สวัสดีค่า กลับมาพบกันอีกแล้ว ในบทความ Designil weekly
สัปดาห์นี้เรามาอัพเดทเรื่องราวน่าสนใจในฝั่งของ UI, UX กันนะคะ สัปดาห์นี้แอดนัทไปนั่งเรียนคลาส Copywriting และ SEO มาเยอะเลย เลยเอามาแทรกให้เพื่อนๆ อ่านกันเป็นเกร็ดความรู้สักเล็กน้อยประจำสัปดาห์ค่ะ มาเริ่มกันเลย
บทความใหม่ประจำสัปดาห์นี้
- แนะนำ 10 อุปกรณ์ทำงาน Work from home ช่วยลดอาการ Office syndrome
- แจกฟรีไฟล์ Design system checklist ช่วยตรวจงานก่อนนำไปใช้จริง
- 20 คอร์สเรียนออนไลน์ Business สำหรับเจ้าของธุรกิจ
- 9 เทมเพลต Goodnotes มีทั้ง Planner & สติกเกอร์ สวยๆ เพียบ
เรื่องน่ารู้
เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า Attention span หรือความสนใจของมนุษย์
สำหรับ Attention span ผ่านหน้าจอมือถือ จะมีแค่ระยะเวลาจำกัดเพียงแค่ 3 วินาที แปลว่าขณะที่เรากำลังไถ social media อยู่ เราจะเลื่อนอ่านแต่ละโพสต์และเตะตาได้ไม่เกิน 3 วินาที
ส่วนความสนใจทั่วไปนอกเหนือจากสื่อประเภทมือถือจะมีค่าเฉลี่ยที่ 8 วินาที
โดยเพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าปลาทองยังมี attention span มากกว่ามนุษย์อีกค่ะ T_T เศร้า
UX
Think like a UX designer
สรุปโพสต์จากพี่พัทยา
หัวข้อ: สโคปทำงาน 5 ระดับของการทำ UX Design จากกว้างไปแคบ แล้วแต่ว่าเราอยู่ในตำแหน่งงานไหน มีดังนี้
- Strategy (UX STRATEGIST) คือ รื้อ/ปรับลงไปถึงกลยุทธ์ธุรกิจเลยว่าต้องเปลี่ยนไหม ปรับอย่างไร ยังไม่ต้องแคร์วิธีการปรับ แต่อะไรคือความเป็นจริงของปัจจุบันที่ธุรกิจต้องสโคป หรือควรจะสโคป ไม่งั้นไม่มีอะไรไปสู้คนอื่นเขา—อนึ่ง ไม่ใช่การมโนแล้วไปสั่งปรับ หรือไปถึงก็ไปปรับเลยตามสั่ง แต่เป็นการ research ตาม ux frameworks เข้าใจสถานการณ์จริงก่อนแล้วชี้แจงให้ได้ว่าดีขึ้นยังไง มีข้อมูล backup แล้วจึงเสนอนโยบายขึ้น C-Level เพื่อเสนอปรับ
- Scope (UX LEAD/DESIGNER) คือ ดูว่ากลยุทธ์เมื่อกี้กระทบกับ product/platform/หน้าร้าน ปัจจุบันในมุมไหนบ้าง ถึงขั้นโละแอพทิ้ง หรือโละ product นั้นทิ้งเลยไหม หรือเขียน platform ใหม่จาก ground up เลย ไม่ต้องแคร์ว่าจะปรับไหวหรือไม่ แต่ make sure ให้ได้ก่อนว่าตอบตาม strategy ที่ตั้งเอาไว้จริงๆ
- Structure (UX DESIGNER) คือ ประสบการณ์ภายในแต่ละ product/platform/หน้าร้าน ที่ต้องดีไซน์ใหม่ต้องรับโจทย์มาทำเรื่องอะไร ถ้าดูตั้งแต่ 2 product ขึ้นไปต้องดูความเกี่ยวเนื่องกันด้วย เช็คกับลีดตลอดๆ ให้ยัง deliver ภาพโดยรวมได้ตรงกับ strategy ที่ตั้งไว้ ระดับนี้หมายถึงการดูแล User flows ให้มีความราบรื่นต่อเนื่อง พูดง่ายๆ ว่าถ้าเอา flow ไปเทสต์ลูกค้า แล้วลูกค้าตอบกลับมาว่า “ผมรู้สึกเหมือนผมไปเดินซื้อของเองที่ห้างเลย…” ถ้าความรู้สึกเหมือนไปเดินซื้อของที่ห้างเป็นสิ่งที่อยากให้มันเกิด… คุณทำถูกแล้วครับ
- Skeleton (UI DESIGNER) คือ คุมดูแล experience ฝั่ง “UI” ว่าถูกคุมให้ทำงานจาก “กระดูกสันหลัง” ชิ้นเดียวกันหรือไม่ พูดง่ายๆ พาร์ทนี้คือการทำ design system ที่ทำขึ้นมาเป็นกระดูกสันหลังแล้วถูกส่งไปให้หน้าบ้านแต่ละ facet (ด้านที่ต้องโผล่ไปทักทายลูกค้า) นำไปใช้นั่นเอง
- Surface (UI DESIGNER) คือ ดูแลให้ Interface ที่ต้องไปรับรองลูกค้าให้ประสบการณ์ระดับแต่ละสกรีนนั้น “ถูกต้อง ชัดเจน สื่อความหมาย” ส่วนความสวยงามเป็นส่วนที่ต้องเติมโดยอาชีพและจริตของ Designer แต่ละคนอยู่แล้ว แต่ถ้าสามข้อแรกไม่ผ่าน สวยไปก็ไร้ความหมาย
เพราะทั้งหมดคือเรื่องการทำการสื่อสารระหว่างคน สิ่งมีชีวิต กับหน้าจอ สิ่งไม่มีชีวิต ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่คุยได้รู้เรื่อง
The Ultimate Guide to UX Prototyping
คู่มือการทำ UX Prototyping แบบละเอียด
Micro Lesson: Interpreting Unmoderated Usability Tests, Card Sorts, Tree Tests
ช่อง Youtube ที่จะสอนเรื่องของการทำ UX, CX แบบละเอียดมาก ฟังเพลิน ได้ความรู้ในเชิง Practical ใช้งานได้จริง สนุกดีค่ะ
รวมเทมเพลตสำหรับการทำ UX Research แบบละเอียด มีทุกแบบตั้งแต่เริ่มออกไปสัมภาษณ์ การเตรียมคำถาม การเตรียมไฟล์ Proposal และอื่นๆ
Copywriting
รวมเว็บไซต์ช่วยวางแผนการเขียน content และบทความ
Idea/Research Tools
- Google trends
- Ubersuggest
- Answer the public
- Google analytics
- Google search/suggest ตรงส่วนที่ขึ้น suggestion เวลาเราค้นหาในหน้า google
A/B testing tool
Writing tools
- Hemingway App
อันนี้แอดนัทเคยเขียนบทความไว้ใน UX writing ย้อนอ่านกันได้เลยนะคะ ^_^ - Coschedule headline analyzer – ช่วยวิเคราะห์หัวข้อ headline (ภาษาอังกฤษ)
- Readable
SEO
180+ SEO Best Practices From Google
บทความนี้ถือว่ารวบรวมเทคนิคการทำ SEO ตั้งแต่พื้นฐานมาครบมาก ชอบมากเลยค่ะ อ่านเพลินสุดๆ
Deals
คอมพิวเตอร์
ประหยัดขึ้นอีก 10% สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเชิงพาณิชย์และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะทั้งหมด
คูปองโค้ด: SAVE1010
ใช้ได้กับผู้ที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเชิงพาณิชย์และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
(รวมทั้ง LenovoPro & Student, EPP, CEPP, NP)
หมดเขต 31 ตุลาคม 2564
Lifetime Deals
สัปดาห์นี้มี Deal Program ที่แอดนัทซื้อมาล่าสุดด้วยค่ะ ชื่อว่า
Typedesk
ต้องบอกก่อนว่าเว็บไซต์ของ Designil และ DataTH มีคนดูแลที่ทำงานประจำอยู่แค่ 2 ท่าน คือแอดนัท และแอดมินอีกท่านนึงค่ะ ก็เลยจะต้องพึ่ง Tool ที่ใช้ในการตอบปัญหาและคำถามจากลูกค้าอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ Tone & Voice ของเราไปในทิศทางเดียวกัน
ตัว Tool นี้ข้อดีก็คือจะช่วยในการเก็บ Template การตอบคำถาม และช่วยตอบอีเมล์ โดยใช้ภาษาและสำเนียงเดียวกัน เราทำเทมเพลตตัวหลักๆ ไว้ได้ แถมทำพวก custom variable ตัวแปร แก้ไขวันที่ ที่อยู่ และอื่นๆ ที่เราจะต้องแก้ไขบ่อยได้ด้วย
เป็นการขายแบบซื้อขาด ไม่มีชำระเงินรายเดือน ใช้ได้ไม่จำกัดสมาชิก
ราคาประมาณ 4,009 บาท ($118) ใช้งานได้ไม่จำกัด User
แล้วมาเจอกันใหม่ในบทความหน้านะคะ ^___^