7 วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัยจาก Hackers และมิจฉาชีพ
หากเราไม่ได้ล็อกประตูบ้าน แม้เราจะถือกุญแจบ้านไว้กับตัวเอง แต่ผลลัพธ์ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับการที่เราไม่มีประตูบ้านเลย ในโลกไซเบอร์เองก็เช่นกัน ถ้าเราไม่สร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านที่เราอยู่อาศัย หรือ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานเป็นประจำ จะเป็นการเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลมากที่สุด
บทความนี้เราได้รวบรวม 7 วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัยจากแฮกเกอร์ตัวร้าย เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนสามารถปฏิบัติได้ โดยเริ่มต้นจากตัวเราก่อน จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ตามมาเลย
รวม 7 วิธีใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย
1. จงเป็น “ผู้ใช้งาน” ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน
แฮกเกอร์ตัวร้ายมักเริ่มต้นการโจรกรรมข้อมูลจากคอมพิมเตอร์ของคุณด้วยการเจาะข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม นั่นเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แล้วพวกเขาเจาะข้อมูลได้อย่างไร?
วิธีการคือ แฮกเกอร์จะติดต่อคุณผ่านทางโทรศัพท์ หรือ ส่งข้อมูลผ่านอีเมลของคุณด้วยบทสนทนาที่แสดงความคุ้นเคยไปจนถึงการสวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์กรภาครัฐ หรือ เอกชน เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ ทำให้คุณคล้อยตามและหลงเชื่อ แล้วทำการหลอกล่อ ล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณไป หลายคนจึงต้องโดนโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปแบบไม่รู้ตัวเลย
ราเชล โทแบค หนึ่งในแฮกเกอร์หมวกขาว* ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกัน ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้บริหารระดับสูงของ SocialProof ให้คำแนะนำวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตทุกคนควรมีความระมัดระวังในการใช้งาน โดยตระหนักถึงการถูกจู่โจมในทุกรูปแบบที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยผู้ใช้งานไม่ทันรู้ตัว
*แฮกเกอร์หมวกขาว หมายถึง แฮกเกอร์มือดี ผู้ช่วยดูแลรักษาระบบความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์
สิ่งสำคัญ คือ การตั้งข้อสงสัยในข้อมูลหรือบุคคลที่ติดต่อมา ซึ่งจัดว่าเป็นบุคคลแปลกหน้า ไม่ว่าพวกเขาจะติดต่อคุณด้วยวิธีการใด ผู้ใช้งานควรระวังและฉุกคิดสักหน่อยว่าคู่สนทนาหรือแหล่งข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่มีผู้ติดต่อ แล้วอ้างตัวเองว่า เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อมาจากธนาคาร และต้องการให้คุณบอกรหัสผ่าน โดยปกติทุกคนก็จะทราบกันดี เลือกที่จะไม่บอกข้อมูลในขณะนั้น แต่แฮกเกอร์หรือมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวขึ้นมาให้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจนคุณคล้อยตาม และพลาดท่าให้ข้อมูลเหล่านั้นไป
ดังนั้น การระมัดระวังตัวคุณเองจะช่วยให้คุณมีสติ ไม่หลงเชื่อ แล้วคล้อยตามพวกเขา แฮกเกอร์บนโลกโซเชียลนั้นจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับคุณเป็นอย่างดี แล้วพวกเขาทราบข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างไรล่ะ จุดนี้ไม่ใช่เรื่องยาก พวกเขาจะทราบข้อมูลของคุณผ่านทางพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียของคุณเอง อาทิ การใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ กิจกรรมบนโลกโซเชียล การโพสต์ข้อความส่วนตัวของคุณ รวมไปถึงสิ่งที่คุณสนใจ โดยการสังเกตจากองค์ประกอบต่างๆ ที่คุณเคยแสดงออกมาในโซเชียลมีเดีย ฯลฯ
วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจเหล่านี้จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ คือ การไม่รับโทรศัพท์จากคนแปลกหน้า หรือ เบอร์โทรศัพท์ต้องสงสัย ตลอดจนข้อความแปลกๆ และในกรณีที่คุณได้เผลอเข้าไปอยู่ในบทสนทนาของแฮกเกอร์แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลใดใดเลย ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ คุย พยายามตัดจบบทสนทนา ยิ่งจบไว ยิ่งดีที่สุด
2. เพิ่มความระมัดระวังในการรับข้อมูลผ่าน “อีเมล”
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอีกหนึ่งช่องทางคือ อีเมล โดยแฮกเกอร์จะส่งลิงก์เชื่อมแนบมากับอีเมล ซึ่งอาจจะเป็นอีเมลลอกเลียนหน้าตาองค์กร หรือ บริษัท ที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานคลิกเข้าไปดูข้อมูล บางครั้งเราอาจจะเผลอกดเข้าไปดู กลายเป็นการดาวน์โหลดข้อมูลอัตโนมัติและคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้รับโปรแกรมอันตรายจากแฮกเกอร์ หรือลิงก์นำผู้ใช้งานไปที่หน้าเว็บไซต์ต้องสงสัย เพื่อให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
กรณีนี้ผู้เชียวชาญให้คำแนะนำว่า หากเรารู้สึกถึงความแปลกปลอมเกี่ยวกับอีเมลที่ส่งมา อย่าเพิกเฉยกับความรู้สึกเหล่านั้น เพียงเพราะความรู้สึกกลัว วิตกกังวล หรือ คิดว่าตัวเองไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี แต่ให้ระมัดระวังมากขึ้น และคิดอย่างรอบคอบ
ยกตัวอย่าง เพื่อนร่วมงานของผู้เขียนเอง ได้รับอีเมลแบบส่วนตัวจากหัวหน้างาน ซึ่งเป็นอีเมลของ Gmail ความรู้สึกแรกของเพื่อนคือ การตั้งคำถามว่า ทำไมหัวหน้าจึงไม่ใช้อีเมลบริษัทส่งข้อมูลมา ดูเป็นเรื่องไม่ปกตินัก เพื่อนของผู้เขียนอยากทราบความจริง จึงส่งข้อความไปถึงหัวหน้าเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงดังกล่าว ผลปรากฎว่า อีเมลนั้นเป็นอีเมลที่หัวหน้าส่งมาให้เพื่อนของผู้เขียนจริง ซึ่งนี่คือ วิธีการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากเราไม่ทำการตรวจสอบเสียก่อน เพื่อนของผู้เขียนก็คงจะพลาดไม่ทราบข้อมูลสำคัญที่หัวหน้าส่งมาให้อย่างแน่นอน
เช่นเดียวกับ แพลตฟอร์ม Social Media ยอดนิยมอย่าง LinkedIn ที่ตกเป็นหนึ่งในแหล่งโจรกรรมข้อมูลของแฮกเกอร์ วิธีการคือ ส่งลิงก์หน้าเว็บไซต์ ซึ่งลอกเลียนแบบได้เหมือนกัน เป๊ะ! โดยส่งผ่านทางอีเมล เพื่อให้ผู้ใช้งานที่มีบัญชี คลิกเข้าไปดูข้อมูล แต่ผู้ใช้งานทุกท่านไม่ต้องกังวลไป ทาง LinkedIn ได้ทำระบบรักษาความปลอดภัยไว้อย่างดีแล้ว นั่นคือ ทุกครั้งที่มีการส่งคำขอใดๆ จากบัญชีผู้ใช้งานท่านอื่น ผู้ใช้งานบัญชีหลักจะได้รับอีเมลยืนยันอย่างถูกต้องจาก LinkedIn หากไม่ได้รับการยืนยัน นั่นคือ อีเมลจากแฮกเกอร์!
3. สร้าง Passphrases ที่ปลอดภัย จำได้ง่าย
ปกติแล้ว เพื่อนๆ อาจจะใช้การจัดการรหัสผ่านในรูปแบบของ Password Manager ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันเก็บข้อมูลทั้ง Username (ชื่อผู้ใช้) และ Password (รหัสผ่าน) เมื่อเราจะทำการ Log in เข้าระบบใด แอปพลิเคชันนี้จะช่วยให้เราเข้าระบบได้ง่ายขึ้น กรอกรหัสผ่านให้เราอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องจำมันให้ยุ่งยาก แต่การใช้เพียงแค่ Password Manager นั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อระบบรักษาความปลอดภัย
เราจึงขอแนะนำ Passphrases เพื่อเสริมระบบรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น Passphrases คือ การลำดับของคำเพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าถึงระบบรักษาความปลอดภัยและการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบได้
การสร้างรหัส ควรใช้ลำดับคำของภาษาอังกฤษที่อ่านได้ โดยการสุ่มคำ เพื่อให้เกิดการคาดเดาได้ยากขึ้น นอกจากนี้ Passphrases ยังมีข้อดี คือ สามารถควบคุมระบบหลักได้หลายระบบ
4. หมั่น Backup ข้อมูลเป็นประจำ
กับ 2 ทางเลือกที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน ดังนี้
- Backup codes ไปยังแหล่งบันทึกข้อมูลของแอปพลิเคชันใน Password Manager ของคุณ โดยการรวม notes field ไว้เป็นการสำรองข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม สร้างรหัสผ่านแยกออกมาต่างหาก จากนั้นให้ใช้ Passphrases ในการระบบ
- การเก็บข้อมูลไฟล์ใน Encryption หรือ External drive ของคุณ กรณีที่เกิดเหตุการณ์บางอย่างแบบไม่คาดคิดกับแอปพลิเคชัน Password Manager ข้อมูลที่คุณสำรองไฟล์ไว้จะไม่ได้รับความเสียหาย
5. ควรทราบว่า แอปพลิเคชันใดมีการเชื่อมต่อข้อมูลกัน
ข้อดีของแอปพลิเคชันเหล่านี้ คือ การเชื่อมต่อบัญชีผู้ใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ประหยัดเวลาในการเรียกใช้งานมากขึ้น ลดขั้นตอนการสร้างบัญชีใหม่ที่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับบางท่าน แต่วิธีใช้อินเทอร์เน็ตแบบนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลอยู่บ้าง
ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชัน X หรือ ชื่อเดิมคือ ทวิตเตอร์ที่หลายท่านคุ้นเคย โดยแอปสามารถทำการเชื่อมต่อกับแอปอื่นๆ ด้วยบัญชีผู้ใช้งานเดียวกัน มากกว่า 20 แอป เป็นต้น
หากเป็นไปได้แล้ว การยกเลิกการเชื่อมโยงบัญชีผู้ใช้งานกับแอปอื่น ๆ จัดว่าเป็นวิธีใช้อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและป้องกันการโดนโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวได้อีกด้วย
6. จดจำว่า อุปกรณ์ใดที่ผู้ใช้งาน Log in ค้างไว้
ส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะมีอุปกรณ์ที่ใช้งาน Logged in อย่างน้อย 2 อุปกรณ์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ไอแพด แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือ แล็บท็อป แอปพลิเคชันยอดนิยมอย่าง Google และ Netflix ที่หลายคนน่าจะไม่เคยทำการ Log out ออกจากระบบเลย
การจัดการที่ดีคือ ให้เข้าไปที่ Setting ในส่วนของความปลอดภัย Security จากนั้นให้เลือกจัดการกับ Third-Party access ที่จะระบุข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการใช้งานของเพื่อน ๆ เอง ระบุจำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้งาน หากพบว่ามีอุปกรณ์ใดแปลกปลอม ให้ทำการยกเลิกคำขออนุญาตใช้งานนั้นเสีย นอกจากนี้เพื่อน ๆ ยังสามารถจัดการได้ด้วยการ Log out ออกจากอุปกรณ์ทั้งหมด
ยกตัวอย่าง การจัดการบัญชี Google ให้เลือก Manager Devices จากหน้าเดียวกัน ถ้าจำอุปกรณ์ หรือ log in เข้าระบบไม่ได้ ให้คลิกที่ จุดไข่ปลา 3 จุด ด้านบนขวา เพื่อทำการ log out จากนั้นให้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่
ข้อควรจำ คือ การ Log out ออกจากบัญชีที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นๆ จะไม่ได้เป็นการ Log out บัญชีเดียวกันออกจากแอปพลิเคชัน Third-Party Access บัญชีที่อยู่ในอุปกรณ์อื่น ๆ จะยังคงอยู่เหมือนเดิม
7. อัปเดตซอฟแวร์ของคุณให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันอยู่เสมอ
แฮกเกอร์ส่วนมากก็จะใช้วิธีในการแฮกข้อมูลผ่านการปล่อย bugs ตามระบบซอฟแวร์ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะเป็นช่องโหว่ในการถูกโจรกรรมข้อมูลทางโลกไซเบอร์ เนื่องจากผู้ใช้งานจำนวนมากไม่ได้ทำการอัปเดตระบบซอฟแวร์ของตัวเองให้เป็นรุ่นใหม่อยู่เสมอ ผู้ใช้งานควรหมั่นตรวจสอบระบบซอฟแวร์ประจำอุปกรณ์เป็นประจำ ด้วยการตั้งค่าแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีการขออัปเดต
ทั้งนี้การอัปเดตซอฟแวร์อยู่เสมอจะช่วยให้ซอฟแวร์ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งระบบซอฟแวร์ชุดใหม่ที่ทำการอัปเดตในแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย การแก้ปัญหา bugs เป็นหลักสำคัญ การพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมถึงการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยในอุปกรณ์ที่เพื่อน ๆ ใช้งานเป็นประจำด้วย
วิธีใช้อินเทอร์เน็ตที่สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่อัปเดตระบบเป็นเวอร์ชันล่าสุดทุกครั้ง เมื่อระบบมีความมั่นคงและปลอดภัย ก็เป็นเรื่องยากที่แฮกเกอร์จะทำการแฮกข้อมูลของคุณไปได้ เสมือนเป็นเกราะคุ้มกันให้เพื่อน ๆ ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสบายใจ ดังที่เราได้บอกไว้ตอนต้นบทความว่าเราควรล็อกกุญแจประตูบ้านทุกครั้ง เพราะเรามีประตูบ้าน เสริมสร้างความปลอดภัยให้กับบ้านของเราและตัวเราเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Hide My WP Ghost สุดยอดปลั๊กอิน WordPress ป้องกันการโดนแฮค
- VPN คืออะไร? รีวิว 3 VPN ยอดนิยมสำหรับคนใช้อินเตอร์เน็ต
- Theme WordPress ของคุณมีไวรัสหรือเปล่า เช็คก่อนโดนแฮค !!
- รีวิวโปรแกรมลบอีเมล เคลียร์พื้นที่จัดเก็บเมลด้วย Clean email inbox
Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา