EP6 ขั้นตอนการทำ UX กับคุณปอมจากแอพพาเที่ยว Sneak
กลับมาอีกครั้งกับบทความ Design chats แอดเชื่อว่าหลาย ๆ คน ชอบประสบการณ์การไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ และเดินทางไปเยี่ยมชมแหล่งแลนมาร์คตามประเทศต่างๆ แต่ปัญหาอยู่ที่การวางแผนทริป เนี่ยแหละ ว่าจะวางยังไงให้ถูกใจคนทั้งทริป เช็คอินครบทุกที่ วันนี้แอดแจนมีโอกาสสัมภาษณ์สตาร์ทอัพวางแผนเที่ยวมาแรงอย่าง SNEAK ซึ่งมีขั้นตอนการคิดไม่ธรรมดา ไปอ่านกันเลยค่า
แนะนำตัวสั้น ๆ ค่า
พี่ปอม : สวัสดีครับ ชื่อปอมครับ ตอนนี้เป็น UX Designer อยู่ที่ SNEAK
พี่ปอมจบด้านไหนมา ทำไมถึงสนใจงาน UX Designer
พี่ปอม : จริงๆ พี่จบด้าน Com – Sci ที่ ม.บางมด มาครับ ซึ่ง 80% ของคนที่จบสาขานี้ก็ไม่ได้เป็นโปรแกรมเมอร์นะ
ต่อมามีโอกาสได้ไปทำตำแหน่ง System Analyst เน้นออกแบบระบบ เก็บ Requirement และทำงานร่วมกับ Designer เพื่อสร้างระบบขึ้นมา โดยตอนนั้นพี่ทำงานแบบ Waterfall คือทำทีละขั้นตอน ทีละสเต็ปไป ทำตามที่มี requirement ลงมา ผลคือ user ไม่ใช้ระบบ พี่เลยตั้งสมมติฐานกับตัวเองว่า เอ๊ะหรือว่า พวกหัวหน้าข้างบน force การทำงานแบบใหม่มาไม่พอ, ทำไม user ที่เข้ามาใช้งานใหม่ๆ เข้ามาใช้แปปนึงก็ออกไป ? คำถามเต็มหัวพี่ไปหมดว่า เกิดไรขึ้น (วะ) 55555
จุดเปลี่ยนคือพี่มาเจอบทความ UX (ปี 2006) อันนึงจากต่างประเทศ เล่าถึงที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่แท้จริงของ user พี่อ่านแล้วสนใจมาก เลยไปเรียนต่อที่อเมริกา UX and Interaction design เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งที่นี่พี่ได้เจอกับเพื่อนหลากหลายสาขามาก ตั้งแต่คนที่จบสถาปัตย์ ครู และอื่นๆ
แค่เริ่มก็น่าสนใจแล้ววว พี่เล่าจุดเริ่มต้นของ SNEAK ให้ฟังหน่อยค่า
พี่ปอม : เริ่มแรกเราพบว่า มีกลุ่ม user ที่มีปัญหาในการวางแผนทริป เช่น ในกลุ่มครอบครัวเอง พ่อกับแม่ ก็มีความต้องการต่างกัน น้องก็มีความต้องการอีกแบบนึง แล้วเราที่เป็นคนที่ออกแบบทริปก็ต้องมาจัดเรียงทริปให้ทุกคนพอใจ
SNEAK จึงออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนเที่ยวได้ง่ายขึ้นผ่าน photo-based เพียงแค่เลือกรูปที่ต้องการทั้งหมด แล้วระบบจำคำนวณเส้นทางการเดินทางไปยังที่ต่างๆ เพื่อไม่ให้พลาดที่ๆ อยากไปครับ
กระบวนการทาง UX กว่าจะมาเป็น SNEAK วันนี้
ขั้นตอนการทำ UX ของเราเนี่ยก็จะมี 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ครับ
Research – หาปัญหา ศึกษาพฤติกรรมของ user ว่าเค้าแพลนทริปกันยังไง
โดยเริ่มแรก สิ่งที่เราต้องทำคือ create persona หรือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ก่อนครับ SNEAK เลือกที่จะโฟกัสไปที่ฝรั่งชาวตะวันตกก่อน จากนั้นเราก็ไปศึกษาพฤติกรรมของเขา (User Journey) พบว่าคนกลุ่มนี้มีเวลาเที่ยวเยอะ โดยมี Motivation ว่าเกิดมาครั้งนึงเนี่ย ต้องมาเที่ยวและจัดให้คุ้ม โดยพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ มักจะแพลนทริปจากการดูรูปแหล่งท่องเที่ยวใน pinterest ว่ามีที่ไหนน่าสนใจ จากนั้นก็เอารูปนั้นไปเสิร์ชหาเพิ่มเติมในอีก platform นึง ไม่ก็ใช้วิธีถามเพื่อน รวมถึงมีบางกลุ่มที่ไม่แพลนทริปเลย เนื่องจากรู้สึกว่ามันยุ่งยาก แล้วลุยเที่ยวเอาดาบหน้าครับ
ซึ่งมี Painpoint คือมักจะหลงทาง และบางทริปพลาดจุดท่องเที่ยวเด็ดๆ (Hidden Gem)
Ideation – จากปัญหาที่พบ เราจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร
เดิมที่ Pinterest เปรียบเสมือน Inspiration Gallery ที่ไมได้เหมาะกับการแพลนทริป เพราะเมื่อเจอรูปที่ถูกใจแล้ว ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมใน Platform อื่นเองอีก ทำให้เสียเวลา
SNEAK จึงเกิดจากการรวม Pinterest , Google Image , Instagram เป็น one – stop service การออกแบบทริป โดยใช้รูปภาพแหล่งท่องเที่ยวเป็นหลัก และเป็น one stop service ไม่ยุ่งยาก และประหยัดเวลามากขึ้น
Design – ออกแบบตัวต้นแบบโดยใช้ user เป็นจุดศูนย์กลาง
เมื่อเราได้วิธีการแก้ปัญหาออกมา เราต้องสร้าง Flow การเดินทางของ user ว่าเขาจะพบกับอะไรบ้าง ในแต่ละขั้นตอนที่ใช้บริการ SNEAK เพื่อออกแบบ wireframe
Validation – เอาตัวต้นแบบไปทดสอบกับ user เพื่อรับ feedback
ในขั้นตอนนี้ SNEAK ได้นำตัวต้นแบบของเรา ปริ๊นท์ลงกระดาษและนำไปวางไว้ที่ Hostel โดยมี QR Code ลิ้งก์ไปที่ Google Map ตามสถานที่เขาอยากไป จากนั้นก็ดูผลตอบรับทุกอาทิตย์ว่ามีคนหยิบเอากระดาษไปเยอะไหม มีกี่คนที่เข้าไปแสกน QR Code ของเรา โดยเรามีการ Pilot ปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้นในทุกอาทิตย์ เรียกได้ว่ากว่าจะมาเป็น SNEAK ตอนนี้ ก็ Dev กันไป 20 กว่าเวอร์ชั่นแล้วครับ 555
แต่ละขั้นตอนเนี่ย มีจุดไหนที่พี่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษบ้างไหมคะ
พี่ปอม : อืมม เป็นคำถามที่ดีนะ เพราะพี่เองก็ต้องมาผ่านจุด checkpoint หลายอย่างเหมือนกันตอนมาทำจริงๆ
อย่างแรกเลยคือ สินค้า/บริการเรา แก้ปัญหาได้ถูกจุดไหม ไม่ใช่ว่าสร้างเสร็จขึ้นมาแล้ว กลับไม่สามารถแก้ปัญหาของ user ได้จริง ตอนแรกเลยพี่ กับทีม SNEAK ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับพี่คิด จาก RISE พี่คิดแกก็บอกว่า SNEAK ในตอนนั้นเป็นสินค้าที่เป็น Vitamin แต่ยังไม่ใช้ Pain Killer ก็คือ ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่ช่วยแก้ Painpoint เค้าได้จริงๆ
พอได้ feedback แบบนี้ SNEAK เลยไปทำการบ้านมาเพิ่มกันเยอะมากๆ ทั้ง reserch , สัมภาษณ์นักท่องเที่ยวตามสตาร์บัคส์ จนเราเริ่มมี demand ที่เพิ่มขึ้น
จำไว้ว่าคนที่ตอบได้ดีที่สุดว่า สินค้านี้มันโดนใจยัง เป็น pain killer หรือยัง คือลูกค้า
อย่างต่อมี คือ Mindset ของการทำ UX ที่ต้องรวดเร็ว พร้อมปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ลองและทำใหม่ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา การทำ UX Designer นั้น
อย่าคาดหวังว่ามันจะเป็นกระบวนการที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ ต้องปรับตลอด เพราะในพฤติกรรม User เปลี่ยนไปไวมาก
อย่าคิดว่า UX เป็นกระบวนการที่ทำ 1 – 2 – 3 – 4 เรียงกันเเบบเดิมเสมอ บางทีอาจจะวน 1 – 2 กลับไปกลับมาได้ ไม่มีสูตรตายตัว
อย่าคิดว่า UX ที่สำเร็จที่บริษัท A จะสามารถก็อปปี้แล้วเอามาแปะที่บริษัท B ได้เลย มันต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลูกค้าของบริษัทนั้นๆ
คิดว่าข้อมูลจำเป็นต่อการออกแบบ UX ไหม ?
พี่ปอม : พี่ว่า Data เนี่ย จำเป็นนะ ปกติข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative ) และ 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative )
สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ก็ตามชื่อคือ เน้นจำนวน มักจะใช้ survey ป็นหลัก และทำเพื่อตีกรอบปัญหา อย่างของ SNEAK จะลิสต์คำถามเช่น คุณใช้อะไรในการวางแผนท่องเที่ยว , จากคะแนน 1-10 ให้คะแนน SNEAK กี่คะแนน เพราะอะไร
เมื่อได้ข้อมูลเชิงปริมาณมาแล้ว ก็จะเริ่มเห็น Pattern ที่จะชี้เป้าไปสู่การหาข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้เราเข้าใจ user ในระดับที่ลึกลงมากขึ้น ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น Field Study , Focus Group
โดยการใช้ข้อมูล 2 ประเภทดังกล่าว ก็ไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าจะต้องทำอันไหนก่อน ขึ้นกับปัญหา หรือ โจทย์ของแต่ละบริษัทครับ
ขั้นตอนการทำ UX มี Tools ตัวไหนน่าสนใจบ้าง
พี่ปอม : หลักๆ ตอนนี้ก็เห็นอยู่หลายตัวเลยนะ ไม่ว่าจะเป็น
พี่เชียร์ให้ใช้ Sketch ให้เป็น เพราะมันเป็นเครื่องมือที่เหมือนพ่อทุกสถาบัน เรียกว่าถ้าใช้เป็น ก็ฝึกเครื่องมืออื่นๆ ได้ไม่ยาก
สำคัญคือ การใช้ Tool ที่เหมาะกับทีม ส่งงานต่อกันได้ง่าย
บทบาทหน้าที่ของ UX Designer ต้องทำงานร่วมกับใครบ้าง
พี่ปอม : UX Designer เนี่ย เขาจะไม่ทำงานคนเดียว ต้องทำงานกับหลายๆ คนในทีม เช่น
Project Owner – เป็นคนที่ดูภาพรวมของโปรเจ็กต์ และสามารถตัดสินใจ Next Step ของโปรเจ็กต์ได้
UI ( User Interface ) – ออกแบบให้ใช้งานง่าย และสร้างความประทับใจ โดยอิงจาก Insight ของ user โดยตรง
Programmer – ต้องคุยกันตลอด เช่น UX ไป research มาแล้วพบว่า user มีปัญหาแบบนี้ ก็ต้องมาคุยกับ Programmer ด้วยว่าสามารถแก้ได้หรือเปล่า และในหลายๆ ครั้งที่ programmer มักจะช่วยอุดจุดบอดได้ดี และช่วยกันสร้างทางออกที่สร้างสรรมากขึ้น
Customer Service – เป็นหน้าด่านแรก ที่พูดคุยกับลูกค้า และรู้ painpoint จาก user โดยตรง
และที่ขาดไม่ได้เลยคือ User นั่นเอง ที่เราต้องศึกษาพฤติกรรม ความชอบ ทัศนคติต่างๆ ของเขาเยอะมากๆ เพื่อรู้ painpoint ของเขา และนำ Solution ที่ได้ไป Validation เพื่อรับ Feedback จาก user ว่ามันช่วยตอบโจทย์ไหม
สิ่งที่ Challenge ที่สุดในการทำงานด้าน UX Designer
พี่ปอม : การแก้ปัญหาให้ user นี่แหละที่ท้าทายที่สุด ในหลายๆครั้ง ที่เมื่อเรารู้ปัญหาของ user แล้วนำมาตีโจทย์เพื่อจะนำไปแก้ปัญหานั้น ในโจทย์ๆนึง สามารถสร้างสรรได้ออกมาหลายวิธีการ เราต้องหา “คำตอบที่ดีที่สุด ที่จะเป็น Pain Killer ให้ได้”
Next step ของ SNEAK
พี่ปอม : เพิ่ม user และออกหน้าตา Feature ใหม่ที่ฟังก์ชั่นจัดเต็ม แต่ใช่งานง่ายสุดๆ ปูเสื่ือรอติดตาม SNEAK โฉมใหม่ ไวๆนี้ได้เลย
ฝากถึงคนที่สนใจทำงานด้าน UX Designer
พี่ปอม : ใครที่สนใจงานด้าน UX Designer ไม่จำเป็นต้องจบตรงสายนะครับ ทุกอย่างเรียนรู้กันได้ ใครที่ไม่ค่อยเวลา อาจจะเริ่มต้นจาก Online Course ก่อน เพื่อจะดูว่าใช่สิ่งที่เราชอบจริงๆ ไหม นอกจากนี้พี่ก้เชียร์ให้ไปเข้าร่วมงาน Meetup นะเพราะได้แรงบันดาลใจ และมุมมองใหม่ๆ มาเพียบ
สิ่งสำคัญสำหรับคนที่เริ่มต้นคือการสร้าง portfolio เพื่อสะสมประสบการณ์ และแสดงให้เห็นถึงความสามารถของเรา ทำได้หลักๆ 2 แบบคือ สร้าง project ใหม่ขึ้นมาเลยย หรือ Redesign งานที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น
สุดท้ายก็ quote เด็ดๆมาฝากครัช คิดว่าเอาไปใช้ได้ในหลายสายงานเลย :D
“If a user is having a problem, it's our problem”
– Steve Jobs, Co-founder of Apple Inc.
จบไปแล้วกับการสัมภาษณ์ SNEAK เชื่อว่าเพื่อนๆน่าจะเอาไปปรับใช้ได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว ถ้าเพื่อนๆอยากให้เราไปสัมภาษณ์ใครเพิ่มเติม กระซิบมาได้เลย
ถ้าใครสนใจแอพของพี่ปอมไปติดตามกันได้ที่ getsneak.com ค่า
สำหรับใครที่ชื่นชอบบทความแบบนี้ สามารถกดรับข่าวสารผ่านทาง Newsletter หรือติดตามเราได้จาก Fanpage designil อัพเดทเป็นประจำทุกสัปดาห์ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ :D