เทคนิควิธีทำ Portfolio สำหรับสาย UI UX

Natk

วิธีทำ Portfolio เป็นสิ่งที่คนประกอบอาชีพสาย UX UI จะต้องทำเพื่อนำไปยื่นสมัครงาน เพื่อเป็นการเล่าเรื่องขั้นตอนการทำงานของเราให้กับคนอื่นได้เห็นและได้เข้าใจ นอกจากนี้การทำ Portfolio เป็นอะไรที่ดีไซน์เนอร์จะต้องกลับมาอัพเดทตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ลืมสิ่งที่ตัวเองทำในระหว่างทำโปรเจค เพื่อให้เราเก็บงานของเราได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

วันนี้ Designil ได้สรุปหัวข้อที่สำคัญที่ควรมีในการทำ Portfolio มาให้ทุกคนดูกันแล้ว ข้อมูลดี ๆ จาก nngroup หากใครกำลังเริ่มทำ Portfolio อยู่ล่ะก็ มาติดตามอ่านกันได้เลย

📖 บทความนี้มีอะไรบ้าง แสดง

หัวข้อที่ควรมีในการทำ Portfolio สาย UI UX

  1. Problem
    ปัญหาที่เราต้องการจะแก้ และ Hypothesis สมมุติฐานของงานที่เรามีอยู่
  2. Role
    เล่าเรื่องงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และวิธีที่เราใช้งานร่วมกับทีม
  3. Proposed solutions
    วิธีการแก้ไขปัญหา วิธีการแก้ไขที่เราเสนอมีอะไรบ้าง
  4. Solve the problems
    เล่าเรื่องการแก้ไขปัญหา เราแก้ปัญหาได้อย่างไร มีอะไรดีขึ้นบ้าง
    ความท้าทายของโปรเจคนี้
  5. Business & Users
    แก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจ แก้ไขปัญหาให้กับ User ได้อย่างไร
  6. What you learned
    สิ่งที่เราได้จากโปรเจคนี้

วิธีทำ Portfolio UI UX ต้องเริ่มด้วยหัวข้อนี้

1. Problem – ปัญหาที่เราต้องการแก้

อธิบายโปรเจคว่าทำอะไร วันที่เท่าไรก่อนเริ่มเล่าเรื่อง - Project detail by Nuno วิธีทำ Portfolio

ทำ Portfolio ควรอธิบายสรุปภาพรวมโปรเจคว่าทำอะไร เป็นเว็บไซต์หรือแอพ platform ไหน
วันที่เท่าไรก่อนเริ่มเล่าเรื่อง – Project detail by Nuno
goals ux ui ทำ Portfolio วิธีทำ Portfolio
เป้าหมายที่เราต้องการจะทำในโปรเจคนี้ และปัญหาที่เราพบ – Project detail by Nuno
  • ปัญหาอะไร ที่เราค้นพบระหว่างสังเกต User
  • อะไรคือสิ่งที่ Stakeholder ขอให้เราสร้าง
  • ข้อแตกต่างระหว่างสิ่งที่คุณได้ยินมา หรือสิ่งที่คุณมองเห็น
  • เตรียมตัวอย่างไรในการแก้ไขปัญหา
  • Hypothesis ที่เรามีอยู่
    สำหรับมือใหม่ Hypothesis คือสมมุติฐานที่เราตั้งไว้ก่อนการจะออกไปทำรีเสิช

2. Role – ตำแหน่ง หน้าที่

tien dao portfolio วิธีทำ Portfolio
อธิบายเนื้อหาโปรเจคให้สั้น มีหน้าที่ตำแหน่งให้ชัดเจน จาก tien dao
  • เล่าเรื่องการทำงาน ตำแหน่งงานของเรา ระหว่างที่ทำโปรเจคนี้เราทำงานมีหน้าที่รับผิดชอบส่วนใดบ้าง
  • วิธีการทำงานของเราร่วมกับทีม วิธีการสื่อสารกับทีมอื่นที่ไม่ใช่ทีมดีไซน์เนอร์ เรามีวิธีจัดการและต่อรองกับทีมอื่นอย่างไร
  • ทักษะ Facilitation skill ระหว่างที่ทำงานเราช่วยให้ผู้อื่นทำงานได้อย่างราบรื่นได้อย่างไร เรานำไอเดียของทุกคนมาช่วยให้งาน UX ของเราดีขึ้นได้อย่างไร หรือการทำ Workshop ที่เรารันเพื่อดึงไอเดียจากทุกคนในทีม

3. Proposed solutions – วิธีการแก้ไขปัญหาที่เรานำเสนอ

solutions วิธีทำ Portfolio
ตัวอย่าง solutions จาก ethelia lung
  • เป็นส่วนที่โชว์ Screenshot & Mockup & High fidelity mockups
  • ถ้าเป็นสาย UI สามารถโชว์ผลงานที่สวยงามในขั้นตอนนี้ได้
  • เป็นการอธิบายภาพที่เรานำเสนอ ขั้นตอนก่อนที่จะออกมาเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตัวอย่างงาน Portfolio จาก Behance วิธีทำ Portfolio
ตัวอย่างงาน Portfolio จาก Behance

4. Solve the problem – แก้ปัญหาได้อย่างไร

  • การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดเพื่อ User เรามีได้วิธีนี้ออกมาได้อย่างไร
  • User สามารถทำอะไรเพิ่มขึ้นได้บ้าง อะไรที่ User ไม่สามารถทำได้มาก่อน แต่เราสามารถไปแก้ปัญหาตรงนั้นได้
  • Solution นี้ไปช่วยตอบโจทย์ User ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

อย่าลืมเรื่อง Challenges – ความท้าทาย

  • สิ่งท้าทายที่เราเจอ ทั้งจาก Stakeholders, user, ข้อจำกัดของโปรเจค เช่นเทคโนโลยีนี้ใช้ไม่ได้, ทีมมีน้อย, เวลามีจำกัด, ต้องทำให้ตอบโจทย์คนทุกประเภท แต่ resource เราน้อยมาก เป็นต้น
  • แนบภาพขั้นตอนการกระบวนการคิดของเรา Sketch, Journey maps, รูปภาพจาก Workshop ที่เราได้ทำ หรือ Usability testing
challenge portfolio ui ux วิธีทำ Portfolio
ตัวอย่างการอธิบาย Challenge จาก Nuno

5. Business & Users – แก้ไขปัญหาทางธุรกิจและ Users ได้อย่างไร

  • ผลลัพธ์ของงานออกแบบ
  • งานของเราช่วยเพิ่มอะไรได้บ้าง ทั้งทาง Qualitative, Quantitative
  • โชว์สถิติต่าง ๆ ที่มองเห็นเป็นตัวเลข เช่น user engagement rate, adoption rate, bounce rate เป็นต้น

6. What you learned – สิ่งที่เราได้จากโปรเจคนี้

  • ทีมได้เรียนอะไรบ้างจากสิ่งที่เราทำ
  • เราได้เรียนอะไรจากการทำงานครั้งนี้
  • Lesson learn อะไรที่ควรทำ อะไรที่ไม่ควรทำ

คำแนะนำอื่น ๆ เพื่อการทำ Portfolio UX UI

เราควรอัพเดท Portfolio ของเราเป็นประจำ กลับมาตรวจสอบทุก ๆ 3 เดือน หรือน้อยกว่านั้น เพื่อเป็นการเก็บรายละเอียดงานของเราได้อย่างครบถ้วน ช่วยให้ไม่ลืมไอเดียและดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราใส่ลงไปในระหว่างการทำงาน

หลังจากเราทำ Portfolio เสร็จแล้ว คำแนะนำจาก Nngroup บอกว่า เราควรขอคำแนะนำจากผู้ที่อยู่ในวงการ UI, UX หลาย ๆ ท่านเพื่อเก็บฟีดแบคมาแก้ไข หรือเวลาไปสัมภาษณ์เราก็ยังสามารถขอ Feedback จากคนสัมภาษณ์เราได้ว่าเราควรปรับปรุงแก้ไขการนำเสนอตรงไหน หรือสกิลที่เรายังขาดไปสำหรับงานนี้

คำแนะนำวิธีทำ Portfolio จากพี่ ๆ ในวงการ UX UI

Q: ควรใส่งานประมาณกี่ชิ้นคะ และถ้าสมมุติ portfolio เป็นเว็บไซต์ การมี section ลิงค์ไปงานดีไซน์ด้านอื่น ๆ เช่น graphic design / branding นี่ควรใส่ไปมั้ยคะ หรือควรมีแต่งาน UX อย่างเดียวเลยทั้ง website ?

A: ถ้าสมัครเป็น UX ให้โชว์พอร์ทที่มีเนื้องาน UX ครับ
ถ้าสมัครทำ UI เนื้อหาก็จะอยู่กับการจัด Grid, Layout, การใช้ Element บน Design และ UI ส่วนต่างๆ ของหน้า การเล่า information โดยใช้เทคนิคในการจัดหน้า

ถ้าสมัครจะไปทำ UX เนื้อหาจะอยู่ที่คอนเซปต์นี้มายังไงถึงกลายเป็นรูปปัจจุบัน “การส่งพอร์ท UX จะให้ดีจึงควรมี before-after ไปให้ดูด้วย” เห็นรูปมันจะได้พอเดาได้แล้วว่าเราพยายามทำ improvement อะไรบ้างเพิ่มเติม

แต่ถ้ามีความสามารถทำ UI ได้ด้วย แยกข้าวของในย่อหน้าแรกนั่นให้เป็นระเบียบแล้วแพ็คไปด้วย จะยิ่งได้เปรียบครับ (แต่ทำสองงานอย่าลืมคิดค่าตัวแพงขึ้นด้วยนะ 555)สิ่งที่คนดูพอร์ทเขาจะถามต่อ หลังจากโอเค เห็นละว่าซ้ายมาเป็นขวาได้ยังไง คำถามคือ “คุณได้ insights มายังไง” session สัมภาษณ์คนสมัคร UX จึงมักเป็นการปล่อยให้เล่าว่า “ตั้งคำถามยังไง คิดว่างานนี้มีปัญหาตรงไหนเนี่ย คิดมาจากอะไร”

ก่อนจะแก้ ทดสอบหาความจริงว่าจุดไหนควรแก้มายังไง ใช้เทคนิคอะไรเพื่อเอาความจริงนี้มา แล้วมันเนี้ยบ หรือสุกเอาเผากิน หรือจริง ๆ ทำไม่เป็นเลยแค่ทำตามหนังสือที่เคยอ่านมา

หลังจากนั้นใช้เครื่องมืออะไรบ้างทำให้คอนเซปต์หรือ insights ที่ได้มากลายเป็นวิธีแก้ที่เป็นรูปธรรม (เช่น ลงมือวาด wireframe หลาย ๆ แบบก่อน) วาดไปกี่แบบก่อนจะสรุป ตรงนี้ก็จะเห็นอีกว่าเนี้ยบแค่ไหนฮะ

สรุปคุณหาคำตอบได้ลึกหรือตื้น หรือเห็นปัญหาที่เจอต่อแล้วจะต้องแก้จากอันนี้ไหม หรือนี่คือเพอร์เฟกต์ไร้ที่ติจำนวนงานไม่สำคัญเท่าการอธิบายได้ว่าตัวเองทำอะไรมาบ้างครับ แนะนำว่าถ้าไม่ใช่โปรเจคต์จบตอนเรียน มีมา 1-2 ตัวบางทีก็คุยแล้วครับถ้าลงมือมาเยอะ งานเดียวบางทีก็พอคุยแล้วครับที่เหลือก็คุยปากเปล่าเอาได้ครับ

Q: ปกติทำ UX Researcher เขามีวิธีทำ Portfolio ในระดับไหน ต้องแชร์ทุกส่วนเลยมั้ย หรือว่าเอาผลลัพธ์แล้วก็เล่าเรื่อง?

A: ถ้าอ้างอิงหนังสือเล่มแรก ๆ ที่เราอ่าน และไล่ดู research ช่วงแรกๆ ของหลายๆ เล่มที่เคยเสิร์ชเจอบนเว็บนะ นิยามสรุปรวมสั้นๆ ว่า “ไม่ควรยาว” ไม่ควรยาวคือยังไง ? จำคอนเซปต์ประมาณนี้ได้ครับ ถ้าทำส่งลูกค้า “ไม่ควรยาวเกิน 25 หน้า” แต่ถ้าเป็นรีเสิร์ชในทีม ยิ่งสั้นยิ่งตรงประเด็นเท่าไรได้ยิ่งดี เพราะยิ่งส่งให้ทีมดีไซน์เอาไปทำต่อได้เร็วเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ยิ่งยาวยิ่งไม่น่าอ่าน และมันมักแปลว่าเราสรุปให้สั้นกว่านี้ไม่ได้ แล้วคนอื่นจะเอา insights ไปใช้ต่อได้ยังไง

ปรัชญาเรื่อง ไม่เกิน 25 หน้าอยากให้มองมันเป็นเลขสมมุตินะ เหมือนสมัยก่อนเราบอกว่า user ไม่ควรต้องคลิกเกิน 5 คลิก หรือโฆษณา 5 วิแรกสำคัญ ไรงี้ เพราะเอาจริงๆ พอไปแคะดูใน research ที่เคยหาเจอ บางทีมันก็ยาวเกิน แต่จะเจอว่าอย่าง usability test เนี่ย บางทีมันลงเป็นตารางแล้วตารางมันใหญ่ เพราะมันวางหน้าจอไว้ด้วย ก็กินที่ แต่ถ้าดูจริงๆ มันมีแค่คำตอบของหัวข้อ research นั่นแหละฮะรายงานที่เราเคยทำส่งลูกค้า ยกตัวอย่างสองอัน สมัยทำให้ XXXX เราทำแค่ 15 หน้า เนื้อหาครบจุกๆ แต่จัดหน้าไม่แน่น สมัยอยู่ XXXXX เราเคยทำสั้นสุดแค่ 8 หน้า แต่คม ๆ และสรุป conceptual insights ที่สรุปมาตอบได้ว่า “ผลลัพธ์และเล่าเรื่อง” ครับ ยิ่งเล่าเรื่องเก่งเท่าไร ยิ่งใช้ง่าย และหน้ายิ่งสั้นเท่านั้น ฝึกเล่าให้สั้นกระชับและเข้าใจง่ายขึ้นทุก report ครับ

Q: อยากทราบว่าถ้าจะเริ่มทำพอร์ตของ UX แต่ยังไม่มีโอกาสได้จับชิ้นงานหรือโปรเจคท์จริง เราสามารถหยิบ brand/product ในตลาดแล้วสร้างโจทย์เมคขึ้นมาเองเพื่อใส่ในพอร์ตได้ไหมครับ ?

A: ได้ครับ แนะนำให้ทำเลยแหละ และแนะนำให้ทำอย่างสนุกด้วยครับ สนุกใน 2 มุมต่อไปนี้

สนุกเพราะเป็นแบรนด์ที่เราชอบหรือเข้าใจมันดี เช่น facebook อย่างที่เราเห็นคนใน dribbble ชอบ redesign กัน ถ้าทำด้วยความชอบมันจะทำให้โอกาสทำเสร็จมีสูง

สนุกเพราะโจทย์มันท้าทาย เราจึงไม่แนะนำให้ “รีดีไซน์เว็บไทยชนะ” หรือเว็บที่ทำมาแย่มากๆ เป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว คือเว็บหรือแอพแบบที่แค่ทำอะไรนิดนึงก็ดีกว่าของเดิมชัวร์ๆ อยู่แล้ว อย่าเสียเวลาทำ เพราะนอกจากจะชนะง่ายแล้ว บางทีปัญหามันยังเยอะซะจนทำเท่าไรก็ไม่เสร็จ เราจะไม่โฟกัสเพราะปัญหามันเยอะเกินไป เลือกปัญหาที่โฟกัสในฟีเจอร์จุดๆ นึง แต่หาทางแก้ปัญหาให้คมมากๆ จะได้โชว์เยอะกว่าทำสวยขึ้นทั้งเว็บสรุป

เราแนะนำให้ทำกับแบรนด์ที่ชอบ เช่น ถ้าชอบแบรนด์ Onitsuka Tiger ก็มโนในใจไปเลยว่าเขามาจ้างเราให้ทำให้แบรนด์เขาดีขึ้น และ “เลือกโจทย์ที่ท้าทายประมาณนึง ได้โชว์ของ อย่าขี้เกียจแล้วเลือกทำของง่ายๆ”เพราะถ้านั่นคือพอร์ท แล้วมันเหมือนพอร์ทที่ใครๆ ก็ทำได้ เขาก็ไม่เลือกเราฮะ บางทีอาจจะไม่แม้แต่จะเสียเวลาพลิกดูด้วยซ้ำไปครับสุดท้าย ตอนทำอย่าลืมจำด้วยนะครับว่าทำอะไรไปบ้าง เวลาจะไปสมัครงานต้องเล่าครับว่าเราวาง framework การทำงานเราไว้ยังไงบ้างครับ

ตัวอย่าง Resume และ Portfolio ของ UX, UI, Product designer

Resume

Portfolio & resume inspiration

UX / Product designer

UI


วันนี้ต้องขอจบบทความไว้เพียงเท่านี้ค่า หากสนใจเนื้อหาดีๆแบบนี้
อย่าลืมติดตาม Designil group และแฟนเพจ Designil อัพเดทบทความกันเป็นประจำ ขอบคุณค่า

ขอขอบคุณเนื้อหาดี ๆ จาก
50 Essential UX Portfolios (2019 Edition)
Creating a UX Design Portfolio Case Study

อ่านจบแล้ว เราขอแนะนำบทความนี้

ผู้ช่วยทำ Resume และ Portfolio

บทความที่เกี่ยวข้องกับสาย UX และ UI

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด

2 Responses

  1. เป็น graphic design อยากทราบว่าต้องรู้อะไรเพิ่มเพื่อ upskill ในอา graphic design