10 อันดับอาชีพ IT เงินเดือนสูงที่ย้ายประเทศง่าย
สวัสดีค่าเพื่อนๆ ชาว Designil ทุกท่าน วันนี้แอดมินและทีมงาน Designil จะมาเขียนจัดอันดับอาชีพ IT ที่เงินเดือนสูงมาก ๆ ถ้าทำงานในประเทศไทยก็เงินเดือนดี ทำงานต่างประเทศก็เงินเดือนเริ่ด
แถมอันดับอาชีพที่จะแนะนำในวันนี้นี้ยังเป็นอาชีพที่เปิดโอกาสให้เราสามารถสมัครงานข้ามประเทศได้ผ่านเว็บไซต์และระบบออนไลน์ ช่วยให้เราโยกย้ายไปต่างประเทศได้ จริง ๆ แล้วสกิลด้าน IT บางประเภทเป็นสกิลเฉพาะทาง เราสามารถใช้ทักษะความรู้ในการทำงานเหมือนกันทั่วโลกโดยไม่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพใหม่ ซึ่งแตกต่างจากสายงานทางการแพทย์และวิชาชีพอื่น
เรียกว่าเนื้อหานี้จะมีความเฉพาะเจาะลึกโดยตรงสำหรับคนที่สนใจอยากย้ายสายงานไปทำอาชีพอะไรใหม่ๆ
มาติดตามกันเลยว่าจะมีอันดับอาชีพอะไรที่น่าสนใจบ้าง
10 อาชีพ IT ที่เงินเดือนสูง
1. Cloud specialization
Cloud engineer (วิศวกรระบบคลาวด์) เชี่ยวชาญในการสร้าง ทดสอบ และใช้งานแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในบริษัทหรือองค์กร พวกเขาคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่รับผิดชอบการวางแผน การออกแบบ การจัดการ การบำรุงรักษา และการสนับสนุนแอปพลิเคชันคลาวด์คอมพิวติ้ง โดยใช้ทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมและความเข้าใจข้อแตกต่างของระบบ cloud ในแต่ละบริษัทต่างๆ
วิศวกรระบบคลาวด์จะประเมินแอปพลิเคชันรุ่นเก่าและกำหนดความสามารถในการย้ายหรือถ่ายโอนไปยังบริการระบบคลาวด์ พวกเขาออกแบบ ใช้งาน และจัดการระบบบนคลาวด์สำหรับธุรกิจ และเมื่อพวกเขาเหมาะสม พวกเขาจะช่วยแก้ไขจุดบกพร่องของคลาวด์สแต็ค พวกเขาทำงานร่วมกับทีมวิศวกรรมและทีมพัฒนาเพื่อประเมินและระบุโซลูชันที่เหมาะสมที่สุด และเพื่อให้ความรู้แก่ทีมเกี่ยวกับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์
นอกจากนี้ยังมีอาชีพที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เกี่ยวกับทางด้าน cloud อีกมากมาย เช่นอาชีพ Cloud analyst ที่จะคอยประเมิน และควบคุม Budget ค่าใช้จ่ายของบริษัทในการใช้งานระบบ cloud ขององค์กร เป็นต้น
สกิลหลักที่ต้องการคือ
- ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม Programming languages เช่น Java, JavaScript และ Python.
- ความรู้ด้านดาต้าเบสและการเขียนโปรแกรม เช่น SQL, NoSQL หรือ Linux ก็เป็นอะไรที่ดีเหมือนกันครับ
- ความรู้ด้าน AI และ machine learning. เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้ รวมไปถึงทำงานร่วมกันกับ Data จำนวนมาก เพื่อเอาไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ สำหรับการตัดสินใจในธุรกิจเพิ่มได้อีก
- เข้าใจและมีประสบการณ์ทำงานกับเทคโนโลยี cloud ของบริษัทต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมไม่ว่าจะเป็น AWS, Google, Microsoft หรือ Oracle
ในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้าน Cloud ก็มีจำนวนมากเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น
- Cloud administrator
- Cloud support engineer
- Cloud security analyst
- Cloud network engineer
- Cloud software engineer
- Cloud automation engineer
- Cloud engineer
- Cloud consultant
- Cloud data scientist
- Cloud architect
จริงๆ แล้วการคาดการณ์ของอาชีพนี้ก็ยังเป็นที่น่าจับตามองในระยะยาวเลยนะครับ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้เลย รวมอาชีพในอนาคต เรียนอะไรดี ทักษะไหนจะไม่ตกงาน
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
Coursera เว็บไซต์รวมคอร์สสอนออนไลน์เนื้อหาระดับโลก เรียนแบบเริ่มต้นฟรี
สายชอบเรียนเก็บ Certificate ห้ามพลาด เรียนฟรีแบบเริ่มต้น เสียเงินหากต้องการใบประกาศณียบัตร
คอร์สเรียนมากกว่า 3000+ วิชา จากผู้สอนระดับโลก
2. IT Support Specialist
อาชีพ IT Support คือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค จะต้องใช้ทักษะทางด้านการจัดการ ความรู้ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับทั้ง Hardware และ Software เพื่อดูแลและบำรุงรักษาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์
ทักษะที่เฉพาะด้านเหล่านี้ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท เนื่องจากช่วยในการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคเกี่ยวกับลูกค้าหรือโครงสร้างพื้นฐานซอฟต์แวร์ของภายในบริษัท รวมไปถึงต้องมีทักษะทางด้านการสื่อสารที่ดี เพราะว่าต้องประสานงานกับลูกค้าหรือคนในองค์กรอยู่ตลอดเวลา
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
Udemy คอร์สเรียนออนไลน์
– รวมคอร์สเรียนออนไลน์เริ่มต้นที่ 349 บาท ซื้อขาด ในราคาประหยัด
– ซื้อแบบ subscription เพียงเดือนละ 450 บาท เพื่อเรียนได้ 8,000+ หลักสูตร
ดูรีวิวคอร์สเรียนจากเรา มีคอร์สน่าสนใจเพียบ Education
3. UI, UX, Product designer
เป็นอาชีพ IT ที่มาแรงในประเทศไทย และอีกหลายๆ ประเทศ และเป็นอาชีพที่จะใช้ทักษะทางด้านการสื่อสาร การคุยงาน การทำ Research และการออกแบบมาเกี่ยวข้องนะครับ
ในการพัฒนา Product ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปเองจะมีต้องคนที่จะช่วยออกแบบ คอยทำ Research ค้นหาความต้องการผู้ใช้งาน ปัญหาของผู้ใช้ รวบรวมข้อมูลมาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน เพื่อนำเอาไปออกแบบ Digital product ให้แก้ปัญหาได้จริง โดยขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาและการรีเซิร์ชจะช่วยทำให้องค์กรใหญ่ๆ ลดความเสี่ยงในการเปิดธุรกิจใหม่ๆ ว่าทำมาแล้วจะไม่เสียแรงเปล่านั่นเองครับ
ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่มีการจ้างดีไซน์เนอร์ในการออกแบบแยกออกไปแต่ละทีม แต่ละฟีเจอร์จำนวนมาก ทำให้อาชีพนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดและยังเติบโตได้ดีเลยครับ
ในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน UI UX
- User interface designer
- User experience designer
- Product designer
- Design system designer
- UI/UX designer
- Visual designer
- Brand designer
- UX writer
แต่ถ้าถามเรื่องอัตราการเติบโตของเงินเดือนและอัตราการโยกย้ายประเทศ อาชีพทางด้าน Engineer จะมีความต้องการของตลาดที่สูงกว่าอาชีพทางด้านการออกแบบครับ
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
- สำหรับผู้เริ่มต้นทางด้าน User interface มาเรียนกับ Designil ได้ทางนี้เลยครับ https://online.designil.com
4. Data Engineer
ในยุคที่ Data เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็เลยมีอาชีพ IT เกิดใหม่ทางด้าน Data มามากมายเลยนะครับ และหนึ่งในนั้นคืออาชีพ Data Engineer ที่เติบโตมาจากสาย Software engineer แต่มีทักษะเฉพาะที่จะเข้ามาดูแลเรื่องของการจัดการข้อมูลจำนวนมากโดยเฉพาะ
เราลองนึกภาพว่าถ้าข้อมูลมีจำนวนมากระดับล้านล้านแถว เราจะทำยังไงให้ข้อมูลนั้นสามารถนำมาใช้งานทางด้านธุรกิจได้อย่างง่ายดายที่สุด คำตอบก็คือเราจะต้องเขียนโปรแกรมออกมาใช้งานนั่นเองครับ และคนๆ นั้นที่จะเข้ามาทำงานก็คืออาชีพที่เรียกว่า Data engineer (วิศวกรข้อมูล) นั่นเอง
ทำให้อาชีพ Data engineer (วิศวกรข้อมูล) เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นตำแหน่งที่ต้องการในทุกบริษัทเลยทีเดียวครับ
คู่มือเปลี่ยนอาชีพ: Analytics Engineer คือใคร ต้องเรียนพื้นฐานอะไรบ้าง
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
- Road to data engineer ภาษาไทย สอนโดยคนไทย เปิดมานาน 4 ปี ปรับปรุงเนื้อหาใหม่ทุกปี เพื่อให้ตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จากผู้สอนที่ทำงานในบริษัทชั้นนำชื่อดังระดับโลก
5. Data Analyst
Data Analyst (นักวิเคราะห์ข้อมูล) ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อที่จะแบ่งปันเรื่องราว ข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ และมีผู้ที่สามารถนำไปใช้และส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงธุรกิจ
เป็นอาชีพที่จะทำงานใกล้ชิดกับทีม Business เพราะต้องเป็นคนที่ดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ผลไปเพื่อใช้ต่อในการทำงานทางด้านบริหาร ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือเป็นคนที่คอยดู Insights จากข้อมูล และนำมาสร้างต่อเป็น Report ซึ่งมักจะถูกสร้างออกมาในรูปแบบที่คนในฝ่ายบริหารเข้าใจได้ง่ายครับ นั่นคือ Report หรือ Dashboard
สรุปก็คือ Data Analyst เน้นการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหา Insights มาสร้าง Report และ Dashboard เพื่อให้ธุรกิจตัดสินใจได้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท E-Commerce จ้าง Data Analyst มาเพื่อวิเคราะห์ว่าสินค้าไหนขายดีในช่วงไหน เพื่อให้การทำโปรโมชั่นแม่นยำมากขึ้น
คู่มือเปลี่ยนอาชีพ: Data Analyst คือใคร ต้องเรียนพื้นฐานอะไรบ้าง
6. Data scientist
Data Scientist (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล) ทำหน้าที่สร้างโมเดล Machine Learning ที่แก้ปัญหาหาแนวโน้มหรือการทำนายอนาคต โดยเน้นการออกแบบและสร้างโมเดลจากความรู้ด้านสถิติ เพื่อให้ความแม่นยำสูง
ผู้คิดค้นโมเดลการคำนวนไม่ว่าจะเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์หรือทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูล ให้นำข้อมูลจำนวนมากนั้นนำมาใช้งานทางด้านธุรกิจได้ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้จากข้อมูลที่มีอยู่ หรือจะการทำนายทางด้านข้อมูล
เป็นอาชีพที่ต้องจะต้องมีทักษะหลากหลายด้านผสมผสานกัน
คู่มือเปลี่ยนอาชีพ: Data Scientist คือใคร ต้องเรียนพื้นฐานอะไรบ้าง
7. AI/ML/Dev-Ops Engineer
AI/ML Engineer (วิศวกร AI/ML) ทำหน้าที่ออกแบบ และสร้างระบบที่สามารถรันได้โดยอัตโนมัติ โดยมีข้อมูลและโมเดล Machine Learning เป็นส่วนประกอบเพื่อให้ใช้คนในการกำกับดูแลน้อยที่สุด เป็นเหตุผลว่าทำไมสกิลด้านวิศวกรซอร์ฟแวร์ (Software engineer) ถึงมีความสำคัญมากสำหรับ ML Engineer
ใช้ความรู้หลักด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม ผสมผสานกับสถิติ และคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลและตัดสินใจได้เอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน
วิศวกร AI/ML สามารถทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมบริษัทเทคโนโลยี การเงิน การดูแลสุขภาพ การผลิต และค้าปลีก เพราะในปัจจุบันทุกธุรกิจเริ่มจะจ้าง ML Engineer มาเพื่อพัฒนาระบบของตนเองจากข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก เป็นตำแหน่งที่จะช่วยให้ธุรกิจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัดสินใจได้ดีขึ้น และให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น
หน้าที่งานของ AI/ML Engineer นั้นหลากหลายและท้าทาย ได้แก่:
- ออกแบบและสร้างระบบ AI/ML
- เทรนระบบ AI/ML โดยใช้ชุดข้อมูลจำนวนมาก
- ประเมินประสิทธิภาพของระบบ AI/ML
- แก้ไขปัญหาและปรับปรุงระบบ AI/ML
- ทำงานร่วมกับทีมอื่น ๆ เช่น Data engineer, Data scientist, Business, Software engineer
เรียกว่าเป็นอาชีพ IT ที่ต้องใช้ทักษะที่ผสมผสานกันหลากหลายด้าน ทำให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ค่าตัวสูงสุดๆ ไปเลยครับ
ชื่ออาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น Machine Learning Scientist
คู่มือเปลี่ยนอาชีพ: Machine Learning Engineer คือใคร ต้องเรียนพื้นฐานอะไรบ้าง
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
- DataTH สอนภาษาไทย กำลังจะมีเปิดสอนทางด้าน ML Engineer เร็วๆ นี้
8. Software Engineer
พื้นฐานของทุกอาชีพ ทักษะที่ทุกคนจะต้องมี ก่อนเริ่มต้นไปต่อที่สายอาชีพอื่นนะครับ
Software engineer (วิศวกรซอฟต์แวร์) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ อาชีพนี้มักทำงานร่วมกับนักออกแบบ (UI UX Designer) โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่หรือปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่มีอยู่
วิศวกรซอฟต์แวร์มีทักษะและความรู้หลายด้านที่จำเป็นในการทำงาน ทักษะที่สำคัญที่สุด ได้แก่
- ภาษาโปรแกรม: วิศวกรซอฟต์แวร์ต้องเชี่ยวชาญในภาษาโปรแกรมอย่างน้อยหนึ่งภาษา เช่น Java, Python, C++, C#, JavaScript ฯลฯ
- การออกแบบซอฟต์แวร์: วิศวกรซอฟต์แวร์ต้องสามารถออกแบบซอฟต์แวร์ใหม่หรือปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ได้
- การวิเคราะห์และแก้ปัญหา: วิศวกรซอฟต์แวร์ต้องสามารถวิเคราะห์และแก้ไขข้อผิดพลาดในซอฟต์แวร์ได้
- การทำงานเป็นทีม: วิศวกรซอฟต์แวร์ต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิศวกรซอฟต์แวร์มีอาชีพที่หลากหลาย พวกเขาสามารถทำงานในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก หรือบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ พวกเขายังสามารถทำงานเป็นฟรีแลนซ์หรือเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง
วิศวกรซอฟต์แวร์เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงและได้รับค่าตอบแทนสูง ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้จะต้องสะสมประสบการณ์หลากหลายปี เพื่อให้ตัวเองมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั่นเองครับ เพราะอย่างที่เกริ่นไปตอนต้นคือเป็นพื้นฐานก่อนที่จะต่อและพัฒนาไปยังสายอาชีพอื่นๆ นั่นเองครับ และยังคงเป็นอาชีพที่ได้รับความต้องการสูงทั่วโลกอยู่ตลอด
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
Coursera เว็บไซต์รวมคอร์สสอนออนไลน์เนื้อหาระดับโลก เรียนแบบเริ่มต้นฟรี
สายชอบเรียนเก็บ Certificate ห้ามพลาด เรียนฟรีแบบเริ่มต้น เสียเงินหากต้องการใบประกาศณียบัตร
คอร์สเรียนมากกว่า 3000+ วิชา จากผู้สอนระดับโลก
9. Cybersecurity Analyst and Engineer
เรากำลังอยู่ในยุคที่โดนหลอกลวงและโดนโจมตีทางออนไลน์มากมายทั่วโลก ทำให้เกิดมีอาชีพใหม่ๆ มาที่ทำงานเกี่ยวกับผู้รักษาความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์โดยเฉพาะ เป็นตำแหน่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในสองปีที่ผ่านมาจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยุคที่เรามี AI เข้ามา ทำให้การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คนที่คอยรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ก็ต้องอัปเดตความรู้เพื่อมาช่วยองค์กรในการจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้นั่นเองครับ
วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity engineer) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ที่รับผิดชอบในการออกแบบ พัฒนา และรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ พวกเขาทำงานเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การโจมตีของมัลแวร์ การแฮ็ก และการโจมตีแบบฟิชชิ่ง
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำจาก Coursera ✅
- Google Cybersecurity Professional Certificate
- IBM Cybersecurity Analyst
- Foundations of Cybersecurity จาก Google
10. Software QA and testers
ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software QA) หรือที่รู้จักกันในชื่อผู้ทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและความต้องการของลูกค้า ผู้เชี่ยวชาญด้าน QA จะทำงานร่วมกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software engineer) เพื่อชี้ปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องในซอฟต์แวร์
ผู้เชี่ยวชาญด้าน QA ต้องมีทักษะและความรู้หลายด้านที่จำเป็นในการทำงาน ทักษะที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม, การพูดคุยสื่อสาร, ความละเอียดในการทำงาน เพื่อชี้จุดบกพร่องของปัญหาในการทำงานได้
ผู้เชี่ยวชาญด้าน QA มีอาชีพที่หลากหลาย เพราะจะต้องมีความถนัดเฉพาะด้านในแต่ละ Product ในแต่ละองค์กร เช่น คนที่เชี่ยวชาญทางด้านระบบของธนาคาร ต้องตรวจสอบความผิดพลาดก่อนนำระบบไปใช้งานจริงในการโอนเงินจำนวนมากระดับประเทศ
ตำแหน่งหน้าที่นี้สามารถทำงานในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก หรือบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ พวกเขายังสามารถทำงานเป็นฟรีแลนซ์หรือเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเองก็ย่อมได้ ถ้ายิ่งเป็นคนที่มีความถนัดเฉพาะทาง เฉพาะ software แล้วล่ะก็โอกาสการย้ายงานและค่าตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วยมากๆ นั่นเองครับ
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
✅ คอร์สเรียนที่เราแนะนำ ✅
Udemy คอร์สเรียนออนไลน์
– รวมคอร์สเรียนออนไลน์เริ่มต้นที่ 349 บาท ซื้อขาด ในราคาประหยัด
– ซื้อแบบ subscription เพียงเดือนละ 450 บาท เพื่อเรียนได้ 8,000+ หลักสูตร
ดูรีวิวคอร์สเรียนจากเรา มีคอร์สน่าสนใจเพียบ Education
Coursera เว็บไซต์รวมคอร์สสอนออนไลน์เนื้อหาระดับโลก เรียนแบบเริ่มต้นฟรี
สายชอบเรียนเก็บ Certificate ห้ามพลาด เรียนฟรีแบบเริ่มต้น เสียเงินหากต้องการใบประกาศณียบัตร
คอร์สเรียนมากกว่า 3000+ วิชา จากผู้สอนระดับโลก
บทสรุป
หวังว่าบทความนี้จะช่วยเปิดโลกอาชีพให้กับผู้ที่สนใจอยากย้ายอาชีพ เริ่มเรียนใหม่ รวมไปถึงเลือกสาขาคณะวิชาที่จะเรียนในอนาคตได้เลยนะครับ
แล้วมาติดตามบทความใหม่ๆ ของเราผ่านทาง Designil (ดีไซน์นิว) เป็นประจำนะครับ
นักเขียนคนดีคนเดิม แล้วเจอกันใหม่คร้าบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- สอนวิธีเรียนออนไลน์ฟรี Coursera เรียนได้เรื่อยๆไม่เสียเงิน
- 50+ อาชีพตำแหน่งงาน IT & Tech ที่ไม่ต้องเขียนโค้ด
- แนะนำ 30 คอร์สเรียนจาก IBM ด้านเทคโนโลยี เรียนฟรีกับ Coursera
- 5 สุดยอดเว็บรวมคอร์สออนไลน์ภาษาไทย มีครบทุกสายวิชา เรียนได้ที่บ้าน
- 10 คอร์สเรียน ChatGPT สำหรับเจ้าของธุรกิจประจำปี
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา