UX workshop ออกแบบฟีเจอร์ ยังไงไม่ให้ไบแอส

Natk
UX workshop ออกแบบฟีเจอร์ยังไงไม่ให้ไบแอส
UX workshop ออกแบบฟีเจอร์ยังไงไม่ให้ไบแอส

UX Workshop เรื่องของการทำ Feature prioritization อันนี้เป็นหัวข้อนึงของทำ Product design ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับงานของ UX Research ด้วย วันนี้แอดได้นำบทความจาก Smashing magazine มาสรุปและให้อ่านกันแบบสั้นๆ สำหรับใครที่สนใจอ่านฉบับเต็ม ไปดูได้ในเว็บไซต์ Smashing magazine กันเลย

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักคำศัพท์นี้กันก่อน นั่นก็คือ Feature prioritization
เรื่องของการวางแผนฟีเจอร์ เราจะออกแบบฟีเจอร์ยังไงให้คุ้มค่า feasible และสำคัญต่อ User ฟีเจอร์ไหนดีที่สุดที่คุ้มค่าที่จะทำก่อน ออกไปแล้ว user ใช้แน่นอน ไม่เสียเวลาทำแล้วพัง

โดยในบทความนี้จะแนะนำเทคนิคการทำเวิร์คช็อป การจัดกิจกรรมกับทีม ที่จะช่วยลดความไบแอส Bias และการลดความต้องการส่วนบุคคล เทคนิคที่ทำให้เราไปโฟกัสที่ User มากขึ้น โดยที่ไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถ Deliver product ที่มีฟีเจอร์ที่ถูกใจกับผู้ใช้งานและได้มุมมองของทุกฝั่งตั้งแต่ Design, Dev, Business, User

กิจกรรมทำ UX เวิร์คช็อปกับทีม
กิจกรรมทำ UX เวิร์คช็อปกับทีม

ข้อเสียของการทำ UX Workshop แบบที่ต้องใช้การโหวต

1. ข้อเสียของการทำ Prioritization ที่ใช้เทคนิคการทำ Workshop แบบการ Vote หรือการทำ Dot voting วิธีนี้มีข้อเสียคือ คนที่เป็น expert กับ non-expert ดันมีคะแนนในการโหวตเท่ากัน บางครั้งอันที่ popular vote ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีที่สุดเสมอไป

2. คนเราไม่ได้ตัดสินใจโดยการใช้เหตุผลทุกครั้ง เพราะว่าเรามี cognitive biases กว่าร้อยประการ ที่ทำให้เราสามารถตัดสินใจพลาดได้

3. การให้คะแนนที่วัดผลได้ เช่น แบบสเกล 1-10, หน้ายิ้ม, หรือการจัดวางตำแหน่งบนแกน x,y มันบอกไม่ได้ว่าทุกคนจะตีค่าออกมาเท่ากัน มันสามารถถูกตีความได้หลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละคน

เราจะเอาชนะความ BIAS ของเราจากการทำ UX Workshop ได้อย่างไร ?

วิธีการเอาชนะ BIAS ในการวางแผนการทำ Prioritization

METHOD 1: ANNOTATED MARKS

อันนี้ตัวอย่างการเขียนกำกับแต่ละ measurement ก่อนการให้คะแนน แล้วเอาแกนของสามแถวมาเทียบกัน ทั้งมุมมองการพัฒนา กำไร และความชอบของลูกค้า ลองอ่านด้านบนตัวเล็กๆได้ค่า ว่าคะแนน 1 หมายถึงอะไร คือ annotated marks จะช่วยระบุตัววัดผลของเราได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองก๊าบ

METHOD 2: DESCRIPTIVE CANVAS

ปกติการทำกิจกรรมตัวนี้ เราจะมีแกนแนวตั้งแนวนอน X และ Y และให้ทีมของเรามาช่วยกันวางฟีเจอร์ลงบนแกน เพื่อพิจารณาว่าฟีเจอร์ตัวไหนควรจะทำก่อนหลัง อันไหนสำคัญสุด แต่ปัญหามันคือเราไม่สามารถตีค่าได้เท่ากันได้ ว่าจุดไหนบนแกนมันสำคัญเท่าไร ประมาณไหน กะปริมาณได้ยาก

โดยเทคนิคการแก้ไขปัญหานี้คือการระบุข้อมูลของแกนตั้งและแกนนอนให้ชัดเจน โดยมีข้อมูลที่จะช่วยให้เราประเมินการคำนวนฟีเจอร์ของเราได้ชัดเจนขึ้น (สามารถดูภาพเพิ่มเติมได้ในบทความหลักเลยนะคะ)

METHOD 3: DIVERSIFIED VOTES

ปกติเราจะเจอปัญหาว่า เวลาเราจะโหวตแบบ anonymous จากคนที่มีเป้าหมายไม่ตรงกันสักคน มันจะมีปัญหาเสมอ เช่น โปรแกรมเมอร์ อาจจะโหวตจากมุมตัวเอง เลยคิดถึงเรื่องของ feasibility ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นหลัก ฝั่งของ UX อาจจะมองความต้องการผู้ใช้งาน User เป็นหลัก ผู้บริหารก็จะมองเรื่องผลกำไรเป็นหลัก ดังนั้นการแยกสีของผู้โหวต และการแบ่งกลุ่มเป้าหมายของผู้โหวต จะช่วยให้เราเข้าใจการโหวตได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับภาพประกอบเพิ่มเติม ติดตามได้ในเว็บไซต์ของ Smashing magazine กันได้เลยนะคะ


ติดตามข่าวสารอัพเดทจาก Designil แบบนี้ได้เป็นประจำทาง Designil group อัพเดทเรื่องราว สรุปหนังสือและเทคนิคใหม่ ๆ มาพูดคุยกันในกรุ๊ปได้เลยนะคะ

สำหรับใครที่สนใจพัฒนาเว็บไซต์ UX, UI, WordPress Development สามารถติดต่อทีมงานของเราได้ทาง
Email: ส่ง Email
Line id: @Designil
Facebook: Fanpage

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด