รวมอาชีพในอนาคต เรียนอะไรดี ทักษะไหนจะไม่ตกงาน

Natk

สวัสดีค่าเพื่อน ๆ ชาว Designil วันนี้นัทได้ทำการสรุปผลสำรวจการ Research จาก World economic forum  เกี่ยวกับอาชีพที่กำลังมาแรง และอาชีพที่กำลังจะตายในอนาคต! อาชีพไหนจะถูก Automation หรือ AI มาแทนที่ สรุปชื่ออาชีพในอนาคต เหมาะสำหรับทุกท่านที่กำลังจะศึกษาต่อ มาดูกันเลยค่ะ

📖 บทความนี้มีอะไรบ้าง แสดง

สรุปเนื้อหาในภาพรวมทั้งหมด

เทคโนโลยี Cloud computing, Big data and E-commerce ยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงอยู่ ตามมาด้วยการเติบโตของเทคโนโลยี Encryption, nonhumanoid robots และ artificial intelligence.

การเข้ามาของ Automation ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘double-disruption’ สำหรับพนักงาน

ในสถานการณ์ของ Pandemic และการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Double disruption กล่าวคือ Pandemic เป็นสิ่งที่เร่งให้ธุรกิจปรับตัวให้ก้าวหน้าไปไวกว่าเดิมสองเท่า ดังนั้นเราจะเห็นว่ามีธุรกิจที่หยิบจับเทคโนโลยีมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วและเติบโตเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่ก็มีธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันจะเริ่มหายออกไปตลาดนั่นเอง

ปี 2025 นั้น 43% ของธุรกิจจะทำการลดพนักงานลงเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา , 41% วางแผนที่จะจ้างพนักงานไม่ประจำ (Contract) มาทำงานที่มีทักษะเฉพาะด้านแทน และอีก 34% วางแผนที่จะขยายงานเนื่องด้วยการมาของเทคโนโลยี

ปี 2025 คาดการณ์ว่าเราจะเห็นว่างานทุกอย่างจะมี Machine เข้ามามีส่วนแบ่งการทำงานถึง 50% และทำงานด้วยมนุษย์อีก 50%

ถึงแม้ว่าจะมีหลายอาชีพที่จะหายไป แต่เราจะมี “อาชีพในอนาคต” ใหม่มาแทนที่

ผู้จ้างคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 จะมีการลดตำแหน่งพนักงานที่ทำงานซ้ำซ้อน จาก 15.4% ลดลงเหลือ 9% (ลดลง 6.4%) และจะมีตำแหน่งงานที่เน้นทักษะแห่งอนาคตเพิ่มขึ้นจาก 7.8% เป็น 13.5% (เติบโตขึ้น 5.7%) จากผลสำรวจบริษัททั้งหมดที่ตอบคำถามมา

จากผลการสำรวจนี้ ทำให้พยากรณ์ได้ว่าในปี 2025, ตำแหน่งงาน 85 ล้านตำแหน่งจะถูกเปลี่ยนผ่านไปเป็นการทำงานระหว่างคน และ Machine, ในขณะที่อีก 97 ล้านตำแหน่งใหม่นั้นจะเป็นการทำงานที่ต้องทำร่วมกับ Machine และ algorithms

ช่องว่างทางทักษะ (Skills gaps) จะเพิ่มสูงขึ้น ตลาดต้องการคนที่มีความสามารถเฉพาะด้านในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทักษะเฉพาะด้านยังเป็นที่ต้องการสูงในตลาดเสมอ เช่นทักษะ Critical thinking, problem-solving ส่วนทักษะที่เกี่ยวกับการพัฒนาส่วนบุคคลนั่นคือ active learning, resilience, stress tolerance และ flexibility 

งานในอนาคตมาถึงแล้วสำหรับผู้ที่ทำงานทางด้านออนไลน์

84% ของผู้ว่าจ้างได้ปรับการทำงานให้เข้าสู่โหมดรองรับระบบดิจิตัลมากขึ้น
โดยจะเห็นได้ว่ามีการเติบโตของการทำงานแบบ Remote ที่เพิ่มขึ้นถึง 44% ภายในปีที่ผ่านมา

การเรียนออนไลน์กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

มีการเพิ่มขึ้นทางตัวเลข 4 เท่าสำหรับคนที่กำลังมองหาโอกาสการเรียนออนไลน์ด้วยตัวเอง
มีการเพิ่มขึ้น 5 เท่าสำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากหาคอร์สเรียนออนไลน์ให้กับพนักงานของตนเอง
และ มีการเพิ่มขึ้น 9 เท่า ของผู้ที่เรียนออนไลน์ผ่านระบบของรัฐบาล

ปีนี้คนที่มีงานทำนั้นมองหาการพัฒนาตัวเองเติบโตสูงกว่า 88% จากประชากรทั้งหมด
ส่วนผู้ที่ว่างงานนั้นสนใจพัฒนาสกิลทางด้าน Data analysis, Computer science และ Information technology (IT) สูงขึ้น


👀 ย้อนดูปี 2020 Covid19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง

figure9 - ภาพโควิด19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง
figure9 – ภาพโควิด19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง

เราต้องมาย้อนดูกันก่อนเลยว่าในปี 2020 ที่ผ่านมา เราได้มีปรากฏการณ์ของโรค Covid19 เกิดขึ้น ทำให้การทำงานของเราได้เปลี่ยนแปลงไป และเปลี่ยนผ่านมาเป็นการทำงาน Working from home กันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่ามีหลายอาชีพที่ตกงาน และอยู่ในสภาวะเสี่ยงตกงานด้วยเช่นกัน ทาง World economic forum เขาก็ได้ทำการสรุปมาให้ดูว่าอาชีพที่อยู่ในกลุ่มงานประเภทไหนที่จะตกงานก่อนดังภาพด้านบน Figure 9

เราจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจการให้บริการ โดยธุรกิจบางประเภทสามารถรันต่อไปได้ด้วยการ Remote แต่ธุรกิจประเภททัวร์ และร้านขายของ ต้องประสบปัญหาเพราะว่าผู้คนมาท่องเที่ยวไม่ได้นั่นเอง


การคาดการณ์การพัฒนาของตลาดแรงงานในปี 2020-2025

เทคโนโลยีอย่าง Cloud computing, Big data e-commerce ยังคงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีกลุ่มหลักที่บริษัทต่าง ๆ จะหันมาใช้งานกันมากขึ้น

Figure18 - เทคโนโลยีที่บริษัททั่วโลกจะหันมาใช้งานมากขึ้นในอนาคต
Figure18 – เทคโนโลยีที่บริษัททั่วโลกจะหันมาใช้งานมากขึ้นในอนาคต

เทคโนโลยีที่บริษัทต่าง ๆ จะหันมาใช้งานในอนาคต 

1. อันดับหนึ่งนั่นก็คือ Cloud computing โดยเพิ่มขึ้น 17%
2. Big data analytics จะมาเป็นอันดับ 2
3. Internet of things and connected devices  จะมาเป็นอันดับ 3 ค่ะ
4. อันดับที่ 4 แต่เราจะเห็นว่าเรื่องของ Encryption และ Cybersecurity มีการเจริญเติบโตสูงสุดในปี 2025 โดยเติบโตอยู่ที่ 29% เรียกได้ว่าเป็นทักษะและสิ่งที่จำเป็นของอนาคตเลยค่ะ

สำหรับท่านที่อยาก Reskill, Upskill ตามหาทักษะใหม่ ๆ ในปีนี้ ก็อยากให้พิจารณาถึงทักษะที่อยู่ในกราฟนี้ไว้ด้วยนะคะ เผื่อเป็นโอกาสในการเริ่มต้นอาชีพในอนาคตได้ค่า

Figure21
Figure21

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร เปรียบเทียบกันระหว่างปี 2020 และปี 2025 

ภาพนี้ถ้าดูจากสีน้ำตาลและสีฟ้าบาร์ใหญ่ จะบอกบ่งบอกว่าการทำงานแบบไหนที่จะมีอัลกอริธึมเข้ามาทำงานร่วมกับเรามากที่สุด

จากภาพเราจะเห็นว่า Information and data processing คือการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล จะมีการทำงานผ่านอัลกอริธึมที่มากกว่า 65% เลยค่ะ และอีก 35% จะเป็นส่วนที่มีคนคอยกำกับควบคุมการทำงาน

ส่วนงานที่ยังจะต้องใช้คนทำงานสูงอยู่นั้นจะเป็นฝั่งของการบริหาร ให้คำปรึกษา การประสานงาน และรองลงมาคืองานที่ต้องใช้เหตุผลในการทำงานและการตัดสินใจ


20 อาชีพในอนาคต และ 20 อาชีพที่ได้รับความนิยมลดลง

Figure22
Figure22 – 20 ตำแหน่งงานที่จะได้รับความต้องการเพิ่มขึ้น และ 20 ตำแหน่งงานที่จะได้รับความต้องการลดน้อยลงในทุกอุตสาหกรรม

อาชีพในอนาคตที่มาแรง 5 อันดับแรก จะเป็นตำแหน่งงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งสิ้นนั่นก็คือ

  1. Data analysts and scientists
  2. AI and Machine learning specialists
  3. Big data specialists
  4. Digital marketing and strategy specialists
  5. Process automation specialists

อาชีพที่จะได้รับความนิยมลดลง 5 อันดับแรกคือ

  1. Data entry clerks
  2. Accounting, Bookkeeping and payroll clerks
  3. Accountants and auditors
  4. Assembly and auditors
  5. Assembly and factory workers

สำหรับน้อง ๆ ที่ยังมองหาทักษะใหม่ แนะนำให้ดูภาพทางฝั่งซ้ายมือเป็นหลักในการประกอบการตัดสินใจการศึกษาต่อนะคะ

ทักษะที่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต

Figure27 - จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงกลุ่มของทักษะที่จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในอนาคตตามลำดับ
Figure27 – จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงกลุ่มของทักษะที่จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในอนาคตตามลำดับ

กลุ่มของทักษะที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

  1. Critical thinking and analysis
  2. Problem-solving
  3. Self-management
  4. Technology use and development
  5. Working with people

ทักษะ 15 อย่างที่สำคัญที่สุดของปี 2025

  1. Analytical thinking and innovation
  2. Active learning and learning strategies
  3. Complex problem-solving
  4. Critical thinking and analysis
  5. Creativity, originality and initiative
  6. Leadership and social influence
  7. Technology use, monitoring and control
  8. Technology design and programming
  9. Resilience, stress tolerance and flexibility
  10. Reasoning, problem-solving and ideation
  11. Emotional intelligence
  12. Troubleshooting and user experience
  13. Service orientation
  14. Systems analysis and evaluation
  15. Persuasion and negotiation

การทำสำรวจทักษะในอนาคตนี้ได้ร่วมมือกันกับ LinkedIn และ Coursera

ทักษะที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน จะ Upskill และ Reskill ไปเป็นทักษะใดได้บ้างในอนาคต ?

figure28 - ภาพนี้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของทักษะที่เฉพาะด้าน สามารถเพิ่มพูนทักษะแบบใหม่ในอนาคตทางด้านขวามือโดยได้ง่าย
figure28 – ภาพนี้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของทักษะที่เฉพาะด้าน

ภาพนี้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของทักษะที่เฉพาะด้าน สามารถเพิ่มพูนทักษะแบบใหม่ในอนาคตทางด้านขวามือโดยได้ง่าย ตัวอย่างเช่น

หากคุณมี ทักษะ Product marketing > จะสามารถเปลี่ยนไปเป็น Data and Ai, People and Culture, Marketing, Product development, Sales

ทักษะ Human computer interaction (งาน UI, UX) > เปลี่ยนไปทำงานด้าน Content, Data and AI, Marketing, Sales

ทักษะ Software development life cycle (SDLC) > เปลี่ยนไปทำงานด้าน Cloud computing, Data and AI, Engineering, Marketing, Product development

เปรียบเทียบสายงาน Data : ตำแหน่งที่ได้รับความนิยมและอัตราความสำเร็จในการย้ายสายงาน

Figure29
Figure29 – ภาพที่มีสองฝั่งคือ A = อาชีพในอนาคตที่มีโอกาสเติบโตสูง, B = ความสำเร็จในการฝึกฝนทักษะ ให้มาทำสายอาชีพนี้

ภาพทางด้านซ้ายมือจะบ่งบอกถึงอาชีพที่มีโอกาสเติบโตสูงคือ 

  1. Artificial intelligence
  2. Data scienctist 
  3. Data engineer
  4. Big data developer (อยู่ในหมวดหมู่งานเฉพาะด้าน Niche)
  5. Data analyst

ภาพทางด้านขวามือจะบ่งบอกถึงความสำเร็จในการฝึกฝนทักษะและการย้ายสายงาน โดยมีคะแนนเต็ม 1 คะแนน

เช่น

  • Data science: 0.19
  • Artificial intelligence: 0.10
  • Product marketing: 1

โดยเราจะเห็นได้ว่าอาชีพที่น่าจะย้ายมาทำยาก ๆ สุด ๆ จากภาพด้านบนน่าจะเป็น AI, NLP และ Data processing นั่นเองค่ะ

*skills gap นี้คำนวนจากคนที่ย้ายสายงานใน 5 ปีที่ผ่านมา

เปรียบเทียบสายงาน Data : ระยะเวลาในการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ

Figure30
Figure30 – ภาพที่แสดงถึงความสำเร็จในการฝึกฝนทักษะอ้างอิงจาก Coursera

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงผู้เรียนที่เรียนผ่านเว็บไซต์ Coursera ที่เป้าหมายคืออยากทำงานในด้าน Data และ AI โดยจะแสดงคะแนนเป็น

  • Expected Mastery score ตั้งแต่ 0 – 6 คะแนน เป็นคะแนนที่ผู้เรียนบน Coursera ได้ทำแบบทดสอบไว้
  • Typical mastery gap คะแนนเต็ม 100% อันที่คะแนนต่ำหมายถึงเรียนรู้ยา
  • Average days to master skill เป็นจำนวนวันที่จะช่วยให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญได้

สรุปภาพนี้เปรียบเทียบกันง่าย ๆทักษะ Statistical programming นั้นใช้เวลาเรียนจนเชี่ยวชาญเฉลี่ยประมาณ 72 วัน

โดยเมื่อเทียบกับทักษะที่ใช้ระยะเวลาเรียนนานที่สุดคือ Machine learning ใช้เวลาเรียนเฉลี่ยถึง 86 วัน และทักษะที่ใช้เวลาเรียนไวที่สุดคือ Sales เฉลี่ยเพียงแค่ 13 วัน


ผลการสำรวจอาชีพในอนาคตในประเทศไทย

สุดท้ายและท้ายสุด ทางผลสำรวจของ WEF ยังมีสรุปการทำสำรวจในประเทศไทยมาให้เราดูอีกด้วย มาดูกันว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง

thailand01
thailand01

เราจะเห็นได้ว่าภาพนี้ประเทศไทยมีประชากรวัยทำงานอยู่ที่ 47,215,919 คน

ผู้ที่มี Digital skills ทั้งหมดอยู่ที่ 54.9%
โดยถ้าดูจากของประเทศใกล้เคียงเรา
มาเลเซีย 66.3% สิงคโปร์ 77% อินโดนีเชีย 60.6%

ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยอยู่ที่ 45.1%

thailand02
thailand02

อาชีพมาแรงในประเทศไทย 10 อันดับแรกคือ 

  1. Data Analysts and Scientists
  2. Digital Marketing and Strategy Specialists
  3. Big Data Specialists
  4. AI and Machine Learning Specialists
  5. Software and Applications Developers
  6. Supply Chain and Logistics Specialists
  7. Strategic Advisors
  8. Database and Network Professionals
  9. Commercial and Industrial Designers
  10. Business Development Professionals

✍ สรุป

เรามาดูสรุปทั้งหมดกันดีกว่าค่ะ หากยกข้อมูลจากด้านบนมา เราก็ต้องบอกกันอีกครั้งว่าอาชีพในอนาคต 10 อันดับนี้จะเป็นที่ต้องการสูงแน่นอน

  1. Data Analysts and Scientists
  2. AI and Machine Learning Specialists
  3. Big Data Specialists
  4. Digital Marketing and Strategy Specialists
  5. Process Automation Specialists
  6. Business Development Professionals
  7. Digital Transformation Specialists
  8. Information Security Analysts
  9. Software and Applications Developers
  10. Internet of Things Specialists

📎 สำหรับท่านที่มีงานทำอยู่แล้ว

ถ้าท่านอยากทำการ Upskill และ ​Reskill แล้วนั้น อยากให้ท่านลองพิจารณาจาก skill ที่เป็นที่ต้องการในอนาคต รวมไปถึง skill ที่เราจะสามารถต่อยอดได้ 

เช่น หากปัจจุบันเราทำงาน Marketing อยู่ (ภาพ Figure 28) WEF ก็แนะนำว่าให้ลองดูกลุ่มงานของ Content, Data and AI, Marketing, Product Development, Sales เพิ่มเติม เพราะจะช่วยให้เรา Upskill ได้ผลดีกว่านั่นเอง

นอกจากนี้แล้วในภาพ Figure 29, 30 ทักษะในอนาคตเองนั้นก็จะมี skills gap ความยากง่ายในการเรียนรู้ของแต่ละงานมาให้เราดูด้วย สามารถใช้เป็นการประกอบการพิจารณาก่อนการเร่ิมเรียนวิชาใหม่ ๆ ได้ และจะทำให้เราประเมินค่าเฉลี่ยได้ด้วยเช่นกันว่า ต้องใช้เวลากี่เดือนถึงจะเข้าใจและประสบความสำเร็จโดยไม่ย่อท้อไปเสียก่อน

📎 สำหรับท่านที่กำลังมองหาคณะ วิชาการเรียน คอร์สเพื่อศึกษาต่อ

อยากให้ลองดูภาพของ Figure 22 และ 27 สองภาพนี้จะแนะนำทักษะส่วนบุคคลที่คุณควรจะต้องเรียนรู้ และพูดถึงอาชีพที่จะเป็นที่ต้องการอย่างแน่นอนในอนาคต สามารถพิจารณาจากคณะที่สอดคล้องกับตัวอาชีพที่แนะนำได้เลยค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับวันนี้ต้องขอจบบทความไว้เพียงเท่านี้นะคะ หากมีข้อมูลที่แปลผิดพลาดประการใดรบกวนแจ้งมาทาง message เพจ Designil ให้กับนัทได้โดยตรงเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับทุกท่านที่ติดตามกันเสมอมา Designil จะเข็นบทความเชิงวิชาการและการศึกษาด้านอื่น ๆ ให้กว้างขึ้น ถ้าใครสนใจเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา การทำเว็บไซต์ สามารถติดตามกันได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ Designil.com หรือแฟนเพจเลยนะคะ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามค่า ^_^

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด