สอน UX Design สรุปครบทุกหัวข้อ จากคอร์สระยะยาวที่ออสเตรเลีย Day2

Natk

สอน UX Design สรุปครบทุกหัวข้อตอน 2

กลับมาอีกครั้งกับบทความสอน UX ในแบบฉบับเข้าใจง่ายกันค่ะ ว่ากันด้วยภาคสองนี้เรายังจะมาเล่าเรื่องสรุปหัวข้อและเนื้อหาที่คุณจะต้องรู้ ก่อนเริ่มต้นอาชีพ UX Designer สำหรับใครที่พลาดบทความตอนแรก สามารถย้อนกลับไปอ่านที่ สอน UX Design Day1

อ้างอิงจากบทความแรกครั้งที่แล้ว เราได้หยิบยกเรื่องราวการเรียนการสอนของ Unit 1 มาเล่าให้ฟังแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนมานั่งเรียนด้วยกัน

Unit 1: สอนขั้นตอนการออกแบบ Design Process

  • Intro to UX Design – เล่าเรื่อง UX คืออะไร ทำไมต้องทำ UX
  • Prototypes, Feedback, and Critique – การทำ Prototype ด้วยการหัดวาดด้วยมือ

ตอนก่อนเราได้นำเสนอเรื่องของ Design thinking และ User needs statement รวมไปถึง UX Methodology แบบภาพองค์รวมไปให้ฟัง เป็นการ Intro เนื้อหาการทำงานของ UX Designer แบบคร่าวๆ และยังมีอีกเรื่องที่นัทยังไม่ได้พูดถึง นั่นก็คือเรื่องของการทำ Prototype แบบหัดวาดด้วยมือ

Prototypes, Feedback, and Critique

ในการทำงาน UX เราอยากสนับสนุนทุกคนหันมาวาดภาพการสื่อสารกับทีม Development ของเราด้วยมือ เราไม่จำเป็นจะต้องมีเครื่องมือหรือเว็บไซต์อะไรมาใช้ในการวาด Wireframe เพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของระบบของเรา แม้เราจะวาดไม่สวยก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ มือ ปากกาและกระดาษ คือสิ่งที่ทำได้ง่ายและราคาไม่แพง แค่ให้เราสื่อสารกับทีมของเราได้

คำว่าราคาไม่แพงในทาง UX นั้นเราจะหมายถึงการทำงานที่ไม่เปลืองเวลา และเงิน ดังนั้นเพื่อจะ Validate ไอเดียของเราให้ได้ไวที่สุด ได้ผลที่สุด เราจึงควรเริ่มต้นด้วยวิธีที่ใช้งานง่ายที่สุดอย่างมือนั่นเอง

ข้อดีของการวาดด้วยมือจึงเป็นอะไรที่รวดเร็ว ขยำกระดาษทิ้งไอเดียที่ไม่ผ่านได้ง่ายโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด ลองนึกว่าถ้าเราไม่เคยสื่อสารกับทีม เอาไอเดียไปเขียนโปรแกรมเลย แล้วถ้าโปรแกรมที่เราออกแบบมามันเฟล ใช้งานไม่ได้ต้องกลับมาเริ่มใหม่ แบบไหนจะเจ็บปวดกว่ากัน ดังนั้นการวาดด้วยมือและกระดาษจึงถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้เรา Validate ไอเดียของเราได้ง่าย เริ่มต้นใหม่ได้และราคาถูก

ux drawing 01
ตัวอย่างการวาดภาพเพื่อสื่อสารกับทีมแบบก้างปลา

วันนี้เราจะกลับมาที่เนื้อหาของบทที่สอง จะเริ่มเรื่องโฟกัสไปที่ UX Method ของ Unit 2 กันค่ะ

Unit 2: Rapid Prototyping

  • User research – การทำ User research แบบพื้นฐาน สอนเครื่องมือที่มีมากมายหลายพันล้านในแบบเข้าในง่าย
  • Competitive Research – ทำรีเสิชคู่แข่งของธุรกิจ
  • Synthesising Research and Creating Personas – การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการรีเสิช และการสร้าง Personas ให้กับ user ของเรา รวมไปถึง User & Customer journey
  • Defining User Goals and User Flows – ตามหาเป้าหมายของ user และการสร้าง user flow
  • Paper Prototyping and Usability Testing Basics – การทำ Prototype ด้วยกระดาษและการทำ Usability testing แบบพื้นฐาน

โดยใน Unit 2 ว่ากันด้วยเรื่องของการทำ User Research

ในการทำ User research นั้นมีวิธีมากมายหลายพันขั้นตอนเลยค่ะ เราอยากจะเขียนบทความสอนชื่อ Method แต่ละตัว แต่ละขั้นตอน แต่เกรงว่าเนื้อหาจะต้องยาวไปมากกว่า 100 บทความแน่ๆ

ก่อนจะข้ามไปที่เรื่องของ Method สิ่งที่ทุกคนจะต้องรู้ของการทำ UX คือ การทำรีเสิร์ชนั้นมีอยู่สองแบบด้วยกัน นั่นก็คือ

Quantitative VS Qualitative

Quantitative data ข้อมูลเชิงปริมาณ จะบอกเราว่า WHAT คนกำลังทำอะไร เราจะได้ข้อมูลมาเป็นเชิงตัวเลข เช่นการทำ A/B Testing, Surveys, Clickstream Analysis, Google analytics เป็นต้น

Qualitative data ข้อมูลเชิงคุณภาพ จะบอกเราว่า WHY ทำไมคนถึงทำสิ่งนี้อยู่ เป็นการทำรีเสิร์ชที่เน้นคุณภาพเป็นหลัก จะได้ผลเป็นคำสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์เป็นภาพ วิดีโอหรืออื่นๆ โดยวิธีที่ใช้ในการทำทดสอบกลุ่มนี้เช่น Usability lab studies, User interviews, Focus groups, Field visit, Diary study, Ethnographic research เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น การออกไปสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน (User interview) คือข้อมูลเชิงคุณภาพที่จะคอยบอกเราว่าคนๆนี้คิดยังไงกับสินค้าของเรา แต่การทำ A/B Testing จะเป็นการบอกว่าคนชอบเข้าหน้าไหน หรือกดปุ่มคำไหนมากกว่ากัน

โดยภาพด้านล่างนี้จะเป็นคำอธิบายแผนผังการทำ Reseach ที่แบ่งตาม Behavior & Attitude ในแกนแนวตั้ง และแบ่งตาม Qualitative & Quantitative ในแกนแนวนอน

user research methods
user research methods
ux landscape questions
https://www.nngroup.com/articles/which-ux-research-methods/

ถ้าอธิบายตามแกนก็คงจะเหมือนจากภาพ นั่นก็คือ Method ที่อยู่แกนบนตรงกลาง จะบอกเราว่าผู้คนเขาทำอะไรกันอยู่ ถ้าแกนล่างคือ เขาพูดอะไรกัน ส่วนไปทางซ้ายคือจะบอกว่า ทำไมผู้คนถึงทำแบบนี้ ถ้าไปทางขวาคือ จำนวนของผู้คนที่ทำสิ่งนั้นๆอยู่

user research
user research

แอดนัทขอยกตัวอย่างภาพหนึ่งจากหนังสือ UX Research เล่มสีเขียวด้านล่างนี้ มาสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำ UX กับ Product หรือ Service ของตนเองเพื่อให้เห็นภาพรวม ชื่อที่เราจะต้องไปเรียนรู้ก่อนเริ่มอาชีพ UX Designer กันค่ะ

หนังสือนี้แอดนัทเคยแนะนำไว้ใน Video ของ Designil ในภาคก่อนด้วยนะ ไปตามหาซื้อกันได้ ถือว่าเป็นคู่มือเริ่มต้นที่ดีสำหรับมือใหม่ในสายอาชีพนี้เลยค่ะ

ดูภาพประกอบการอ่านได้ที่นี่

ยกตัวอย่างจากในภาพ

เราจะเห็นตัวอย่าง Task ที่อยู่ฝั่งซ้ายมือ
เช่น New concept in the industry สำหรับคนที่กำลังมีไอเดียใหม่ และยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราจะทำ Research วิธีไหนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

จากภาพในหนังสือ วิธีการก็คือ ออกไปทำ User interviews, Diary studies, Ethnography, Contextual inquiry, Stakeholder workshop, Guerrilla testing แต่ทำไมวิธีสุดท้ายมันเป็นช่องสีเทาอ่อนกันนะ ?

Guerrilla testing

สิ่งที่ควรระวังในการทำ Guerrilla testing (ช่องสีเทาอ่อนในภาพจากลิงค์ด้านบน)
การทำ Guerilla testing คืออะไร ทำไมถึงชื่อนี้ แอดนัทอยากเล่าประวัติความเป็นมาสั้น ๆ เพื่อให้ทุกคนจำได้ เอาเป็นว่าถ้าจำแบบแอดนัทจะช่วยให้ทุกคนจะจำวิธีการนี้ได้ตลอดชีวิต และจะได้ระมัดระวังในการใช้วิธีนี้ในการสัมภาษณ์ในอนาคต

Guerrilla testing มาจากคำว่า Guerrilla warfare ที่หมายถึงการสงครามกองโจร คือการซุ่มโจมตีด้วยกลุ่มขนาดเล็กแบบไม่ทันตั้งตัว และถอนตัวในทันทีเพื่อไม่ให้ศัตรูรู้ตัว นึกถึงกองกำลังเวียดนามที่มีขนาดเล็กมากในตอนนั้นที่ซุ่มโจมตีสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม จากการขุดหลุม และเอาชนะสงครามมาได้

photo 1573484557356 0a641f19ce96
ภาพตัวอย่างเฉยๆ

การทำ Guerrilla testing ก็เลยเหมือนกับการซุ่มโจมตี Users ของเรา เป็นการทำรีเสิร์ชแบบรวดเร็ว ใช้คนน้อย หลายคนก็จะบอกว่าวิธีนี้มันเป็นวิธีที่สกปรก เพราะว่าต้องใช้เวลาน้อยในการได้คำตอบแบบไว ๆ และจำนวนมาก บางครั้งการทำรีเสิร์ชแบบนี้ก็เลยไม่ตอบโจทย์กับคำถามของเรา

โดยลักษณะการสัมภาษณ์เทคนิคนี้ก็คือ

1. มักจะใช้เวลาในการสัมภาษณ์ไม่เกิน 10 – 15 นาที

2. ได้ User ที่เราไม่ได้คัดสรรมาแบบการทำสัมภาษณ์วิธีอื่นอย่างเช่น Focus group ดังนั้นก็เลยต้องบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีเสี่ยงตายซักเล็กน้อย เพราะเราต้องออกไป Approach User ของเราด้วยตนเอง

3. เราต้องเตรียม task และคำถามไปทดสอบกับ User ดังนั้น User ก็จะรู้สึกว่าไม่ทันตั้งตัวมาก่อน

4. ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำสัมภาษณ์แบบนี้มักจะได้เป็น Qualitative มากกว่า Quantitative

ข้อดีคือช่วยให้เรา Validate ไอเดียของเราได้ถ้าเราทำถูกที่ ถูกเวลา ถูกจังหวะ มีราคาในการทำที่ถูกกว่า Focus group เพราะเราไม่ต้องไป recruit คนมา ทำให้ทีม Development สามารถออกไปทำ Guerrilla testing กันได้บ่อยๆ เพื่อพิสูจน์ Idea และคอนเซปต์ของเรานั่นเอง

หากใครจะใช้วิธีในการออกไปสัมภาษณ์ก็ต้องพิจารณาถึงสถานที่ที่เราจะไป ว่าเราจะได้คนแบบไหน รวมไปถึงสิ่งที่เราจะเอาไปสัมภาษณ์และผลลัพธ์ที่เราต้องการด้วย สำหรับใครที่อยากอ่านเพิ่มเติม ไปอ่านต่อวิธีการรีเสิร์ชแบบนี้ที่นี่นะ


สำหรับเพื่อน ๆ ที่ชื่นชอบบทความแนวสรุปแบบนี้สามารถย้อนหาบทความเก่า ๆ ของเราทั้งหมดได้ผ่านทาง เรียน UX UI จากบทความ นะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ในบทความหน้าค่า

สำหรับใครที่สนใจ Training สอน UX ตัวต่อตัวภาษาไทย สามารถสอบถามได้ทาง Designil fanpage เลยนะคะ ได้ลองทำโปรเจคจริง เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เรียนจบมีโปรเจคและ Portfolio ใช้สมัครงานได้ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด