5 วิธีเขียน Cover Letter ไว้สมัครงาน

Tim

วิธีเขียน Cover Letter หรือ จดหมายแนะนำตัว มีความสำคัญต่อการสมัครงานหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ ส่วนมากจะถูกนำมาพิจารณาควบคู่กับเรซูเม่ (Resume) หรือ ถูกพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างขั้นตอนการสัมภาษณ์งานของคุณ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคุณต้องเขียนให้ออกมาดีที่สุด เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับตัวคุณเอง

วิธีเขียน Cover Letter
Cover Letter

บทความนี้เป็นการรวบรวมวิธีเขียน Cover Letter และข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อให้คุณสามารถนำไปใช้ได้ง่ายๆ เช่น ต้องเขียนแบบไหน มีรูปแบบอย่างไรบ้าง รวมถึงตัวอย่างงานเขียนแบบมืออาชีพที่คุณไม่ควรพลาด

📖 บทความนี้มีอะไรบ้าง แสดง

Cover Letter คืออะไร

Cover Letter หรือ จดหมายแนะนำตัวที่ใช้ควบคู่กับเรซูเม่ (Resume) คือส่วนที่คุณใช้บอกเล่าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวคุณเอง โดยจะเน้นไปที่เรื่องของทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา เนื้อหาในจดหมายแนะนำตัวนี้จะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ที่บ่งชี้ว่า คุณมีคุณสมบัติอย่างไร และ ทำไมถึงเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ ที่คุณสมัคร

ข้อควรระวัง คือ อย่านำข้อมูลเดิมในเรซูเม่มาเขียนอธิบายซ้ำไปซ้ำมา แต่ให้นำข้อมูลที่เป็นจุดแข็งของคุณมาเขียนให้สอดคล้องกับคุณสมบัติในประกาศรับสมัครงาน ลองนึกภาพตามว่า จดหมายนี้เป็นเสมือนจุดขายที่จะสื่อสารข้อมูลสำคัญของคุณ และช่วยให้คุณได้สัมภาษณ์งานนั้นๆ คุณต้องมีความมั่นใจและสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้อ่าน เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์นั่นเองครับ

1. เมื่อไหร่ที่ต้องเขียน Cover letter

โดยปกติแล้ว Cover letter ถูกส่งแนบไปพร้อมกับเรซูเม่ โดยผู้จ้างงานจะใช้จดหมายแนะนำตัวนี้ในการคัดกรองผู้สมัครงานในเบื้องต้นว่าผู้สมัครคนใดเหมาะสมกับการสัมภาษณ์ แม้ว่าบริษัทบางแห่งจะไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องการจดหมายแนะนำตัว แต่คุณควรทราบไว้ว่า จดหมายแนะนำตัวเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากกับการสมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณมีความตั้งใจมากน้อยเท่าใดกับงานที่คุณสมัคร

หากจดหมายแนะนำตัวของคุณมีความโดดเด่นกว่าจดหมายของผู้สมัครคนอื่นๆ นี่จะเป็นการสัมภาษณ์ที่ดีของคุณแน่นอน

2. วิธีเขียน Cover letter แนะนำตัวให้โดดเด่น

จากผลการสำรวจข้อมูลของ CareerBuilder ระบุว่า กว่า 40% ของผู้ว่าจ้างงานให้ความสนใจกับผู้สมัครงานที่แนบจดหมายแนะนำตัวมาพร้อมกับแบบฟอร์มสมัครงาน และอีกผลสำรวจ ระบุว่า 10% ของนายจ้างจะไม่จ้างงานผู้สมัครที่ไม่แนบจดหมายแนะนำตัวมาด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าในประกาศรับสมัครงานจะไม่ระบุไว้ แต่การเขียนจดหมายแนะนำตัวที่ดีถือเป็นโอกาสให้คุณได้เสนอจุดขายของตนเองต่อบริษัท แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมของคุณกับตำแหน่งงานนั้น

วิธีที่ดีที่สุดในการเขียนจดหมายแนะนำตัวให้มีความโดดเด่น อย่างแรกคือ คุณต้องให้เวลากับการเขียนมากขึ้น ผู้ว่าจ้างงานบางคนก็คาดหวังที่จะได้รับจดหมายแนะนำตัว ถึงแม้ว่าในประกาศรับสมัครงานนั้นจะไม่ได้ระบุไว้ก็ตาม

วิธีเขียน Cover Letter เริ่มต้นอย่างไร

สเตปแรกในการเริ่มต้นเขียนจดหมายแนะนำตัว เพื่อให้ขั้นตอนการเขียนเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว เรามาทำความรู้จักประเภทของจดหมายแนะนำตัวกันก่อนดีกว่าครับ ว่ามีประเภทอะไรบ้าง จดหมายประเภทใดเหมาะสมกับคุณ ซึ่งจดหมายแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่คุณจะเขียนส่งแนบไปพร้อมกับเรซูเม่ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับงานและบุคคลอ้างอิงด้วย

ประเภทของ Cover Letter

จดหมายแนะนำตัวทั่วไปมี 3 ประเภท คุณสามารถเลือกให้เหมาะสมกับเหตุผลที่คุณจะเขียนได้เลยครับ

  • The Application Letter เป็นจดหมายที่ใช้เขียน เมื่อคุณทราบถึงลักษณะของงานนั้นแล้ว
  • The Prospecting Letter เป็นจดหมายที่ใช้เขียน เพื่อใช้สอบถามถึงตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับผู้สมัคร
  • The Networking Letter เป็นจดหมายที่ใช้เขียนเพื่อใช้ขอข้อมูลและความช่วยเหลือในการหาตำแหน่งงานให้กับผู้สมัคร

ซึ่งวิธีเขียน Cover letter สำหรับคนที่กำลังจะสมัครงานที่มีประกาศรับสมัครโดยบริษัทนั้นๆ โดยตรง คุณควรใช้การเขียนจดหมายแบบ The Application Letter ครับ

3. แนวทางการเขียน

รูปแบบการเขียนจะเป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปเลยครับ จะประกอบด้วยข้อมูลจำเป็นตามตัวอย่างที่ระบุ โดยออกแบบมาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้สมัครงาน และเหมาะสมตามประกาศรับสมัครงานนั้นๆ ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

3.1 ส่วนหัวเรื่อง (Heading)

หัวจดหมายแนะนำตัว ควรเริ่มต้นด้วยข้อมูลติดต่อส่วนบุคคลของทั้งผู้สมัครและนายจ้าง ประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล แล้วตามด้วยวันที่เขียน หากเป็นรูปแบบของอีเมล ให้ผู้สมัครระบุข้อมูลการติดต่อของผู้สมัครไว้ที่ส่วนท้ายสุดของจดหมาย (ใต้ลายเซ็นชื่อของผู้สมัคร) ข้อมูลการติดต่อของผู้สมัครควรประกอบไปด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้

ชื่อ-นามสกุล

ที่อยู่, ถนน (ถ้ามี)

เมือง, รหัสไปรษณีย์

เบอร์โทรติดต่อ

อีเมล

First name – Last Name
Street Address (optional)
City, State Zip (optional)
Contact number
Email

3.2 คำทักทาย (Salutation)

สำหรับการเริ่มต้นจดหมายแนะนำตัว มักใช้คำนำหน้าและตามด้วยนามสกุล เช่น Dr./Mr./Ms. Last Name หากคุณไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ติดต่อเป็นสุภาพบุรุษ หรือ สุภาพสตรี คุณสามารถเขียนชื่อเต็มของผู้ติดต่อได้เลย และในกรณีที่คุณไม่ทราบชื่อของผู้ว่าจ้างงาน คุณสามารถใช้ Dear ตามด้วยตำแหน่ง เช่า Dear Hiring Manager ซึ่งวิธีเขียน Cover letter ด้วยการขึ้นต้นแบบนี้ จะเหมาะสมและดูเป็นทางการมากกว่าการใช้คำว่า “To Whom It May Concern” ครับ

3.3 บทแนะนำ (Introduction)

ในส่วนของบทแนะนำควรเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงตำแหน่งงานที่คุณสมัคร อธิบายว่าคุณทราบได้อย่างไรเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร หากคุณทราบข้อมูลมาจากบริษัทในเครือก็ให้คุณกล่าวถึงบริษัทนั้นด้วย และเน้นนำเสนอทักษะและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของคุณ ซึ่งควรจะต้องมีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับตำแหน่งงานและบริษัทที่คุณยื่นสมัครงาน การกล่าวนำในเบื้องต้นทั้งหมดนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี และการกล่าวถึงบุคคลอ้างอิงในจดหมายแนะนำตัว ก็สำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมรุ่น ศิษย์เก่า ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะมีส่วนช่วยคุณไม่มากก็น้อย หากคุณมีบุคคลอ้างอิง คุณควรระบุชื่อพวกเขาในจดหมายแนะนำตัวด้วย

3.4 เนื้อหา (Body of The Letter)

ส่วนของเนื้อหาในย่อหน้าที่ 1 หรือ 2 นั้น คุณควรอธิบายถึงความสนใจในตำแหน่งงานที่คุณสมัครและเหตุผลที่ทำให้คุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้น โดยกล่าวถึงคุณสมบัติเฉพาะที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัครงาน อธิบายว่า คุณมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานนั้นอย่างไร อย่ากล่าววนไปวนไป แต่ให้คุณยกตัวอย่างและแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติเหล่านั้นอย่างเป็นรูปธรรม

คุณเคยได้ยินหรือไม่ว่า การกระทำสำคัญกว่าคำพูด นี่คือสิ่งที่คุณต้องนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นผู้ที่ทำงานเป็นทีมได้ดี มีทักษะการสื่อสารและความตั้งใจที่ดีมาก ประเด็นเหล่านี้ให้คุณระบุรายเอียดจากประสบการณ์การทำงานของคุณว่า คุณทำอะไรมาถึงมีทักษะเหล่านั้น เน้นผลงานที่คุณเคยผ่านมา แสดงออกมาว่าเป็นอย่างไร นั่นคือ สิ่งที่ชัดเจนกว่าการเขียนระบุแบบทั่วไป

3.5 การปิดท้าย (Closing)

วิธีเขียน Cover letter ในส่วนของการปิดท้ายจดหมาย ให้กล่าวย้ำถึงทักษะของคุณที่ทำให้คุณเหมาะสมอย่างมากกับบริษัทหรือตำแหน่งงานที่คุณสมัครอีกครั้ง เป็นการเน้นย้ำเพื่อให้เกิดความหนักแน่นและน่าเชื่อถือ รวมถึงบอกเล่าว่าทำไมคุณถึงอยากร่วมงานกับบริษัท/องค์กรที่คุณสมัคร กล่าวเน้นว่า หากคุณได้ร่วมงานแล้วนั้น คุณจะทำอย่างไรต่อไป

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จดหมายแนะนำตัวที่ดีไม่ควรเขียนเกินหนึ่งหน้ากระดาษ เขียนความยาวเพียงหน้าเดียวก็เพียงพอแล้ว เช่นเดียวกับเรซูเม่ครับ

3.6 ลายมือชื่อ (Signature)

ใช้ (complimentary close) ในการจบบทด้วยลายมือชื่อของคุณ หากเป็นอีเมล ให้คุณพิมพ์ชื่อของคุณ แล้วตามด้วยข้อมูลการติดต่อส่วนบุคคลเป็นส่วนท้ายสุด


4. วิธีจัดรูปแบบจดหมาย

ความยาว : ไม่เขียนยาวจนเกินไป ให้อยู่ในระดับสายตาของผู้อ่าน มีย่อหน้าพอประมาณ และแต่ละย่อหน้าไม่ควรยาวหรือสั้นจนเกินไป จัดระยะให้พอดีกันในแต่ละย่อหน้า หากประโยคมีความยาวมาก ห้ามใช้ตัวอักษรขนาดเล็ก แต่ให้ตัดคำและแก้ไขคำที่ไม่จำเป็นออก

ขนาดตัวอักษร (ทางเลือก) : ใช้รูปแบบเดียวกับจดหมายทางธุรกิจ ขนาดตัวอักษรควรเหมือนกับตัวอักษรในเรซูเม่จะ ง่ายต่อการอ่าน ตัวอักษรที่ได้รับความนิยม อาทิ Times New Roman, Arial, Calibri และตัวอักษรอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมกับภาพรวมของจดหมาย

หากใครยังคิดไม่ออกว่าจะใช้ฟอนต์ไหนดี ให้บทความนี้ช่วยตัดสินใจได้นะครับ แนะนำ 10 ฟอนต์สำหรับทำ Resume ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด

ขนาดตัวอักษร : ขนาดตัวอักษรถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากตัวอักษรมีขนาดเล็กเกินไป นายจ้างอาจจะไม่นำใบสมัครของคุณมาพิจารณาได้ โดยทั่วไป ขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับการอ่านมากที่สุด คือขนาด 10 และ 12

การตั้งค่าระยะขอบกระดาษ : มาตรฐานระยะขอบกระดาษอยู่ที่ 1 นิ้ว จากด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา และคุณสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม

ระยะห่างของตัวอักษร : เพิ่มความห่างระหว่างส่วนหัว (Heading) คำทักทาย (Salutation) แต่ละย่อหน้า ส่วนปิดท้าย (Closing) และลายมือชื่อ (Signature) คุณสามารถปรับลดขนาดตัวอักษร รวมถึงระยะขอบกระดาษให้มีความเหมาะสมตามรูปแบบที่คุณเขียน ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อการอ่าน


5. การปรับแต่งจดหมาย

ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับจดหมายแนะนำตัว เนื้อหาจะต้องถูกปรับแต่งให้มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่คุณสมัคร หากคุณจะสมัครงานในตำแหน่งเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันจากหลากหลายบริษัท การปรับเปลี่ยนแค่ชื่อบริษัท แต่ยังคงเนื้อหาเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง

จดหมายแนะนำตัวแต่ละฉบับมีส่วนประกอบที่คุณต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ดังต่อไปนี้ :

  • งานที่คุณสมัคร (รวมถึงเนื้องานในย่อหน้าแรกด้วย)
  • คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับงานที่ผ่านมา (หากคุณมีบุคคลอ้างอิง ให้ระบุด้วย)
  • ทำไมคุณถึงเหมาะสมกับงาน (เฉพาะเจาะจง)
  • คุณมีอะไรที่จะนำเสนอผู้ว่าจ้าง และทำไมคุณถึงอยากร่วมงานกับบริษัท / องค์กร (ควรสอดคล้องกับทักษะของคุณตามที่ระบุไว้ในประกาศรับสมัครงาน รวมถึงรายละเอียดต่างๆที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น ภารกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายอื่นๆ)
  • กล่าวขอบคุณสำหรับการพิจารณา
Writing a Cover letter

– แสดงให้นายจ้างเห็นถึงศักยภาพที่คุณมี

วิธีเขียน Cover letter เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์งาน ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญนั่นคือ การแสดงให้บริษัท หรือ องค์กรได้เห็นว่าคุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานมากที่สุด ดูมืออาชีพมากที่สุด ตรงกับคุณสมบัติความต้องการของบริษัท หรือ องค์กรมากที่สุด รับรองว่าการสัมภาษณ์ของคุณกับนายจ้างจะเป็นเรื่องราวดีๆ ที่น่าจดจำ และเป็นสิ่งที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน

– จับคู่ Cover Letter กับ เรซูเม่ ของคุณให้เข้ากัน

เลือกฟอนต์และขนาดตัวอักษรของจดหมายแนะนำตัวให้เป็นชุดเดียวกันกับเรซูเม่ของคุณ ห้ามนำฟอนต์หลายหลายแบบมาใช้ผสมปนเปกัน แต่อาจใช้ขนาดตัวอักษรที่แตกต่างกันในส่วนของหัวข้อ หรือส่วนที่ต้องการเน้นย้ำ เพียงเท่านี้จดหมายแนะนำตัวและเรซูเม่ของคุณก็จะดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นแล้วครับ

– จับคู่ทักษะของคุณกับคุณสมบัติในประกาศรับสมัครงานให้เข้ากัน

อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ Cover Letter ของคุณได้รับการพิจารณา คือ ความสอดคล้องกันระหว่างคุณสมบัติของผู้สมัครและประกาศรับสมัครงาน อย่าคาดหวังว่านายจ้างจะทราบหรือคาดเดาได้เอง เพราะการเขียนอธิบายให้ชัดเจนตั้งแต่แรกคือโอกาสที่ดีของคุณในการสร้างความประทับใจให้กับนายจ้าง

– เน้นย้ำถึงทักษะทางการทำงานของคุณที่คุณถนัด

อย่าเขียนอธิบายซ้ำไปมา หรือ กล่าวในสิ่งที่คุณอธิบายไว้ในเรซูเม่อยู่แล้ว แต่ควรอธิบายและเน้นย้ำถึงทักษะที่คุณถนัดและประสบการณ์การทำงานเพิ่มเติมที่ดูแตกต่างจากเรซูเม่ พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน เพื่อให้นายจ้างเกิดความประทับใจในตัวคุณยิ่งขึ้น

– สิ่งใดที่ไม่ควรกล่าวถึงใน Cover Letter

หากคุณต้องการให้จดหมายแนะนำตัวของคุณมีความโดดเด่นเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ มีบางสิ่งที่คุณไม่ควรนำมาเขียนในจดหมายนี้ นั่นคือ ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ การกล่าวถึงเหตุผลในการลาออกจากงานเก่าของคุณ เน้นที่งานปัจจุบันและคุณสมบัติที่เหมาะสมของคุณดีกว่า

– ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าจดหมายแนะนำตัวของคุณเรียบร้อยดีแล้ว

ก่อนที่คุณจะทำการส่งจดหมายแนะนำตัวออกไปนั้น คุณควรตรวจสอบรายละเอียด และ ข้อมูลต่างๆ อย่างรอบคอบ ระมัดระวัง แม้ว่าบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นได้ แต่ความใส่ใจในรายละเอียดยิบย่อย จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ตัวคุณและนายจ้าง

– ตรวจสอบคำผิดและข้อผิดพลาดตามหลักไวยากรณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การสะกดคำ และไวยากรณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อลดข้อผิดพลาดและสร้างความประทับใจระหว่างคุณกับนายจ้าง

– ใส่ข้อมูลติดต่อบนท้ายอีเมล

วิธีเขียน Cover letter สำหรับการส่งทางอีเมล สิ่งที่คุณไม่ควรลืมคือการใส่ชื่อของคุณ เบอร์โทรติดต่อ ที่อยู่อีเมล และโปรไฟล์ Linkedln เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ว่าจ้างติดต่อคุณได้ง่ายขึ้น

– ส่งสำเนาอีเมลถึงตัวคุณด้วย

ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่คุณต้องทำก่อนที่คุณจะส่งจดหมายหมายแนะนำตัว นั่นคือการ CC หรือส่งอีเมลแบบสำเนาถึงตัวคุณเอง เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องอีกครั้ง


ตัวอย่างวิธีเขียน Cover Letter เป็นเอกสาร PDF

[Your Name] [Your Address] [Your Phone Number] [Your Email]

[Date]

[Hiring Manager Name] [Title] [Company Name] [Company Address]

Dear [Hiring Manager Name],

I am writing to express my interest in the Senior Tech Support Specialist position at [Company Name]. I have been working in tech support for the past 10 years, and I have a proven track record of success in providing excellent customer service and resolving technical issues.

In my current role at [Company Name], I am responsible for providing technical support to customers via phone, chat, and email. I have consistently received high customer satisfaction ratings, and I have a first call resolution rate of 95%. I am also proficient in translating complex technical terms into plain English, which allows me to communicate effectively with customers of all levels of technical expertise.

I am aware that you are specifically looking for someone who is willing to work evening shifts and be on call over the weekend. I am available to work these hours, and I enjoy the challenge of providing support to customers during off-peak hours.

I am confident that my skills and experience would make me a valuable asset to your team. I am a highly motivated and results-oriented individual, and I am always eager to learn new things. I am also a team player, and I am confident that I would be able to work effectively with your team to provide excellent customer service.

I am available for an interview at your earliest convenience. Thank you for your time and consideration.

Sincerely, [Your Signature] [Your Typed Name]

I hope this helps!


ตัวอย่างการเขียน Cover Letter บนอีเมล

Subject: Project Coordinator Position

Dear Hiring Manager,

I am writing to express my interest in the Project Manager position at [company name]. I have over 5 years of experience in project management, and I have a proven track record of success in managing complex projects across diverse settings.

In my previous role at [company name], I was responsible for managing all aspects of the company's marketing projects. This included developing programming initiatives, analyzing and managing data, managing market research endeavours, and conceptualizing and implementing marketing campaigns. I successfully completed all of my projects on time and within budget, and I received positive feedback from my supervisors and clients.

I am also an expert in customer service and client communication. I have a strong understanding of the importance of building and maintaining relationships with clients, and I am always willing to go the extra mile to ensure that their needs are met.

I am highly skilled in Excel and data analysis, and I am proficient in using a variety of project management software applications. I am also a certified Project Management Professional (PMP).

I am confident that my skills and experience would make me a valuable asset to your team. I am a highly motivated and results-oriented individual, and I am always eager to take on new challenges.

I am available for an interview at your earliest convenience. Thank you for your time and consideration.

Regards,

Michelle Shen
098-999-0000
Michelle@mail.com

สุดท้ายนี้เราหวังว่าเพื่อนๆ จะได้แนวทางและวิธีเขียน Cover letter หรือจดหมายแนะนำตัวจากบทความนี้กันไม่มากก็น้อย เชื่อว่าหากได้นำไปใช้ จดหมายแนะนำตัวจะต้องมีความน่าสนใจและดูเป็นมืออาชีพ สร้างความประทับใจให้กับผู้ว่าจ้างได้อย่างแน่นอนครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง

Designil ทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างคอนเทนต์ดีๆ มีสาระประโยชน์ให้กับผู้อ่าน สิ่งที่ทีมงานแนะนำทั้งหมดมาจากการค้นคว้าและทดลองใช้งานจริงหลายสัปดาห์ หากคุณชอบเนื้อหาแบบนี้และอยากสนับสนุนให้ทีมงานให้มีแรงสร้างคอนเทนต์ดีๆ ในอนาคต สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนบทความของเราได้นะครับ บางลิงก์ทางทีมงานจะได้รับส่วนแบ่งเล็กน้อยโดยจะไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับทางผู้อ่าน ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ การทำงานของเรา

Tim

Tim

Made in 1990s / Former CSA-Airlines / Government Official / Part-time with Thai-English-Thai Translator / Korean drama vibes / Natural Therapy Addict
บทความทั้งหมด