รีวิว Vimeo กับ Youtube ทำไมดีไซน์เนอร์ถึงนิยมใช้ Vimeo มาดูกัน
ในทุกวันนี้ ผู้คนชอบใช้งานแพลตฟอร์มดูคลิปวิดีโอกันมากเป็นพิเศษซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อน ด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่มากขึ้น ทำให้การดูคลิปไม่ว่าจะสั้นหรือยาวไม่เป็นปัญหา อีกทั้งมันเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบ จึงบอกเล่าได้น่าสนใจว่าเพียงภาพถ่าย แพลตฟอร์มที่ผู้คนรู้จักกันทั่วไปก็คงจะเป็น YouTube แต่โลกนี้ยังมีแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่น่าใช้งานไม่แพ้กัน และบางครั้งก็มีจุดเด่นที่แตกต่าง หนึ่งในนั้นก็คือ Vimeo นั่นเอง
Vimeo คืออะไร?
Vimeo ก็คือแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2004 โดยกลุ่มคนทำหนังกลุ่มหนึ่ง หลังจากนั้นมันก็เติบโตมาเรื่อยๆ จนตอนนี้ มีครีเอเตอร์ที่ใช้งานอยู่มากกว่า 80 ล้านรายเข้าไปแล้ว พวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานในด้านภาพยนตร์, แอนิเมชัน, เพลง และงานด้านศิลปะแขนงอื่นๆ พวกเขาใช้ Vimeo เพื่อแชร์และโปรโมตผลงานของตนเอง
ทำให้แพลตฟอร์มนี้เป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่ปล่อยของสำหรับนักสร้างสรรค์
Vimeo ทำอะไรได้บ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว มันคือพื้นที่ที่คุณจะสามารถอัปโหลดคลิปวิดีโอของตัวคุณเองเพื่อแบ่งปันให้คนอื่นเข้ามาดู หรือเอาไว้เปิดดูผลงานของครีเอเตอร์คนอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจหรือความบันเทิงก็ตามแต่ ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมจะสามารถกดไลก์ ใส่คอมเมนต์ หรือแชร์ต่อให้กับผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน
สำหรับครีเอเตอร์นั้น พวกเขาจะทำอะไรได้บ้างบน Vimeo
- อัปโหลดคลิป ฟีเจอร์พื้นฐานเลยแหละสำหรับแพลตฟอร์มแชร์วิดีโอ เพียงเลือกไฟล์วิดีโอจากเครื่องของคุณหรือจาก Google Drive หรือ Dropbox แล้วอัปโหลดขึ้นไปได้เลย
- ใส่เพลงประกอบ Vimeo จะให้คุณเพิ่มเพลงจากแคตาล็อกเข้าไปอยู่ในคลิปวิดีโอได้ แถมเพลงส่วนใหญ๋ก็ใช้งานได้ฟรีอีกต่างหาก
- จัดคอลเล็คชัน คุณสามารถเลือกคลิปวิดีโอโปรดเข้าไปในพอร์ตโฟลิโอ, อัลบั้ม, แชนแนลหรือกลุ่มได้ด้วย
- สอนใช้งาน ในบริการของ Vimeo จะมีเช็คชันที่สร้างมาเพื่อสอนการใช้งานและการสร้างคลิปวิดีโอให้กับครีเอเตอร์ทั้งหลาย
- ซัพพอร์ต Creative Commons ที่นี่จะมีเช็คชันของคลิปวิดีโอที่ไลเซนส์เป็น Creative Commons ที่คุณสามารถจะนำไปใช้ในชิ้นงานของตัวเองได้ตราบใดที่ไม่ละเมิดในสิ่งที่กำหนดเอาไว้
- สถิติ นอกเหนือจากจะอัปคลิปวิดีโอขึ้นไปแล้ว ที่นี่นก็ยังจะมีข้อมูลการเข้าดูให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครั้งของการเปิด คลิปไหนที่ถูกเล่นจนจบ ทั้งยังจัดการคอมเมนต์ได้โดยสะดวก
- รับทิป สำหรับนักสร้างคอนเทนต์ทั้งหลาย ที่นี่จะมีส่วนที่เอาไว้รับเงินจากคนที่เปิดดูคลิปในกรณีที่พวกเขาชื่นชอบคลิปของคุณได้ด้วย
- ขายคลิป ฟีเจอร์นี้จะใช้สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น คุณสามารถจะขายคลิปวิดีโอใน Vimeo ได้ด้วยนะครับ
แพลตฟอร์มนี้มีค่าใช้จ่ายเหมือนกันนะ
ที่นี้จะแบ่งออกเป็น 3 แพ็กเกจ
Vimeo Free
แพ็กเริ่มต้นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน ซึ่งก็จะมีข้อจำกัด เขาจะให้เราอัปโหลดได้ไม่เกิน 500MB ต่อสัปดาห์ และสามารถอัปเกรดได้เสมอ ถ้าไม่ซีเรียสอะไร ใช้แบบฟรีๆ ไปก่อนก็ได้ไม่เป็นปัญหา
Vimeo Plus
สมาชิกในระดับนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ $12 ต่อเดือน หรือถ้าจะจ่ายเป็นรายปีก็จะเหลือเดือนละ $7 ให้พื้นที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 5GB ต่อสัปดาห์ ไม่จำกัดแบนด์วิธ แถมยังได้ใช้อีกหลายฟังก์ชันที่สมาชิกฟรีไม่อาจใช้งานได้
Vimeo Pro
ถ้าใครที่เป็นมือโปรแล้ว เขาจะแนะนำแพ็กเกจนี้ ซึ่งถ้าจ่ายรายปี จะอยู่ที่ $20 ต่อเดือน ฟังก์ชันทุกอย่างจัดเต็ม ใช้รูปภาพความละเอียดสูงได้ ให้พื้นที่ถึง 20GB ต่อสัปดาห์ ไม่จำกัดแบนด์วิธ สถิติและทุกสิ่งทุกอย่างจะจัดเต็มให้ทั้งหมด
เปรียบเทียบ Youtube และ Vimeo
Youtube
- มีกลุ่มผู้ใช้งานเยอะ แต่คุณอาจจะไม่ได้รับคอมเมนต์และฟีดแบคที่ให้ประโยชน์สักเท่าไร โดยเฉพาะถ้าคุณโพสต์วิดีโอแนวเฉพาะทางอย่าง Portfolio
- มีเวอร์ชั่นฟรีให้ใช้งาน หรือจะเสียเงินเพื่อไม่เอาโฆษณา
- ไม่สามารถอัพโหลดวิดีโอไปแทนที่ของเดิมได้ แต่ว่าสามารถตัดต่อบางส่วนได้
- โฆษณาเพียบ
- ตั้งค่าเวลาการปล่อยวิดีโอ ตั้งเป็น Unlisted & Private ได้
Vimeo
- สังคมคุณภาพที่มีแต่ community เดียวกันกับเรามาใช้งาน โดยเฉพาะสายภาพยนต์ แอนิเมชั่น โฆษณา และคอมเม้นท์ฟีดแบคดีเยี่ยม
- มีบริการฟรี, เสียเงิน ขึ้นอยู่กับพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
- สามารถใส่วิดีโอไปแทนที่ของเดิมได้โดยไม่เสีย stats ที่แสดงไปก่อนหน้า
- ไม่มีโฆษณามากวนใจ
- มีระบบใส่ Password เพื่อป้องกันวิดีโอ และอื่น ๆ อีกเพียบ
- ถึงแม้ว่า Vimeo จะใช้งานฟรี แต่ว่าจะมีลิมิตการอัพโหลดคลิปอยู่ที่สัปดาห์ละ 500MB
มาดูข้อดีข้อเสียของ Youtube กับ Vimeo
1. จำนวนผู้เข้าชมวิดีโอ
ผู้ชนะ: YouTube
ทางเรื่องของคนเข้าชม YouTube ต้องชนะเลิศไปเลยครับ เพราะมีผู้ชมมากกว่า 2 พันล้านคนต่อเดือน — เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด
2. ระบบ Search optimization
ผู้ชนะ: YouTube
Youtube เป็นเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองบนอินเทอร์เน็ต รองจากบริษัทแม่ Google หากคุณกำลังวางแผนที่จะสร้างวิดีโอที่เหมาะกับคำค้นหาเฉพาะ (เช่น วิธีเลือกแบบอักษรสำหรับเว็บไซต์ของคุณ) วิดีโอของคุณอยู่ใน YouTube ไม่เพียงแต่จะปรากฏในผลการค้นหาโดยตรงบน YouTube แต่ดูเหมือนว่า Google จะชอบวิดีโอจาก YouTube มากกว่าวิดีโอที่โพสต์บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วยครับ
3. ระบบ Support
ผู้ชนะ: Vimeo
สำหรับท่านที่ใช้บริการแบบเสียเงิน ตัว Vimeo ให้ข้อดีต่าง ๆ มากมายเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นบริการทางด้านให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ สอบถามได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่าย คอมมูนิตี้ดีกว่ากันมากกว่า Youtube
4. คุณภาพวีดีโอ
ผู้ชนะ: Vimeo
เมื่อพูดถึงคุณภาพของวิดีโอ Vimeo เอาชนะ YouTube ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในการทดสอบโดย Medium คุณภาพของวิดีโอของ Vimeo นั้นคมชัด สะอาดตา และอ่านง่ายขึ้น ในทางกลับกัน วิดีโอเดียวกันบน YouTube นั้นเบลอ ทำให้ติดตามได้ยากขึ้นมากครับ
5. คุณภาพเสียง
ผู้ชนะ: Vimeo
อีกครั้งเมื่อพูดถึงคุณภาพ Vimeo ก็ออกมาด้านบน คุณภาพเสียงใน Vimeo นั้นสูงกว่าเพราะแพลตฟอร์มรองรับ 320Kbps อย่างไรก็ตาม หากต้องการเพลิดเพลินกับวิดีโอและเสียงคุณภาพสูง คุณจะต้องสมัครใช้บริการแบบชำระเงินแบบใดแบบหนึ่งนะครับ
6. สังคมคุณภาพ
ผู้ชนะ: Vimeo
จำนวนผู้ใช้งานระบบนั้นไม่ได้บอกเรื่องราวทั้งหมดเลยครับ ถึงแม้จำนวนผู้ชมจำนวนมากบน YouTube และระบบที่ขนาดใหญ่จึงสามารถแข่งขันและเอาชนะได้ แต่แพลตฟอร์มที่เล็กกว่าและขับเคลื่อนโดยชุมชนของ Vimeo อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากคุณหวังว่าจะเจาะกลุ่มครีเอทีฟโฆษณาที่มีอยู่ หรือถ้าคุณกำลังมองหาพนักงานเข้าร่วมองค์กรของคุณในตำแหน่งครีเอทีฟล่ะก็ สังคมดีๆรออยู่ในนี้ทั้งหมดเลยครับ
ตัวอย่างผลงานของ Designer
ไหนๆ ก็อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แสดงว่ามีความสนใจประมาณหนึ่งเลยแหละที่จะผันตัวเองเป็นครีเอเตอร์บน Vimeo เราลองมาดูกันหน่อยซิว่า แพลตฟอร์มนี้มีครีเอเตอร์ท่านใดบ้างที่น่าสนใจ ขอย้ำว่านี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
Goh Iromoto
ผลงานคลิปวิดีโอสุดสร้างสรรค์ของ Film Director อย่าง Goh Iromoto ที่มีหลายคลิปเลยที่ถูกคัดเลือกให้เป็น Staff Pick หลายคลิปดูแล้วได้แรงบันดาลใจและพลังใจกลับไปด้วยนะครับ
Camp4 Collective
Camp4 Collective รวบรวมเรื่องราวดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยพบเห็น ชีวิตของคนเก็บน้ำผึ้ง กลุ่มคนโบราณในญี่ปุ่นตอนเหนือ ทัศนียภาพสวยๆ ของเทือกเขาหิมาลัยยามค่ำคืน และอีกมากมาย มีทั้งงานสารคดีและงานโชว์ของ หลายคลิปก็เคยถูกเลือกให้เป็น Staff Pick เช่นกัน
RUFFMERCY
ผลงานของ RUFFMERCY นับว่าน่าสนใจ เพราะเขาใช้เทคนิคสร้างงานภาพเพื่อประกอบกับตัวเพลง จนมันกลายเป็นมิวสิควิดีโอสวยๆ แนวๆ ดูเพลินมากเลยทีเดียว
FELT SOUL MEDIA
ครีเอเตอร์รายนี้ FELT SOUL MEDIA เป็นเพื่อนสองคนอย่าง Ben Knight และ Travis Rummel ที่ร่วมกันสร้างผลงานมากว่า 18 ปีแล้ว รวบรวมสารคดีสั้นๆ ที่น่าสนใจไว้มากมาย ลองเข้าไปดูแล้วอาจได้แรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
Job, Joris and Marieke
อีกหนึ่งครีเอเตอร์ที่น่าสนใจ Job, Joris and Marieke จากเนเธอร์แลนด์ที่ร่วมกันสร้างงานแนวแอนิเมชัน ผลงานของพวกเขามีทั้งหนังสั้น มิวสิควิดีโอ และงานโฆษณาต่างๆ ไม่ต้องห่วงว่าจะดูไม่เข้าใจเพราะเขามีซับไตเติลอังกฤษกำกับไว้แล้วครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแนะนำให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มวิดีโอที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ยังมีอะไรอีกมากที่ยังรอให้คุณเข้าไปสัมผัสและรับรู้ ไม่แน่ว่า บางคนอาจจะกลายเป็นครีเอเตอร์คนถัดไปของ Vimeo ก็ได้ อย่าช้า เริ่มกันเลยตั้งแต่วันนี้ได้เลยนะครับ
แล้วมาเจอกันใหม่ในบทความหน้านะครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจทำวิดีโอทุกท่านเลยครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รีวิว 5 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอฟรี แกะฟีเจอร์เด่นที่ไม่ควรพลาด
- 10 เว็บรวมวิดีโอฟุตเทจฟรี ไม่ผิดลิขสิทธิ์ Footage free
- รีวิว 5 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอฟรี แกะฟีเจอร์เด่นที่ไม่ควรพลาด
- แนะนำ 15 Youtube Video Template วิดีโอเปิดปิดสำหรับช่องยูทูป
- วิธีการ Embed วีดิโอ Youtube ลงในเว็บไซต์ และทำให้ Responsive ด้วย CSS ง่าย ๆ