Gamification กับการออกแบบ Product ให้น่าใช้งาน

PND777

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไม บาง Website หรือว่า App ทำไมเราถึงรู้สึกสนุกกับการใช้งาน อย่างคาดไม่ถึง จนอยากกลับมาใช้ซ้ำอีกเรื่อยๆเป็นประจำ ต่างกับบาง App ที่เราลองโหลดมาใช้ได้ซักพักเดียว แล้วก็ลืมหายไปตามกาลเวลา ทั้งๆที่สองแอพมีเป้าหมายในการใช้งานที่เหมือนกัน แล้วเพราะอะไรละ? ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นถึงแตกต่างกันขนาดนี้

การที่ Product สามารถทำให้ User รู้สึกอยากกลับมาใช้ได้เป็นประจำได้นั้น ต่างมีหลายปัจจัยมากมาย ทั้งเรื่องของการตลาด การออกแบบ หรือการใช้งานง่ายเป็นต้น แต่ว่ามี Concept นึงที่น่าสนใจ และมีถูกพูดถึงมากในขณะนี้จนกลายเป็น Talk of the town ในไทย ณ ตอนนี้ นั่นคือ Gamification นั่นเอง ใช่ครับ Game ที่เรากดเล่นกันนี่แหละ

วันนี้ Designil จะพาเพื่อนนั่งรถไฟเหาะ เข้าไปสู่โลก Gamification โลกที่ทำให้ผู้งานสนุก เพื่อเป้าหมายที่นอกเหนือจากความสนุก ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเลย

ออกแบบให้สนุกและน่าสนใจ

Gamification Fun
This is fun, right?

ก่อนอื่นเราจะมาเข้าใจความหมายของการออกแบบให้สนุกกันก่อน ถ้ามองในมุมการออกแบบ มันไม่ใด้หมายถึงการออกแบบให้สนุกในการใช้งานอย่างเดียว เช่น การใส่ลูกเล่นในแต่ละ Feature หรือ Concept ให้ดูมีความสนุกอย่างที่ App อื่นทำกัน แต่หมายถึง การสร้างประสบการณ์ให้ User ใช้งานได้ง่าย มีประสิทธิภาพ และยังรู้สึกอยากที่จะกลับมาใช้งานต่อไปเรื่อยๆมากกว่า


Gamification คืออะไร?

คือการนำแนวคิดของการเล่นเกมไปใช้ในการออกแบบ Product หรือ Service อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกม โดยมีจุดมุ่งหมายอื่นที่นอกเหนือจากความสนุก

Gamification = The process of adding elements from games to non-game products or services.

หรือถ้าจะมองในมุมจิตวิทยา ก็คือการสร้าง Motivation ให้ทำอะไรสักอย่าง ด้วยการใช้ความสนุกมาล่อนั่นเองครับ


6 องค์ประกอบที่สำคัญของ Gamification

Gamification พื้นฐานควรจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 6 ตัวนี้ คือ

  1. Goal
  2. Rule
  3. Feedback
  4. Rewards
  5. Motivation
  6. Freedom

1. Goal

Goal Gamification
Goal Gamification

การตั้งเป้าหมายให้กับ User จะทำให้พวกเขาเห็นภาพของเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พวกเขาจะมีความรู้สึกอยากที่จะทำให้สำเร็จมากขึ้นเช่นกัน การตั้งเป้าหมายที่ดีควรเริ่มจากสิ่งที่ทำได้ง่ายก่อน และเพิ่มความท้าทายเข้าไปเรื่อยๆ

2. Rule

Rule Gamification
Rule Gamification

เมื่อมีเกมก็ต้องมี “กฎ” ตามมา กฎเหมือนเป็นกรอบข้อบังคับที่ User ต้องทำตาม ซึ่งจะช่วยสร้างความท้าทายในการทำเป้าหมายให้สำเร็จมากขึ้น กฎเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเจออยู่เสมอเป็นประจำ ดังนั้นกฎที่ดีต้องเข้าใจได้ง่ายและทำตามได้ทันที

3. Feedback

Feedback Gamification
Feedback Gamification

คงจะเป็นเรื่องที่แปลกแน่ๆ ที่เราเล่นเกมแล้วไม่รู้ว่าตอนนี้ ตัวละครเรา level เท่าไหร่แล้ว Feedback ก็เช่นกัน ที่จะเป็นตัวช่วยแสดงความคืบหน้าของผลลัพธ์ที่ User ได้สำเร็จไปตาม Goal ที่เราได้ตั้งไว้ ช่วยให้พวกเขารู้ถึงการพัฒนาของตนเองและสร้าง Motivation ภายนอกให้เกิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักแสดงอยู่ในรูปแบบ Progress bar, level, ข้อความยินดี, Animations เป็นต้น

4. Rewards

Rewards  Gamification
Rewards Gamification

หลักการเหมือนกับที่แม่ให้ของเล่นเรา เมื่อเราสอบได้คะแนนดี การให้ Rewards ที่ดีไม่ควรจะยากหรือง่ายเกินไป ถ้ายากเกินไป User จะไม่อยากทำ แต่ถ้าง่ายเกินไป User จะเบื่อได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักแสดงอยู่ในรูปแบบ ถ้วยรางวัล, ลำดับบน Leaderboard, ยอด like

5. Motivation

Gamification
Motivation Gamification

Motivation จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. intrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการภายใน ตัวอย่างเช่น ความอยากรู้อยากเห็น ความภูมิใจ ความกระหายชัยชนะ เป็นต้น
  2. Extrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก ตัวอย่างเช่น เงิน, เกรด, รางวัล เป็นต้น

ถ้ายังไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะยก Case Study มาเพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น

ROV

ROV Gamification
ROV credit

เกมแนว MOBA ที่เมื่อก่อนลูกเล็กเด็กแดงเล่นกันให้ทั่วบ้านทั่วเมือง จนกลายเป็นเทศกาลที่เวลาจะหาเรื่องใคร ก็ต้องบอกว่า “1 – 1 Yorn กะ -กู-ป่าว -าส” ซึ่งถ้ามองมุมมองของ Motivation ของเราที่เกิดขึ้นกับเกมนี้คือ

  1. intrinsic motivation คือ กลิ่นแห่งชัยชนะอันหอมหวาน เวลาที่เราย่ำยีทีมคู่แข่งพร้อมกล่าวอำลาด้วยวลีฮิต “GG EZ bro” ซึ่งจากงานวิจัยบอกว่า ไอ้ความอยากที่ชนะนี่แหละคือ Motivation ที่ส่งผลดีต่อ User มากที่สุดแล้ว
  2. Extrinsic motivation คือ เงิน ประสบการณ์ Badge ต่างๆ ที่ได้หลังจบเกม

6. Freedom

Freedom  Gamification
Freedom Gamification

ตัว Gamification ที่ทำให้ User สนุกอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อ พวกเขามีอิสระที่จะทำตามเป้าหมายหรือกฎที่เราตั้งไว้ โดยไม่ใช่การบังคับหรือหลอก รวมทั้งการให้โอกาสได้ทำ Goal ใหม่อีกครั้งเรื่อยๆ หลังจากที่ User ทำ Goal ไม่สำคัญ เพื่อสร้างอิสระในการลองผิดลองถูกของ User


Case study ตัวอย่างการออกแบบ Gamification

หลังจากที่เพื่อนๆเข้าใจองค์ประกอบ Gamification พื้นฐานไปบ้างแล้ว เราก็จะมาดูตัวอย่างที่ Product จริงๆที่เขานำแนวคิด Gamification มาประยุกต์ใช้กัน

Duolingo

แอปสอนภาษาชื่อดัง มีให้เลือกกว่า 30 ภาษา ที่ใช้ระบบ Gamification เข้ามาช่วยให้เราอยากที่ฝึกภาษาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มีให้โหลดทั้ง Play store และ App store

Duolingo gamification
Duolingo

1. Goal

ระบบ Duolingo จะจัด lesson เหมือนกับการเล่นเกมไต่แรงค์ไปเรื่อยๆ โดยแต่ละ lesson จะมีเป้าหมาย ที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของ User ตัวอย่างเช่น Greetings ที่จะเน้นไปที่ Conversation มากกว่า เพื่อให้ User พัฒนาในส่วนของ Communication ให้ดียิ่งขึ้น

2. Rule

กฎสำหรับ Duolingo คือการฝึกฝนหรือทำ lesson ต่างๆ ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียน ซึ่งมาในรูปแบบเกมที่เข้าใจได้และมีการไล่ระดับความยากขึ้นไปเรื่อยๆ สร้างความตื่นเต้น จนทำให้ User อยากกลับมาเล่นอีกเรื่อยๆ

3. Feedback

หลังจากที่ผ่านการทำ Lesson ต่างๆตามจำนวนที่กำหนดไว้ ทาง Duolingo ก็จะมีการแจ้งเตือนความสำเร็จของเราที่ได้ทำไปเสมอ

4. Rewards

ซึ่งมาพร้อมกับ Gems(คะแนนของ Duolingo) ที่จะให้เพิ่มเติมเป็นรางวัลที่ทำได้ในแต่ละวัน โดยจะมีรางวัลใหญ่ขึ้นไปเมื่อ User ไปถึง Lesson ที่ยากขึ้นไป

5. Motivation

ถ้าเป็น Extrinsic motivation จะเป็น Acheivement, อันดับ หรือ สินค้าที่ซื้อขายกันใน Shop

ส่วน Instrinsic motivation จะเป็น เรื่องของการเรียนต่อ, ใช้ในสื่อสารหรือทำงาน หรือการสอบวัดภาษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ Impact ต่อ User มากกว่า Extrinsic motivation มาก


Game Mechanic มีอะไรบ้าง

Game mechanic คือเครื่องมือที่ใช้ทำให้เกิด Gamification ใน Product ของเรา ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบให้เลือกใช้กัน วันนี้แอดจะมาแนะนำ 4 mechanic ที่ใช้ในส่วน Product ที่เป็น Website และ Mobile จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

สำหรับที่อยากอ่าน Game mechanic อื่นๆ คลิก Gamified นี้เลย

1. Tutorial

Tutorial game mechanic gamification
Tutorial game mechanic

การใส่ระบบการสอนก่อนการใช้งาน จะทำให้ User มือใหม่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และพวกเขาจะกล้าใช้งาน Product มากขึ้นเช่นกัน

2. Leaderboards

image 9
Leaderboards game mechanic

คงไม่มีอะไรจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดีเทียบเท่ากับชัยชนะได้ ความท้าทายที่ได้เห็นผลงาน User อื่นจะทำให้พวกเขาอยากที่จะเป็นผู้นำบนหัวตาราง และตั้งใจทำ Goal ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

3. Badges และ stickers

 Badges และ stickers gamification
Badges และ stickers game mechanic

เป็นการให้รางวัลกับ User เมื่อพวกเขาทำ Goal สำเร็จ ประเภทหนึ่งในรูปแบบ Sticker ซึ่งแน่นอน ไม่มีใครไม่ชอบ Sticker และมันจะช่วย Motivation เพิ่มเติมได้ดีมากขึ้น

4. Points

Points game mechanic gamification
Points game mechanic

แน่นอนถ้าพูดถึงคำว่า เกม ก็ต้องมีคะแนนเสมอ คะแนนถือเป็นตัววัดความสำเร็จของ User ซึ่งนำมาปรับใช้กับ Stakholder ได้ด้วย ทำให้พวกเห็นถึงความสำเร็จและความตั้งใจผ่านคะแนนของกันและกัน สุดท้ายมันจะไป Motivation พวกเขาต่อเอง

Points ไม่ได้อยู่ในรูปของคะแนน ไปซะรูปแบบเดียว ยกตัวอย่าง Youtube ที่จะอยู่ในรูปของ จำนวนคนที่ชมคลิป หรือที่เรียกว่า ยอด View , Facebook ก็จะเป็นยอดไลค์เป็นต้น


สรุปแล้ว Gamification ส่งผลอะไรบ้าง

1. สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่

Experience gamification
Experience

มันจะมีอยู่กฎจิตวิทยานึงที่บอกว่า User จะตัดสินว่า Product ไหนดีไม่ดียังไง โดยอ้างอิงจาก ความรู้สึกที่ peak ที่สุด(ทั้งดีและไม่ดี) บวกกับความรู้สึกในตอนจบ หรือเรียกว่า Peak-end rule

แสดงว่าในกรณีที่เราพัฒนา Product นึงมาเป็นเวลานาน มันจะต้องมีทั้ง Experience ที่ดีและแย่ปะปนกันไป ซึ่งผมเชื่อว่า User ส่วนใหญ่คงไม่ได้จดจำ Experience ทีดีซักเท่าไหร่ ทำให้เมื่อ User ใช้ Product นี้ไปนานๆก็จะเกิด ความคิด Bias ว่า Product นี้มันแย่ลงเรื่อยๆ ดังเช่น คำคม UX ชื่อดัง

The strange thing about UX design is that you won't really notice it if it's good design. You only notice it when it's bad

เมื่อนำ Gamification ที่ดีและเหมาะสมมาใช้จะส่งผลให้ Experience ของ User ไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้พวกเขามอง Product เราไปในทิศทางที่ดีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

2. กระตุ้นให้ User อยากกลับมาใช้อีก

Come back and play gamification
Come back and play

Gamification เป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมให้ User ทำ Goal ที่ต้องการให้ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมแรงขับเคลื่อนจาก ภายในและภายนอก

การวางระบบ Gamification ที่ดีจะทำให้ User เห็น Goal ที่เขายังไม่ได้ทำ หรือทำไม่สำเร็จได้ง่าย จากกฎจิตวิทยา(อีกแล้ว) บอกว่า ผู้คนจะจดจำสิ่งที่ยังไม่เสร็จ มากกว่าสิ่งที่เสร็จไปแล้ว (งานที่ค้างก็เช่นกัน!!!) ดังนั้น การใช้ Gamification จะส่งผลให้ User กลับมาใช้อีกเรื่อยๆนั่นเอง


แต่!!!

หลังจากเพื่อนๆ อ่านมาจนถึง Paragraph นี้ก็คงอยากจะนำ Gamification มาปรับใช้กับตัว Product ของเพื่อนๆแล้ว แต่ช้าก่อน เราจะเห็นว่ามี Product มากมายที่ประสบความสำเร็จจาก Gamification แต่ก็มีหลาย Product มากมายเช่กันที่นำตัว Gamification ไปใช้แล้วไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ต้องการ ด้วยปัจจัยหลายประการเช่น ตัว Product ยังไม่ได้ตอบสนองความต้องพื้นฐาน หรือเรื่องการใช้งานที่ยากเกินไปแล้วพอใส่ Gamification เข้าไปก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก ซึ่งเหตุผลพวกนี้จะส่งผลให้ Product คุณยิ่งแย่ขึ้นไปอีก

สุดท้ายขอจบด้วยประโยค

Gamification will not fix product, technical or usability issues.

Key takeaways

อย่าลืมออกแบบโดยใช้กฏทั้งหมด 6 ข้อนี้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับ Product ของเรา และอย่าลืมเทสบ่อยๆ กับ User ด้วยนะครับเพื่อเข้าใจความต้องการผู้ใช้งานของเราอย่างแท้จริง

  1. Goal
  2. Rule
  3. Feedback
  4. Rewards
  5. Motivation
  6. Freedom

อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

PND777

PND777

จบจากคณะวิศวะคอมพิวเตอร์ สนใจในงาน UX/UI และ Coding มีความฝันว่าอยากจะทำงานบริษัทเกมชื่อดัง
บทความทั้งหมด