รีวิว Quillbot โปรแกรมช่วย Paraphrase และเช็กแกรมม่า ใช้ฟรี!

Natk

กลับมาอีกแล้วกับการรีวิวโปรแกรมจากแอดนัท (ที่นานๆ จะมาเขียนที) วันนี้แอดนัทจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโปรแกรมช่วยตรวจเช็กแกรมม่า ที่เดี๋ยวเราจะพามาเปรียบเทียบกับทูลหลายๆ ตัว รวมไปถึงข้อดีข้อเสีย และเปรียบเทียบราคา Quillbot กับราคาในตลาด

ก่อนอื่นเราต้องบอกว่าแอดนัทใช้งานเองจริง เสียตังค์จริง ทั้ง Quillbot และตัวของคู่แข่งด้วย

มาดูกันเลยค่ะ ว่าจะมีฟีเจอร์เด็ดๆ อะไรบ้าง

Quillbot คืออะไร?

คือโปรแกรมช่วยตรวจเช็ก Grammar และช่วยการเขียนข้อความภาษาอังกฤษของเราใหม่ (Paraphrasing) ด้วยระบบ AI ช่วยแนะนำคำได้อย่างแม่นยำ

โดยใช้งานได้ทั้งสองแบบคือ

  1. เขียนบทความขึ้นมาใหม่
  2. Rewrite แปลงข้อความจากของเดิมที่เรามี ให้เป็นแบบใหม่ด้วยการ Paraphrase

โดย Quillbot จะเหมาะกับผู้ใช้งานดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่เขียนภาษาอังกฤษเป็นประจำ ในการทำงาน
  • เขียนภาษาอังกฤษเพื่อเปเปอร์ การเรียน การศึกษา
    โดยนักเรียนที่ใช้งาน 85% รีวิวว่าใช้แล้วทำให้การเขียนดีขึ้น
  • เขียนบทความ เจ้าของเว็บไซต์ ต้องการเขียน content ให้ไม่ซ้ำกับที่มีอยู่แล้วในตลาด
    และช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า 75% จากการเขียนแบบเดิม

QuillBot เป็นเป็นคำค้นหายอดนิยมในหมู่นักเขียนได้อย่างไร?

QuillBot ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก และได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักเขียนออนไลน์ด้วยฟีเจอร์ที่สุดยอด และราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งเมื่อเทียบกับเครื่องมือตัวอื่นแล้ว QuillBot อาจจะเรียกว่าประหยัดต้นทุนที่สุดได้เลยทีเดียว

จุดเริ่มต้นของ QuillBot?

QuillBot ถูกสร้างขึ้นเป็นพจนานุกรมเต็มรูปแบบเพื่อช่วยให้นักเรียนและผู้เชี่ยวชาญเขียนได้อย่างมั่นใจและรวดเร็วยิ่งขึ้น และจนถึงตอนนี้ Quillbot ได้ประสบความสำเร็จ มีผู้ใช้งานในรูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อเตรียมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก จัดทำอีเมลทางกฎหมาย แปลเอกสาร และสร้างเนื้อหาออนไลน์ รวมถึงโปรเจกต์ที่หลากหลายอื่นๆ อีกมากมาย


ฟีเจอร์

1. เครื่องมือช่วยปรับ Mode ของเอกสารให้เหมาะสมกับงานเขียนของเรา

Quillbot ui screen
ภาพที่ 1 : หน้าต่างการใช้งานการแก้ไขคำ Quillbot ui screen

ฟีเจอร์อันดับหนึ่งที่เราคิดว่าดีมากเลยคือ การเลือกโทนของภาษาที่ใช้ในการนำเสนอ 7 แบบดังนี้

  • Standard
  • Fluency
  • Formal
  • Simple
  • Creative
  • Expand
  • Shorten

2. QuillBot เป็นเครื่องมือเขียนแบบ all-in-one

ที่มอบความสามารถที่หลากหลายให้กับลูกค้า โดยบริการของ Quillbot จะมีดังต่อไปนี้คือ

  • Paraphrasing Tool – ตัวช่วยในการเขียนคำใหม่แบบ Paraphrase
  • Grammar Checker – ตัวช่วยในการเช็กแกรมม่า
  • Plagiarism Checker – ตัวช่วยตรวจสอบเอกสาร เปเปอร์ของเรา ว่างานของเรามีคำพูดซ้ำกับงานอื่นหรือไม่
  • Quillbot Flow– เครื่องมือที่ทำงานทุกอย่างได้ในตัวเดียวกัน ตั้งแต่เขียน, เช็กแกรมม่า, Paraphrase และเช็ก plagiarism
  • Summarizer – ช่วยเขียนบทสรุปเนื้อหาให้สั้น กระชับเข้าใจง่าย และยังมีประเด็นที่สำคัญอยู่
  • Citation Generator – ตัวช่วยทำอ้างอิงให้กับเนื้อหาของเรา ว่าเอาเนื้อหามาจากไหน จากหนังสืออะไร ปีไหน ใครเขียน etc.
  • Word Counter – นับจำนวนคำในเอกสาร

3. QuillBot สรุปเนื้อหาโดยสรุปประเด็นสำคัญ

quillbot summarizer
ตัวอย่าง quillbot summarizer

ตัวสรุป (Summarizer) ของ QuillBot สามารถย่อบทความ หรือจับประเด็นสำคัญในเอกสารได้ทันที AI ของระบบจะใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อค้นหาข้อมูลที่สำคัญในขณะที่ยังคงรักษาบริบทดั้งเดิมไว้

เรียกว่าเนียนสุดๆ แถมเลือกความยาว สั้นของรูปแบบประโยคได้ด้วย

4. มีปลั๊กอินและ extension ส่วนขยายบนโปรแกรมอื่น

  • Google Chrome Extension
  • MS Word
  • ส่วนเสริมของ Google Docs

สามารถช่วยให้คุณเขียนเอกสาร โดยลดขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ทำให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

5. เสนอคำแนะนำคำพ้อง (Synonyms) โดยจะเลือกความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหา

QuillBot นำเสนอความเป็นไปได้ของคำศัพท์ โดยที่คุณสามารถเลือกคำพ้อง (Synonyms) ตามความหมายที่เหมาะสมจากคำต่างๆ ที่ระบบเสนอแนะ เพื่อให้การเขียนของคุณมีความสมบูรณ์เชี่ยวชาญมากขึ้น

6. UI ที่ใช้งานได้ง่าย

ด้านหน้าตาที่บอกเลยว่าสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ภายในวันเดียว ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องความยากในการเรียนรู้ แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ

7. QuillBot API

เหมาะสำหรับ Developer ที่ต้องการเชื่อมต่อทูลตัวนี้ไปปลั๊กเข้ากับตัวเว็บไซต์หรือแอป เพื่อทำการตรวจสอบข้อความและเขียนใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

8. เครื่องมือช่วย Paraphrase เขียนบทความใหม่ จากข้อความที่มีอยู่แล้ว

ตัวอย่างโปรแกรมช่วยเช็ค plagiarism checker tool
ตัวอย่างโปรแกรมช่วยเช็คการคัดลอกผลงาน- plagiarism checker tool

เครื่องมือนี้จะวิเคราะห์ว่าส่วนใดของข้อความของคุณที่ไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของผู้เขียน ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์หรือในหนังสือ งานวิจัย เอกสารทางวิชาการ หรือแหล่งข่าว

ทำให้เราทราบได้ว่างานเขียนของเราคัดลอกผลงานอื่นมาโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ เรียกว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่ทำเอกสารเชิง Academic


อุปกรณ์ที่ใช้งานได้?

ปัจจุบัน QuillBot ยังไม่มีแอปมือถือ แต่มีส่วนขยาย พร้อมใช้งานสำหรับโปรแกรมดังต่อไปนี้

  • Microsoft Word
  • Google Chrome
  • และส่วนเสริม Google docs

ต้องบอกว่าตัวเว็บนั้นเป็น Responsive แปลว่าถ้าเราเข้าเว็บไซต์ผ่าน Browser บนมือถือ ก็จะมีมีอินเทอร์เฟซสำหรับมือถือด้วย เครื่องมือทั้งหมดจึงสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา


Quillbot ฟรีมั้ย?

ฟรี!!! แต่ก็จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น อาจจะประมวลผลช้า และมีการจำกัดคำในการแปล

ดังนั้นถ้าอยากเริ่มต้นใช้งานฟรี ให้เพื่อนๆ ลองไปไปที่เว็บไซต์ Quillbot และเริ่มพิมพ์ ทดลองใช้งานได้ทันที

แต่ถ้าอยากรับสิทธิพิเศษที่มีให้ในแผนพรีเมียมก็ต้องกดอัปเกรดโปรแกรมเป็นแบบเสียเงิน
ซึ่งเราจะอธิบายราคาต่อไปด้านล่างนี้


ราคาเท่าไร?

ชำระเงินแบบราคา
ตัดบัตรรายปี$99.95 (3,751 บาท/ปี) หรือ $8.33 (312 บาท/เดือน)​
ตัดบัตรรายเดือน$19.95 (756 บาท/เดือน)

ข้อดีของการอัปเกรดเป็นแบบพรีเมียม

FreePremium
✔️ Paraphraser ใช้งานได้ 125 คำ✔️ ไม่จำกัดคำใน Paraphraser
✔️ แก้การเขียนได้แค่แบบ Standard และ Fluency✔️ แก้การเขียนได้แบบ Standard, Fluency, Expand, Shorten, Formal, Simple, และ Creative
✔️ ตัวเลือก Synonym 3 แบบ✔️ ตัวเลือก Synonym 4 แบบ
✔️ 1 Freeze word หรือ Phrase✔️ Freeze word หรือ Phrase แบบไม่จำกัด
✔️ Summarizer สรุปคำได้แค่ 1,200 คำ✔️ Summarizer ได้ 6,000 คำ
❌ ประมวลผลที่รวดเร็วขึ้น✔️ ประมวลผลที่รวดเร็วขึ้น
❌ การเขียนและตรวจสอบไวยากรณ์ขั้นสูง✔️ การเขียนและตรวจสอบไวยากรณ์ขั้นสูง
❌ โหมดสำหรับเปรียบเทียบ (เดสก์ท็อปเท่านั้น)✔️ โหมดสำหรับเปรียบเทียบ (เดสก์ท็อปเท่านั้น)
❌ ตัวตรวจสอบการลอกเลียนแบบ (Plagiarism Checker)✔️ ตัวตรวจสอบการลอกเลียนแบบ (Plagiarism Checker)
❌ ตัวตรวจจับน้ำเสียงของประโยค (Tone)✔️ ตัวตรวจจับน้ำเสียงของประโยค (Tone)
ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องกรอกบัตรเครดิตไม่พอใจคืนเงินได้ภายใน 3 วัน

เปรียบเทียบ Quillbot กับเครื่องมือตัวอื่นในตลาด

หากเราลองเปรียบเทียบตัว QuillBot กับ Tool ในการช่วยเขียนตัวอื่น Designil ต้องบอกเลยว่าคุ้มค่ามากๆ ค่ะ หากเทียบจากฟีเจอร์และตัวราคาเองก็ตาม (สามารถเลือกอ่านจากบทความเก่าๆ ที่เราเคยรีวิวไปได้ด้านล่างสุดของบทความนี้)

เช่น โปรแกรม Grammarly ที่แม้จะจ่ายแบบรายปี ก็ยังตกเดือนละ $11 (416 บาท/เดือน)
โดยทั้งสองโปรแกรมมีฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ของ Grammarly จะรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายได้มากกว่า เพราะมีระบบตรวจเช็กบนคีย์บอร์ด สามารถตรวจสอบการพิมพ์แชตในโปรแกรมต่างๆ บนมือถือได้ด้วย

แต่ว่าถ้าหากใช้ผ่านตัว Browser แล้ว Quillbot เองก็ใช้งานได้บนมือถือได้เช่นกันค่ะ เพียงแค่ต้องเข้าเว็บ Browser แล้วพิมพ์ข้อความลงในเว็บ หลังจากนั้นคัดลอกกลับมา

และสำหรับคนที่ต้องเขียนภาษาอังกฤษเป็นประจำล่ะก็ เราคอนเฟิร์มเลยว่า Quillbot ช่วยลดเวลาได้มากโข เพราะแอดนัทเองทำงานปัจจุบันที่ออสเตรเลียก็ใช้เหมือนกันเวลาทำงานและเขียนสรุปประชุม เรียกว่าตอนนี้น่าจะขาดทูลช่วยเขียนและเช็กแกรมม่าไปไม่ได้แล้วค่ะ


จบกันไปแล้วนะคะ กับบทความรีวิวสไตล์บ้านๆ ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบโจทย์ให้กับนักเขียนและผู้ใช้งานภาษาอังกฤษเป็นประจำนะคะ

อย่างตัวของแอดนัทเองก็ใช้งานมาหลายตัวเช่นเดียวกัน อันไหนที่นัทเขียนคือทดลองใช้หมดแล้วค่ะ ฮาาาา

แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าค่า

Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด