รวม 10 อาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม

Siranat

เมื่อกล่าวถึงสายงานที่เกี่ยวกับ IT หรือเทคโนโลยี ภาพที่หลายคนนึกถึงกันได้เป็นอันดับแรก ๆ ก็คงเป็นงานที่ต้องเขียนโค้ด หรือทำเกี่ยวกับโครงสร้างของโปรแกรมอย่างแน่นอน ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่มักจะเป็นงานลักษณะดังกล่าว แต่จากการที่เทคโนโลยีหลายส่วนมีความซับซ้อนลดลงอย่างมากและสามารถเข้าถึงได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ทำให้มีสายอาชีพใหม่เกิดขึ้นมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในยุคนี้ให้ได้มากที่สุด

ในบทความนี้จะกล่าวถึงและแนะนำอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมจากสายงานต่าง ๆ เพื่อให้คนที่กำลังมองหางานในวงการนี้ สามารถเห็นภาพรวมของตัวเลือกการทำงานได้มากยิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งอาชีพที่ต้องการทักษะการทำงานสูง ไปจนถึงอาชีพที่สามารถเรียนรู้และทำงานได้จากทุกสถานที่ ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ตัวเลือกของงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้น หากคุณกำลังมองหางานในลักษณะที่กล่าวไป ตัวเลือกของสายงานในวันนี้ จะทำให้คุณพบเจอกับงานที่ชื่นชอบแน่นอน


อาชีพในสายงานออกแบบ

01 User Interface Designer

User Interface Designer
User Interface Designer

User Interface Designer หรือ UI Designer จะทำงานร่วมกับหลายฝ่าย เพื่อออกแบบอินเตอร์เฟซสำหรับผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรมซอฟต์แวร์ โดยมีเป้าหมายหลักให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และดึงดูดสายตา ด้วยการออกแบบอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ส่วนใหญ่นักออกแบบ UI มักจะรับผิดชอบในการออกแบบขั้นตอนการพัฒนาอินเตอร์เฟซ ตั้งแต่การสร้างองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล การพิมพ์ โครงร่างสี ไอคอน และองค์ประกอบกราฟฟิกอื่นๆ โดยจะทำงานใกล้ชิดกับนักออกแบบ UX เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน

โดยสรุปแล้ว UI Designer มีบทบาทสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่ดึงดูดสายตา ใช้งานง่าย และปรับปรุงประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้งานนั่นเองครับ สำหรับทักษะที่จำเป็นสำหรับ UI Designer นั้น ได้แก่ มีความเข้าใจในหลักการออกแบบอย่างถ่องแท้ มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือออกแบบ เช่น Figma, Sketch, หรือ Adobe Creative รวมถึงควรมีความรู้เกี่ยวกับ HTML/CSS และเทคโนโลยีอื่น นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม และสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ด้วยครับ

รายได้โดยเฉลี่ย: 20,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

02 User Experience Designer

User Experience Designer หรือ UX Designer จะเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน โดยจุดประสงค์ของงานสายนี้ จะแตกต่างกันออกไปตามผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้การวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะด้านความพึงพอใจค่อนข้างมีความยืดหยุ่น สำหรับความรับผิดชอบหลัก ๆ ในสายอาชีพนี้ จะประกอบด้วย การวิจัยเกี่ยวกับผู้ใช้งานเพื่อทำความเข้าใจความต้องการด้วยการใช้งานวิธีการและเครื่องมือต่าง ๆ, การสร้างต้นแบบของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของผลิตภัณฑ์ และการจัดโครงสร้างเกี่ยวกับเนื้อหา ให้มีประสิทธิภาพตามเงื่อนไขต่าง ๆ มากที่สุด เป็นต้น

ทักษะที่สำคัญสำหรับ UX Designer ด้แก่ มีความเข้าใจในหลักการออกแบบโดยเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง มีความชำนาญในเครื่องมือออกแบบ เช่น Sketch และ Figma มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวิจัยผู้ใช้ เช่น การสำรวจ การสัมภาษณ์ และการทดสอบการใช้งาน รวมไปถึงควรมีทักษะการสื่อสารและสามารถทำงานเป็นทีม โดยจะทำงานร่วมกับ UI Designer เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ครับ

รายได้โดยเฉลี่ย: 20,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

หากใครสนใจก้าวเข้าสู่เส้นทางสาย UX Designer หรือกำลังมองหาคอร์สเรียน ดูรีวิวได้ที่นี่เลยครับ

03 Graphic Designer

Graphic Designer
Graphic Designer

สายงานนี้เป็นอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ซึ่งค่อนข้างเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน โดยผู้ที่ประกอบอาชีพจะต้องทำการเสนอแนวคิดด้านกราฟิก และออกแบบงานเหล่านั้นให้กับลูกค้า เพื่อให้ตรงกันกับความต้องการในการใช้งานด้านต่าง ๆ ควรมีความรู้ในเรื่องของการพิมพ์ สี และทักษะด้านงานศิลปะ รวมไปถึงยังควรมีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามหากมีความรู้ในระดับที่สูงขึ้นในเชิงเทคนิค ก็อาจก้าวเข้าสู่การทำงานในด้านการพัฒนาแบรนด์สินค้าและเชิงการตลาดได้ด้วยเช่นกัน

รายได้โดยเฉลี่ย: 18,000 บาทต่อเดือนเป็นต้นไป


อาชีพในสายงานวิเคราะห์ข้อมูล

04 Software Quality Tester

นักทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์หรือ SQT จะมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของระบบซอฟต์แวร์ ก่อนการเปิดตัวสู่สาธารณะในการใช้งาน โดยจุดประสงค์หลัก คือ การทำให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์เหล่านั้นจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานทุกส่วนสามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง ในด้านของการทำงาน นัก SQT มักจะมุ่งเน้นในการหาข้อผิดพลาดสำหรับทุกส่วนในระบบการทำงานของซอฟต์แวร์ เพื่อกำจัดจุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด ทำให้ผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพนี้ จะต้องเป็นคนที่มีความละเอียด และให้ความสำคัญกับทุกส่วนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ทุกประเภท

รายได้โดยเฉลี่ย: 25,000 ถึง 60,000 บาทต่อเดือน

05 Data Analyst

สำหรับคนที่ชื่นชอบการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อาชีพนี้จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างมาก เนื่องจากคุณจะต้องนำชุดเครื่องมือ แนวโน้ม และความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ต่าง ๆ มาทำการประมวลผลด้วยทักษะทางคณิตศาสตร์ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ไปจนถึงการจัดระเบียบของชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการทำงานบนโลกยุคดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่เลือกจะประกอบอาชีพนี้ยังควรมีความสามารถในการสรุปผล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ง่ายดายมากที่สุดอีกด้วย

รายได้โดยเฉลี่ย: 20,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

06 IT Business Analyst

นักวิเคราะห์ธุรกิจ IT เป็นสายงานที่จะคอยช่วยแนะนำธุรกิจ และปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ บริการ และซอฟต์แวร์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพแวดล้อม โดยผู้ที่ทำงานในอาชีพนี้จะต้องมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจและ IT เพื่อเชื่อมโยงความรู้ในการปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ให้กับธุรกิจ ทำให้หน้าที่หลักนั้นจัดเป็นการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจ การสรุปปัญหา การมองหาโอกาส และแนะนำแนวทางในการแก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น เพื่อสรุปเป็นรายงานให้กับธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินงานได้ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด

รายได้โดยเฉลี่ย: 15,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน

07 Web Analytics Specialist

Web Analytics Specialist เป็นอาชีพสาย Tech ที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ SEO และข้อมูลทางการตลาดเป็นหลัก ซึ่งบทบาทของสายอาชีพนี้ จะเป็นการมุ่งเน้นเพื่อวัดผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ทั้งเรื่องของเพศ อายุ และลักษณะการใช้งาน ที่จะถูกนำไปใช้กำหนดเป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ประกอบของเว็บไซต์ต่อไป ดังนั้น ผู้ที่ทำงานจึงจะต้องทำการทดสอบข้อมูลและทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย สำหรับตรวจสอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ที่อยู่ในสายอาชีพนี้ มักจะนิยมรับงานผ่านเอเจนซี่ ส่งผลให้สามารถรับงานได้มากกว่าหนึ่งเว็บไซต์ สำหรับการทำงานต่อเนื่องพร้อมกัน

รายได้โดยเฉลี่ย: ขึ้นอยู่กับจำนวนการรับงาน


อาชีพในสายงานคอนเทนต์

08 Search Engine Optimization Specialist

SEO Specialist
SEO Specialist

Search Engine Optimization Specialist เป็นหนึ่งในอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ จากการที่เทรนด์การเขียนบทความ SEO กำลังมาแรง และเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ อย่างถูกวิธี จะทำให้บทความหรือคอนเทนต์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้อัลกอริทึมสามารถหาแนวทางในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพราะฉะนั้น จากแนวทางการทำงานที่ชัดเจน จึงทำให้หน้าที่และความรับผิดชอบจะเป็นการทำงานร่วมกับทีมสร้างเนื้อหา SEO และปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากันกับระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการขับเคลื่อนได้มากที่สุด และทำการติดตามผลเพื่อสรุปรายงานของการดำเนินงานเพียงเท่านั้น

รายได้โดยเฉลี่ย: 30,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

09 Content Writer

หนึ่งในอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ไม่ต้องโคดดิ้ง จะขาดอาชีพนี้ไปไม่ได้เลย Content Writer เป็นผู้สร้างเนื้อหา หรือผลิตเนื้อหาต้นฉบับสำหรับแพลตฟอร์มหรือสื่อต่างๆ ซึ่งเนื้อหามีหลายรูปแบบ ทั้งวิดีโอ บทความ รูปภาพ พ็อดคาสท์ และโพสต์ต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย ซึ่งสายอาชีพที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน จากความต้องการบทความในหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความต้องการของ Content Writer สูงขึ้นตามไปด้วยในเวลาเดียวกัน

กุญแจสู่ความสำเร็จในการสร้างเนื้อหาของ Content Writer คือการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง เน้นสร้างการมีส่วนร่วมและต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย โดยพัฒนาสไตล์หรือเสียงให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ตลอดจนทำการทดลองและปรับแต่งเนื้อหาอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกลุ่มเป้าหมาย

รายได้โดยเฉลี่ย: 15,000 ถึง 60,000 บาทต่อเดือน

10 Content Creator

Content Creator เป็นตัวเลือกของอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมสุดท้ายของเราในวันนี้ โดยจะเป็นงานที่ต้องใช้ความสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตคอนเทนต์ให้ตรงกันกับความต้องการของผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ ซึ่งงานในส่วนนี้จะมีความเกี่ยวข้องทั้งกับบทความ วิดีโอ และภาพถ่าย ที่ Content Creator จะต้องเลือกออกแบบให้เหมาะสมกับแพลตฟอร์ม ที่ใช้สำหรับสร้างความเคลื่อนไหวให้กับเว็บไซต์หรือสินค้า ส่งผลให้ความรู้ในเบื้องต้นที่ควรมีความเข้าใจ จึงเป็นเรื่องของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ และการสร้างผลงานคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องนั่นเอง

รายได้โดยเฉลี่ย: 30,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน


อาชีพในสายงานผู้จัดการ

11 Social Media Manager 

ผู้จัดการโซเชียลมีเดียเป็นงานที่ต้องการมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ โดยควรมีทั้งความสามารถในการเปลี่ยนคำ รูปภาพ และวิดีโอ ให้กลายเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงยังจะต้องมีความรู้อย่างละเอียด เกี่ยวกับแพลตฟอร์มโซเชียลยอดนิยม อย่าง Twitter, Facebook, Instagram, TikTok หรือแม้แต่ LinkedIn ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจนั้น จะมีตั้งแต่เรื่องของการมีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์ม การพัฒนาการรับรู้ของแบรนด์ ไปจนถึงการใช้กลยุทธ์ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ความท้าทายของงานสายนี้ จึงเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน ให้มีความเหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์มมากที่สุด ภายใต้การทำธุรกิจของผลิตภัณฑ์ในแบรนด์เดียวกันนั่นเอง

รายได้โดยเฉลี่ย: 80,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

12 Project Manager

Project manager
Project manager

Project Manager คือ ผู้จัดการและวางแผนโครงการในงานด้าน IT เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การทำงานที่ตรงเวลา และให้ผู้คนที่อยู่ภายในแผนงาน สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน นอกจากการทำงานต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งเรื่องของความเป็นผู้นำและผลลัพธ์ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นการติดตามความสามารถ และการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกแต่ละคน ยิ่งไปกว่านั้น ก่อนการเริ่มต้นโปรเจกต์ ผู้จัดการโครงการยังมีหน้าที่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน ว่าสมาชิกในทีมมีวิสัยทัศน์การทำงานที่ตรงกัน เพื่อให้สามารถสร้างงานออกมาได้อย่างมีคุณภาพและได้ผลลัพธ์ตรงตามที่ต้องการมากที่สุด

รายได้โดยเฉลี่ย: 40,000 ถึง 90,000 บาทต่อเดือน


บทสรุปเกี่ยวกับอาชีพสาย Tech ที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรม

ทั้งหมดที่เราได้กล่าวไปในช่วงที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยที่ผู้ประกอบอาชีพไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในหลาย ๆ สาขาอาชีพนั้น ก็เป็นอาชีพใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้ในช่วงเวลาไม่กี่ปีนี้ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นเข้าสู่วางการเทคโนโลยี สามารเข้าถึงอาชีพเหล่านั้นได้อย่างไม่ยากมากนัก ซึ่งหากคุณเองก็เป็นหนึ่งในคนกลุ่มนั้น เราก็เชื่อว่าจากอาชีพเหล่านี้ จะต้องมีสักหนึ่งงานที่ดีที่สุดสำหรับคุณแน่นอน


ยังไงทาง Designil ต้องขอฝากคอร์สดี ๆ ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกคนด้วยคร้าบ
เรามีเปิดสอนแบบออนไลน์ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ที่จะปูพื้นฐานกันตั้งแต่ UI Design ไปจนถึงด้านการจัดการฝั่ง UX ปัจจุบันมีเปิดสอนหลากหลายคอร์ส สามารถติดตามหรือลงทะเบียนอีเมลเพื่อรับการอัพเดทคอร์สใหม่ๆ ได้จากด้านล่างเลยนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง