UX Researcher คืออะไร? สรุปคำแนะนำพร้อมเนื้อหาการศึกษาต่อ
UX Researcher ตำแหน่งนี้คืออะไร? เรามาอ่านคำแนะนำ และผลสรุปการวิจัย Survey จากคนที่ทำงานในสายอาชีพนี้ โดยในบทความนี้จะครอบคลุมเรื่องของลักษณะการทำงาน วุฒิการศึกษาที่ที่เรียนมา คุณสมบัติของผู้ที่ทำงานในสายอาชีพนี้แบบละเอียด สามารถเริ่มต้นการศึกษาต่อด้วยตนเองได้
UX Researcher คืออะไร ?
UX Researcher คือ นักวิจัยทางด้าน UX มีหน้าที่หลักเพื่อการศึกษาเป้าหมายของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ ทำการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลสำหรับนำไปใช้งานสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ (และทำให้ผู้ใช้พึงพอใจในการใช้งาน ตรงไปตามเป้าหมาย) โดยขั้นตอนการทำงานคือจะต้องรู้ว่ากลุ่มผู้ใช้ของเราเป็นใคร และความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานนั้นคืออะไร และทั้งหมดนี้คือที่มาของอาชีพ UX Researcher
โดยนักวิจัย UX นั้นจะต้องทำการศึกษาเป้าหมายของผู้ใช้งานผ่านขั้นตอนการทำ Research ในแบบต่าง ๆ
โดยในคู่มือนี้เราจะเจาะลึกถึงสิ่งที่นักวิจัย UX ทำ ว่างานตำแหน่งนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง ต้องมีความรู้ความสามารถอะไร และต้องศึกษาเนื้อหาขั้นตอนใดบ้างเพื่อเริ่มต้นหรือก้าวหน้าในอาชีพในสาขาที่เป็นที่ต้องการนี้
มาเริ่มกันเลย
UX Research คืออะไร?
UX Research คือขั้นตอนแรกในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยคุณจะต้องคิดถึงเรื่องของผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้ใช้งานของเราเป็นใคร? พวกเขามาจากใหน? พวกเขาต้องการอะไร? ทำไมพวกเขาต้องการจะใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา? และผลิตภัณฑ์ของเราจะช่วยให้พวกเขาได้สิ่งที่ต้องการได้อย่างไร?
ในฐานะ UX Researcher เป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ โดยห้ามเดาหรือคิดเอาเองจากประสบการณ์ส่วนตัว มากไปกว่านั้นคุณจะต้องออกแบบกลยุทธ์การวิจัยในแบบต่าง ๆ (Research) ที่จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ด้วยข้อมูลทั้งจากทางฝั่ง Qualitative และ Quantitative data
คุณจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนให้กับผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อวางเป้าหมายให้ตรงกับเป้าหมายขององค์กร และทำหน้าที่จับคู่เรื่องของความต้องการของผู้ใช้งาน (User Needs) และ ธุรกิจ (Business) ให้หาทางออกร่วมกันได้อย่างดีที่สุด
อาชีพ UX Researcher จะต้องศึกษาอะไรบ้าง ?
บทความด้านล่างนี้อ้างอิงจากการทำรีเสิชของ ResearchOps ที่ได้ไปทำการสำรวจกับคนในสายอาชีพนี้เกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติที่จะต้องมีในการทำงาน
1. ประสบการณ์สำคัญมากกว่าการศึกษา
เป็นที่แน่ชัดว่าการทำงานสาย UX Researcher นั้น การมีประสบการณ์ในการทำงานจริงจะสำคัญกว่าการเรียนจบปริญญาโท แต่ถ้าหากคุณต้องการเริ่มต้นในการทำงานสายนี้ แต่ช้าก่อน การเรียนจบป.โทจะมีความสำคัญเวลาจะขึ้นไปตำแหน่ง Manager และ Senior Level
2. การเรียนโฟกัสไปที่วิชาเฉพาะด้าน จะตรงกว่าสาขาที่กว้าง ๆ
การเรียนแบบโฟกัสไปที่วิชาลงลึก จะดีกว่าการเรียนแบบคอร์สที่ไม่ได้ลงลึก
ปัจจุบันในคอร์สเรียนมหาลัยจะมีหลายวิชามากที่สอนทางด้านรีเสิช อาทิเช่น Design, Human-Computer Interactions or Human Factors, และ Behavioural Sciences (โดยเฉพาะ Psychology and Anthropology)
ด้วยความที่มีหลากหลายและกว้างขวางมาก ดังนั้นก่อนการเรียนวรจะดูว่าเราอยากไปทำงานส่วนไหนบ้าง
ยกตัวอย่างงานที่ประกาศรับสมัครจาก Google
ตำแหน่ง User experience researcher จาก Google
Minimum: ต้องการคนที่เรียนจบระดับปริญญาตรีในสาขา
Bachelor's degree in Human-Computer Interaction, Anthropology, Psychology, Computer Science, or Behavioral Economics or equivalent practical experience.
Preferred: ต้องการคนที่เรียนจบระดับปริญญาโทในสาขา
Master's degree or PhD in Human-Computer Interaction, Cognitive Science, Psychology, Anthropology, Information Science, Human Factors, other Social Sciences, or a related field.
3. 5 วิชาที่สำคัญที่สุดในสาย Research
- Research methodologies
- Data analysis
- Critical thinking
- Presentation of data
- Business operations
คอร์สดังต่อไปนี้สามารถช่วยในเรื่องของประสบการณ์ด้านการรีเสิชได้
- Nielsen Norman Group (NN/g) UX Certification
- General Assembly 12 Week UX Design Immersive
- Emerging Methodologies Certification
- Certificate in Interaction Design & Social
- Entrepreneurship from Austin Center for Design
- Pragmatic Institute Certificate Level II in Product Management
- Google Analytics and Google Tag Manager Certification
- Business Thinking Certification
- UX Design Certificate from DevMountain
- Certificate in Problem-Driven Iterative Adaptation
สำหรับคนที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมทางด้าน UX Research อยากให้เรียนต่อในมุมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- กลุ่ม Research – Data analysis, Various methods, Statistics, Logic
- กลุ่ม Computer science – Design, Engineering
- กลุ่ม Business – Business management, Business operations
- กลุ่ม Behavioral Sciences – Psychology, Anthropology, Sociology, Human Computer Interactions
4. Technical & Soft skills มีความสำคัญ
โดย Technical skills ที่ว่ามาจะโฟกัสไปที่ research methods, data analysis, project management
Soft skills เช่น teamwork, relationship-building และ cultural sensitivity
มุมมองทางด้าน Technical + Soft skills แบบเจาะลึก
Technical skills
- Software: SQL, Excel, PowerPoint, R, Matlab
- Research: Survey design, Usability test design, Inclusive and accessible design, Data modelling, Qualitative methods, interviewing
- Management: project and product management, vendor management
Soft skills
- Curiosity, ability to see patterns, adapability, creativity, organization
- Relationship building, public speaking, empathy, cultural sensitivity, group moderation and facilitation, leadership
5. Research Ops ยังต้องการคนที่มีสกิลหลากหลายด้านอยู่
จากผลการรีเสิชค้นพบว่ายังมีคนที่เรียนจบจากหลากหลายอาชีพเข้ามาทำงานในสายงานนี้อยู่ โดยผู้ที่ตอบสัมภาษณ์ 59 คำตอบ มี UX Researcher ที่เรียนจบจากสาขาเฉพาะด้านที่ไม่ซ้ำใคร อาทิเช่น criminal justice, archives, library sciences, film, communication sciences, และ mathematics
สาขาวิชาที่พบเห็นคนเรียนจบมากที่สุดคือ Design, Human-Computer Interaction หรือ Human Factors, Social/Behavioral Sciences (โดยเฉพาะกลุ่มสาขาวิชา Psychology และ Anthropology) และ Information Technology
Library Science และ Business Management ก็เป็นสาขาวิชาพบเห็นทั่วไปเช่นเดียวกัน
คอร์สแนะนำ
- Google Analytics
- Google Tag Manager Certification
- User Experience Research and Design Specialization จาก University of Michigan
- Introduction to Psychology จาก Yale
- Social and Economic Networks: Models and Analysis จาก Stanford
- Qualitative Research Design จาก Emory University
- Qualitative Research Methods จาก University of Amsterdam
- Computational Social Science Specialization จาก UC Davis
หวังว่าโพสต์สั้นๆ นี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพ แนวโน้มของอาชีพ UX Researcher ได้พอสมควรนะคะ หากใครสนใจอ่านบทความเต็ม ๆ ภาคภาษาอังกฤษ สามารถอ่านได้จากเว็บไซต์อ้างอิงด้านล่างนี้
ยังคงคาดหวังเพื่อน ๆ ให้เข้ามาทำงานในสายอาชีพนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าค่า
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รีวิว 5 คอร์สเรียนออนไลน์ Behavioral science พฤติกรรมศาสตร์ จาก Coursera
- รีวิว 10 คอร์สเรียน UX จาก Coursera เทคโนโลยีใหม่ๆ เพียบ
- รีวิวคอร์ส Google UX Design professional certificate
- คอร์สเรียนออนไลน์สาย UX UI เริ่มต้นที่ 349 บาท
- วิธีเปลี่ยนสายงานจาก Graphic มาทำ UX UI
อ้างอิงจาก