รีวิว 6 เว็บขายงานออกแบบสำหรับสายนักวาด ละเอียดยิบ!
ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา งานวาดและออกแบบก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว วันนี้เราจะมารีวิว 6 เว็บไซต์ที่นักวาดควรคลังตามหางานออกแบบที่น่าสนใจ จากทั่วโลกให้เพื่อนๆ ชาว Designil ได้รู้จักกันครับ
งานทางด้านการออกแบบเป็นสิ่งที่ยังสร้างรายได้สม่ำเสมอสำหรับนักออกแบบได้อยู่นะครับ แต่ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการปั้นแบรนด์กันสักพักใหญ่ๆ แต่ถ้าจับตลาดถูก คิดว่าจะสร้างรายได้ไม่ได้ยากเลยครับ
มาเริ่มกันเลย
วิธีการขายงานบนเว็บขายงานออกแบบออนไลน์
1. รู้ให้แน่ชัดก่อน ว่าจะขายงานออกแบบประเภทไหน
จริงๆ ประเภทของงานออกแบบสำหรับจำหน่ายออนไลน์มีมากมายเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง กราฟิก เทมเพลต ฟอนต์ ธีม หรือว่าปั้นแบรนด์ของตัวเอง เราลองยกตัวอย่างมาให้ดูกันว่าจะมีไฟล์ประเภทไหนบ้าง
ตัวอย่างประเภทของไฟล์ออกแบบที่ขายออนไลน์
- รูปภาพ
- กราฟิก vector
- กราฟิก psd
- เทมเพลต
- เสียง
- โค้ด
- ธีม เทมเพลตแล้วแต่แพลตฟอร์ม
- ฟุตเทจวิดีโอ
- อื่นๆ
2. จดชื่อทะเบียนบริษัท
เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน Paypal ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ “บุคคล” สมัครบัญชีสำหรับการรับเงินแล้ว ดังนั้นเพื่อนๆ ที่ต้องการรับเงินผ่านระบบของ Paypal อาจจะต้องเปิดบริษัทเป็นในนามนิติบุคคล เพื่อสมัครบัญชีของ Paypal และเสียภาษีให้ถูกต้อง
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเราจะใช้บัญชีไหนในการรับเงินบ้าง และเว็บไซต์ที่เราใช้งาน สั่งจ่ายเงินในช่องทางใดบ้าง เรามีข้อมูลมาให้ทุกท่านแล้วด้านล่างนี้เลย
นั่นหมายความว่าเราที่เป็นผู้ซื้อจะต้องสมัครใช้บริการการรับเงินช่องทางด้านล่างนี้เพื่อทำการรับเงินจากการขายไฟล์ของเราครับ
ชื่อเว็บไซต์ | รับเงินผ่านช่องทาง |
---|---|
Envato | PayPal, Payoneer |
Creative market | PayPal, Bank Transfer |
Shutterstock | PayPal, Payoneer |
Fiverr | PayPal, Payoneer, Bank Transfer |
Canva | PayPal, Payoneer, Bank Transfer |
Adobe stock | PayPal, Payoneer |
และถ้าใครยังคิดชื่อบริษัทหรือชื่อแบรนด์ไม่ออก ลองอ่านบทความนี้ได้เลย
10 เว็บไซต์ช่วยตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้าน คิดไม่ออกเรามีตัวช่วย
3. เลือกช่องทางการจำหน่าย
การเลือกเว็บขายงานออกแบบหรือช่องทางการจำหน่ายก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราสร้างรายได้มากมาย เพราะว่าแต่ละเว็บไซต์มีค่าดำเนินการที่แตกต่างกัน หรือที่เรียกกันว่า Commission fees หมายถึง ทางตัวแพลตฟอร์มจะทำการหักเงินของเราไว้ส่วนหนึ่งหลังจากการขาย เรียกง่ายๆ ว่า เป็นค่าเช่าที่สำหรับวางสินค้า
โดยค่า Commission fees ของเราจะลดลงไปเรื่อยๆ หากเราจำหน่ายไฟล์ในระยะเวลานานขึ้น และได้รายได้จากทางเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งขายนาน ก็ยิ่งได้ส่วนแบ่งมากยิ่งขึ้น
4. กำหนดราคาให้ถูกต้อง
การกำหนดราคาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจำหน่ายงานของเรา คำแนะนำของเราก็คือ
- สำรวจตลาด ในกลุ่มไฟล์ประเภทเดียวกันกับเรา
- ดูว่าเว็บไซต์อนุญาตให้เราสามารถตั้งราคาได้เองหรือไม่ หากไม่ได้ เราก็ไม่ต้องสนใจตรงส่วนนี้
- วางราคาให้ใกล้เคียงกับไฟล์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับเรา
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราตั้งราคาถูกเกินไปก็จะไม่คุ้มกับตัวเราเองด้วยนะครับ
5. ทำการตลาด และโปรโมตผ่านหลากหลายช่องทาง
การวางขายไฟล์ digital products บนเว็บขายงานออกแบบต้องใช้ระยะเวลากว่าจะสร้างรายได้สม่ำเสมอได้อย่างต่อเนื่อง และหากจำหน่ายไฟล์ด้วยตนเองแบบตั้งราคาเองได้ ก็ต้องอย่าลืมโปรโมตงานของเราผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Social media เพื่อเพิ่มยอดการรับชม และสร้างฐานกลุ่มลูกค้าของเราได้ด้วยตนเองด้วย
6. การสมัครเป็นผู้ขาย ต้องทำข้อสอบทุกครั้ง
เพื่อเป็นการยืนยันตัวตน และผลงาน เว็บไซต์จะมีขั้นตอนในการสมัครสมาชิกก่อนการจำหน่ายมาให้เรา ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ดังนั้นลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ เพื่อเตรียมไฟล์สำหรับทำข้อสอบก่อนเริ่มต้นขายได้เลย
หลังจากเราเรียนรู้วิธีการทำการขายแล้ว มาดูกันเลยครับว่าเว็บไซต์จำหน่ายงานที่น่าสนใจและให้ค่า commission สูงๆ บ้าง
รีวิว 5 เว็บไซต์สำหรับขายงานออกแบบ งานวาด ออนไลน์
1. Envato
Envato คือเว็บไซต์ที่นักออกแบบสามารถขายงานสร้างสรรค์ของตัวเอง รวมถึงยังเป็นแหล่งค้นหางานวาด และกราฟิกดีไซน์ที่หลากหลาย นักวาดสามารถนำงานของตัวเองไปขาย และหาไอเดียใหม่ๆ จากผู้คนทั่วโลก คุณภาพของงานที่เสนอขายใน Envato ถือว่าสูง และมีผู้ใช้จำนวนมาก
Envato Market
ThemeForest, CodeCanyon, VideoHive, AudioJungle & GraphicRiver จำหน่ายเทมเพลต ธีม กราฟิก ไฟล์เสียงคุณภาพเยี่ยมในราคาที่เราเลือกได้เอง
2. Creative market
Creative Market เป็นเว็บไซต์ที่นักวาดและนักออกแบบสามารถขายงานสร้างสรรค์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นงานวาด ไอคอน ฟอนต์ และอื่นๆ ที่นำไปใช้ในงานต่างๆ นักวาดสามารถสร้างรายได้จากขายงานของตัวเอง และค้นหาไอเดียใหม่ๆ จากผู้คนทั่วโลก
เป็นเว็บขายงานออกแบบที่มีคุณภาพของงานดีไซน์สูงมากกก มีแต่ดีไซน์เนอร์เจ๋งๆ มารวมตัวกัน
คำแนะนำจาก Designil คือ ถ้าเกิดคุณมีพื้นฐานทางด้านการออกแบบน้อย เว็บไซต์นี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับคุณนะครับ เพราะคุณภาพของงานในเว็บไซต์นี้นั้นสูงมากๆ
Creative Market จำหน่ายกราฟิกและบรัชคุณภาพเยี่ยม
จำหน่ายไฟล์ Graphic, บรัช Procreate, เทมเพลต Goodnotes, เทมเพลต Presentation, กราฟิกสำหรับทำโลโก้ ฯลฯ
3. Shutterstock
ShutterStock อาจจะเป็นที่รู้จักในฐานะเว็บไซต์ขายภาพถ่าย แต่ก็มีส่วนสำหรับนักออกแบบกราฟิกดีไซน์ และนักวาดเช่นกัน นักวาดสามารถนำงานวาดของตัวเองขึ้น ShutterStock เพื่อขายให้กับผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ ShutterStock ยังเปิดโอกาสให้นักวาดสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านระบบสิทธิ์ลิขสิทธิ์แบบรายเดือนหรือรายปี
Shutter Stock
จำหน่ายไฟล์กราฟิก ไอค่อน เสียง และภาพ assets จำนวนมาก มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
4. Fiverr
Fiverr เป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอบริการที่หลากหลาย และนักวาดก็เป็นหนึ่งในนั้น สามารถนำงานวาดของตัวเองขึ้น Fiverr เพื่อขายให้กับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นงานวาดแฟนอาร์ต ประมวลผลรูปภาพ หรือออกแบบโลโก้ นักวาดสามารถตั้งราคาเอง และควบคุมความสามารถในการรับงานได้ด้วยตนเอง
Fiverr
เว็บไซต์สำหรับเปิด gigs บริการเพื่อรับจ้างวาดภาพ custom ให้กับลูกค้าหรือบริการอื่นๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้จ้าง ลองดูข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ได้เลย
5. Canva
Canva อาจจะเป็นที่รู้จักในฐานะเว็บไซต์สำหรับสร้างภาพกราฟิก และออกแบบง่ายๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญในด้านกราฟิกดีไซน์ แต่ Canva ยังเปิดโอกาสให้นักวาดและนักออกแบบนำงานของตัวเองขึ้นเพื่อขายใน Canva Marketplace
10 รีวิว Canva Pro ราคาและฟีเจอร์แบบละเอียดจากดีไซน์เนอร์
ในการสร้างผลงานกับ Canva จะมีทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกันนะครับ นั่นก็คือ
1. Canva contributor คือนักออกแบบที่สร้างเทมเพลตการออกแบบสำหรับแพลตฟอร์ม ผู้ใช้ Canva สามารถใช้เทมเพลตเหล่านี้เพื่อสร้างงานออกแบบของตนเองได้ เทมเพลตก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นเทมเพลตกราฟิก หรือว่า Presentation, เทมเพลตสำหรับงานพิมพ์ต่างๆ
2. Canva creator เหมาะสำหรับช่างภาพ นักวาดภาพประกอบ ผู้สร้างงานกราฟิก หรือศิลปินที่ส่งเนื้อหาสำหรับการทำสื่อ เช่น ภาพสต็อก ภาพประกอบ หรือองค์ประกอบกราฟิกอื่นๆ ให้กับคลัง Canva โดยผู้ใช้ Canva สามารถใช้เนื้อหาเหล่านี้เพื่อไปใส่ในงานออกแบบของตนเองได้
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านข้อมูลของการสมัครเข้าร่วมโปรแกรมได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยครับ
Canva
เว็บไซต์และแอปช่วยทำกราฟิก พรีเซนเทชั่น เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีความถนัดด้านการออกแบบ มาพร้อมกับเทมเพลตและกราฟิกมากกว่าหลายแสนแบบ
6. Adobe stock
Adobe Stock เป็นเว็บไซต์ที่จำหน่ายภาพถ่าย, วิดีโอ, เทมเพลต, เวกเตอร์, และงานกราฟิกดีไซน์คุณภาพสูง นักวาดและนักออกแบบกราฟิกสามารถจำหน่ายผลงานตัวเองขึ้น Adobe Stock เพื่อขายให้กับลูกค้าที่สนใจ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าของ Adobe ที่กว้างขวาง ที่มีมีประสบการณ์ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Adobe เช่น Photoshop, Illustrator, และ InDesign อีกด้วย
ข้อดีของ Adobe Stock คือมีความเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชัน Adobe Creative Cloud ทำให้ผู้ซื้อสามารถค้นหา และนำเสนองานออกแบบของคุณได้โดยตรงจากแอปพลิเคชันที่ใช้งาน การขายงานวาดและออกแบบบน Adobe Stock ยังเปิดโอกาสให้นักวาดสามารถสร้างรายได้ระยะยาวผ่านระบบสิทธิ์ลิขสิทธิ์แบบรายเดือนหรือรายปีอีกด้วย
นอกจากนี้ Adobe Stock ยังมีโปรแกรม Adobe Stock Contributor ที่ช่วยให้นักวาดสามารถสร้างโปรไฟล์ของตัวเอง และแชร์งานออกแบบของตัวเองให้กับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงผลงานของคุณ ทำให้เพิ่มโอกาสในการซื้องานของคุณได้อย่างง่ายดาย เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ที่จำหน่ายกราฟิกอื่นๆ
มีข่าววงในหลายๆ ที่บอกกันว่า Adobe Stock ให้ค่า commission ที่สูงมากๆ เมื่อเทียบกับ Platform อื่นเลยครับ รวมไปถึงคู่แข่งยังน้อยกว่าบางแพลตฟอร์มอีกด้วย ทำให้งานของเราค่อนข้างมีช่องทางในการเข้าถึงผู้ซื้อมากกว่า
ส่วนลด Adobe Creative Cloud ลดราคา 20 – 70% แห่งปี
Adobe Stock
ระบบสต๊อกรูปภาพ กราฟิก เทมเพลตและอื่นๆ สำหรับดีไซน์เนอร์ ใช้งานง่ายมาก ผู้ที่มีบัญชีของ Adobe จะสามารถเข้าถึงบริการของ Adobe stock และซื้อ assets ได้ในเพียงไม่กี่คลิ๊ก
เปรียบเทียบ Commission fees ของแต่ละแพลตฟอร์ม
ชื่อเว็บไซต์ | การถูกหักค่าใช้จ่าย | รับเงินผ่านช่องทาง |
---|---|---|
Envato | ผู้ขายใหม่ โดนหัก 55% ผู้ขายเก่า โดนหัก 12.5% – 37.5% | PayPal, Payoneer |
Creative market | 30% – 70% (Standard) | PayPal, Bank Transfer |
Shutterstock | 20% – 30% | PayPal, Payoneer |
Fiverr | 20% | PayPal, Payoneer, Bank Transfer |
Canva | 35% – 50% | PayPal, Payoneer, Bank Transfer |
Adobe stock | 33% (Images/Vectors) 35% (Videos) | PayPal, Payoneer |
หมายเหตุ: กรุณาตรวจสอบเรื่องการโดนหักค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านทางเว็บไซต์อีกครั้ง อันนี้เป็นค่าธรรมเนียมที่เราได้ข้อมูลจากวันที่เขียนบทความล่าสุดครับ
คำถามที่มีคนถามบ่อย
ขายงานวาดออนไลน์ เว็บไหนดีที่สุด?
อย่างที่เราเปรียบเทียบให้ดูเลยนะครับ แต่ละเว็บไซต์จะมีจุดเด่นและราคาค่า commission fees ที่แตกต่างกัน ดังนั้นอยากให้ทุกคนเลือกเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับงานของเรา รวมไปถึงกลุ่มของลูกค้าด้วยครับ
ขั้นตอนการสมัครเว็บขายภาพออนไลน์ยากมั้ย?
ขั้นตอนของแต่ละเว็บไซต์มีการสมัครที่แตกต่างกัน ความยากจะขึ้นอยู่กับประเภทของงานของเราด้วย ดังนั้นสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์เลยครับ
เว็บขายงานออกแบบทั้ง 6 รายการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้นักวาดสามารถสร้างรายได้จากงานวาดของตัวเอง แต่ยังเปิดโอกาสให้พัฒนาทักษะและเสริมประสบการณ์ด้านการวาดรูป การออกแบบและการตลาด นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักวาดเชื่อมต่อกับลูกค้า และนักออกแบบคนอื่นๆ จากทั่วโลก ทำให้สามารถสร้างคอนเนคชั่นได้ดีเยี่ยมในวงการนี้เลยครับ เพราะหลายๆ คนก็ได้งานฟรีแลนซ์จากทั่วโลกจากช่องทางการขายกราฟิกออนไลน์เลยครับ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นการรีวิวของเรา ที่ได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลทั้งเรื่องของ Commission มาฝากทุกคนแบบละเอียดเพื่อเป็นการเปรียบเทียบก่อนการขาย
ถ้าใครสร้างรายได้จำนวนมากได้แล้ว อย่าลืมกลับมาสนับสนุน Designil กันด้วยนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าคร้าบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 10 รีวิว Canva Pro ราคาและฟีเจอร์แบบละเอียดจากดีไซน์เนอร์
- ส่วนลด Adobe Creative Cloud ลดราคา 20 – 70% แห่งปี
- เจาะลึก 14 โปรแกรม Adobe creative cloud คุ้มไม่คุ้มมาดูกัน
- รีวิว Envato elements เว็บโหลดกราฟิกรายเดือนที่คุ้มที่สุด
- 11 ไอเดียธุรกิจ Canva สร้างรายได้ง่าย ๆ ด้วยมือถือ
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา