Coaching UX UI เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับคนที่อยากทำงานในงานประเภทสายทักษะเฉพาะด้าน ทำงานกับบริษัท การมีโคชชิ่งเป็นขั้นตอนที่ทำจะช่วยให้เราสามารถได้งานไวขึ้น พัฒนาทักษะได้ตรงเป้าหมาย ตรงจุด
โดยเฉพาะถ้าหากเรากำลังจะสมัครเข้าทำงานในบริษัทขนาดใหญ่แล้วเรายังไม่รู้ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน, การเตรียม Portfolio, หรือการตอบคำถาม การมีโคชชิ่งที่เคยทำงานในบริษัทที่เราจะไปสมัครงานจะช่วยทำให้เราได้เตรียมตัวผ่านด่านของการสัมภาษณ์และได้งานง่ายขึ้น เรียกได้ว่าการโค้ชชิ่งนั้นมีหลากหลายด้านให้เราได้ใช้พัฒนาทักษะในการทำงานเลยค่ะ
ปัจจุบันแอดนัทเองก็มี Coaching ทั้งคนไทยและคนออสเตรเลีย เพื่อนในทีมของแอดนัทที่ทำงานมาเป็นสิบปียังต้องมีโคชชิ่งกันตลอด เพราะความรู้นั้นไม่มีวันสิ้นสุด การแลกเปลี่ยนความรู้จึงมีความสำคัญมาก ๆ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการมี Coaching
- Mentorship หรือ Coaching เป็นงานเฉพาะกิจ ไม่เป็นทางการ ดังนั้นการพูดคุยกันส่วนใหญ่จึงไม่เน้นเป็นการคุยระยะยาว ส่วนใหญ่จะเป็นการคุยระยะสั้นรายบุคคล ไม่มีการผูกมัด
- ก่อนการติดต่อ Coaching ใน industry นี้ เราจะต้องทำการบ้านของตัวเองในหัวข้อที่เราสนใจก่อน ว่าเราต้องการจะติดต่อไปเผื่อขอคำแนะนำในเรื่องของอะไร
- เตรียมข้อความก่อนการติดต่อให้ชัดเจน ว่าเราจะติดต่อใคร เพื่ออะไร สั้น กระชับ แนะนำตัวให้ได้ใจความ มีเป้าหมายการติดต่อมาต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- ไม่ Add friend ทาง Social media เพราะเราต้องอย่าลืมว่า คนไม่รู้จักกันจะมารับแอดเราง่าย ๆ ได้อย่างไร ดังนั้นการส่งข้อความและแนะนำตัวพร้อมเป้าหมายของเราก่อนจะเป็นทางที่สุภาพและดีที่สุด
- ยอมรับความจริงและทำใจล่วงหน้า หากเราติดต่อไปแล้ว พี่ ๆ ในวงการไม่ได้อ่าน ไม่ตอบกลับข้อความ หรือไม่ให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดกับเรา เพราะเป็นเรื่องธรรมดามากที่อยู่ ๆ ก็มีคนไม่รู้จักทักมา พี่ ๆ อาจจะรู้สึกแปลก ๆ นิดหน่อย
แต่ว่าอย่าท้อถอย เพราะจะต้องมีพี่ ๆ สักคนที่สามารถช่วยเราได้อย่างแน่นอน - การ Mentor หรือ Coaching ไม่ใช่การสอนแบบตัวต่อตัวละเอียด ดังนั้นเราจะต้องบอกเป้าหมายของเราให้ชัดเจน พี่ ๆ บางท่านอาจจะมีเวลาที่จำกัดมาก
- การปรึกษา Coaching บางครั้งจะมีค่าใช้จ่ายรายชั่วโมง หรือถ้าการโค้ชชิ่งเปลี่ยนไปทางการสอน ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการสอนเป็นรายชั่วโมงแน่นอนค่ะ
Coaching ต่างจากการให้ Feedback อย่างไร ?
- โคชชิ่ง จะโฟกัสไปที่เป้าหมายในอนาคต จะไม่เหมือนกับ Feedback ที่เราจะให้กับงานที่เกิดขึ้นแล้ว หรืองานที่ทำเสร็จไปล่าสุด
- จะโฟกัสไปที่เป้าหมายของผู้เรียน
- เป็นการให้ความรู้มากกว่าการแนะนำฟีดแบค การโคชชิ่งจะเป็นการโฟกัสไปที่การถามตอบคำถามเพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้ เป็นคำถามแบบ Open-ended questions
- การโค้ชชิ่งจะมีการนัดเวลาล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าจะปรึกษาตอนนี้วันนี้ก็ทำได้เลย
วิธีหา Coaching
เราจะหา Coaching ได้จากที่ไหนบ้าง ?
ปัจจุบันในกรุ๊ป Designil จะมีประกาศตลอดว่าพี่ ๆ คนไหนว่างมา Coaching น้อง ๆ บ้าง
ส่วนใหญ่ พี่ ๆ ก็จะน่ารักมาก ๆ เลยค่ะ มาช่วยตอบคำถามในกรุ๊ปตลอด แต่ถ้าไม่ว่าง พี่ ๆ ก็จะเขียนรายละเอียดให้อย่างชัดเจน สำหรับน้องมือใหม่ ลองมาติดตามในกรุ๊ปกันได้นะคะ
UX Thailand group – ลองตามหาพี่ ๆ ท่านอื่นตามสาขาที่เราสนใจจากในกรุ๊ป community ของแต่ละประเทศ ต้องดูด้วยนะคะว่าแต่ละคนเขาทำงานอะไร มีเวลาว่างพอจะให้คำปรึกษาเราได้หรือไม่
เว็บไซต์สำหรับคนที่อยากหา Mentor ภาษาอังกฤษ เพื่อหาวิธีในการสมัครงานในต่างประเทศ
- Mentorcruise
- Designed
- Trydesignlab
- Mentoring.design
LinkedIn ติดต่อพี่โดยตรงได้ผ่านทาง LinkedIn เราจะได้เห็นประวัติการทำงานที่ละเอียดชัดเจนด้วย
วิธีการเขียนข้อความ
ด้านล่างนี้จะเป็นเทคนิคการเขียนข้อความเพื่อติดต่อพี่ ๆ ในวงการ แต่ไม่รับประกันว่าทุกคนจะได้รับการติดต่อกลับหรือไม่นะคะ >_< แต่ว่าก็คุ้มที่จะลอง
- แสดงความตั้งใจ ความสนใจในการเรียนรู้
- เขียนหัวข้อให้ชัดเจน บอกเป้าหมายของเราให้ครบ
1. แสดงความตั้งใจ ความสนใจในการเรียนรู้
ดูว่าเราติดปัญหาอะไรอยู่ ขั้นตอนแรกดูว่าปัญหาของเราคืออะไร อะไรที่เรากำลังติดอยู่
ทำการบ้าน ทำการบ้านล่วงหน้าว่าคำถามที่เราจะถามมีคนตอบไปบ้างแล้วหรือยัง เพราะว่าจริง ๆ คำถามที่เราสงสัยอาจจะมีคำตอบอยู่แล้วมากมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามเว็บชื่อดังเช่น
- Neilsen Norman Group
- UX Booth
- UX Collective
- UXConf
- People Nerds
- Mixed Methods
- Ethnography Hangout
- Design & User Research
- ResearchOps
แต่ถ้าเกิดเป็นคำถามเฉพาะทางที่เราหายังไงก็หาไม่ได้ เช่นวิธีการสัมภาษณ์งานของบริษัทนี้ บริษัทนั้น ตำแหน่งนี้จะต้องมีความรู้เทคนิคอะไรบ้างเฉพาะทาง แบบนี้อาจจะต้องพึ่ง Coaching กันเลยค่ะ
หาคนให้ตรงกับปัญหาของเรา ขั้นตอนนี้จะเป็นการตามหาคนที่มีทักษะตรงตามกับปัญหาที่เรามีอยู่ โดยอาจจะต้องพิจารณาจากประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงานของพี่ท่านนั้น ๆ และผลงาน เพราะแต่ละคนมีทักษะเฉพาะทางที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะที่เหมือนกัน
เช่น แอดนัทอาจจะเชี่ยวชาญด้านการทำเว็บไซต์, accessibility, research สำหรับการทำเว็บไซต์ เว็บไซต์เทคโนโลยี แต่ถ้ามีคนมาปรึกษาเรื่องการทำแอพลิเคชั่น ออกแบบแอพแบบลึก ๆ เราก็จะให้คำแนะนำได้ไม่ดีนั่นเองค่ะ
2. เขียนหัวข้อให้ชัดเจน
เวลาเขียนข้อความไปขอรับคำปรึกษาหรือโคชชิ่ง เราต้องมีการเขียนหัวข้อเกริ่นให้ชัด โดยเริ่มจาก
- ปัญหาที่เรามีอยู่
- เริ่มต้นข้อความจากความต้องการของเราอย่างตรงไปตรงมา
- อธิบายว่าทำไมเราถึงติดต่อมาในวันนี้ เพราะสาเหตุอะไร
ตัวอย่างการเขียนแบบสั้น ๆ ต้องบอกไว้ก่อนว่านัทเองอาจจะไม่เชี่ยวชาญด้านการเขียนให้ถูกหลัก Formal มากนัก แต่ว่าการได้ข้อมูลที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมระยะเวลาในการให้คำปรึกษา จะช่วยให้เราพิจารณา Timeline ของเราได้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ
สวัสดีค่ะ พี่ XXXXX,
ดิฉันนางสาว XXX ปัจจุบันเป็นนักศึกษา Ph.D มหาวิทยาลัย XXX กำลังจะเรียนจบ มีความสนใจจะเข้ามาทำงานในตำแหน่ง UX Research และได้ค้นพบ Linkedin ของพี่ผ่านการแนะนำของเพื่อน ปัญหาที่หนูพบมีอยู่ว่าขั้นตอนการทำ Research เกี่ยวกับ Product ที่อยู่ในโปรเจคจบของหนูยังขาดมุมมองทางด้านธุรกิจ และเห็นว่าสิ่งที่พี่ทำงานอยู่มีความเกี่ยวข้องกับโปรเจคนี้ จึงมีความสนใจอยากให้พี่มาร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานและโค้ชชิ่งในโปรเจคจบตรงนี้ โดยที่นี่อาจจะใช้ระยะเวลาสัปดาห์ละไม่เกิน 10 นาที เวลาที่ว่างจะเป็นวันธรรรมดา หลัง 18.00น. เวลาไทยเป็นต้นไป อยากทราบว่าพี่มีความสนใจแชร์ประสบการณ์หรือให้คำปรึกษาหรือไม่คะ ? หากมีพี่สะดวกช่วงเวลาใดบ้างคะ ?
ถ้าหากว่าข้อความนี้เป็นการรบกวน ต้องเป็นการขออภัยด้วยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ
น้องแจน
ในที่นี้เราอาจจะต้องแนะนำตัวไปด้วยให้พร้อม เช่น ชื่อ อายุ งานปัจจุบัน เป้าหมายอยากให้พี่มาช่วยในส่วนของ XXX เพื่อ XXXX ปัจจุบันหนูมีผลงาน XXXXX สุดท้ายอย่าลืมถามช่วงเวลาของพี่ ๆ ที่สะดวกในการให้คำปรึกษาด้วย หากพี่ไม่สะดวกหรือเวลาไม่ตรงกัน อาจจะต้องคำนวนตารางเวลา Timezone ที่ถูกต้องด้วย
สำหรับพี่ ๆ ที่สนใจ Coaching
หลักการ Coaching แบบง่าย ๆ
- แนะนำการศึกษาต่อ (จะรายสัปดาห์ รายเดือนวัน ตามแต่ตกลง)
- การเตรียมตัวก่อนสมัครงาน UX UI
- การทำพอร์ตฟอลิโอ สิ่งที่ต้องรู้ 1,2,3,4
- การหาความรู้เพิ่มเติม เทคนิคลับ เพื่ออนาคตของแต่ละบุคคล
- โค้ชชิ่งจะเสร็จสิ้นวันไหนแล้วแต่ตกลง เช่น เข้าทำงานได้แล้ว หรืออื่น ๆ
- โฟกัสไปที่เป้าหมายของน้อง ๆ วางแผนอนาคตให้กับน้อง ๆ ทางด้านสายงานนี้
ข้อดีสำหรับพี่ ๆ
- Connection และเผื่อได้น้อง ๆ เข้าไปทำงานด้วยกัน
- ทบทวนความรู้
- สร้าง community แชร์ความรู้กันระยะยาว
สรุป
การทำ Coaching จะเหมาะสมมาก ๆ สำหรับคนที่เพิ่มเริ่มต้นในสายงาน เปลี่ยนงาน หาความรู้เพิ่ม ต่อยอดทักษะการทำงานในระยะยาว
ใครที่สนใจอยากเข้ามาทำงาน UX UI ขอให้ทุกท่านได้ Coaching ตามที่สมใจหวังนะคะ อย่ากลัวที่จะทักไปปรึกษา แต่อย่าลืมเผื่อใจไว้ด้วยน้า เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาตรงกันกับเราค่า
อ่านบทความเพิ่มเติมได้จากที่นี่นะคะ
- คอร์สเรียนออนไลน์สาย UX UI เริ่มต้นที่ 349 บาท
- วิธีเปลี่ยนงานจาก Graphic มาทำ UX UI
- เทคนิคสัมภาษณ์งาน UX UI และ 20 คำถาม Interview ยอดฮิต
- เทคนิคการทำ Portfolio สำหรับสาย UI UX
- เนื้อหาทั้งหมดในบทความ UX UI จะถูกจัดเก็บไว้ใน Directory นี้
เรียน UX UI จากบทความ