อให้อ่านลื่นหูมากยิ่งขึ้น

ตัว Frase เมื่อนำไปแปลภาษาไทยผ่าน Google translate แล้ว สามารถใช้งานได้เนียนกริบว่าที่เคยทดลองใช้เมื่อปี 2020 มากโขเลยค่ะ และมีแนวโน้มว่าจะฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย


ปัจจุบัน Frase จำหน่ายแบบรายเดือน ไม่มีจำหน่ายแบบซื้อขาด เพราะโปรแกรมมีการอัพเดทเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปอย่างสม่ำเสมอ และมีเรื่องของ Facebook community ให้เพื่อนๆ ไปพูดคุยกันหรือรายงานปัญหาได้ด้วย ซึ่งเป็นอะไรที่ตอบโจทย์กับคนใช้งานบ่อยๆ อย่างพวกเรา ทำให้เราได้เรียนเทคนิคการใช้งานเครื่องมือช่วยเขียนนี้จากผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ได้ด้วยค่ะ

ราคา
ราคาเริ่มต้น 1,592 บาท / เดือน
$44.99/mo


2. Nichness – ช่วยเขียนบทความด้วย AI

nichness การเขียนบทความ
nichness

จากตัวอย่างผู้เขียนได้ใส่หัวข้อไปว่า AWS AI Machine Learning ผลลัพธ์ที่ได้คือหัวข้อรองใน AWS ทั้งหมด

ข้อดีของ Nichness

  • วางแผนหัวข้อ outline ของ content ได้ดีเพียงแค่เราให้โจทย์หรือหัวข้อลงไป ตัวระบบจะทำการวางแผนหัวข้อหลักในบทความแยกออกมาเป็นข้อ ๆ ให้เลย
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับสาย Writer หรือคนเขียนบล็อกที่คิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร
  • วางแผนการโพสต์ Social media ภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม
  • มีฟีเจอร์อัพเดทใหม่บ่อยมาก ถ้าเพื่อนๆซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย

ข้อเสีย

  • ไม่มีภาษาไทย
  • ถ้าเขียน content ยาว ยังแปลกๆ นิดหน่อย

ราคา
โปรแกรมจำหน่ายแบบซื้อขาด ราคา 2,083 บาท / $59
ผ่านเว็บไซต์ Appsumo


3. Rytr – ช่วยเขียนบทความด้วย AI

Rytr - Thai AI content generator  การเขียนบทความ
Rytr – Thai AI content generator

Rytr มีข้อดีคือ

  • เขียนภาษาไทยได้
  • เลือก Mood and tone ของภาษาได้ แต่ใช้งานได้ดีเฉพาะในภาษาอังกฤษ
  • ภาษาอังกฤษฉลาดมาก
  • วางลำดับ outline ได้ดี น่าอ่านและเข้ากับ Mood and tone ของภาษา

ข้อเสีย

  • ภาษาไทยไม่สวยเท่าไร เหมือนผ่านการแปลจาก Google translate (บางทีกดแปลเองยังสวยกว่า)
  • ลักษณะโครงสร้างและคำยังดูแปลกประหลาด นิดหน่อย อาจจะต้องใช้คนมาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ภาษาดูลื่นและอ่านง่ายมากกว่านี้
  • ในเรื่องของ Tone ภาษาไทย ยังไม่เวิร์คเท่าไร ต้องไปหัดมาเพิ่มอีกเยอะเลย

ราคา
เริ่มต้นใช้งานแบบฟรี 10,000 คำ สามารถเขียนบทความขนาดสั้นแบบทดลองได้
แบบเสียเงินเริ่มที่ 318 บาท/เดือน (ถ้าเป็นแพคเกจ $29/เดือน ก็จะได้ถึงแสนคำ)

ปัจจุบัน Rytr สามารถใช้งานในการสร้างรูปภาพ AI Image generator ได้แล้ว ซึ่งถือว่าใช้งานได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ รวมไปถึงใช้งาน Chatbot ได้ด้วย คุณ Nancy Duarte นักเขียนชื่อดังถึงกับรีวิวใน Podcast เลยค่ะว่า Rytr ใช้งานได้ดีจริงๆ


จริงๆ แล้วโปรแกรมช่วยเขียน AI ยังมีอีกหลายตัวที่จำหน่ายแบบซื้อขาด เพื่อนๆ สามารถเช็คราคาและโปรแกรมได้ผ่านทางเว็บไซต์ Appsumo ด้านล่างนี้เลยนะคะ ของ Designil เองก็ซื้อผ่านทาง Appsumo มาใช้งานเช่นกันค่ะ


4. CopyAI

copyai design
Copy.Ai design หน้าตา interface การใช้งานระบบช่วยการเขียนบทความด้วย AI

เป็นอีกเครื่องมือที่กำลังมาแรงใน Social media ที่มีหลายๆ ท่านพูดถึงกันเยอะมากด้วยประสิทธิภาพของการเขียนของโปรแกรมนี้

โดยฟีเจอร์ที่มาแรงของทูลตัวนี้ก็คือ

  1. Blog content
  2. Digital ad copy
  3. eCommerce copy
  4. Sales copy
  5. Social media content
  6. Website copy

เรียกว่าเขียนได้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ไม่ต้องจำเป็นจะต้องเอาไปเขียนแค่บทความอย่างเดียว

แพคเกจฟรีจาก Copy.ai เหมาะสำหรับผู้ใช้ใหม่ที่ต้องการทดสอบซอฟต์แวร์นี้ เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้องป้อนรายละเอียดบัตรเครดิตลงไป ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ โดยสิ่งที่จะได้รับคือ

  • เครื่องมือเขียนคำโฆษณามากกว่า 90 รายการ
  • ใช้งานได้ 1 ผู้ใช้งาน
  • สร้างโปรเจคได้ไม่จำกัด

แต่ว่าด้วยเวอร์ชัน Pro จะทำให้เราสามารถสร้างชื่อ Blog, Ads, Email และรูปแบบการเขียนอื่นๆ ได้ไม่จำกัด อย่างตัว Copy.ai ได้มีการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าเราใช้แบบ Pro ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะจะได้ทดลองใช้งานได้ครบนั่นเอง

ราคา

  1. ใช้งานฟรี
  2. ราคาแบบ Pro ที่ 1,732 บาท/เดือน ($49/mo)

วิธีการเลือกโปรแกรม AI Writer การเขียนบทความด้วย AI

การเลือกทูลที่ดีที่สุดอาจจะต้องทำการผสมผสานกันระหว่างเครื่องมือที่ช่วยเรื่องความอ่านง่ายผสมกับช่วยวางโครงสร้างของภาษาที่ตอบโจทย์ต่อ SEO

ซึ่งเรื่องของ SEO นี้จะยากนิดหน่อย เพราะเราจะต้องใช้คนที่มีความรู้ทางด้าน SEO มาช่วยปรับแต่งบทความอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเขียนที่ไม่ถูกหลัก ซึ่งจะส่งผลลบต่ออันดับของคุณบน Search engine ได้ในระยะยาว

คำแนะนำของทาง Designil ก็คือ

  1. ต้องมีบรรณาธิการคอยตรวจเช็คบทความ คำผิด, การ rewrite หรือบทความนี้ถูกลอกมาหรือไม่
  2. ตรวจสอบการเขียนและ SEO อีกครั้งเพื่อความมั่นใจในเรื่องของ Keyword และโครงสร้าง แต่ก็บอกว่าการตรวจสอบใช้เวลาน้อยกว่าการเขียนใหม่แน่นอนค่ะ
  3. ดูรายละเอียดข้อดีข้อเสียของแต่ละโปรแกรม แนะนำให้ทดลองใช้งานฟรีก่อน
  4. บางเครื่องมือสามารถเช็คเรื่องของ plagiarism หรือการคัดลอกเนื้อหามาจากอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงมีระบบเช็คตรวจจับคำผิด grammar ด้วย แต่มีราคาที่สูงกว่าแบบอื่น ดังนั้นเพื่อนๆ อาจจะต้องตัดสินใจกันให้ถี่ถ้วนว่าเครื่องมือนี้จะตอบโจทย์กับงบประมาณที่เรามีอยู่ในมือหรือเปล่า
  5. บางท่านอาจจะใช้งานเครื่องมือช่วยเขียนควบคู่ไปกับโปรแกรม Grammarly เพื่อช่วยให้ประโยคของเราขัดเกลาได้อย่างสวยงาม และลื่นหู

วิธีใช้งานเครื่องมือช่วยเขียนบทความด้วย AI

1. เราต้องกำหนดหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษใน Frase ก่อน

โดยให้คำหัวข้อแบบละเอียด เช่น 5 notebooks for graphic designers หรือ 10 AI writer products for you to try in 2022

เพื่อจะให้ AI ได้เรียนรู้การคาดคะเนตัวเนื้อหาใน Paragraph ว่าจะต้องเขียนกี่แบบ กี่หัวข้อ และเนื้อหาจะเกี่ยวกับอะไรบ้าง บางโปรแกรมนั้นสามารถกำหนด Keyword SEO ลงไปได้เลย ว่าจะให้ AI กล่าวถึงคำนี้ทั้งหมดกี่ครั้ง

2. บรีฟของแต่ละ paragraph เพื่อให้ระบบทำการนำเสนอเนื้อหาออกมา

ในการบรีฟของแต่ละส่วนเนื้อหา ต้องเขียนข้อมูลให้ชัดเจน เช่น

  • heading แรกอยากให้เขียนอะไร เช่น โปรแกรมนี้คืออะไร
  • paragraph แรก อยากให้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น พูดถึงประโยชน์
  • heading 2 อยากให้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ข้อดี ข้อเสีย จัดอันดับ เป็นต้น

3. ถ้าอยากเขียนภาษาไทย สามารถใช้ Google translate แปลเนื้อหาได้เพื่อความรวดเร็ว

ปัจจุบันการใช้ Google translate ค่อนข้างมีความแม่นยำ สามารถแปลบทความที่เป็นภาษาอังกฤษจากตัว AI Writer ของเราออกมาเป็นภาษาไทยได้อย่างเฉียบมาก แทบจะไม่ต้องแก้ไขเลย ลื่นหูมากเลยค่ะ อาจจะมีบางคำที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมนิดเดียวเท่านั้น

ทดลองใช้งาน Google translate

4. ใช้คนแก้เนื้อหาอีกทีให้มีความต่อเนื่องและลื่นหู

อย่าลืมใช้นักเขียน บก. หรือผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ของเราตรวจสอบข้อมูลของบทความอีกครั้ง เพื่อความอ่านง่าย และถูกหลักตรงตามภาษาไทย และถูกต้องตามโครงสร้างของ SEO เพื่อป้องกันการถูกลดอันดับบน search engine ในอนาคตค่ะ


ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ แล้วมาเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่า

ชอบบทความแบบนี้ อ่านต่อได้ที่นี่

Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด