วิธีตั้งค่า WP-Rocket ทำเว็บโหลดเร็วได้ไม่เกิน 5 นาที

Peridot

ตั้งค่า wp-rocket เป็นอะไรที่มีความยาก แต่ก็ไม่ยากสำหรับเราจนเกินไป

สวัสดีคร้าบ เพื่อน ๆ ชาว Designil วันนี้ทีมงาน Designil จะมาสอนและสรุปวิธีการตั้งค่าปลั๊กอิน WP Rocket ให้เว็บของเราเร็วทะลุโลก โหลดไว ได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น และดึงคนอ่านได้มากยิ่งขึ้นด้วย เรามาดูกันเลยว่าบทความนี้จะแนะนำวิธีการตั้งค่าอย่างไรบ้าง

เพื่อน ๆ สามารถอ่านบทความรีวิว Wp Rocket ของเราได้จากที่นี่เลย- รีวิว WP Rocket VS W3 Total Cache ปลั๊กอินเพิ่มความเร็วเว็บไซต์

WP Rocket คืออะไร ?

ตัวอย่างการตั้งค่า WP-Rocket จาก Designil
ตัวอย่างการตั้งค่าปลั๊กอิน WP Rocket จาก Designil

WP-Rocket เป็นปลั๊กอิน WordPress คุณภาพเยี่ยมแบบเสียเงิน ที่ช่วยในการปรับเว็บไซต์ของเราให้โหลดไวขึ้น ติดตั้งง่ายภายในไม่กี่วินาที โดยมีจุดเด่นที่ UI ที่ใช้งานง่าย ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านการปรับแต่งก็สามารถทำได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว

ข้อดีของ WP Rocket

  • การติดตั้งที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว สามารถติดตั้งได้ภายใน 3 นาที พร้อมมีวิธีสอนการติดตั้งใน Youtube เพียบ
  • มาพร้อมกับระบบ Cache ที่แคชได้ทั้งไฟล์ JS, Fonts รวมไปถึงการทำ Lazy loading
  • WP Rocket ตัวเดียวสามารถปรับการทำงานได้เทียบเท่ากับการใช้ปลั๊กอิน 3 – 5 ตัวรวมกัน
  • ระบบ Support ที่ดีเยี่ยม ตอบคำถามได้รวดเร็ว แม้จะอยู่คนละ Timezone ของเรา
  • รองรับปลั๊กอิน 2 ภาษา อย่าง WPML, Qtranslate, และ Polylang

ข้อเสีย

  • ปลั๊กอิน WP-Rocket อาจจะทำส่วนของเรื่องแคชในส่วนของหน้า Desktop ทำงานได้ดีน้อยกว่ามือถือ
    เพราะว่ามัน lazy ตัว CSS ทำให้ CLS (การคำนวนคะแนนจาก Google) มองว่าระหว่าง load layout มันขยับเยอะมาก

อ่านวิธีการคำนวน Web vitals ได้ที่ 12 วิธีปรับเว็บ WordPress ให้รองรับ Core Web Vitals

รีวิวจาก Designil

โดยตัวเว็บไซต์ที่ทุกท่านอ่านอยู่ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่เราพัฒนาในปี 2021 เราได้เปลี่ยนมาใช้ WP Rocket ในการปรับความเร็วให้ขึ้นมาจากของเดิมมีความเร็วอยู่ที่ Desktop 40, Mobile 30

ปัจจุบันหลังจาก Redesign เว็บไซต์และใช้ WP-Rocket

  • เพิ่มความเร็วของเว็บไซต์ Designil เพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 80 – 100
  • ช่วยเพิ่มรายได้จาก Google adsense มากถึง 50% – 100%
  • เพิ่ม Unique visitor

ก่อนจะใช้งานและทำวิธีตามด้านล่างนี้ได้ต้องซื้อปลั๊กอินมาก่อนนะครับผม

ปัจจุบันราคา WP Rocket สำหรับ 1 เว็บไซต์จะอยู่ที่ราคา $49 (1,660 บาท/ปี)
สำหรับ 3 เว็บไซต์ก็จะเป็นอีกราคาที่สูงขึ้นมาอีกนิดนึง แต่ทีม Designil ใช้งานแล้ว บอกเลยว่าคุ้มสุด ๆ

หลังจากอ่านรีวิวและคำแนะนำการใช้งานคร่าว ๆ ของ WP-Rocket กันแบบจุใจแล้ว เรามาต่อกันที่วิธีการตั้งค่า WP-Rocket ตั้งแต่เริ่มต้นกันเลยครับผม


วิธีตั้งค่า WP-Rocket ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที

ก่อนการเริ่มต้น อย่าลืมอ่าน Docs ของ WP-Rocket ได้จากที่นี่

  • WP-Rocket Theme อาจจะมีการตั้งค่าเฉพาะอย่าง สำหรับคนที่ใช้ธีม Divi Theme, Bedrock WordPress Boilerplate
  • สำหรับใครที่ใช้ Plugin หลายตัว ลองมาดูก่อนว่าปลั๊กอินเราจะใช้งานได้มั้ยกับ WP-Rocket Plugins

คำเตือน!! ห้ามกดติ๊กเปิดใช้งานทุกอย่างพร้อมกันภายในการตั้งค่าครั้งแรก

ทาง WP Rocket แนะนำว่าค่อย ๆ ตั้งค่าไปทีละหัวข้อ ทีละอัน ตามสิ่งที่เรายังขาดอยู่
หลังจากเปิดติ๊กใช้งานแล้ว ให้กลับไปเช็คหน้าเว็บของเราใน Incognito mode บน browser ทุกครั้ง

หลังจากที่เราตั้งค่าเสร็จแล้ว เราไม่ต้อง clear cache แต่อย่างใด ทางปลั๊กอินจะเคลียร์แคชให้อัตโนมัติหลังจากเราตั้งค่าเสร็จ

สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่าปลั๊กอินเราใช้งานได้แล้วหรือยัง ลองเข้าเว็บบราวเซอร์ในโหมด Incognito เพื่อเช็คการทำงานของปลั๊กอินได้โดยเข้าไปดูหน้าเว็บของเราหลาย ๆ หน้า ตั้งแต่หน้าแรก ไปจนหน้าใน เช็คให้ครบทุกหน้าเลยนะครับ เผื่อพัง (เตือนแล้วนะ)

1. ตั้งค่า Cache

01 ตั้งค่า cache
01 cache 1

Mobile Cache

  • เปิดใช้งาน Enable caching for mobile devices
    ติ๊ก Separate cache files for mobile devices

User Cache

  • เปิดใช้งาน Enable caching for logged-in WordPress users

2. ตั้งค่า File Optimization

CSS Files

  • เปิดใช้งาน Minify CSS files
  • เปิดใช้งาน Combine CSS files (Enable Minify CSS files to select)
  • เปิดใช้งาน Optimize CSS delivery
    กดเลือกปุ่ม Remove unused CSS

เลื่อนลงมาด้านล่างอีกนิดนึง จะเจอหัวข้อการตั้งค่า JavaSript

Javascript Files

  • เปิดใช้งาน Minify JavaScript files
  • เปิดใช้งาน Load JavaScript deferred
  • เปิดใช้งาน Delay JavaScript execution

มาอ่านคำอธิบายว่าทำไมเว็บไซต์ของ Designil ถึงตั้งค่าแบบนี้กัน

💡 คำอธิบายการตั้งค่าของ File optimization

✍️ การตั้งค่า Minify CSS และ JavaScript ปลั๊กอินจะไปช่วยลบ white space ช่องว่างในโค้ด และส่วนของ comment ต่าง ๆ เพื่อให้ไฟล์ของเรามีขนาดเล็กลง ทำให้โหลดไวขึ้น

✍️ การตั้งค่า Combine CSS files/Combine JavaScript จะช่วยรวมไฟล์ของ CSS, JS ให้มาอยู่ในไฟล์เดียว จะทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นโหลดเร็วขึ้นได้ทันตาเห็น แต่มันจะไม่เพิ่มความเร็วเท่าไรสำหรับ HTTP/2

มาอ่านคำอธิบายข้างล่างนี้กัน

combine option บางครั้งอาจจะไม่ทำให้เว็บไซต์ไวขึ้นสักเท่าไร
ตัว Combine option บางครั้งอาจจะไม่ทำให้เว็บไซต์ไวขึ้น

หมายเหตุ: สำหรับการ Combine CSS files และ Combine JavaScript นั้น บางครั้งจะไม่เพิ่มความเร็วให้กับเว็บไซต์ของเราเท่าไร ดังนั้นหลังจากติ๊กถูก กดเซฟแล้ว อยากให้เพื่อน ๆ เข้าไปเช็คความเร็วของเว็บเราผ่าน GTMetrix อีกครั้งเพราะถ้ามันไม่เร็วขึ้น แนะนำว่าไม่ต้องติ๊ก Combine

สามารถเช็คว่าเว็บไซต์เราเป็น HTTP/2 หรือไม่ได้ที่นี่ เช็ค HTTP/2

✍️ การตั้งค่า Optimize CSS Delivery

ตรงส่วนนี้เป็น Advanced option ค่อนข้างระดับสูง บางครั้งอาจจะไม่เหมาะสมกับการเปิดใช้งานบนบางเว็บไซต์ ตรงส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับวิธีการเขียนโค้ดของเว็บไซต์ของคุณเองด้วย

เมื่อคุณกด Activate ข้อนี้ไปเมื่อไร ตัวปลั๊กอินจะวิ่งไปหน้าทั้งหมด แล้วก็จะสร้างเส้นทาง CSS path ใหม่ซึ่งมันจะช่วยให้เว็บของเราโหลดไวขึ้นได้

หากเลื่อนลงมาด้านล่าง ยิ่งถ้าหากเรากดติ๊กถูกที่ Remove unused CSS (ปุ่มม่วง ๆ) ปลั๊กอินจะทำการคำนวนแล้วก็จะแสดงผลแค่ CSS ที่ใช้งานเท่านั้น ถ้าเป็นไฟล์ CSS ที่เราไม่ใช้งาน ปลั๊กอินก็จะเอาออกไปให้ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเราเร็วขึ้น

ทางปลั๊กอินบอกว่าแนะนำให้เปิดตัว Remove unused CSS นี้เป็นพิเศษเลย

✍️ การตั้งค่า Load JavaScript deferred

การตั้งค่าอันนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อพวก JavaScript ที่ใช้บนพวกสไลเดอร์ อะไรที่วืบวาบหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นถ้าเปิดใช้งานแล้ว เราอาจจะต้องไปเช็คหน้าเว็บไซต์ของเราใน Incognito mode อีกที เพื่อดูว่ามีลูกเล่นอะไรของเราพังหรือไม่

✍️ การตั้งค่า Delay JavaScript execution

การตั้งค่านี้จะช่วยเพิ่มความเร็วของเว็บไซต์เราได้มากโข ทำให้เว็บของเราโหลดเร็วขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยทำให้เราโหลด JavaScript มาได้ช้า จนกว่า User จะทำการขยับเมาส์, หรือแตะไปที่หน้าจอ หรือเลื่อนไปเลื่อนมา

ถ้าเกิดตั้งค่าใช้งานแล้วเว็บเรามีปัญหา เราสามารถ exclude ตัวไฟล์ JS เฉพาะบางตัวที่มีปัญหาได้ เพียงแค่ใส่ URL ลงไป


3. ตั้งค่า Media

03 ตั้งค่า media
03 ตั้งค่า media

LazyLoad

  • เปิดใช้งาน Enable for images
  • เปิดใช้งาน Enable for iframes and videos
    เปิดใช้งาน Replace YouTube iframe with preview image

Image dimensions

  • เปิดใช้งาน Add missing image dimensions

4. ตั้งค่า Preload

04 ตั้งค่า preload
04 ตั้งค่า preload

Preload Cache

  • เปิดใช้งาน Activate Preloading
    เปิดใช้งาน Activate sitemap-based cache preloading
    เปิดใช้งาน Rank Math XML sitemap (ถ้าเพื่อน ๆ ใช้งาน Rank Math แบบของ Designil)

Preload Links

  • เปิดใช้งาน Enable link preloading

ถ้าใครใช้งาน Fonts ที่ Host อยู่บนเว็บไซต์ของตนเอง ไม่ใช้ฟอนต์จาก Google หรืออื่น ๆ สามารถใส่ URL เพื่อทำการโหลดมาก่อนได้ด้านล่างนี้

04 1 font
04 1 font ตั้งค่า wp-rocket ปรับโหลดฟอนต์

เท่านี้ก็จะเรียบร้อยสำหรับการตั้งค่า WP-Rocket แล้วครับ เพียงเท่านี้เพื่อน ๆ ก็จะมีเว็บไซต์ที่โหลดเร็วเหมือนกับมือโปรมาปรับแต่งให้เลย

สำหรับคนที่ใช้ Cloudflare Designil จะใช้ปลั๊กอินตัวนี้ ชื่อว่า

  • WP Cloudflare Super Page Cache ในการทำแคช
  • ShortPixel ในการ optimize รูปภาพ

แต่ถ้าใครยังเลือกตัวปลั๊กอินในการทำ cache และจัดการรูปไม่ได้ ก็ลองดูตัวเลือกเสริมของ WP Rocket ได้

  • Imagify – ตัวช่วยจัดการรูปภาพให้มีขนาดเล็ก ถ้ารูปภาพเล็กลง เว็บไซต์ก็จะโหลดไวขึ้น

ในตลาดเองยังมีปลั๊กอินช่วยจัดการ Optimize รูปภาพอีกหลายตัวเลยครับ ไว้คราวหน้า Designil จะกลับมาเขียนให้อ่านกันอีกในอนาคต

แล้วมาเจอกันใหม่ในบทความหน้าคร้าบบบบบ

ปัจจุบันราคา WP Rocket สำหรับ 1 เว็บไซต์จะอยู่ที่ราคา $49 (1,660 บาท/ปี)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา

Peridot

Peridot

รวมบทความรีวิวและความคิดเห็นของทีมงาน Designil แบ่งปันเนื้อหาที่เข้าใจง่ายเป็นประจำทุกสัปดาห์
บทความทั้งหมด