ทำ Portfolio เป็นสิ่งที่คนประกอบอาชีพสาย UX UI จะต้องทำเพื่อนำไปยื่นสมัครงาน เพื่อเป็นการเล่าเรื่องขั้นตอนการทำงานของเราให้กับคนอื่นได้เห็นและได้เข้าใจ นอกจากนี้การทำ Portfolio เป็นอะไรที่ดีไซน์เนอร์จะต้องกลับมาอัพเดทตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ลืมสิ่งที่ตัวเองทำในระหว่างทำโปรเจค เพื่อให้เราเก็บงานของเราได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
วันนี้ Designil ได้สรุปหัวข้อที่สำคัญที่ควรมีในการทำ Portfolio มาให้ทุกคนดูกันแล้ว ข้อมูลดี ๆ จาก nngroup หากใครกำลังเริ่มทำ Portfolio อยู่ล่ะก็ มาติดตามอ่านกันได้เลย
หัวข้อที่ควรมีในการ ทำ Portfolio
- Problem
ปัญหาที่เราต้องการจะแก้ และ Hypothesis สมมุติฐานของงานที่เรามีอยู่ - Role
เล่าเรื่องงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และวิธีที่เราใช้งานร่วมกับทีม - Proposed solutions
วิธีการแก้ไขปัญหา วิธีการแก้ไขที่เราเสนอมีอะไรบ้าง - Solve the problems
เล่าเรื่องการแก้ไขปัญหา เราแก้ปัญหาได้อย่างไร มีอะไรดีขึ้นบ้าง
ความท้าทายของโปรเจคนี้ - Business & Users
แก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจ แก้ไขปัญหาให้กับ User ได้อย่างไร - What you learned
สิ่งที่เราได้จากโปรเจคนี้
ทำ Portfolio ต้องเริ่มด้วยหัวข้อนี้
1. Problem – ปัญหาที่เราต้องการแก้

วันที่เท่าไรก่อนเริ่มเล่าเรื่อง – Project detail by Nuno

- ปัญหาอะไร ที่เราค้นพบระหว่างสังเกต User
- อะไรคือสิ่งที่ Stakeholder ขอให้เราสร้าง
- ข้อแตกต่างระหว่างสิ่งที่คุณได้ยินมา หรือสิ่งที่คุณมองเห็น
- เตรียมตัวอย่างไรในการแก้ไขปัญหา
- Hypothesis ที่เรามีอยู่
สำหรับมือใหม่ Hypothesis คือสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ก่อนการจะออกไปทำรีเสิช
2. Role – ตำแหน่ง หน้าที่

- เล่าเรื่องการทำงาน ตำแหน่งงานของเรา ระหว่างที่ทำโปรเจคนี้เราทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบส่วนใดบ้าง
- วิธีการทำงานของเราร่วมกับทีม วิธีการสื่อสารกับทีมอื่นที่ไม่ใช่ทีมดีไซน์เนอร์ เรามีวิธีจัดการและต่อรองกับทีมอื่นอย่างไร
- ทักษะ Facilitation skill ระหว่างที่ทำงานเราช่วยให้ผู้อื่นทำงานได้อย่างราบรื่นได้อย่างไร เรานำไอเดียของทุกคนมาช่วยให้งาน UX ของเราดีขึ้นได้อย่างไร หรือการทำ Workshop ที่เรารันเพื่อดึงไอเดียจากทุกคนในทีม
3. Proposed solutions – วิธีการแก้ไขปัญหาที่เรานำเสนอ

- เป็นส่วนที่โชว์ Screenshot & Mockup & High fidelity mockups
- ถ้าเป็นสาย UI สามารถโชว์ผลงานที่สวยงามในขั้นตอนนี้ได้
- เป็นการอธิบายภาพที่เรานำเสนอ ขั้นตอนก่อนที่จะออกมาเป็นวิธีที่ดีที่สุด

4. Solve the problem – แก้ปัญหาได้อย่างไร
- การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อ User เรามีได้วิธีนี้ออกมาได้อย่างไร
- User สามารถทำอะไรเพิ่มขึ้นได้บ้าง อะไรที่ User ไม่สามารถทำได้มาก่อน แต่เราสามารถไปแก้ปัญหาตรงนั้นได้
- Solution นี้ไปช่วยตอบโจทย์ User ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
อย่าลืมเรื่อง Challenges – ความท้าทาย
- สิ่งท้าทายที่เราเจอ ทั้งจาก Stakeholders, user, ข้อจำกัดของโปรเจค เช่นเทคโนโลยีนี้ใช้ไม่ได้, ทีมมีน้อย, เวลามีจำกัด, ต้องทำให้ตอบโจทย์คนทุกประเภท แต่ resource เราน้อยมาก เป็นต้น
- แนบภาพขั้นตอนการกระบวนการคิดของเรา Sketch, Journey maps, รูปภาพจาก Workshop ที่เราได้ทำ หรือ Usability testing

5. Business & Users – แก้ไขปัญหาทางธุรกิจและ Users ได้อย่างไร
- ผลลัพธ์ของงานออกแบบ
- งานของเราช่วยเพิ่มอะไรได้บ้าง ทั้งทาง Qualitative, Quantitative
- โชว์สถิติต่าง ๆ ที่มองเห็นเป็นตัวเลข เช่น user engagement rate, adoption rate, bounce rate เป็นต้น
6. What you learned – สิ่งที่เราได้จากโปรเจคนี้
- ทีมได้เรียนอะไรบ้างจากสิ่งที่เราทำ
- เราได้เรียนอะไรจากการทำงานครั้งนี้
- Lesson learn อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ
คำแนะนำอื่น ๆ เพื่อการ ทำ Portfolio
เราควรอัพเดท Portfolio ของเราเป็นประจำ กลับมาตรวจสอบทุก ๆ 3 เดือน หรือน้อยกว่านั้น เพื่อเป็นการเก็บรายละเอียดงานของเราได้อย่างครบถ้วน ช่วยให้ไม่ลืมไอเดียและดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราใส่ลงไปในระหว่างการทำงาน
หลังจากเราทำ Portfolio เสร็จแล้ว คำแนะนำจาก Nngroup บอกว่า เราควรขอคำแนะนำจากผู้ที่อยู่ในวงการ UI, UX หลาย ๆ ท่านเพื่อเก็บฟีดแบคมาแก้ไข หรือเวลาไปสัมภาษณ์เราก็ยังสามารถขอ Feedback จากคนสัมภาษณ์เราได้ว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขการนำเสนอตรงไหน หรือสกิลที่เรายังขาดไปสำหรับงานนี้
วันนี้ต้องขอจบบทความไว้เพียงเท่านี้ค่า หากสนใจเนื้อหาดีๆแบบนี้ อย่าลืมติดตาม Designil อัพเดทบทความกันเป็นประจำ ขอบคุณค่า
ขอขอบคุณเนื้อหาดี ๆ จาก
50 Essential UX Portfolios (2019 Edition)
Creating a UX Design Portfolio Case Study