RGB, CMYK หลบไป เทคโนโลยีสีใหม่ในหน้าจอดิจิทัลมาแล้ว

Natk

เทคโนโลยีสีแบบใหม่ที่ไม่บาดตาบาดใจคนใช้งาน

การใช้สีนั้นเริ่มตั้งแต่ยุคสื่อสิ่งพิมพ์ในอดีต มาจนถึงปัจจุบันที่เป็นการแสดงผลผ่านหน้าจอ digital ทำให้ดีไซน์เนอร์ที่ย้ายจากงานกราฟิกสิ่งพิมพ์ ที่มาทำงานดิจิทัลจะต้องเข้าใจเรื่องการแสดงผลของสีและระดับของ Contrast ratio (ค่าวัดผลความตัดกันของสีพื้นหลังและสีที่อยู่ด้านบน) และการออกแบบ UI ให้รองรับกับมาตรฐานของ WCAG และ Accessibility

ปัจจุบันนักพัฒนาเว็บไซต์และแอปสมัยใหม่นิยมใช้ CIELCH (โมเดลการคำนวนสีในกลุ่มของ CIELAB) ในการคำนวนค่าสีใน CSS เพื่อช่วยให้ระดับการแสดงผลของสีผ่านมาตรฐาน WCAG (Web Content Accessibility Guidelines) คนอ่านจะได้ไม่เกิดอาการตาล้าและยัง accessible (เข้าถึงได้โดยคนทุกประเภท) ทำให้ดีไซน์เนอร์และนักพัฒนาเว็บไซต์เช่น Developer ไม่ต้องมานั่งเช็คทีละสีเองด้วยเครื่องมือต่างๆ ซึ่งจะช่วยทำให้การทำงานเว็บไซต์นั้นมีความ automate ได้มากยิ่งขึ้น

แต่ข้อเสียที่ตามมาของโมเดลสีแบบใหม่คือ Browser ยอดนิยมที่ใช้งานกันก็ยังไม่รองรับการแสดงผลของตัวการคำนวนสีแบบใหม่ได้ เช่น firefox ยังไม่สามารถใช้งานได้

ข้อดีของโมเดลสีแบบใหม่ที่เกิดมาหลังยุคของ CMYK และ RGB คือมีการคำนวนสีที่มี spectrum ความละเอียดที่เหมาะกับสายตามนุษย์ที่ดีกว่าสียุคเก่าอย่าง HSL, HSB, RGB, CMYK

หากให้เรียงลำดับยุคของสีแบบสรุปง่ายๆ คือ

สีในยุคเก่า

  • CMYK (1906)
  • RGB (1938)
  • HSL & HSV & HSB (1970)

สีโมเดลแบบใหม่

เป็นสีที่เพิ่งเริ่มนิยมใช้งานกัน แต่ยังไม่รองรับใน browser แต่เป็นสีที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ใน lighting condition ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่มืด ที่สว่าง เหมือนกับ surface จริงที่เราเห็นในสายตาจริง โดยใช้คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์คำนวนออกมา ค่อนข้างมีความ accuracy ที่ดีที่สุด และมีความแตกต่างจากโมเดลชุดด้านบนที่เราเขียนไป

  • CIELAB – เป็นเบสของตัว LCH เรียกสั้นๆว่า LAB (มาในปี 1976)
  • CIELCH – พัฒนามาจาก LAB (มาในปี 1976)
  • CIECAM02 – ตัวล่าสุด (มาในปี 2002)

เครื่องมือช่วยออกแบบสี

เครื่องมือช่วยคำนวนสำหรับการทำ Design system และการออกแบบ UI ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน คือ


อ้างอิงจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/CIELAB_color_space

example of code
example of code

ตัวอย่างบน Codepen ในการคำนวนสี theming ด้วย oklch เพื่อให้สีผ่านระบบ contrast ได้อัตโนมัติ ตั้งแต่เส้นขอบ, สีพื้นหลัง, สีตัวหนังสือ ไม่ต้องมานั่งเช็คด้วยมืออีกต่อไป

ถ้า browser รองรับตัวสีนี้เมื่อไร ต่อไปการทำ design system น่าจะ automated ได้อีกเยอะมากเลย

รองรับแค่บาง browser ในปัจจุบัน
ดูตัวอย่างโค้ด
https://codepen.io/jh3y/pen/rNbmBrE

อธิบายตัววิธีใช้ Leonado ที่เล่าทั้งหมดนี้แบบวิดีโอ
https://www.youtube.com/watch?v=YESCU-jznXA


บทความที่เกี่ยวข้อง

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย | ประสบการณ์ทำงาน 11 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด