5 จิตวิทยาพื้นฐานมนุษย์ที่คุณต้องรู้ ถ้าคิดจะออกแบบ UX

designil

UX Design (User Experience) คือ การดีไซน์จากประสบการณ์ผู้ใช้ แปลว่าเราก็ต้องเข้าใจผู้ใช้ก่อนว่าเขาเป็นใครกัน ใช้อะไรกันบ้าง เคยชินกับอะไร ฟังเผินๆ UX เหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่มีหลักเกณฑ์ ใช้ประสบการณ์ล้วน ๆ แต่วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 หลักจิตวิทยาพื้นฐานที่มีคนทำวิจัยกันมาแล้วว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่คิดกันแบบนี้

บทความแนะนำ: Graphic Design กับจิตวิทยามนุษย์

1. มนุษย์เรารู้สึกกับสีแต่ละสีแตกต่างกัน

ก่อนที่จะออกแบบเว็บไซต์ คุณควรจะรู้จักผู้เข้าเว็บไซต์ของคุณก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราควรออกแบบอย่างไรให้ถูกใจเขา โดยเราสามารถแบ่งกลุ่มคนเข้าเว็บเราเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามเพศ เพราะความรู้สึกต่อสีของเพศชายและเพศหญิงต่างกัน โดยเรามีงานวิจัยมาให้ดูว่าสีที่คนชอบและไม่ชอบโดยแบ่งตามเพศหญิงและชาย เพื่อนๆ อาจจะดูเอาไว้เป็น guideline เวลาออกแบบเว็บก็ดูว่ากลุ่มเป้าหมายของเว็บเราเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายแล้วก็เลือกสีตามสีที่เขาชอบ

สีที่เขาชอบ

สีที่มนุษย์ชอบ

สีที่เขาไม่ชอบ

สีที่มนุษย์ไม่ชอบ

รูปภาพจากHelpScout

2. มนุษย์เรามี PERCEPTUAL SET ที่ต่างกัน

คนมองเห็นรูปที่ต่างกัน

นี่คือรูป ‘แจกัน' หรือ ‘หน้าคน' ?

สิ่งที่คุณเห็นนั้นมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณ ยกตัวอย่างเช่นรูปแจกับหน้าคน:

  • ถ้าคุณเป็นช่างปั้นแจกัน คุณจะเห็นว่ารูปนี้เป็นแจกันภายในไม่กี่วินาที
  • ถ้าคุณเจอแต่ผู้คน แล้วไม่ได้เห็นแจกันมาในช่วงหลายๆ เดือนที่ผ่าน คุณก็จะเห็นรูปนี้เป็นหน้าคนในไม่กี่วินาที

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “Perceptual Set Theory” ที่อธิบายไว้ว่า “สิ่งที่เราเข้าใจหรือความนึกคิดของเรามาจาก ความคาดหวัง ประสบการณ์และข้อมูลในอดีตของเรา คนแต่ละกลุ่มอาจจะมองสิ่งเดียวกันเป็นคนละอย่าง

นอกจากความรู้สึกต่อสีที่ต่างกัน การที่เราทำความรู้จักผู้เข้าเว็บเรานั้นจะทำให้เราพอเดาได้ว่า “เขาเป็นคนอย่างไร” ดีไซน์ไหนที่เขาชอบ เราสามารถตีความได้จาก Background ของเขาอีกด้วย

3. มนุษย์เราคิดว่ายิ่งใหญ่ยิ่งดี

เรื่องนี้สำคัญมาก บางทีเราสนใจเรื่องความสวยงามของฟอนต์ว่า เราดีไซน์นี้จะเข้าธีมไหม จนบางทีลืมดูว่าตัวหนังสือเล็กเกินไปหรือเปล่า!!

มีวิจัยระบุไว้ว่า ไม่ควรใช้ฟอนต์ขนาดเล็กกว่า 16px ในเว็บไซต์ และการใช้ฟอนต์ใหญ่กว่าจะทำให้เป็นที่จดจำได้มากกว่า จำง่าย ๆ ตอนกำลังดีไซน์ว่าต้อง Big – Bright – Bold

4. มนุษย์เรามักเปลี่ยนสิ่งใหม่ ให้เป็นสิ่งคุ้นเคยได้ง่ายๆ

หลักการเดียวกับการใช้ฟอนต์ใหญ่ สำหรับการออกแบบปุ่ม เราก็ต้องทำให้ผู้ใช้สะดุดตาเพราะฉะนั้น Big – Bright – Bold เช่นเคยนะคะ

หลายครั้งคุณไม่รู้ตัวว่าคุณใส่เสื้อผ้าอยู่ หรือใส่รองเท้าอยู่ นั่นเพราะคุณชินกับมันแล้ว เช่นเดียวกัน ถ้าคุณออกแบบเว็บไซต์มา วางปุ่มไว้ที่เดิม ไม่เปลี่ยนที่เลย หรือไม่ได้สะดุดตาเลย ผู้ใช้ก็ไม่กดมัน หรืออาจจะมองข้ามไป เพราะเขาชินกับมันแล้ว

คุณลองเปลี่ยนสีปุ่ม เปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนดีไซน์ เพิ่มความจี๊ดจ๊าดให้กับปุ่ม แล้วลองดูว่าคนคลิก (Conversion Rate) เพิ่มขึ้นหรือเปล่า

5. มนุษย์เราไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

ถ้าคุณคิดจะ Redesign Website อย่าทำให้ผู้ใช้สังเกตเห็น !!

ตั้งแต่เราเริ่มใช้ Facebook มา เราแทบจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนกันเลย ไม่ใช่เพราะ Facebook ไม่มีไอเดียเรื่องการเปลี่ยนแปลง แต่เขารู้ว่าผู้ใช้ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด พวกเราไวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก แค่เปลี่ยนนิดเดียวเราก็รู้ทัน

มาลองดูการทดลอง 2 แบบ ว่าเรา Sensitive กับการเปลี่ยนแปลงจริงมั้ยนะคะ

การทดลองที่ 1

ถ้าคุณนั่งอยู่ที่บ้าน หรือที่ทำงานแล้วไฟตก คุณจะรู้ทันที

แต่ถ้ามีคนแอบลดแสงคุณ (สมมติว่าบ้านคุณใช้สวิตแบบ dim ที่สามารถหรี่ไฟได้) คุณแทบจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างเลย

การทดลองที่ 2

สมมติว่าคุณแบกของหนัก 100 กก. แล้วมีเพื่อนเดินมาช่วยคุณถือ 1 กก. คุณจะไม่รู้สึกแตกต่างเลย

แต่ถ้าเพื่อนมาช่วยถือของ 50 กก. เราจะรู้สึกเบาขึ้นเยอะ แล้วเราก็จะรู้สึกว่า 100 กก.ที่เราถือมาตลอดนั้นหนักมาก

สรุปว่า ผู้ใช้ sensitive ต่อการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมาก ถ้าเปลี่ยนอย่างชัดเจน เขาอาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้ ซึ่งมีความเสี่ยงมากที่เขาจะชอบหรือไม่ก็รับการเปลี่ยนแปลงที่ทันทีไม่ได้แล้วเราเสียพวกเขาไป

สรุป 5 เทคนิคดีไซน์ UX ด้วยจิตวิทยา

แต่ละข้อที่กล่าวมาล้วนเป็นจิตวิทยามนุษย์ที่มีการทดลองมาแล้ว บางข้อหลายท่านอาจจะเรียนรู้มาแล้วจากประสบการณ์จริง และบางข้อหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินครั้งแรก

  1. มนุษย์เรารู้สึกกับสีแต่ละสีแตกต่างกัน
  2. มนุษย์เรามี PERCEPTUAL SET ที่ต่างกัน
  3. มนุษย์เราคิดว่ายิ่งใหญ่ยิ่งดี
  4. มนุษย์เรามักเปลี่ยนสิ่งใหม่ ให้เป็นสิ่งคุ้นเคยได้ง่ายๆ
  5. มนุษย์เราไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

ลองนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ในงานออกแบบที่ทำกันดูนะคะ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องทำเว็บดีไซน์ หรือแอพดีไซน์ ท่านอาจจะเป็นกราฟฟิกดีไซน์ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ก็สามารถใช้ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งเป็นเรื่องดีที่คุณมีความคิดสร้างสรรค์และสร้างสิ่งใหม่ ๆ

ถ้าคุณชอบด้านจิตวิทยา เราแนะนำให้อ่านบทความนี้ต่อ: Graphic Design กับจิตวิทยามนุษย์

หวังบทความนี้จะช่วยให้เหล่าเว็บดีไซน์ได้มีไอเดียดี ๆ ในการออกแบบมากขึ้นนะคะ

* บทความนี้เขียนโดย Guest Writer คุณอันนา แห่งเว็บไซต์ประกันภัย Frank.co.th ขอขอบคุณที่แวะมาแชร์ความรู้ดี ๆ มา ณ ที่นี้ครับ

designil

designil

Data engineer & WordPress Developer ทำงานที่บริษัทแคนว่า ซิดนีย์ออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นเจ้าของเว็บไซต์ Designil, DataTH ชอบอ่านบทความใหม่ๆ ตลอดเวลา และชอบสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะครับ
บทความทั้งหมด