เทรนด์ AI กับการเขียนบทความ ช่วยทำงานไวขึ้น 10 เท่า!

การเขียนบทความด้วย AI เป็นอะไรที่มาแรงมาก ๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่า Artificial intelligence (AI) นั้นกำลังเข้ามาแทรกซึมมาในชีวิตประจำวันของเราเร็วขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น AI จากบนมือถือของเรา เช่น Siri, Google หรือเวลาที่เราเข้าไปช้อปปิ้งบนเว็บไซต์ E-commerce ชื่อดัง แล้วเว็บไซต์แนะนำสินค้าที่ใกล้เคียงให้กับเรา แบบที่ฉลาดมากกว่าเดิม รู้หมดว่าเราอยากได้อะไร
AI นั้นพัฒนาเร็วกว่าที่เคยคิดไว้เยอะเลยค่ะ มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด AI ทั่วโลกจะสูงถึง 190 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025
แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกเกี่ยวกับการถูก AI มาแทนที่งานของเราไป มันยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้อย่างแน่นอนค่ะ เพราะยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีเลยกว่าที่ AI จะเก่งจนสามารถมาแทนที่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่าง Writer ไปได้
สิ่งสำคัญของการเข้ามาของเทคโนโลยีคือ เราต้องเข้าใจว่า AI กำลังส่งผลกระทบอย่างไรกับเรา และจะส่งผลอะไรกับอาชีพนักเขียน เรียกได้ว่าเราต้องมาอยู่ร่วมกันกับ AI เรียนรู้วิธีการใช้งานให้คล่องแคล่วเป็นเพื่อส่งเสริมให้งานของเราดีขึ้นในระยะยาวเลยนะคะ
เรามาเริ่มต้นเนื้อหาในวันนี้ด้วยคำถามที่ถูกถามกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับ AI กันก่อนเลย

AI จะมาแทนท่ีอาชีพนักเขียนหรือยัง?
ปัจจุบัน AI ยังมาแทนที่นักเขียนอย่างเราไม่ได้แน่นอน(แต่ก็ไม่แน่) แม้ตอนนี้เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนบทความด้วย AI ที่ออกมากมายเต็มตลาดแถมยังฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ AI Writer เองก็ยังมีข้อผิดพลาดอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ และ ณ ตอนนี้ AI ก็ยังไม่มีความสามารถในการคิดค้นเนื้อหาหรือคอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
ณ ตอนนี้เครื่องมือช่วยในการเขียนบทความ AI Writer จะใช้งานโมเดล Generative Pre-trained Transformer 3 (GPT-3) ถูกพัฒนาโดย OpenAI เป็นโมเดลที่ยอดนิยมมากที่สุด แต่ก็มีหลายผู้ให้บริการที่พัฒนา Model ขึ้นมาเอง อาทิเช่น Frase
โมเดลของ GPT-3 ยังมีข้อจำกัดของความฉลาดอยู่พอสมควร เราจะเห็นนักเขียนออนไลน์หลาย ๆ ท่านรีวิวให้ฟังกันบ่อย ๆ ว่าโมเดลนี้พัฒนาไปถึงไหนกันแล้วบ้าง สามารถค้นหาเพิ่มเติมในหัวข้อนี้ได้ค่ะ
สิ่งที่ AI Writer ผู้ช่วยเขียนบทความไม่สามารถทำได้
1. ความคิดสร้างสรรค์
AI อาจจะช่วยเขียนคอนเทนต์ภาษาอังกฤษให้ถูกหลักภาษา แกรมม่า และมีโครงสร้างการเรียงคำที่ถูกต้อง แต่ข้อเสียคือ AI ในตลาดปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถคิดเนื้อหาด้วยตนเองทั้งหมดได้ ถ้าเราไม่ป้อนข้อมูลหรือกำหนด outline โครงสร้างของเนื้อหาลงไปให้ AI ก็จะไม่สามารถทำให้การเขียนบทความของเราออกมาได้ต่อเนื่องกันค่ะ
2. ความหลากหลายในการใช้ภาษา
หากเป็นเนื้อหาที่ใช้คนในการเขียน ผู้เขียนจะทำการหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาหรือคำซ้ำ ๆ ในการเล่าเรื่อง รวมไปถึงโครงสร้างของประโยคด้วยเพื่อไม่ให้การเขียนดูน่าเบื่อจนเกินไป ในปัจจุบัน AI ยังไม่สามารถที่จะทำงานตรงส่วนนั้นได้
แต่บอกเลยนะคะว่าบางตัวก็สามารถทำได้ดีในเรื่องของการสร้างประโยคแบบใหม่ ๆ แล้ว ข้อนี้คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ AI จะทำได้แม่นยำมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้
3. อารมณ์และการความรู้สึก
การเขียนด้วย AI จะขาดในเรื่องของความรู้สึก การพรรณาคำ การร้อยเรียงวิเคราะห์คำมามาประกอบกันเพื่อให้ภาษามีความสละสรวยให้เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้จะเป็นคาแรคเตอร์ของในแต่ละนักเขียนที่ใครก็ลอกกันไม่ได้ และ AI ก็ทำตามไม่ได้อย่างแน่นอน
4. ประสบการณ์
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการได้อ่านเนื้อหาจากคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาก่อน การเล่าเรื่องประสบการณ์ความเป็นมา Story telling เป็นสิ่งที่ทำให้ content นั้นดูมีสเน่ห์ขึ้นมาทันที โดยตัว AI ก็ยิ่งไม่มีประสบการณ์เข้าไปอีก เพราะ AI เขียนจากสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้มาเท่านั้น แต่ความรู้สึกในอดีตคืออะไร อาจจะสื่อสารออกมาได้ยากมาก ๆ ในตอนนี้
5. ยังไม่มีภาษาไทยที่แม่นยำ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัว AI Writer ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังเขียนภาษาไทยไม่ดีเท่ากับภาษาอังกฤษ ภาษาที่ออกมาอาจจะอ่านแล้วไม่ลื่นหู เรียกว่าหนักกว่าการเขียนภาษาอังกฤษมากพอสมควรเลยค่ะ ก็ได้แต่หวังว่าจะมีเครื่องมือช่วยเขียนภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นให้ดีกว่านี้
ปัจจุบันมีตัว Rytr ที่เขียนภาษาไทยได้นะ แต่ก็ยังไม่ฉลาดเท่าที่ควร
รีวิวเครื่องมือช่วยเขียนบทความ AI Writer
อันนี้แอดนัทและทีมงาน Designil ได้ทดลองใช้งานตัวช่วยเขียนบทความด้วย AI มาทั้งหมด 3 ตัวด้วยกัน ด้านล่างนี้จะเป็นวิธีการใช้งานแบบคร่าว ๆ พร้อมบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละตัว มาเริ่มกันเลยค่า
1. Frase – ตัวช่วยในการเขียนบทความด้วย AI

มาดู Tool เขียน AI ของ Frase กันค่ะ
หลังจากที่ทดลองใช้งาน ถ้าหากดูจากหน้าต่างด้านบน จะเห็นจะเป็นตัวอย่างการ Generate ด้วย AI ทั้งหมด โจทย์ที่มีคือให้วางแผน content เกี่ยวกับคอร์สเรียนออนไลน์มาให้ เว็บไซต์ก็แนะนำคำถามที่คนถามบ่อยและวาง outline ของ content มาให้ครบ
ต้องบอกเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่าการใช้เครื่องมือ AI ในการช่วยเขียนบทความนั้นมันจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่ากับคนเขียน 100% เพราะเนื้อหาบางอย่างมันยังไม่ต่อเนื่องกันเท่าที่ควร ดังนั้นเราจึงจะต้องใช้คนเข้ามาแก้ผสมเข้าไปด้วยกัน เราถึงจะได้ความต่อเนื่องและความสอดคล้องกันของข้อมูล
ข้อดีของ Frase
- ประหยัดเวลา
- ดีต่อ SEO เพราะตัว Frase จะให้เรากำหนด Keyword ลงไปด้วย ว่าเราจะเขียนอะไร แล้วมันจะ Repeat คำมาให้ทั้งใน Title และเนื้อหา
- มีฟีเจอร์อัพเดทใหม่บ่อยมาก มีการอัพเดทตลอดเวลา ถ้าเพื่อนๆ ซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย
- Frase จะแสดงบทความที่ใช้ keyword ใกล้เคียงกับเราในตลาดมาเพื่อให้เราเปรียบเทียบด้วย ว่าบทความไหนที่ติดอันดับในคำเดียวกันในอันดับต้นๆ อยู่ แล้วเราจะเขียนไอเดียแบบไหนดี
ข้อเสีย
- ไม่มีภาษาไทย
- บั๊กนิดหน่อย
- ราคาเป็นแบบรายเดือน ถ้าอยากได้ทูล SEO ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ถ้าอยากดูบทความที่ AI ช่วยเขียนของ Designil ลองดูบทความนี้เป็นตัวอย่างได้ค่ะ (ใช้ AI + Google translate + คนแก้) เขียนออกมาได้ดีมากเลย ทุ่นเวลาไปได้เป็นวันเลยทีเดียว โดย AI ตัวนี้ได้ช่วยเลือกคอมพิวเตอร์มาให้ถึง 3 อันดับ รวมไปถึงฟีเจอร์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AI แนะนำมาทั้งหมดเลย
5 อันดับโน๊ตบุค Laptops สำหรับ UX UI และ Graphic designer
วิธีการใช้งานก็คือ
1. เราต้องกำหนดหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษใน Frase ก่อน
2. บรีฟของแต่ละ paragraph และให้ระบบทำการนำเสนอเนื้อหาออกมา
3. นำไปแปลด้วย Google translate เพื่อความเร็ว
4. ใช้คนแก้เนื้อหาอีกทีให้มีความต่อเนื่องและลื่นหู
ต้องยอมรับเลยนะคะว่า Google translate เองก็ฉลาดขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก แปลภาษาไทยได้เนียนกริบว่าที่เคยทดลองใช้เมื่อปีที่แล้วมากโขเลยค่ะ และมีแนวโน้มว่าจะฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
2. Nichness – ช่วยเขียนบทความด้วย AI

จากตัวอย่างผู้เขียนได้ใส่หัวข้อไปว่า AWS AI Machine Learning ผลลัพธ์ที่ได้คือหัวข้อรองใน AWS ทั้งหมด
ข้อดีของ Nichness
- วางแผนหัวข้อ outline ของ content ได้ดีเพียงแค่เราให้โจทย์หรือหัวข้อลงไป ตัวระบบจะทำการวางแผนหัวข้อหลักในบทความแยกออกมาเป็นข้อ ๆ ให้เลย
- เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับสาย Writer หรือคนเขียนบล็อกที่คิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร
- วางแผนการโพสต์ Social media ภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม
- มีฟีเจอร์อัพเดทใหม่บ่อยมาก ถ้าเพื่อนๆซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย
ข้อเสีย
- ไม่มีภาษาไทย
- ถ้าเขียน content ยาว ยังแปลกๆนิดหน่อย
3. Rytr – ช่วยเขียนบทความด้วย AI

Rytr มีข้อดีคือ
- เขียนภาษาไทยได้
- เลือก Mood and tone ของภาษาได้ แต่ใช้งานได้ดีเฉพาะในภาษาอังกฤษ
- ภาษาอังกฤษฉลาดมาก
- วางลำดับ outline ได้ดี น่าอ่านและเข้ากับ Mood and tone ของภาษา
ข้อเสีย
- ภาษาไทยไม่สวยเท่าไร เหมือนผ่านการแปลจาก Google translate (บางทีกดแปลเองยังสวยกว่า)
- ลักษณะโครงสร้างและคำยังดูแปลกประหลาด นิดหน่อย อาจจะต้องใช้คนมาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ภาษาดูลื่นและอ่านง่ายมากกว่านี้
- ในเรื่องของ Tone ภาษาไทย ยังไม่เวิร์คเท่าไร ต้องไปหัดมาเพิ่มอีกเยอะเลย
วิธีการเลือก AI Writer การเขียนบทความด้วย AI
การเลือกทูลที่ดีที่สุดอาจจะต้องทำการผสมผสานกันระหว่างความอ่านง่ายผสมกับโครงสร้างของภาษาที่ตอบโจทย์ต่อ SEO (ซึ่งอันนี้จะยากนิดหน่อย) โดยในแต่ละเครื่องมือในปัจจุบันนั้นก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อยากให้พิจารณาเรื่องของความสามารถของ AI ที่ตอบโจทย์กับงานของเรามากที่สุด
ถ้าให้เรียงความชอบก็ต้องยกให้ Frase เลยค่ะ จากที่ลองใช้มาหลาย ๆ ตัว
เดี๋ยวแอดนัทจะมาลองรีวิวแบบเป็นวิดีโอให้ดูกันอีกครั้งนะคะ
ชอบบทความแบบนี้ อ่านต่อได้ที่นี่