10 เหตุผลที่คนไม่จ่ายเงินบนเว็บขายของออนไลน์

Natk

เว็บขายของออนไลน์ จะต้องทำอย่างไรให้ได้ยอดขายที่ดีขึ้น วันนี้เรามาดู 10 เหตุผลที่คนไม่จ่ายเงินบนเว็บขายของออนไลน์ของเรากัน

เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าการออกทำเว็บไซต์ E-commerce ขายของออนไลน์นั้นเราจะมีคำศัพท์นึงที่เรียกว่า Cart abandonments คือการยกเลิกการสั่งซื้อสินค้า พูดง่าย ๆ ก็คือผู้ใช้งานกำลังจะจ่ายตังค์แล้ว หยิบใส่ตะกร้า จะชำระเงิน แต่ก็ดันมาเปลี่ยนใจกลางทาง เอ๊ะ ไม่ดีกว่า ยกเลิก ไม่ซื้อละ….ทำไมเราถึงสร้างปิดการขายไม่ได้ ทำไม User ถึงเปลี่ยนใจ ?

วันนี้แอดเอาสรุปผลจากเว็บ Baymard มาให้อ่านกัน
เหมาะสำหรับคนที่กำลังขายของออนไลน์ เป็นเจ้าของเว็บขายของออนไลน์ หรือคนที่กำลังทำ UI UX

ผลการสำรวจจากคนอเมริกันจำนวน 4,329 คน

มาดูสาเหตุที่ทำให้คนไม่จ่ายเงินบนเว็บขายของออนไลน์

Cart abandonments เว็บขายของออนไลน์
Cart abandonments

1. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจากราคาสินค้า มีราคาแพงเกินไป เช่น ภาษี VAT, TAX, ค่าจัดส่งสินค้า 49%

shoppingcart amazon
ตัวอย่างการแสดงค่าสินค้า Total รวมทั้งการเปลี่ยนหน่วยเงินจาก Amazon

เราจะเห็นได้ว่าจากหน้าเว็บไซต์ Amazon จะมีแจ้งราคาโดยละเอียด โดยในภาพด้านบนจะบอกตั้งแต่หน่วยราคาเป็น USD จนแปลงเป็นหน่วยราคา AUD และยังบอกราคาก่อนภาษี หลังภาษีอย่างชัดเจน

2. เว็บไซต์บังคับสมัครสมาชิกก่อนการชำระเงิน 24%

หน้าต่างการชำระเงิน guest checkout จากเว็บไซต์ Mecca เว็บขายของออนไลน์
หน้าต่างการชำระเงินแบบไม่ต้องล็อกอินจากเว็บไซต์ Mecca

เว็บไซต์ Mecca ขายเครื่องสำอางค์ชื่อดังของออสเตรเลียได้ทำหน้าเว็บให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้อได้โดยไม่ต้อง Login เพียงแค่กรอก ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์

3. จัดส่งสินค้าช้าเกินไป 19%

วันเวลาตัวเลือกการจัดส่งสินค้าจาก amazon เว็บไซต์ ขายของออนไลน์
วันเวลาตัวเลือกการจัดส่งสินค้าจาก amazon เว็บไซต์ ขายของออนไลน์

การบอกเวลา, ประเภทวันจัดส่งสินค้า และผู้ส่งที่ชัดเจนของ Amazon ทำให้ผู้ใช้งานมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นในการสั่งซื้อ
ตัวอย่างภาพด้านบน ได้ทำการสั่งซื้อ Yoga blocks จำนวน 2 ชิ้น ถ้าอยากได้การจัดส่งที่รวดเร็ว จะต้องชำระเงิน $49 เพื่อที่จะให้ของส่งมาถึงไวที่สุด

4. ขั้นตอนการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ซับซ้อน ยากและยาวเกินไป 18%

secure checkout ตัวอย่างหน้าการชำระเงินที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน จาก Nordstrom  เว็บขายของออนไลน์
ตัวอย่างหน้าการชำระเงินที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน จาก Nordstrom

Nordstrom ทำหน้าเว็บไซต์ การชำระเงินให้เข้าง่าย โดยมีคำว่า Secure checkout อยู่ด้านบนสุดเพื่อทำให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้งาน

5. ไม่เชื่อใจเว็บไซต์เลยไม่อยากกรอกข้อมูลบัตรเครดิต 17%

untrust website - no https
เว็บไซต์ E-Commerce ที่ไม่มี HTTPS ทำให้เว็บไซต์ดูไม่น่าเชื่อถือ

การไม่มี HTTPS ในเว็บไซต์ E-commerce ทำให้เว็บไซต์ขายของของเราดูไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้นอย่าลืมจด HTTPS กันนะครับ
สอนวิธีทำ HTTPS ง่าย ๆ ฟรี ๆ

6. ไม่เห็นยอดรวมราคาตั้งแต่หน้าแรก 17%

Ikea checkout - ตัวอย่างการแสดงราคาตั้งแต่ก่อนชำระเงิน เว็บขายของออนไลน์
Ikea checkout – ตัวอย่างการแสดงราคาตั้งแต่ก่อนชำระเงิน

ภาพตัวอย่างจาก Ikea ที่แสดงรายละเอียดราคาตั้งแต่หน้าก่อนการชำระเงิน พร้อมปุ่มไปหน้า checkout ที่ใหญ่มาก ๆ เรียกได้ว่า user จะไม่มีทางกดพลาดอย่างแน่นอน

7. เว็บไซต์ค้าง พังเกิดการ error 12%

HTTP Error 500 ทำให้ผู้ใช้งานสั่งซื้อบนเว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่อไม่ได้
HTTP Error 500 ทำให้ผู้ใช้งานสั่งซื้อบนเว็บขายของออนไลน์ ต่อไม่ได้

เว็บไซต์พัง เป็นอะไรที่ยอมรับไม่ได้สำหรับการทำเว็บขายของออนไลน์ เพราะว่าการขายของออนไลน์เป็นเรื่องที่ต้องอยู่กับเงินทองของผู้ใช้งาน ดังนั้นการดูแล Server ให้ใช้งานไปได้อย่างราบรื่นเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ๆ ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ และจะทำให้ User อยากสั่งซื้อสินค้าของเรามากยิ่งขึ้น

8. ขั้นตอนการคืนและเปลี่ยนสินค้าไม่น่าพึงพอใจ 11%

ถ้าเราดูตัวอย่างจาก Ikea หน้า Return policy 2 เราจะเห็นว่า Ikea ทำช่อง chat ไว้ให้ลูกค้าสามารถสอบถามได้ทันที สำหรับลูกค้าที่มีปัญหาหลังจากได้รับสินค้าไปแล้ว

และหน้า Express returns คือหน้าต่างที่ Ikea ทำให้กับ User เพื่อกรอกรายละเอียดการคืนสินค้าได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดปัญหาหลังจากการสั่งซื้อ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ว่าถ้าสั่งซื้อจาก Ikea ไปแล้วจะได้รับการตอบกลับอย่างรวดเร็วนั่นเอง

9. ไม่มีวิธีการชำระเงินที่ต้องการ 7%

ขายของออนไลน์ บน lazada หน้า checkout เว็บขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ บน lazada หน้า checkout

หน้าจอชำระเงินจาก Lazada ที่มีวิธีการชำระเงินหลากหลายช่องทางสำหรับผู้ใช้งาน และมีการปรับวิธีการชำระเงินให้เหมาะสมกับ User ในแต่ละประเทศ

เราจะเห็นได้ว่าคนไทยจะมีการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทาง แต่ถ้าดูจากตัวอย่างด้านบนที่แอดได้แนะนำไป เว็บไซต์ในออสเตรเลียและอเมริกา จะไม่มีการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทางเลย

10. ไม่สามารถตัดบัตรเครดิตได้ 4%

ส่วนข้อสุดท้ายนี้น่าจะเกิดจากตัวของ User ที่มีเงินในบัตรไม่เพียงพอหรือระบบ error เสียเอง แต่ถ้าเกิดจากระบบของเราก็ต้องอย่าลืมแก้ไขนะครับ


อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ Designil มีเหตุผลอะไรบ้างในการยกเลิกตะกร้าสินค้า ทำไมถึงเปลี่ยนใจกลางคัน มาแชร์กันในคอมเม้นท์นะครับ 😃 เดี๋ยวแอดรออ่าน

บทความที่เกี่ยวข้อง

UI น่าค้นหา ตอนที่ 1
UI น่าค้นหา 2 – เรียนรู้ UI Design จากเว็บ E-Commerce ชื่อดัง !!

WordPress plugin ที่จะช่วยให้ WooCommerce หน้า checkout ง่ายขึ้น
Woo Thai Address ช่วยกรอกที่อยู่ภาษาไทยแบบอัตโนมัติ
WooCommerce PromptPay QR Code ระบบ QR Code ช่วยในการชำระเงิน

Natk

Natk

UI Specialist ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เป็นดีไซน์เนอร์มา 12 ปี | สนใจเรื่อง User Interface, User Experience, Accessibility, Education | ผู้ก่อตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก Tech ไทยในออสเตรเลีย | ผู้ดูแลเว็บไซต์ Designil
บทความทั้งหมด