คู่มือสร้าง Brand Identity เอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ต้องมีแห่งปี

Radar

ทุกวันนี้ธุรกิจที่ร่ำรวยมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น Apple, Mercedes Benz, Amazon เป็นต้น พวกเขาทำให้เราจดจำได้อย่างไร เมื่อพูดชื่อขึ้นมาสิ่งแรกที่นึกอยู่ในหัวนั่นคือโลโก้ของแต่ละแบรนด์นั่นเอง เมื่อนึกถึงโลโก้เสร็จเราก็จะนึกไปถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ ว่าสินค้าและบริการของแต่ละแบรนด์นั้นเป็นอย่างไร

brand identity เอกลักษณ์ของแบรนด์
โลโก้ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ Apple ที่ใคร ๆ เห็นก็จะต้องนึกถึง iphone เป็นอันดับแรก

ทำไมเอกลักษณ์ของแบรนด์จึงสำคัญ?

จากที่กล่าวมาข้างต้น เริ่มนึกอะไรออกกันบ้างรึเปล่าครับ? ไม่ว่าจะธุรกิจไหน สิ่งแรกที่ผู้คนมักจะนึกถึงนั่นคือ เอกลักษณ์ของแบรนด์แต่ละแบรนด์นั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่เราควรคำนึงถึง เปรียบเสมือนการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน ถ้าเราแต่งตัวธรรมดาทั่วไปเหมือนคนอื่น ไม่มีความแตกต่าง เราก็จะถูกกลมกลืนและไม่ได้กลายเป็นที่จดจำของใครเลย

499718E4 1A71 4937 A19E A5F7F8717297
Logo นางเงือกไซเรน เอกลักษณ์ของแบรนด์ Starbucks ที่เป็นสัญลักษณ์ในการดึงดูดให้ลูกค้าเดินเข้ามาดื่มกาแฟในร้านเพื่อผ่อนคลายจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ

แบรนด์ที่ดีและแตกต่าง จะสามารถสื่อความหมายของแบรนด์ให้กับลูกค้าได้รับรู้โดยอัตโนมัติว่า แนวคิดของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้าคืออะไร นอกจากจะทำให้เป็นที่จดจำของลูกค้าแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าในระยะยาวได้ด้วย

เอกลักษณ์ กับ ภาพลักษณ์ แตกต่างกันอย่างไร?

หลายๆคน คงจะเคยได้ยินสองคำนี้มากันบ้างแล้ว เคยสงสัยมั๊ยครับว่า มันแตกต่างกันย่างไร เดี๋ยววันนี้แอดจะมาอธิบายให้ฟังกันอย่างง่าย ๆ กันครับ

เอกลักษณ์ของแบรนด์

คือ องค์ประกอบของแบรนด์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โลโก้ ข้อความ การออกแบบ หรือสี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์นั้นโดดเด่นเหนือคู่แข่ง และทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์นั้นได้ง่ายขึ้นด้วย

ภาพลักษณ์ของแบรนด์

คือ ผลที่เกิดจากการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าจดจำในสิ่งที่แบรนด์ทำให้อยู่ในรูปแบบของคำที่เราเรียกว่า “ภาพลักษณ์” ซึ่งภาพลักษณ์จะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับว่า แบรนด์ ๆ นั้นกระทำต่อลูกค้ายังไง

เอกลักษณ์ของแบรนด์มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

หลาย ๆ คนนึกถึงแบรนด์ ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงแต่โลโก้ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของแบรนด์เพียงเท่านั้น แต่นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะว่ากว่าจะมาเป็นแบรนด์ ๆ หนึ่งได้ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายย่าง ดังนี้

โลโก้ เป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ลูกค้าสามารถนึกถึงแบรนด์ของเราได้ จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของแบรนด์เลย ซึ่งอาจจะเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพ หรือข้อความ โดยปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ จะนิยมใช้ในรูปแบบของข้อความ เพราะว่าจะทำให้ลูกค้าสามารถจดจำชื่อแบรนด์ได้อย่างง่าย ๆ อย่างเช่น inthanin samsung lotus หรือแบรนด์เสื้อผ้าส่วนใหญ่ เป็นต้น

แนะนำ : คู่มือการออกแบบโลโก้
ออกแบบโลโก้สวย ๆ ฟรี ด้วยเว็บไซต์ออนไลน์
6 วิธีออกแบบโลโก้ที่ดี พร้อมตัวอย่างประกอบแบบละเอียด

เอกลักษณ์ของแบรนด์ โลโก้ Samsung
โลโก้รูปแบบข้อความของแบรนด์ Samsung ซึ่งจะทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น

แบบอักษร เมื่อเราเลือกโลโก้ของแบรนด์เราได้แล้ว ต่อไปที่จะต้องพิจารณานั่นคือ รูปแบบของอักษร ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเอกลักษณ์ที่เราจะนำไปใช้ในการตลาดต่าง ๆ ของแบรนด์ เช่น โปรโมชั่น บทความ รีวิว หรือเคมเปญต่างๆ เป็นต้น

แนะนำ : รวมบทความแนะนำฟอนต์ไทย
Adobe fonts สอนวิธีใช้และติดตั้งฟอนต์ไทยจาก Adobe แบบไม่ผิดลิขสิทธิ์
แนะนำฟอนต์ตัวอักษรไทยสวย ๆ จากค่าย Jipatype
ฟอนต์ไทยฟรี ยอดนิยม สำหรับใช้ในเว็บไซต์

สไตล์ที่แสดงออกสม่ำเสมอ สิ่งนี้เป็นการสื่อสารของแบรนด์ออกมาที่จะทำให้ลูกค้าได้เห็นว่าแบรนด์ของเราจะก้าวไปในทิศทางไหน จุดเด่นของแบรนด์เราคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น apple ที่ระบบปฏิบัติการเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยจะมีรุ่นใหม่ออกมาในทุก ๆ ปี ในราคาที่เป็นวิพากษ์วิจารณ์ของใครหลาย ๆ คน แต่นั่นก็ไม่ทำให้ apple เปลี่ยนจุดยืนของตัวเอง นี่แหละครับที่เรียกว่า สไตล์ที่แสดงออกสม่ำเสมอของแต่ละแบรนด์ ทำให้ลูกค้าจดจำในความเป็นตัวตนของแบรนด์นั้น ๆ

เอกลักษณ์ของแบรนด์ iPhone
iphone ของแบรนด์ Apple มีรุ่นใหม่ออกมาในทุก ๆ ปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ทาง Apple ก็ยังคงความดีไซน์ในรูปแบบของ iphone ไว้อยู่เสมอ

รูปร่างและรูปแบบ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง ที่จะแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์และทำให้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เราเป็นที่จดจำของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น รูปทรงของรถ Lamborghini ที่เมื่อไหร่ที่ได้มอง ก็จะนึกออกเลยว่า เป็นรูปทรงของรถแบรนด์นี้ ซึ่งแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ

เอกลักษณ์ของแบรนด์ รถยนต์ Lamborghini
รูปทรงตัวรถที่คล้ายกระทิง ซึ่งสอดคล้องกับตัวโลโก้ของแบรนด์ Lamborghini

วิธีสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพ

1. ศึกษากลุ่มเป้าหมาย จุดแข็งของแบรนด์เรา และคู่แข่ง

  1. กลุ่มเป้าหมาย อันดับแรกสุดในการจะสร้างแบรนด์ของเรานั่นคือ เราต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นคือใคร คนเหล่านั้นมีความต้องการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราหรือไม่ เพราะถ้าเราเลือกกลุ่มเป้าหมายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์เรา จะทำให้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในระยะยาวได้
  2. จุดแข็ง คือ จุดที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษของแบรนด์ที่เราต้องหาให้เจอ นั่นคือเมื่อลูกค้าเห็นแล้ว ลูกค้าจะต้องนึกถึงแบรนด์เราเป็นอันดับแรก
  3. คู่แข่ง เมื่อมีทั้งสองอย่างด้านบนแล้ว ต่อมาเราก็ต้องรู้ว่า คู่แข่งที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันกับเราหรือคล้ายๆกับเรานั้น พวกเขามีกลยุทธ์ในการทำการตลาดอย่างไร เหมือนกับที่ในตำรายุทธพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ซึ่งเป็นความจริงมากในการทำธุรกิจ
75A43696 2DDB 4E85 8F76 1A03CE7F4487
ศึกษาตัวตนของแบรนด์เราและแบรนด์คู่แข่งให้เข้าใจก่อน

แน่นอนว่าการจะศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย คู่แข่งและจุดแข็งนั้นเป็นเรื่องที่ยากและอาจจะดูน่าเบื่อ แต่วันนี้แอดจะมาแนะนำเครื่องมือการวิเคราะห์อันหนึ่งที่มันจะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ SWOT

เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถประเมินสถานการณ์ในธุรกิจของเราว่า ตอนนี้ธุรกิจของเรามีปัจจัยของสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่อธุรกิจเราอย่างไร

E7126962 C536 4C4F 83DB 94E12EEF7218
Swot เครื่องมือที่จะช่วยเราในการวิเคราะห์สถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ
  1. จุดแข็ง (Strength) : เป็นสิ่งสำคัญจากปัจจัยภายในที่ทุกธุรกิจจะใช้สิ่งนี้ของตนในการทำกลยุทธ์ทางการตลาด อาจจะเป็น ความได้เปรียบของต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการเงิน หรือทรัพยากรบุคคลของธุรกิจนั้น ๆ เป็นต้น
  2. จุดอ่อน (Weaknesses) : เป็นข้อเสียเปรียบที่เกิดจากปัจจัยภายในเช่นกัน ซึ่งเราต้องมองเห็นจุดนี้และแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด เช่น ต้นทุนในการผลิตไม่เพียงพอ ระบบการบริหารจัดการบกพร่อง หรือบุคลากรในบริษัทไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
  3. โอกาส (Opportunity) : เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับการดำเนินงานของบริษัท เป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจนั้นๆ ต้องแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพราะปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้และเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี สภาพอากาศ และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
  4. อุปสรรค (Threats) : เป็นข้อเสียเปรียบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นกัน ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ โดยเจ้าของธุรกิจนั้นอาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและเข้าแก้ปัญหากะบสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ยกตัวอย่างเช่น โรคระบาด COVID-19 ในปัจจุบันที่ส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจทั่วโลก เป็นต้น

แอดหวังว่าเครื่องมือนี้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการเริ่มต้นสร้างและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของตัวเองกันได้นะครับ

2. สร้างโลโก้และเทมเพลตเฉพาะตัวให้กับธุรกิจของเรา

เมื่อวิเคราะห์เคราะห์ธุรกิจและรู้จักธุรกิจของตัวเองมากพอแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการสร้างตัวตนของแบรนด์ขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้ารู้จักกับแบรนด์ของเราได้มากยิ่งขึ้น

  • โลโก้ (Logo) : เป็นองค์ประกอบของแบรนด์อย่างนึง ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ ดังนั้นควรจะใส่ใจกับโลโก้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่จะไปอยู่ในทุก ๆ ที่ เช่น เว็บไซต์ สำนักงาน หรือผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
F68AF4DD 4E67 442D 9082 2DEF09694FFA
โลโก้ของแบรนด์รถชื่อดังอย่าง BMW
  • สีและตัวอักษร (Color & Type) : สีจะช่วยเสริมในเรื่องเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพราะมีความหลากหลายและแตกต่าง ถ้าเราใช้สีให้โดดเด่นและนำเสนอให้น่าดึงดูด จะทำให้แบรนด์ของเราสามารถเป็นที่สะดุดตาของลูกค้าได้ ส่วนตัวอักษรจะเป็นการอธิบายสิ่งที่แบรนด์เของเราอยากจะสื่อให้กับลูกค้าได้รับรู้

แนะนำ : รวมบทความแนะนำฟอนต์ไทย
50 โค้ดสีพาสเทล Pastel สวยๆ นุ่มละมุน
แจก 300 โค้ดสี HTML คัดพาเลตมาให้แล้วจากดีไซน์เนอร์
รวม 16 เว็บไซต์ช่วยเลือกคู่สี พาเลทสวย ๆ

  • เทมเพลต (Template) : เป็นรูปแบบหรือโครงสร้างที่เป็นลักษณะเฉพาะของแบรนด์ที่ยังไม่มีการใส่เนื้อหาเข้าไป อาจจะนำเอาไปใช้ในสื่อต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ เอกสาร นามบัตร หรือป้ายประกาศต่าง ๆ ของแบรนด์ เป็นต้น สิ่งนี้จะช่วยให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เราดูเป็นมืออาชีพและมีรูปแบบที่ไปในทิศทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น
D38018A7 BBB6 4BE6 BD88 16C169B7D3F1
รูปแบบของเทมเพลตที่มีสีไปในโทนเดียวกันในหลาย ๆ สื่อต่าง ๆ
  • ความยืดหยุ่น (Flexibility) : จริงอยู่ที่บางครั้งการที่เราใช้เทมเพลตให้ไปในทิศทางเดียวกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในบางครั้งเราก็อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณาของแบรนด์ แคมเปญหรือโปรโมชั่นต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความนิยมในปัจจุบันเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า แบรนด์ของเรามีความใส่ใจและพยายามพัฒนาแบรนด์ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

3. การสื่อสารออกไปบนสื่อต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้า

มาถึงข้อนี้ ทุกคนคงได้สร้างแบรนด์ของตัวเองให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว แต่แบรนด์ของเราจะไม่เป็นที่รู้จักเลยถ้าเราไม่เผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะให้คนอื่นได้รับรู้ วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันนั่นคือ การสร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ แอดขอบอกเลย่าคอนเทนต์นั้นเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของแบรนด์เลยนะ เพราะมันเป็นส่วนที่จะแสดงถึงการแนะนำตัวตนของแบรนด์ การเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์ คอยให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในแบรนด์ของเรา เป็นส่วนสำคัญที่จะสื่อสารให้กับลูกค้าของเราได้ดีที่สุดและสามารถที่จะเพิ่มการเข้าถึงให้กับแบรนด์ของเราได้มากที่สุดด้วย

หลาย ๆ คนคงจะได้ยินประโยคที่ว่า “Content is king” ซึ่งเป็นเรื่องจริงมากเพราะคอนเทนต์จะเป็นส่วนที่สะท้อนว่าตัวตนของแบรนด์ ๆ นั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นวันนี้แอดจะมาบอกพื้นฐานของการสื่อสารคอนเทนต์ที่ดีออกไป ว่าหลัก ๆ แล้วเราควรที่จะคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง

  • ภาษา (Language) : ควรเลือกระดับของภาษาที่เหมาะกับตัวตนของแบรนด์เรา เช่น เพจขายผลไม้สดต่าง ๆ ซึ่งลูกค้าควรที่จะสามารถเข้าถึงแบรนด์ของเราได้อย่างง่าย ๆ ก็ควรที่จะใช้ภาษาที่ระดับเป็นกันเอง หรือแบรนด์ไหนที่เป็นสินค้าที่ดูมีความหรูหราขึ้นมานิดนึง ก็ควรใช้ภาษาที่ไม่ควรที่จะตลกหรือร่างเริงจนเกินไป เป็นต้น
  • ความสัมพันธ์และอารมณ์ (Connection & Emotion) : สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าสนใจในผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เรานั่นคือ การโน้มน้าวให้ลูกค้ามีความรู้สึกอินและคล้อยตามไปกับการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของแบรนด์ โดยวิธีที่ดีที่สุดที่แอดอยากจะแนะนำนั่นคือ การเล่าเรื่องราวผ่านวิดีโอครับ อาจจะเป็นเรื่องสั้น เกี่ยวกับประวัติของแบรนด์ ประวัติของผลิตภัณฑ์ หรือหนังสั้นที่เขียนบทขึ้นมาให้สอดคล้องกับแบรนด์ เพื่อโน้มน้าวทำให้ลูกค้าเกิดอารมณ์ร่วม ไม่ว่าจะเป็น สนุก ตลก หรือซึ้งไปกับเรื่องราวที่เราได้นำเสนอออกไป
หนังสั้นของ K SME กสิกรไทย เพื่อเป็นการโน้มน้าวและเพิ่มการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย
  • โฆษณา (Advertise) : การทำโฆษณาเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตแล้ว เพราะเป็นการที่เราได้นำแบรนด์ของเราเผยแพร่ออกไปในสื่อทีมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ อาจจะนำเสนอออกไปในรูปแบบดิจิทัล ใบปลิว หรือผ่านทาง Influencer ก็ได้ ซึ่งอาจจะต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายหรือเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างแบรนด์ของเรากับพื้นที่ที่ให้ลงโฆษณานั้น ๆ ทั้งนี้ก่อนที่จะลงโฆษณา ควรทำให้แบรนด์ของเรามีความพร้อมให้ดีเสียก่อน
  • สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) : ปัจจุบันโซเชียลมีเดียเกิดขึ้นมาหลายแพลตฟอร์มมาก ทำให้เราสามารถที่จะเชื่อมโยงถึงกันบนโลกออนไลน์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือที่เป็นยอดนิยมกันอยู่ในตอนนี้นั่นคือ Tiktok ซึ่งเป็นสื่อทีมีอิทธิพลต่อโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก เป็นโอกาสดีที่แบรนด์ของเราจะได้สร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มเป้าหมายของเราบนแพลตฟอร์มเหล่านี้
ED33F1BD 86E6 439C 896D 2F79888C0F7E
สื่อ Social Media เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันไปแล้ว

4. หลีกเลี่ยงการกระทำในเชิงลบ

มาถึงข้อนี้แล้ว ถ้าเราปฏิบัติตามข้อที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แต่มาสะดุดล้มที่ข้อนี้อาจจะทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ของเราดูไม่ดีได้

  • ประการแรก : การใช้ภาษาที่ผสมปนเปไปกับบุคคลทั่วไป จริงอยู่ที่แอดบอกไปในข้อ ที่ 3 ว่า อาจจะปรับใช้ระดับของภาษาให้เป็นกันเองเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ๆ แต่จงอย่าลืมว่าเราเป็นแบรนด์ ๆ หนึ่ง ที่จะยังคงอยู่ในโลกออนไลน์ต่อไป ดังนั้น ถ้าเกิดมีการแสดงความคิดเห็นหรือมีการโต้ตอบกันบนโลกโซเชียล ในฐานะแบรนด์ควรที่จะต้องมีการวางตัวเป็นกลาง ไม่คล้อยตามหรือแสดงความคิดเห็นในเชิงลบหรือเชิงตรงข้ามเพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะทำให้แบรนด์ของเราไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง และอาจจะเปลี่ยนลูกค้าให้กลายเป็นศัตรูของเราโดยไม่รู้ตัวได้
31F9B18B 9279 4C5C A725 CD875083E628
Twitter เป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่มีการแสดงความคิดเห็นตอบโต้กันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบกันเป็นจำนวนมากในทุกวัน
  • ประการที่สอง : มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่เลียนแบบใคร หากใครคิดที่จะไปเลียนแบบแบรนด์ของคู่แข่งล่ะก็ หยุดความคิดนี้ไว้เลย ทุกแบรนด์ล้วนมีจุดเด่นเป็นของตัวเองที่ควรมองมันให้ออก แล้วสิ่งนั้นจะทำให้แบรนด์ของเรามีความยั่งยืนและเป็นที่จดจำให้กับลูกค้าได้ดียิ่งกว่า

5. ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

เดินทางมาถึงข้อสุดท้ายกันแล้วนะครับ หัวข้อนี้บอกเลยว่า แบรนด์ของเราจะพัฒนามากขึ้นหรืออยู่ที่เดิม เกิดจากการที่เมื่อเราทำ 4 ข้อด้านบน ไปเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เราควรที่จะมาตรวจสอบผลการดำเนินงานของเราว่า สิ่งที่เราได้นำเสนอออกไปนั้น มีการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมายมากขนาดไหน มีฟีดแบคกลับมาในเชิงบวกหรือเชิงลบ เพื่อให้เราทราบถึงประสิทธิภาพของแบรนด์เราในขณะนั้น ว่าควรที่จะปรับปรุงหรือแก้ไขจุดบกพร่องบริเวณไหน เพื่อให้แบรนด์ของเราไม่หยุดอยู่กับที่และสามารถที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามยุคตามสมัย และความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน

A644ACE4 07BD 476A 8B3A 81F19884D659
คอยตรวจสอบผลการดำเนินงานอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องในแบรนด์ของเรา

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ทั้งหลาย การที่จะสร้างแบรนด์ ๆ หนึ่งขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่มั๊ยครับ เนื่องจากต้องวิเคราะห์อะไรหลาย ๆ อย่างควบคู่กันไป แต่แอดเชื่อว่าก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะลงมือทำ ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนจริง ๆ แอดเชื่อว่าทุกคนทำได้แน่นอนครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นในการสร้างธุรกิจในปี 2022 เป็นของตัวเองนะครับ

และถ้าใครไม่อยากพลาดเคล็ดลับและข่าวสารดี ๆ แบบนี้อีก สามารถเข้าไปติดตามและเยี่ยมชมบทความต่าง ๆ ของพวกเราเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Designil นะครับ แอดบอกเลยนะว่ามีความรู้และเคล็ดลับดี ๆ คอยอัปเดตและรวบรวมอยู่ในนั้นเยอะแยะมากมายแน่นอนครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง