วิธีเปลี่ยนสายงานจาก Graphic มาทำ UX UI
เปลี่ยนสายงานจาก Graphic มาทำ UX UI เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ได้รับบ่อยมากไม่ว่าจะเป็นทั้งทางเว็บไซต์ ทางแฟนเพจ หรือทาง Youtube วิดีโอ วันนี้แอดนัทก็เลยจะมาสรุปเนื้อหาการเรียนรู้ เล่าความแตกต่างระหว่าง UX UI กันอีกสักรอบ + แนะนำคอร์สเรียนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ก่อนไปสมัครงาน เพื่อให้คนที่อยากย้ายงานจากสาย Graphic Design มาทำ UX UI กันได้อย่างมั่นใจค่ะ
เราจะเห็นได้ว่าอาชีพในอนาคตนั้น จะเป็นงานที่โฟกัสไปที่เทคโนโลยีเป็นส่วนหลักเลยค่ะ ดังนั้นสายอาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนา Software, Data, IT ก็เลยจะมาแรงพิเศษ และงานของ UX UI ก็เป็นอีกงานที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
และอีกข้อการันตีก็คือเงินเดือนของอาชีพ UX, UI มาแรงสุดจนหยุดไม่อยู่ ในปัจจุบันเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดได้ขึ้นไปอยู่ที่ 100,000 บาทแล้ว และไม่ว่าจะเกิดจากเหตุผลอะไรก็ตามที่ทำให้อาชีพนี้มาแรง เราก็จะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ Upskill ทักษะของเราเพื่อไปทำงานแบบใหม่ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดกันค่ะ ว่าแต่มีทักษะอะไรที่เราจะต้องเรียนรู้บ้าง ไปอ่านกันเลย
UX และ UI ต่างกันยังไง ?
UX ย่อมาจากคำว่า User experience
UX คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานเข้ามาใช้ระบบของเรา ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอพลิเคชั่น และอื่น ๆ ดังนั้นงานของ UX Designer ก็คือการสร้าง Product ที่จะทำให้ผู้ใช้งานของเราใช้งานได้อย่างราบรื่นสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทและความสามารถทางเทคโนโลยี
UI ย่อมาจากคำว่า User interface
UI คือ หน้าต่างของระบบ ของ Product ที่ให้ผู้ใช้งานของเรามาใช้งาน
สิ่งที่เข้าใจผิดบ่อย ๆ ระหว่าง UX และ UI
อาชีพ UX มีไว้เพื่อออกแบบแอพลิเคชั่น และเว็บไซต์เท่านั้น หรือทำเพียงแค่ UI Design ด้วยโปรแกรม Figma, Adobe XD, Sketch
แท้จริงแล้ว UX Designer ทำงานเกี่ยวกับ Research , ทำ Workshop เพื่อตามหาความต้องการของผู้ใช้งาน ทำความเข้าใจธุรกิจ และนำความต้องการของผู้บริหารมาวางแผนการออกแบบ จริง ๆ แล้วตำแหน่งของ UX นั้นทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลเยอะมาก และต้องทำความเข้าใจ User เป็นหลักนั่นเองค่ะ
หากใครสนใจเรื่องของตำแหน่งหน้าที่ UX และคำศัพท์ที่ต้องเรียนรู้แบบละเอียด แนะนำวิดีโอนี้เลยนะคะ
ส่วนตำแหน่งของ UI Designer นั้นขึ้นอยู่กับตัวตำแหน่งของงานและบริษัทด้วยว่ามีความต้องการของตำแหน่งนี้อย่างไร ต้องไปออกแบบระบบ ออกแบบเกม แอพลิเคชั่น หรืออื่น ๆ หรือไปวางแผน Design system โดย UI จะเป็นตัวงานที่ทำงานกับฝั่ง Technology และ Developer โดยตรง ท่านจะได้จับงานในช่วงปลายของ Product ขั้นตอนของการ Development และการทำ Usability testing รวมไปถึง Test หลังจากที่ทำ Product สำเร็จแล้ว
*ต้องหมายเหตุอีกทีว่าทั้ง UX, UI อาจจะทำงานเยอะกว่าที่เล่าไปด้านบน ยังไงต้องลองดู Job description เพิ่มเติมนะคะ
โดยงานในประเทศไทยส่วนใหญ่จะใช้คำควบคู่ของตำแหน่งนี้เป็นคำเดียวกันคือคำว่า UX/UI Designer จริง ๆ แล้วไม่มีผิดไม่มีถูกสำหรับการตั้งชื่อตำแหน่ง เพราะอยู่ที่เนื้อหาและรายละเอียดของงานที่แต่ละบริษัทจะให้เราทำงานค่ะ หากเป็นต่างประเทศ บริษัทขนาดใหญ่จะแยกตำแหน่ง UX Designer และ UI Designer ออกจากกันโดยชัดเจน ดังนั้นหากใครจะเริ่มงานในสายนี้ โปรดดูรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนเริ่มสมัครงานนะคะ จะได้เตรียม Portfolio ให้เหมาะสมกับที่เราต้องการจะสมัครนั่นเอง
วิธีเปลี่ยนสายงานจาก Graphic มาทำ UX UI
สิ่งที่ Graphic Design และ UX UI Designer มีเหมือนกัน
สิ่งที่ Graphic design มีเหมือนกับ UX UI Designer คือ
- Iterative design
เมื่อเราจะได้รับงานมาจากลูกค้า ธรรมชาติของ Graphic designer คือการแก้ไขงานออกแบบอยู่สม่ำเสมอ ทำให้เราไม่รู้สึกแย่กับการแก้ไขงาน - Emotional design
Graphic designer จะเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น สี ภาพ visual ตัวหนังสือ - Creative thinking
ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งสองอาชีพนี้จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์และไอเดียในการคิดวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้งานของเราออกมาดีที่สุด - Prototyping
คือแบบงานร่าง แบบงานจำลอง ทั้งสองอาชีพนี้ต้องทำแบบจำลองของงานขึ้นมาเพื่อทดลองใช้งานก่อนทำเวอร์ชั่นจริง
สิ่งที่ Graphic Design และ UX UI Designer แตกต่างกัน
- User-focused – UX จะโฟกัสไปที่ความต้องการของผู้ใช้งานก่อนการออกแบบ เราจะไม่ออกแบบโดยไม่มีหลักฐานหรือ Data มาสนับสนุนนั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทั้งข้อมูลเชิงตัวเลข Quantitative และ เชิงคุณภาพจากการรีเสิช Qualitative
งานหลักของ UX จะต้องเรียนรู้วิธีการในการ Research ไม่ว่าจะเป็น ไปคุยกับผู้ใช้งาน, focus group, user interview, usability testing, personas - Iterative problem solving
การแก้ไขปัญหาแบบซ้ำไปซ้ำมา เพราะการทำงานจริงของ UX เราจะต้องตามหาปัญหาไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ปัญหาความต้องการของผู้ใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ดังนั้นเราจะต้องเรียนรู้เรื่องของ Design process, Design thinking เพื่อวางแผนวิธีการแก้ไขปัญหาแบบ Iterative ได้ดียิ่งขึ้น - Multi-disciplinary
การทำงานสาย UX UI คุณจะไม่ได้เรียนรู้ทักษะเพียงอย่างเดียว อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ประกอบไปด้วยหลากหลายทักษะมาก ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องของเทคโนโลยี, Information architecture, จิตวิทยาของมนุษย์, ทักษะการออกแบบ, ทักษะการใช้เครื่องมือ, soft skill อย่างการสื่อสารกับผู้บริหาร และการสื่อสารกับ User ของเรา, การจัด Workshop กับทีม, การทำ Presentation เป็นอาชีพที่เรียกว่าจะได้ทำงานอยู่กับคนอย่างสม่ำเสมอและตลอดไปแน่นอนค่ะ
โดยจะต่างกับ Graphic designer ที่จะเป็นการทำงานแบบ skill เฉพาะด้าน ใช้การออกแบบเป็นหลัก ต้องการความรู้เรื่องของสี การจัดวางและความสวยงาม
วิธีการศึกษาต่อเพื่อย้ายงาน
หากเราไปนั่งคุยกับคนที่ทำงานสาย UX, UI หลาย ๆ ท่านไม่ได้เรียนจบทางด้านนี้มาโดยตรง ดังนั้นเราก็เลยอยากให้กำลังใจทุกท่านว่า ถ้าอยากทำสายงานนี้จริง อาจจะต้องใช้เวลาศึกษาและเตรียม Portfolio เพื่อเตรียมพร้อมก่อนไปทำงานจริงค่ะ ส่วนวิธีการศึกษาต่อที่แนะนำมีดังนี้นะคะ
- เรียนคอร์สเรียนออนไลน์ แนะนำว่าเรียนแบบระยะยาว เพราะจะช่วยให้เราได้ฝึกฝนการทำ Research และการสร้าง Portfolio ไปในตัว อย่างในประเทศไทยก็มีหลายคอร์สที่สอนทางด้าน UX ระยะยาว อาจจะต้องลองศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมดูนะคะ
- เรียนออนไลน์แบบคลาสรูม – ขอแนะนำ General assembly ของสิงคโปร์ มีทั้งแบบเรียนสดแบบ classroom และเรียนแบบวิดีโอ เป็นคอร์สระยะยาว มีเวลาให้เราได้ทดลองทำโปรเจคและทำ Portfolio จริง ค่าเรียนหลักแสนบาท แต่ว่าเราจะได้โปรเจคที่ใช้งานได้จริง ความรู้อัพเดท practical สามารถนำไปใช้งานได้
- Nielsen Norman Group – เป็นคอร์สเรียนออนไลน์เรียนสด มีเวลาของฝั่ง SEA ให้เลือกลงเรียนด้วย ราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้ามีงบประมาณ ลองดูได้จากเว็บไซต์เลยค่ะ
- เรียนจากมหาวิทยาลัย – ถ้าเป็นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือ Higher education ชื่อคณะวิชาจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย บางแห่งใช้ชื่อ HCI, อย่างมหาวิทยาลัย RMIT ที่นัททำงานอยู่ใช้คำว่า Communication design, บางแห่งใช้ชื่อ MSC in HCI Technologies, หรือ Computer science ไปเลย
- เรียนออนไลน์จากมหาวิทยาลัย – ยกตัวอย่างจาก RMIT มหาวิทยาลัย Art อันดับ 1 จากออสเตรเลีย มีเปิดสอนคอร์ส UX, UI เรียนสดแบบออนไลน์ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ข้อดีของการแบบระยะยาวนี้จะช่วยให้เราย่อยข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีเวลากลับไปค้นคว้าเพิ่มเติมและทำงานเพื่อสะสม Portfolio และได้ลอง Research จริง
- Networking – หาคนสอน หา Mentor และหา Coaching รวมไปถึงไปพูดคุยในกรุ๊ป ถามรุ่นพี่ที่ทำงานสายนี้ ถามบ่อย ๆ เพราะการถามจะทำให้ย่นระยะเวลาการเรียนรู้เองได้ในระดับปีเลยค่ะ ทำให้เราไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเอง ถ้าหากมีคนคอยแนะนำทางที่ถูกต้องให้เราตลอดระยะเวลาการเรียนรู้จะทำให้เราทำงานสายนี้ได้ไวยิ่งขึ้น
แอดนัทยินดี Coaching ฟรีนะคะ ถ้าทักมาถามในกรุ๊ป Designil ยินดีตอบตลอดค่ะ และปัจจุบันมีน้องๆในสังกัดที่ coaching อยู่หลายคนเลยค่ะ ^_^
คอร์สออนไลน์ เตรียมตัวเปลี่ยนสายงานมาทำ UX UI
แอดนัทจะขอมาแนะนำคอร์สที่น่าสนใจจาก Coursera และ Udemy มีทั้งคอร์สแบบเสียเงิน มีทั้งซื้อขาด และเรียนแบบรายเดือน สำหรับเพื่อน ๆ ที่มีงบประมาณในการเรียนก็ขอแนะนำเลยค่า คุ้มค่าแน่นอน เป็นคอร์สที่แอดนัทเลือกและลงเรียนด้วยตนเองมาแล้วขอแนะนำว่าเรียนแล้วได้ผลจริง ใช้ทำงานได้จริงค่ะ
Coursera
Google UX Design Professional Certificate
สอนโดย Google
คอร์สสอน UX จาก Google อยากแนะนำคอร์สนี้มาก ๆ เลยค่ะเพราะเพิ่งออกมาใหม่ ตอนนี้นัทกำลังเรียนอยู่ด้วยเช่นกัน ปูพื้นฐานจากการทำงานจริงใน Google กันเลย
User Experience Research and Design Specialization
สอนโดย มหาวิทยาลัยลัย Michigan คอร์สนี้ได้คะแนนรีวิว 5 เต็มเลยนะคะ
คอร์สนี้เป็นคอร์สที่ทีม UX ของนัทที่ทำงานอยู่ด้วยกันเรียนกันทุกคนเลยค่ะ คอร์สนี้จะสอนวางแผนการทำ Research ในรูปแบบต่าง ๆ มีเทคนิค และวิธีการอ่านผลของ Research เช่น หากเราไปสัมภาษณ์ User มาแล้ว เราจะเอาข้อมูลมาใช้ต่อได้อย่างไร วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล Qualitative data แบบละเอียด
UI/UX Design Specialization
สอนโดย California Institute of the Arts
คอร์สนี้จะสอนปูพื้นฐานภาพกว้างทั้งฝั่งของ UX และ UI ไปพร้อม ๆ กัน เป็นอีกคอร์สที่เพื่อน ๆ ที่ออสเตรเลียให้คำแนะนำมาว่าดีมากสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่อยากเห็นภาพรวมของการทำงาน ได้รับคะแนนโหวตไปถึง 4.8 เลยค่ะ พร้อมแทรกเรื่องเทคโนโลยีอย่าง HTML,CSS,JavaScript เรียกว่าไม่ได้สอนแค่ฝั่งการทำ Research อย่างเดียว แต่คุณจะได้เรียนไปถึง Tech ในภาพกว้างหลายด้านเลยค่ะ
Learning How to Learn: Powerful mental tools to help you master tough subjects
สอนโดย McMaster University, University of California San Diego
คอร์สสุดท้ายอาจจะนอกเรื่องจาก UX UI แต่นัทกำลังเรียนอยู่ค่ะอันนี้ เป็นคอร์สที่จะสอนให้เราวางแผนการเรียนยังไงเพื่อให้เราเป็นเทพในวิชานั้น ๆ เทคนิคลับของการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยทำมาก่อน เป็นการโกงสมองของเราให้ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เราจดจำเรื่องต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น สามารถปรับใช้ได้กับทุกวิชาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี คณิต วิทยาศาสตร์ etc.
แอบบอกว่ามี subtitle ภาษาไทยด้วยนะคะ
Coursera เว็บไซต์รวมคอร์สสอนออนไลน์เนื้อหาระดับโลก เรียนแบบเริ่มต้นฟรี
สายชอบเรียนเก็บ Certificate ห้ามพลาด เรียนฟรีแบบเริ่มต้น เสียเงินหากต้องการใบประกาศณียบัตร
คอร์สเรียนมากกว่า 3000+ วิชา จากผู้สอนระดับโลก
Udemy
User Experience Design: Complete UX Fundamentals Course
สอนโดย Adam Treister, Pablo Stanley
ถ้าเกิดว่าท่านทำงานในสาย UI ท่านจะต้องรู้จักชื่อของ Pablo Stanley อย่างแน่นอน ผู้มีชื่อเสียงในการผลักดันวงการออกแบบเลยค่ะ Pablo เป็นชาวอิตาลีที่พูดภาษาอังกฤษนุ่มหู และเป็นคนสอนเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ถ้าใครสนใจเรียน UX ที่เน้นไปทาง Product และ UI เราก็แนะนำคอร์สนี้เลยค่ะ เข้าใจง่ายมาก
หากอยากลองเรียนแบบทดสอบลองดูสไตล์การสอนของ Pablo ได้ที่ช่อง Youtube sketch together นะคะ
Design Thinking in 3 Steps
สอนโดย Alan Cooper
คอร์สนี้อยากแนะนำอีกแล้ว เพราะว่านัทเรียนจบเอง คอร์สนี้จะสอนขั้นตอนของการทำ Design thinking แบบละเอียด วิธีการออกไปทำ User interview มีวิดีโอประกอบการ Research จริง ตั้งแต่เรียนมายังไม่ค่อยเห็นคอร์สออนไลน์ที่ไหนทำประกอบสมจริงเท่านี้เลยค่ะ นัทชอบมากๆ แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องของ Design thinking แบบละเอียดเลยนะคะ
Information Architecture (IA) Fundamentals
คอร์สสอนเรื่องของ IA แบบพื้นฐาน ถึงแม้ว่าจะเก่าแล้วแต่คอร์สนี้ความรู้ยังสามารถนำไปใช้งานจริงได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ IA หรือที่เรียกกันว่า Information Architecture โครงสร้างของ Product ของเรา การออกแบบเมนู การเขียนคำ Label ให้เข้าใจง่าย ไม่พา User หลงทางไปมานั้น ในคอร์สนี้สอนครอบคลุมทุกเรื่องตั้งแต่การรีเสิชจนไปถึงการใช้งานจริงค่ะ
UX Fundamentals: Practical Usability for Product Design
คอร์สนี้จะสอนพื้นฐานของเรื่อง Usability สำหรับการออกแบบ Product ทุกประเภท เหมาะสำหรับ UI Designer เป็นพิเศษเลยค่ะ เพราะว่าท่านจะได้เข้าใจเรื่องของการออกแบบ UI บนระบบ การทำ Animation มีผลอย่างไรต่อการออกแบบ ทำ Usability testing อย่างไร รวมไปถึงการเก็บข้อมูลจาก Web analytics เพื่อวัดผลแบบ Quantitative บนระบบของเรา
Udemy คอร์สเรียนออนไลน์
– รวมคอร์สเรียนออนไลน์เริ่มต้นที่ 349 บาท ซื้อขาด ในราคาประหยัด
– ซื้อแบบ subscription เพียงเดือนละ 450 บาท เพื่อเรียนได้ 8,000+ หลักสูตร
ดูรีวิวคอร์สเรียนจากเรา มีคอร์สน่าสนใจเพียบ Education
สำหรับท่านที่สนใจอัพเดทข่าวสาร UI, UX เป็นประจำบนหน้า Facebook มาเข้ากรุ๊ป Designil ได้นะคะ แอดนัทอัพเดททุกวันตอนเช้าของไทย อ่านกันยาวทุกเช้าพร้อม Case study จากบริษัทชื่อดังมากมายในแบบภาษาไทยขอบคุณทุกท่านที่ติดตามกันด้วยค่า :D
บทความนี้อ้างอิงจาก
– Adecco ตารางเงินเดือน และอาชีพที่ได้รับความนิยมปี 2021
– Interaction design
บทความที่เกี่ยวข้อง
- คอร์สเรียนออนไลน์สาย UX UI เริ่มต้นที่ 349 บาท
- 3 คอร์สออนไลน์เรียนฟรีจาก Google
- รวมอาชีพในอนาคต เรียนอะไรดี ทักษะไหนจะไม่ตกงาน
- เทคนิคการทำ Portfolio สำหรับสาย UI UX
- แอบส่องรายได้อาชีพ UX & UI Designer
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา
ผมทำงานด้าน Graphic design มา 12 ปี อยากเรียนรู้แบบเร็ว UX / UI ต้องเริ่มจากตรงไหนครับ
ลองอ่านบทความเก่า ๆ ย้อนหลังได้ด้านล่างนี้นะคะ มีวิธีการเตรียมตัว ทำพอร์ตฟอลิโอ ตัวอย่าง
หรือถ้ายังใช้โปรแกรมออกแบบไม่เป็น มีแนะนำคอร์สไว้ในลิงค์ด้านล่างนี้ทั้งหมดเลย
อ่านวันละหัวข้อ ไปวันละนิดน่าจะได้ความรู้และภาพรวมมากขึ้นค่า
https://www.designil.com/learn-ux-ui
.
วิดีโอเริ่มต้นสำหรับคนไม่พื้นฐานความรู้เรื่อง UX, UI
https://www.youtube.com/watch?v=yQr6U1Y0zp4