กฏหมาย Accessibility และคดีความกับการออกแบบเว็บไซต์

Natk

กฏหมาย Accessibility
ทำไมต่างประเทศถึงจริงจังกันเรื่องนี้ ?
ทำไมเราถึงจะต้องคิดถึงเรื่อง Accessibility ก่อนออกแบบ?

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ไม่รู้จัก Accessibility มาย้อนอ่านบทความเก่า ๆ ของเราได้ด้านล่างนี้เลยนะคะ
Web Accessibility คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ
แจกฟรี! โปสเตอร์ Accessibility การออกแบบให้เข้าถึงได้
สรุป Talk การออกแบบ Accessibility เพื่อผู้สูงอายุและคนพิการ
เครื่องมือ เช็ค Accessibility สำหรับ Designer

รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันมี กฏหมาย Accessibility ?

กฏหมายของอเมริกา

ปัจจุบันในอเมริกามีกฏหมายทางด้าน accessibility ที่เรียกว่า Ada litigation (Americans with Disabilities Act of 1990) ในการบังคับใช้เรื่องของการทำตัว Product ให้เข้าถึงได้

กฏหมายของออสเตรเลีย

ส่วนของประเทศออสเตรเลียเองจะเรียกว่า Australia’s Disability Discrimination Act of 1992

การมีกฏหมายนี้เข้ามาจึงทำให้คนทำเว็บไซต์ แอพ ผู้พัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเรื่อง Accessibility ก่อนการปล่อย product ออกสู่ตลาด

ในปัจจุบันบริษัท Tech company ขนาดใหญ่ เริ่มจัดตั้งทีม Accessibility เพิ่มมากขึ้นเพื่อดูแลภาพรวมของ Product ให้เป็น Universal เข้าถึงคนได้ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะ

ส่วนดีไซน์เนอร์ที่ทำงานกับ Product ในระดับ Global ขนาดเล็กอาจจะต้องเริ่มตรวจเช็ควิธีการเขียนโค้ดและทำงานก่อนนำขึ้นไปใช้งานจริง เพื่อป้องกันการเกิดคดีความที่จะตามมาในอนาคต

การออกแบบที่มีคดีความ

กฏหมายและคดีความเกี่ยวกับ Accessibility
POS payment – กฏหมายและคดีความเกี่ยวกับ Accessibility

ยกตัวอย่างเคสของธนาคาร Commonwealth รายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียถูกฟ้องในปี 2018 เพราะว่าทำเครื่อง EFTPOS อุปกรณ์รับชำระเงินหน้าร้านค้า ที่มีการให้ลูกค้าใส่ PIN เป็นตัวเลขยืนยันก่อนการชำระเงิน แต่ไม่มีฟีเจอร์ที่สามารถแก้ไขตัวเลขได้ และยังทำมาไม่รองรับคนพิการทางสายตาที่ไปซื้อของที่หน้าร้าน

โดยคนพิการทางสายตากล่าวว่า เธอรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะต้องบอกเลข PIN กับคนที่ร้านค้าตอนชำระเงิน มิเช่นนั้นจะจ่ายเงินไม่ได้

กรณีการออกแบบนี้เรียกได้ว่า inaccessible และเป็นกรณีร้ายแรงเพราะเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงิน

และทางฝั่งของอเมริกาเองมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับ ADA ด้วย เช่น Domino’s Pizza ที่แพ้คดีความเพราะไม่ได้ทำเว็บและแอพให้คนพิการทางสายตาเข้าถึงได้ , หรืออย่างเคสที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ Beyonce ที่ไม่ได้ทำเว็บไซต์ให้กับผู้พิการทางสายตา

ในยุคปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มเป็น Cashless society ไม่มีคนพกเงินสดกันแล้ว คาดว่าหลังจากยุค Covid19 ไปเราคงเห็นเคสอะไรแบบนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การมาของโรค Covid19 จะเป็นการเร่งและกีดกันคนพิการในการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ผู้เขียนเองยังแอบหวังให้ในประเทศไทยหันมาสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีและการออกแบบสำหรับคนพิการมากยิ่งขึ้น แม้จะยังไม่มีกฏหมาย แต่เราก็อยากให้ทุกคนรู้สึกว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่ถูกกีดกันการเข้าถึงข้อมูล

การออกแบบที่คำนึงถึง Accessibility ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คนพิการเข้าถึงได้ แต่ยังช่วยให้การออกแบบของเราเป็น Inclusive design ซึ่งจะตอบโจทย์กับคนหลากหลายสถานะ หลากหลายข้อจำกัดไปพร้อม ๆ กัน

หากมองระยะยาวแล้ว ถ้าเราอยากให้ product ของเราไปเติบโตในต่างประเทศล่ะก็ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว


อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจด้าน Accessibility แอดนัทเขียนบทความอัพเดทเป็นประจำในแฟนเพจ Designil และกรุ๊ป Designil ติดตามกันได้รายวันเลยนะคะ

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด