รีวิว 5 AI Writer โปรแกรมเขียนบทความ อีเมล social media

Natk

AI Writer เป็นอะไรที่มาแรงมากในปัจจุบัน ทำให้การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติสำหรับบล็อก เว็บไซต์ หรือโปรไฟล์โซเชียลมีเดียของเพื่อนๆ เป็นเรื่องง่ายและสะดวก

ไม่สำคัญว่าคุณจะเปิดเว็บไซต์ประเภทใด หากอยากประสบความสำเร็จ เพื่อนๆ จะต้องมีเนื้อหาที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ดีแตกต่าง และยิ่งถ้าหากเราเป็นผู้บริหารที่ไม่มีเวลา เงิน หรือทักษะทางภาษาในการผลิตด้วยตนเอง หรือการจ้างฟรีแลนซ์ การทำงานให้เสร็จด้วย AI writer จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเขียนได้อย่างดีเยี่ยมและตอบโจทย์เลยค่ะ

ต้องบอกก่อนว่าแอดนัทเองทำงานที่ออสเตรเลีย ได้เข้าร่วมอีเวนต์และกิจกรรรมของนักเขียนมากมาย ทุกคนต่างให้คำแนะนำว่าการเขียนโดยใช้ AI เป็นอะไรที่กำลังมาแรงมาก ทุกคนใช้เครื่องทุ่นแรงในการเขียนด้วย AI เกือบทุกบริษัท และค่อยมาขัดเกลาด้วยบก. และผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อให้ข้อความถูกหลักกับระบบการใช้งาน

แต่ต้องแจ้งให้ทราบว่าปัจจุบัน AI ยังเขียนด้วยตนเองทั้งหมดในตัวเดียวไม่ได้นะคะ ยังต้องใช้คนในการตรวจทานข้อมูลเนื้อหาก่อนนำไปใช้งานจริงอยู่ดี

📖 บทความนี้มีอะไรบ้าง แสดง

5 โปรแกรมช่วยเขียนบทความ AI Writer

อันนี้แอดนัทและทีมงาน Designil ได้ทดลองใช้งานตัวช่วยเขียนบทความด้วย AI มาทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน ด้านล่างนี้จะเป็นวิธีการใช้งานแบบคร่าวๆ พร้อมบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละตัว มาเริ่มกันเลยค่า

1. Frase – ตัวช่วยในการเขียนบทความด้วย AI

frase ai content generator การเขียนบทความ
Frase ai content generator

มาดู Tool เขียน AI ของ Frase กันค่ะ

หลังจากที่ทดลองใช้งาน ถ้าหากดูจากหน้าต่างด้านบน จะเห็นจะเป็นตัวอย่างการ Generate ด้วย AI ทั้งหมด​ โจทย์ที่มีคือให้วางแผน content เกี่ยวกับคอร์สเรียนออนไลน์มาให้ เว็บไซต์ก็แนะนำคำถามที่คนถามบ่อยและวาง outline ของ content มาให้ครบ

ต้องบอกเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่าการใช้เครื่องมือ AI ในการช่วยเขียนบทความนั้นมันจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเท่ากับคนเขียน 100% เพราะเนื้อหาบางอย่างมันยังไม่ต่อเนื่องกันเท่าที่ควร ดังนั้นเราจึงจะต้องใช้คนเข้ามาแก้ผสมเข้าไปด้วยกัน เราถึงจะได้ความต่อเนื่องและความสอดคล้องกันของข้อมูล

ข้อดี

  • ประหยัดเวลา
  • ดีต่อ SEO เพราะตัว Frase จะให้เรากำหนด Keyword ลงไปด้วย ว่าเราจะเขียนอะไร แล้วมันจะ Repeat คำมาให้ทั้งใน Title และเนื้อหา
  • มีฟีเจอร์อัปเดตใหม่บ่อยมาก มีการอัปเดตตลอดเวลา ถ้าเพื่อนๆ ซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย
  • Frase จะแสดงบทความที่ใช้ keyword ใกล้เคียงกับเราในตลาดมาเพื่อให้เราเปรียบเทียบด้วย ว่าบทความไหนที่ติดอันดับในคำเดียวกันในอันดับต้นๆ อยู่ แล้วเราจะเขียนไอเดียแบบไหนดี

ข้อเสีย

  • ไม่มีภาษาไทย
  • บั๊กนิดหน่อย
  • ราคาเป็นแบบรายเดือน ถ้าอยากได้ทูล SEO ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถ้าอยากดูบทความที่ AI ช่วยเขียนของ Designil ลองดูบทความนี้เป็นตัวอย่างได้ค่ะ (ใช้ AI + Google translate + คนแก้) เขียนออกมาได้ดีมากเลย ทุ่นเวลาไปได้เป็นวันเลยทีเดียว โดย AI ตัวนี้ได้ช่วยเลือกคอมพิวเตอร์มาให้ถึง 3 อันดับ รวมไปถึงฟีเจอร์ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AI แนะนำมาทั้งหมดเลย
5 อันดับโน๊ตบุค Laptops สำหรับ UX UI และ Graphic designer

แต่ปัจจุบันบทความนี้ได้ทำการแก้ไขไปเยอะมากๆ เลยค่ะ ใช้นักเขียนในการแก้ไขต่อเพื่อให้อ่านลื่นหูมากยิ่งขึ้น

ตัว Frase เมื่อนำไปแปลภาษาไทยผ่าน Google translate แล้ว สามารถใช้งานได้เนียนกริบว่าที่เคยทดลองใช้เมื่อปี 2020 มากโขเลยค่ะ และมีแนวโน้มว่าจะฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย


ปัจจุบัน Frase จำหน่ายแบบรายเดือน ไม่มีจำหน่ายแบบซื้อขาด เพราะโปรแกรมมีการอัปเดตเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปอย่างสม่ำเสมอ และมีเรื่องของ Facebook community ให้เพื่อนๆ ไปพูดคุยกันหรือรายงานปัญหาได้ด้วย ซึ่งเป็นอะไรที่ตอบโจทย์กับคนใช้งานบ่อยๆ อย่างพวกเรา ทำให้เราได้เรียนเทคนิคการใช้งานเครื่องมือช่วยเขียนนี้จากผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ได้ด้วยค่ะ

ราคา

ราคาเริ่มต้น 1,592 บาท/เดือน
$44.99/mo


2. Nichness – ช่วยเขียนบทความด้วย AI

nichness การเขียนบทความ ai writer
nichness

จากตัวอย่างผู้เขียนได้ใส่หัวข้อไปว่า AWS AI Machine Learning ผลลัพธ์ที่ได้คือหัวข้อรองใน AWS ทั้งหมด

ข้อดี

  • วางแผนหัวข้อ outline ของ content ได้ดีเพียงแค่เราให้โจทย์หรือหัวข้อลงไป ตัวระบบจะทำการวางแผนหัวข้อหลักในบทความแยกออกมาเป็นข้อ ๆ ให้เลย
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับสาย Writer หรือคนเขียนบล็อกที่คิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร
  • วางแผนการโพสต์ Social media ภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม
  • มีฟีเจอร์อัปเดตใหม่บ่อยมาก ถ้าเพื่อนๆซื้อแล้ว จะมี Group บน Facebook ให้เราไปพูดคุยกันด้วย

ข้อเสีย

  • ไม่มีภาษาไทย
  • ถ้าเขียน content ยาว ยังแปลกๆ นิดหน่อย

ราคา

โปรแกรมจำหน่ายแบบซื้อขาด ราคา 2,083 บาท / $59
ผ่านเว็บไซต์ Appsumo


3. Rytr – ช่วยเขียนบทความด้วย AI รองรับภาษาไทย

Rytr - Thai AI content generator  การเขียนบทความ ai writer
Rytr – Thai AI content generator

ข้อดี

  • เขียนภาษาไทยได้
  • เลือก Mood and tone ของภาษาได้ แต่ใช้งานได้ดีเฉพาะในภาษาอังกฤษ
  • ภาษาอังกฤษฉลาดมาก
  • วางลำดับ outline ได้ดี น่าอ่านและเข้ากับ Mood and tone ของภาษา

ข้อเสีย

  • ภาษาไทยไม่สวยเท่าไร เหมือนผ่านการแปลจาก Google translate (บางทีกดแปลเองยังสวยกว่า)
  • ลักษณะโครงสร้างและคำยังดูแปลกประหลาด นิดหน่อย อาจจะต้องใช้คนมาแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ภาษาดูลื่นและอ่านง่ายมากกว่านี้
  • ในเรื่องของ Tone ภาษาไทย ยังไม่เวิร์คเท่าไร ต้องไปหัดมาเพิ่มอีกเยอะเลย

ราคา

เริ่มต้นใช้งานแบบฟรี 5000 คำ สามารถเขียนบทความขนาดสั้นแบบทดลองได้
แบบเสียเงินเริ่มที่ 318 บาท/เดือน

จริงๆ แล้วโปรแกรมช่วยเขียน AI ยังมีอีกหลายตัวที่จำหน่ายแบบซื้อขาด เพื่อนๆ สามารถเช็กราคาและโปรแกรมได้ผ่านทางเว็บไซต์ Appsumo ด้านล่างนี้เลยนะคะ ของ Designil เองก็ซื้อผ่านทาง Appsumo มาใช้งานเช่นกันค่ะ


4. CopyAI – เขียนบทความ, อีเมล, social media, e-commerce รองรับภาษาไทย

copyai design ai writer
Copy.Ai design หน้าตา interface การใช้งานระบบช่วยการเขียนบทความด้วย AI writer

เป็นอีกเครื่องมือที่กำลังมาแรงใน Social media ที่มีหลายๆ ท่านพูดถึงกันเยอะมากด้วยประสิทธิภาพของการเขียนของโปรแกรมนี้

โดยฟีเจอร์ที่มาแรงของทูลตัวนี้ก็คือ

  1. Blog content
  2. Digital ad copy
  3. eCommerce copy
  4. Sales copy
  5. Social media content
  6. Website copy

เรียกว่าเขียนได้ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ไม่ต้องจำเป็นจะต้องเอาไปเขียนแค่บทความอย่างเดียว

แพ็กเกจฟรีจาก Copy.ai เหมาะสำหรับผู้ใช้ใหม่ที่ต้องการทดสอบซอฟต์แวร์นี้ เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้องป้อนรายละเอียดบัตรเครดิตลงไป ซึ่งจะแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ โดยสิ่งที่จะได้รับคือ

  • เครื่องมือเขียนคำโฆษณามากกว่า 90 รายการ
  • ใช้งานได้ 1 ผู้ใช้งาน
  • สร้างโปรเจคได้ไม่จำกัด

แต่ว่าด้วยเวอร์ชัน Pro จะทำให้เราสามารถสร้างชื่อ Blog, Ads, Email และรูปแบบการเขียนอื่นๆ ได้ไม่จำกัด อย่างตัว Copy.ai ได้มีการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าเราใช้แบบ Pro ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะจะได้ทดลองใช้งานได้ครบนั่นเอง

ข้อดี

  • รองรับภาษาไทย
  • ใช้งานได้ง่าย Interface สวยงาม
  • มีแพ็กเกจให้ทดลองใช้งานฟรีแบบไม่ผูกบัตร
  • เขียนได้เยอะมาก ตั้งแต่อีเมล, บทความ, e-commerce, copy โฆษณา และอื่นๆ อีกมากมาย

ข้อเสีย

  • ราคาสูงกว่าเจ้าอื่น

ราคา

  1. ใช้งานฟรี
  2. ราคาแบบ Pro ที่ 1,732 บาท/เดือน ($49/mo)

5. Jasper – โปรแกรม AI ที่เขียนได้เนียนที่สุด Top 5 ในตลาด

jasper ai writer
jasper ai writer

Jasper เป็นโปรแกรม AI ที่เรียกได้ว่าเปิดให้บริการมานาน มีผู้ใช้งานขาประจำทั่วโลก และได้รับการันตีว่าเป็นโปรแกรมที่เขียนดีมากลำดับต้นๆของโลก ซึ่งมีชื่อเก่าว่า จาร์วิส Jarvis เป็นหนึ่งในเครื่องมือเขียน AI ที่ทรงพลังที่สุดในตลาด บริษัทได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO และการตลาดเพื่อสร้างอัลกอริทึมที่สร้างเนื้อหาโดยเฉพาะ

ทำให้ Jasper สามารถสร้างบทความและการเขียนสำหรับสถานการณ์ต่างๆ ได้มากมาย ตั้งแต่บทความและบล็อกโพสต์ไปจนถึงอีเมล การเขียนขายสินค้า e-commerce การอัปโหลดวิดีโอ และโฆษณาบน Facebook เองก็ดีมาก

Jasper ยังมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Boss Mode ซึ่งสามารถสร้างเนื้อหาได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่อัปเกรดนี้ยังตรวจสอบเนื้อหาสำหรับการลอกเลียนแบบ (plagiarism) และใช้ Grammarly เข้าไปผนวกเพื่อพยายามปรับปรุงไวยากรณ์และเครื่องหมายวรรคตอน

นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สำหรับผู้ใช้งานแบบองค์กร ดังนั้นจึงง่ายต่อการใช้งานสำหรับทีมขนาดใหญ่ และ Jasper ทำงานได้ในภาษาต่างๆ มากกว่า 25 ภาษา

แผนเริ่มต้นของ Jasper เหมาะสำหรับการเขียนขนาดเล็กๆ และระดับราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนคำที่คุณต้องการ Boss mode จะมีราคาแพงกว่า แต่คุณสมบัติพิเศษของตัว Boss mode นั้นจะเหมาะสำหรับเนื้อหาแบบยาว เช่น บล็อกโพสต์และบทความ

ข้อดี

  • ระบบการเขียนดีมากๆ ติดอันดับ Top 5 ดีที่สุดในตลาดโลก
  • มีระบบ plagiarism และ grammar checks ช่วยตรวจสอบคำผิด
  • รองรับเกือบทุกภาษา ใช้งานง่ายมาก

ข้อเสีย

  • ราคาสูง
  • ยังไม่รองรับภาษาไทย

ราคา

  1. เริ่มต้น: 848 บาท/เดือน ($24/mo)
  2. Boss mode: 1,732 บาท/เดือน ($49/mo)
    แพ็กเกจนี้ถึงจะรองรับภาษาไทยและเหมาะกับการเขียนบทความ เขียนได้ 50,000 คำต่อเดือน

ตารางเปรียบเทียบราคาโปรแกรม AI Writer

ชื่อโปรแกรมราคาใช้งานแบบเบื้องต้น ฟรี
Frase1,592 บาท/เดือน
Niches2,083 บาท (ซื้อขาด)
Ryte318/เดือน
CopyAI1,732/เดือน
Jasper1,732/เดือน
Quillbot757.90/เดือน

วิธีการเลือกโปรแกรม AI Writer การเขียนบทความด้วย AI

การเลือกทูลที่ดีที่สุดอาจจะต้องทำการผสมผสานกันระหว่างเครื่องมือที่ช่วยเรื่องความอ่านง่ายผสมกับช่วยวางโครงสร้างของภาษาที่ตอบโจทย์ต่อ SEO

ซึ่งเรื่องของ SEO นี้จะยากนิดหน่อย เพราะเราจะต้องใช้คนที่มีความรู้ทางด้าน SEO มาช่วยปรับแต่งบทความอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเขียนที่ไม่ถูกหลัก ซึ่งจะส่งผลลบต่ออันดับของคุณบน Search engine ได้ในระยะยาว

คำแนะนำของทาง Designil ก็คือ

  1. ต้องมีบรรณาธิการคอยตรวจเช็กบทความ คำผิด, การ rewrite หรือบทความนี้ถูกลอกมาหรือไม่
  2. ตรวจสอบการเขียนและ SEO อีกครั้งเพื่อความมั่นใจในเรื่องของ Keyword และโครงสร้าง แต่ก็บอกว่าการตรวจสอบใช้เวลาน้อยกว่าการเขียนใหม่แน่นอนค่ะ
  3. ดูรายละเอียดข้อดีข้อเสียของแต่ละโปรแกรม แนะนำให้ทดลองใช้งานฟรีก่อน
  4. บางเครื่องมือสามารถเช็กเรื่องของ plagiarism หรือการคัดลอกเนื้อหามาจากอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงมีระบบเช็กตรวจจับคำผิด grammar ด้วย แต่มีราคาที่สูงกว่าแบบอื่น ดังนั้นเพื่อนๆ อาจจะต้องตัดสินใจกันให้ถี่ถ้วนว่าเครื่องมือนี้จะตอบโจทย์กับงบประมาณที่เรามีอยู่ในมือหรือเปล่า
  5. บางท่านอาจจะใช้งานเครื่องมือช่วยเขียนควบคู่ไปกับโปรแกรม Grammarly เพื่อช่วยให้ประโยคของเราขัดเกลาได้อย่างสวยงาม และลื่นหู แต่ก็แลกมาด้วยการจ่ายเงินสองโปรแกรมคือ 1. โปรแกรม AI และโปรแกรมตรวจเช็กแกรมม่า (สำหรับภาษาอังกฤษ)
  6. งบประมาณ เปรียบเทียบงบประมาณและฟีเจอร์การใช้งานให้เหมาะสมกับรายได้และขนาดของบริษัท

วิธีใช้งานเครื่องมือ AI Writer ในการเขียนภาษาไทย

1. เราต้องกำหนดหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษใน Frase ก่อน

โดยให้คำหัวข้อแบบละเอียด เช่น 5 notebooks for graphic designers หรือ 10 AI writer products for you to try in 2022

เพื่อจะให้ AI ได้เรียนรู้การคาดคะเนตัวเนื้อหาใน Paragraph ว่าจะต้องเขียนกี่แบบ กี่หัวข้อ และเนื้อหาจะเกี่ยวกับอะไรบ้าง บางโปรแกรมนั้นสามารถกำหนด Keyword SEO ลงไปได้เลย ว่าจะให้ AI กล่าวถึงคำนี้ทั้งหมดกี่ครั้ง

2. บรีฟของแต่ละ paragraph เพื่อให้ระบบทำการนำเสนอเนื้อหาออกมา

ในการบรีฟของแต่ละส่วนเนื้อหา ต้องเขียนข้อมูลให้ชัดเจน เช่น

  • heading แรกอยากให้เขียนอะไร เช่น โปรแกรมนี้คืออะไร
  • paragraph แรก อยากให้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น พูดถึงประโยชน์
  • heading 2 อยากให้เนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ข้อดี ข้อเสีย จัดอันดับ เป็นต้น

3. ถ้าอยากเขียนภาษาไทย สามารถใช้ Google translate แปลเนื้อหาได้เพื่อความรวดเร็ว

ปัจจุบันการใช้ Google translate ค่อนข้างมีความแม่นยำ สามารถแปลบทความที่เป็นภาษาอังกฤษจากตัว AI Writer ของเราออกมาเป็นภาษาไทยได้อย่างเฉียบมาก แทบจะไม่ต้องแก้ไขเลย ลื่นหูมากเลยค่ะ อาจจะมีบางคำที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมนิดเดียวเท่านั้น

ทดลองใช้งาน Google translate

4. ใช้คนแก้เนื้อหาอีกทีให้มีความต่อเนื่องและลื่นหู

อย่าลืมใช้นักเขียน บก. หรือผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ของเราตรวจสอบข้อมูลของบทความอีกครั้ง เพื่อความอ่านง่าย และถูกหลักตรงตามภาษาไทย และถูกต้องตามโครงสร้างของ SEO เพื่อป้องกันการถูกลดอันดับบน search engine ในอนาคตค่ะ


ปัจจุบันมีตัวช่วยในการเขียนให้กับเรามากมาย อย่างโปรแกรมที่เราที่คุ้นหูกันก็คือ ChatGPT ด้านล่างนี้จะเป็นคำถามที่มีคนถามเราเข้ามาบ่อยที่สุดเลยค่ะ ว่ามีตัวอื่นที่ช่วยเขียนได้ดีอีกหรือไม่? เราก็ต้องตอบแบบตรงไปตรงมาว่า “มี”

ChatGPT เขียนบทความภาษาไทยได้มั้ย?

เขียนได้ค่ะ แต่ค่อนข้างช้าและภาษาไม่แตกต่างจากการแปลจาก Google translate เท่าไร ถ้าถามแอดนัท คงให้ ChatGPT เขียนภาษาอังกฤษ แล้วนำไปแปลด้วย Google translate จะทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่า

ChatGPT ใช้งานอย่างไร?

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากได้ตัวที่ช่วยเขียนแบบไม่เสียเงิน ปัจจุบัน ChatGPT3.5 ใช้งานได้ฟรี ผ่านเว็บไซต์ สามารถอ่านบทความรีวิวและขั้นตอนการใช้งานของเราได้จากที่นี่เลยนะคะ
ChatGPT คืออะไร?

ข้อเสียคือของ ChatGPT คือถ้าเราใช้เวอร์ชันฟรี เราอาจจะได้ข้อมูลที่เป็นชุดเก่า และถ้าเราไม่รู้คำสั่ง Prompt ที่ถูกต้อง เราก็ได้ข้อมูลที่ไม่ละเอียดมากพอสำหรับการเขียน หรือไม่ได้โทนภาษาที่เราต้องการ แต่ถ้าเป็นโปรแกรมที่เราซื้อมา บางแห่งจะใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พร้อมกับ Prompt เบื้องต้นให้เรา โดยที่เราไม่ต้องคิดเลยค่ะ


หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ ได้ใช้งานโปรแกรมช่วยเขียนบทความ และช่วยให้เขียนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ อย่าลืมติดตามกันเป็นประจำผ่านทาง Designil นะคะ :D

บทความที่เกี่ยวข้อง

Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด